หน้าแรก

previous arrow
previous arrow
next arrow
next arrow
Slider

ติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของหน่วยงานผ่านเฟซบุ๊กได้ที่เพจ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเอกมัย

กิจกรรมและบริการ

ท่านสามารถสืบค้นกิจกรรมและบริการได้ที่หัวข้อบริการ หรือคลิกที่กล่องเมนูทั้ง 8 ด้านล่างนี้
หากมีข้อสงสัยสืบค้นได้ที่คำถามที่พบบ่อย (FAQ) หรือติดต่อกลุ่มการตลาดและประชาสัมพันธ์ โทร. 0 2392 0508, 0 2392 1773

สามารถตรวจสอบที่นั่งการแสดงท้องฟ้าจำลองประจำวันได้ที่ https://seat.sciplanet.org

กิจกรรมและบริการ

สามารถสืบค้นกิจกรรมและบริการได้ที่หัวข้อบริการ หรือคลิกที่กล่องเมนูทั้ง 8 ด้านล่าง หากมีข้อสงสัยสืบค้นได้ที่ คำถามที่พบบ่อย (FAQ) หรือโทร. 0 2392 0508, 0 2392 1773

ข่าวสาร กิจกรรม และบทความ

ท่านสามารถสืบค้นข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวกิจกรรม ภาพข่าวกิจกรรมได้ที่หัวข้อข่าว และบทความวิชาการที่หัวข้อบทความวิชาการ

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย จัดแสดงภาพยนตร์สั้น Star Dreaming

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย จัดแสดงภาพยนตร์สั้น Star Dreaming เรื่องราวเกี่ยวกับอารยธรรมดูดาวของชนพื้นเมืองออสเตรเลีย เรียนรู้ภูมิปัญญาเกี่ยวกับจักรวาลของบรรพชนออสเตรเลียที่ส่งต่อมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งจะจัดแสดงระหว่างวันที่ 1 – 31 ตุลาคม 2566 ณ #ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เช็ครอบการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง https://sciplanet.org/content/6891 เปิดบริการวันอังคาร – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. ท่านสามารถซื้อบัตรเข้าชมได้ที่เคาน์เตอร์จำหน่ายบัตร หมายเหตุ : การแสดงทางท้องฟ้าจำลองยังคงให้บริการตามปกติ โดยช่วงแรกจะเป็นการบรรยายดาว จากนั้นชมภาพยนตร์สั้น Star Dreamingและต่อด้วยภาพยนตร์เต็มโดม เดือนตุลาคม เสนอเรื่อง โคโคมง ผจญภัยในอวกาศ

parani ting-in

20 September 2023

รูบนชีสมาได้อย่างไร?

ปัจจุบันในโลกใบนี้มีชีสมากกว่า 3,000 ชนิดที่ถูกคิดค้นขึ้น ทั้งแบบที่มีรูปร่างหน้าตา สี และรสชาติแตกต่างกันไป แต่ถ้านึกถึงชีส ภาพจำของผู้คนส่วนใหญ่ก็ต้องเป็นชีสแผ่นหรือชีสก้อนสีเหลืองที่มักจะมีรูพรุนอยู่ด้านใน ซึ่งเห็นได้ทั่วไปตามสื่อโฆษณาหรือการ์ตูนในวัยเด็ก แต่ใช่ว่าชีสทุกชนิดจะมีรูเสมอไป มีแค่ชีสบางประเภทเท่านั้นที่มีรูกลวงอยู่ภายใน ซึ่งเจ้าก้อนชีสมีรูเช่นนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ สวิสชีส (Swiss Cheese) ชีส (Cheese) คือ ผลิตภัณฑ์จากการถนอมอาหารโดยการแปรรูปจากน้ำนมของสัตว์ เช่น นมวัว นมแกะ นมแพะ หรือแม้แต่นมอูฐ เป็นต้น นำมาผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ ใส่แบคทีเรียที่สร้างกรดแลคติกและเติมเอนไซม์เรนนิน (Rennet) หลังจากการหมักน้ำตาลแลคโตสในนมจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดแลคติก ทำให้นมมีความเป็นกรดมากขึ้นและจับตัวกันเป็นตะกอน  จากการทำปฏิกิริยาเคมีทำให้นมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นของแข็ง มีลักษณะเป็นลิ่มสีขาว (Curd) และส่วนที่เป็นของเหลว (Whey) เมื่อนำไปผ่านกระบวนการบีบอัดเพื่อนำส่วนที่เป็นของเหลวออก เราจึงได้ชีสก้อนในที่สุด ปัจจัยที่ทำให้ชีสแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับกระบวนการบ่ม อุณหภูมิ ชนิดของจุลินทรีย์ และประเภทของนมที่ใช้ สำหรับสวิสชีสเองก็มีกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างออกไป จึงทำให้มีลักษณะที่โดดเด่นไม่เหมือนกับชีสชนิดอื่น สวิสชีส (Swiss cheese) หรือ ชีสเอ็มเมินทาล (Emmental cheese) คือชีสที่มีต้นกำเนิดจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ […]

superadmin

18 September 2023

ยินดีต้อนรับท่านรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้

12 กันยายน 2566 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาต้อนรับ ว่าที่เรือตรีชูชีพ อรุณเหลือง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อพบปะและมอบนโยบายแก่ บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา นำโดยนายโยฑิน สมโนนนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา พร้อมด้วยข้าราชการ พนักงานราชการและเจ้าหน้าที่ ณ ห้องประชุมชั้น อาคาร 4 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

parani ting-in

13 September 2023

หูไม่ใช่หู หางไม่ใช่หาง เรื่องจริงของทากทะเล

‘กระต่ายทะเล’ ‘แกะทะเล’ นี่คือชื่อเรียกสุดน่ารักที่ผู้คนตั้งให้กับทากทะเลตัวจิ๋ว จากลักษณะเด่นของพวกมัน ได้แก่ ส่วนที่ยื่นออกมาจากส่วนหัวดูคล้ายหูยาว ๆ และพวงหางที่ดูนุ่มฟูตรงส่วนท้ายของลำตัว แต่แท้จริงแล้วนั้น หูกลับไม่ใช่หู และหางกลับไม่ใช่หางอย่างที่คิด ทากทะเล หรือ ทากเปลือย (Nudibranch) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) เช่นเดียวกับหอยและหมึก กลุ่มเดียวกับหอยฝาเดียว แต่เปลือกถูกลดรูปจนไม่เหลือให้เห็นจากภายนอก ลำตัวมีขนาดเล็กโดยมีตั้งแต่ขนาด 2 มิลลิเมตรไปจนถึง 30 เซนติเมตรได้เลยทีเดียว ส่วนมากอาศัยอยู่ในทะเลและสามารถพบได้ตามบริเวณที่เป็นแหล่งอาหารของพวกมัน เช่น ตามแนวปะการัง โขดหิน และสาหร่าย ทำให้ทากทะเลสามารถเป็นตัวบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศได้ ทากทะเลมีรูปร่างและสีสันที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด แต่มีลักษณะที่คล้ายกันนั่นคือ ลำตัวแบน และมีส่วนที่คล้ายหูหรือเขา 2 ข้างที่ส่วนหัว ซึ่งความจริงแล้วอวัยวะส่วนนี้ไม่ได้ทำหน้าที่ในการรับเสียงแบบหูของกระต่ายหรือแกะแต่อย่างใด แต่มันคือ ไรโนฟอร์ (Rhinophore) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการรับสารเคมีในน้ำ หรือใช้ในการรับกลิ่นเหมือนจมูก เพื่อตรวจหากลิ่นของอาหาร รวมทั้งหากลิ่นของฮอร์โมนจากเพศตรงข้ามได้อีกด้วย และส่วนที่คล้ายหางบริเวณปลายลำตัวก็ไม่ได้ใช้ในการเคลื่อนที่หรือการทรงตัว แต่มันคือเหงือก (Gill plume หรือ Branchial plume) ที่ช่วยในการหายใจเหมือนสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ […]

parani ting-in

11 September 2023

ความลับของต้นไม้ใบด่าง เกิดได้อย่างไร?

ต้นไม้ใบด่างกลายมาเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมของหลายๆ คนที่ชื่นชอบพันธุ์ไม้ที่มีสีสันแปลกตาหาได้ยาก ไม่เหมือนต้นไม้ที่มีสีเขียวทั่วๆ ไป ด้วยลักษณะที่แตกต่างนี้ ทำให้ไม้ด่างมีราคาสูง และเป็นที่ต้องการของนักสะสมต้นไม้เป็นจำนวนมาก แต่ทราบหรือไม่ว่าจริงๆ แล้วไม้ด่างนั้นเกิดจากการปรับตัวให้อยู่รอดได้ในธรรมชาติ โดยลักษณะการด่างสามารถช่วยพรางตัวจากผู้ล่าหรือสัตว์กินพืช ทำให้ผู้ล่าเข้าใจว่าพืชนั่นมีพิษ อีกทั้งยังสามารถช่วยดึงดูดแมลงให้ช่วยผสมพันธุ์อีกด้วย บางกรณีที่ต้นไม้นั้นต้องเจริญเติบโตอยู่ในป่าทึบที่มีแสงแดดน้อย การปรับตัวเพื่อลดการสังเคราะห์แสงหรือลดการสร้างคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ซึ่งเป็นสารสี (Pigments) ที่ใช้ในการดูดซับแสง ทำให้เห็นใบด่างมีสีขาวหรือเหลือง ซึ่งก็คือบริเวณที่ไม่มีการสร้างคลอโรฟิลล์ตรงบริเวณนั้นนั่นเอง นอกจากการด่างที่ทำให้ใบเกิดสีขาวแล้ว ยังมีต้นไม้ด่างหลากสีสันจากสารสีอื่น ๆ เช่น แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ทำให้เห็นใบเป็นสีเหลืองหรือส้ม และแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ทำให้มองเห็นใบมีสีชมพู แดง และม่วง ซึ่งรูปแบบของสีใบที่เกิดขึ้นกับใบด่างแต่ละชนิดขึ้นกับข้อมูลของสารพันธุกรรม โดยมียีนเฉพาะที่ควบคุมลักษณะเหล่านี้ถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกให้เกิดพืชใบด่างได้ ส่วนลักษณะด่างที่เห็นเป็นสีเงิน ไม่ได้เกิดจากสารสีของพืช แต่เกิดจากลักษณะโครงสร้างของใบที่มีช่องอากาศระหว่างเนื้อเยื่อใบ ทำให้เมื่อแสงแดดตกกระทบบนใบจะเกิดการหักเหมองเห็นใบเป็นสีเงินเป็นลักษณะที่มีการถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม เรียกลักษณะด่างแบบนี้ว่า Reflective variegation หรือ Blister variegation ตัวอย่างต้นเปปเปอร์โรเมียลายแตงโม (Watermelon peperomia) และต้นพลูแนบอุรา(Scindapsus pictus) อีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดใบด่างที่ทำให้พืชจากเดิมทีมีสีเขียวกลายเป็นพืชใบด่างได้ จากความผิดปกติในระดับพันธุกรรม ที่เป็นการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อเจริญของพืช ซึ่งก็คือเนื้อเยื่อบริเวณยอดของพืชที่มีการแบ่งเซลล์เพื่อการเจริญเติบโต เมื่อมีการแบ่งตัวซ้ำ ๆ จึงทำให้ง่ายที่จะเกิดการกลายพันธุ์ […]

superadmin

4 September 2023

ภาพยนตร์เต็มโดมประจำเดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons)

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยส่วนวิชาการ กลุ่มงานท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง ด้วยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการ ผ่านเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย และจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม รอบละประมาณ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คนต่อ 1 รอบการแสดง ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ในภาพยนตร์เต็มโดม เดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons) ภาพยนตร์ความยาว 23 นาที นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับดาวเคราะห์ที่ชื่อว่า “โลก” ว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เราพบสื่งมีชีวิต แต่เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะอพยพไปอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น  ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ต้านแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวพฤหัส และตื่นตากับความสวยงามของดาวเสาร์ แล้วลองตัดสินใจว่าดาวเคราะห์ดวงไหนที่เราอยากไปอยู่ พากษ์เสียงภาษาไทยโดย คุณฉันทวิทย์ ธนะเสวี (เต๋อ)

superadmin

1 September 2023

ร่วมแสดงความยินดีแด่รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้

วันที่ 31 สิงหาคม 2566 นายโยฑิน สมโนนนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา พร้อมคณะผู้แทนเจ้าหน้าที่ ศว. เข้าร่วมสักการะพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 และมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแด่ว่าที่เรือตรีชูชีพ อรุณเหลือง ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ รักษาราชการอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ณ กระทรวงศึกษาธิการ

superadmin

31 August 2023

บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้โครงการวันวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566 บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานำโดย นางสาวพรทิพย์ สกลกูล นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ นางสาวจุฬวดี สุทธิประภา นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ และนางสาวนันทิชา ม่วงปาน นักวิชาการศึกษา เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้โครงการวันวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษา สกร.เขตพญาไท โดยมีนักศึกษาพลเรือนและทหารกองประจำการ จำนวน 105 คน เข้าร่วมโครงการ สำหรับการบรรยายในครั้งนี้ผู้บรรยายทั้ง 3 ท่าน ได้แบ่งกลุ่มและให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ (Workshop) ในส่วนของการทดลองเพื่อต่อยอดโครงงาน การหาปัญหา เค้าโครงของโครงงาน และเทคนิคการนำเสนอผลงาน ทั้งในส่วนของการเขียนรายงาน การจัดทำแผงโครงงาน และการนำเสนอด้วยวาจา​ สุดท้ายนักศึกษา สกร.เขตพญาไท ได้นำเสนอผลงานของตัวเอง และผู้บรรยายได้เปิดโอกาสให้นักศึกษา สกร. ถาม – ตอบ เรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้นักศึกษาได้นำไปปรับใช้ในการต่อยอดผลงานและโครงงานวิทยาศาสตร์ต่อไป

superadmin

30 August 2023

ประกาศผลการประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2566

ประกาศผลการประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) ระดับประเทศ  ประจำปี พ.ศ. 2566  ช่วงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนอนุบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนเชาวน์วัศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รางวัลชมเชย โรงเรียนอักษรศึกษา จังหวัดชลบุรี โรงเรียนบ้านโสกเชือก (คุรุราษฎร์อำนวย) จังหวัดร้อยเอ็ด โรงเรียนปัญญาวิทย์ จังหวัดตรัง ช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง จังหวัดสมุทรปราการ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) จังหวัดขอนแก่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต รางวัลชมเชย โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โรงเรียนวารีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” จังหวัดระยอง ขอแสดงความยินดีกับทุกโรงเรียนที่ได้รางวัล สำหรับเกียรติบัตรในการประกวดฯ จะจัดส่งไปตามที่อยู่ของโรงเรียนที่แจ้งไว้ ขอขอบคุณ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เป็นศูนย์จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนในภูมิภาค คณะผู้บริหารโรงเรียน […]

superadmin

30 August 2023

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย จัดแสดงภาพยนตร์สั้น Star Dreaming

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย จัดแสดงภาพยนตร์สั้น Star Dreaming เรื่องราวเกี่ยวกับอารยธรรมดูดาวของชนพื้นเมืองออสเตรเลีย เรียนรู้ภูมิปัญญาเกี่ยวกับจักรวาลของบรรพชนออสเตรเลียที่ส่งต่อมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งจะจัดแสดงระหว่างวันที่ 1 – 31 ตุลาคม 2566 ณ #ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เช็ครอบการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง https://sciplanet.org/content/6891 เปิดบริการวันอังคาร – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. ท่านสามารถซื้อบัตรเข้าชมได้ที่เคาน์เตอร์จำหน่ายบัตร หมายเหตุ : การแสดงทางท้องฟ้าจำลองยังคงให้บริการตามปกติ โดยช่วงแรกจะเป็นการบรรยายดาว จากนั้นชมภาพยนตร์สั้น Star Dreamingและต่อด้วยภาพยนตร์เต็มโดม เดือนตุลาคม เสนอเรื่อง โคโคมง ผจญภัยในอวกาศ

parani ting-in

20 September 2023

รูบนชีสมาได้อย่างไร?

ปัจจุบันในโลกใบนี้มีชีสมากกว่า 3,000 ชนิดที่ถูกคิดค้นขึ้น ทั้งแบบที่มีรูปร่างหน้าตา สี และรสชาติแตกต่างกันไป แต่ถ้านึกถึงชีส ภาพจำของผู้คนส่วนใหญ่ก็ต้องเป็นชีสแผ่นหรือชีสก้อนสีเหลืองที่มักจะมีรูพรุนอยู่ด้านใน ซึ่งเห็นได้ทั่วไปตามสื่อโฆษณาหรือการ์ตูนในวัยเด็ก แต่ใช่ว่าชีสทุกชนิดจะมีรูเสมอไป มีแค่ชีสบางประเภทเท่านั้นที่มีรูกลวงอยู่ภายใน ซึ่งเจ้าก้อนชีสมีรูเช่นนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ สวิสชีส (Swiss Cheese) ชีส (Cheese) คือ ผลิตภัณฑ์จากการถนอมอาหารโดยการแปรรูปจากน้ำนมของสัตว์ เช่น นมวัว นมแกะ นมแพะ หรือแม้แต่นมอูฐ เป็นต้น นำมาผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ ใส่แบคทีเรียที่สร้างกรดแลคติกและเติมเอนไซม์เรนนิน (Rennet) หลังจากการหมักน้ำตาลแลคโตสในนมจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดแลคติก ทำให้นมมีความเป็นกรดมากขึ้นและจับตัวกันเป็นตะกอน  จากการทำปฏิกิริยาเคมีทำให้นมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นของแข็ง มีลักษณะเป็นลิ่มสีขาว (Curd) และส่วนที่เป็นของเหลว (Whey) เมื่อนำไปผ่านกระบวนการบีบอัดเพื่อนำส่วนที่เป็นของเหลวออก เราจึงได้ชีสก้อนในที่สุด ปัจจัยที่ทำให้ชีสแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับกระบวนการบ่ม อุณหภูมิ ชนิดของจุลินทรีย์ และประเภทของนมที่ใช้ สำหรับสวิสชีสเองก็มีกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างออกไป จึงทำให้มีลักษณะที่โดดเด่นไม่เหมือนกับชีสชนิดอื่น สวิสชีส (Swiss cheese) หรือ ชีสเอ็มเมินทาล (Emmental cheese) คือชีสที่มีต้นกำเนิดจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ […]

ยินดีต้อนรับท่านรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้

12 กันยายน 2566 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาต้อนรับ ว่าที่เรือตรีชูชีพ อรุณเหลือง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อพบปะและมอบนโยบายแก่ บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา นำโดยนายโยฑิน สมโนนนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา พร้อมด้วยข้าราชการ พนักงานราชการและเจ้าหน้าที่ ณ ห้องประชุมชั้น อาคาร 4 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

หูไม่ใช่หู หางไม่ใช่หาง เรื่องจริงของทากทะเล

‘กระต่ายทะเล’ ‘แกะทะเล’ นี่คือชื่อเรียกสุดน่ารักที่ผู้คนตั้งให้กับทากทะเลตัวจิ๋ว จากลักษณะเด่นของพวกมัน ได้แก่ ส่วนที่ยื่นออกมาจากส่วนหัวดูคล้ายหูยาว ๆ และพวงหางที่ดูนุ่มฟูตรงส่วนท้ายของลำตัว แต่แท้จริงแล้วนั้น หูกลับไม่ใช่หู และหางกลับไม่ใช่หางอย่างที่คิด ทากทะเล หรือ ทากเปลือย (Nudibranch) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) เช่นเดียวกับหอยและหมึก กลุ่มเดียวกับหอยฝาเดียว แต่เปลือกถูกลดรูปจนไม่เหลือให้เห็นจากภายนอก ลำตัวมีขนาดเล็กโดยมีตั้งแต่ขนาด 2 มิลลิเมตรไปจนถึง 30 เซนติเมตรได้เลยทีเดียว ส่วนมากอาศัยอยู่ในทะเลและสามารถพบได้ตามบริเวณที่เป็นแหล่งอาหารของพวกมัน เช่น ตามแนวปะการัง โขดหิน และสาหร่าย ทำให้ทากทะเลสามารถเป็นตัวบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศได้ ทากทะเลมีรูปร่างและสีสันที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด แต่มีลักษณะที่คล้ายกันนั่นคือ ลำตัวแบน และมีส่วนที่คล้ายหูหรือเขา 2 ข้างที่ส่วนหัว ซึ่งความจริงแล้วอวัยวะส่วนนี้ไม่ได้ทำหน้าที่ในการรับเสียงแบบหูของกระต่ายหรือแกะแต่อย่างใด แต่มันคือ ไรโนฟอร์ (Rhinophore) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการรับสารเคมีในน้ำ หรือใช้ในการรับกลิ่นเหมือนจมูก เพื่อตรวจหากลิ่นของอาหาร รวมทั้งหากลิ่นของฮอร์โมนจากเพศตรงข้ามได้อีกด้วย และส่วนที่คล้ายหางบริเวณปลายลำตัวก็ไม่ได้ใช้ในการเคลื่อนที่หรือการทรงตัว แต่มันคือเหงือก (Gill plume หรือ Branchial plume) ที่ช่วยในการหายใจเหมือนสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ […]

ความลับของต้นไม้ใบด่าง เกิดได้อย่างไร?

ต้นไม้ใบด่างกลายมาเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมของหลายๆ คนที่ชื่นชอบพันธุ์ไม้ที่มีสีสันแปลกตาหาได้ยาก ไม่เหมือนต้นไม้ที่มีสีเขียวทั่วๆ ไป ด้วยลักษณะที่แตกต่างนี้ ทำให้ไม้ด่างมีราคาสูง และเป็นที่ต้องการของนักสะสมต้นไม้เป็นจำนวนมาก แต่ทราบหรือไม่ว่าจริงๆ แล้วไม้ด่างนั้นเกิดจากการปรับตัวให้อยู่รอดได้ในธรรมชาติ โดยลักษณะการด่างสามารถช่วยพรางตัวจากผู้ล่าหรือสัตว์กินพืช ทำให้ผู้ล่าเข้าใจว่าพืชนั่นมีพิษ อีกทั้งยังสามารถช่วยดึงดูดแมลงให้ช่วยผสมพันธุ์อีกด้วย บางกรณีที่ต้นไม้นั้นต้องเจริญเติบโตอยู่ในป่าทึบที่มีแสงแดดน้อย การปรับตัวเพื่อลดการสังเคราะห์แสงหรือลดการสร้างคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ซึ่งเป็นสารสี (Pigments) ที่ใช้ในการดูดซับแสง ทำให้เห็นใบด่างมีสีขาวหรือเหลือง ซึ่งก็คือบริเวณที่ไม่มีการสร้างคลอโรฟิลล์ตรงบริเวณนั้นนั่นเอง นอกจากการด่างที่ทำให้ใบเกิดสีขาวแล้ว ยังมีต้นไม้ด่างหลากสีสันจากสารสีอื่น ๆ เช่น แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ทำให้เห็นใบเป็นสีเหลืองหรือส้ม และแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ทำให้มองเห็นใบมีสีชมพู แดง และม่วง ซึ่งรูปแบบของสีใบที่เกิดขึ้นกับใบด่างแต่ละชนิดขึ้นกับข้อมูลของสารพันธุกรรม โดยมียีนเฉพาะที่ควบคุมลักษณะเหล่านี้ถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกให้เกิดพืชใบด่างได้ ส่วนลักษณะด่างที่เห็นเป็นสีเงิน ไม่ได้เกิดจากสารสีของพืช แต่เกิดจากลักษณะโครงสร้างของใบที่มีช่องอากาศระหว่างเนื้อเยื่อใบ ทำให้เมื่อแสงแดดตกกระทบบนใบจะเกิดการหักเหมองเห็นใบเป็นสีเงินเป็นลักษณะที่มีการถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม เรียกลักษณะด่างแบบนี้ว่า Reflective variegation หรือ Blister variegation ตัวอย่างต้นเปปเปอร์โรเมียลายแตงโม (Watermelon peperomia) และต้นพลูแนบอุรา(Scindapsus pictus) อีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดใบด่างที่ทำให้พืชจากเดิมทีมีสีเขียวกลายเป็นพืชใบด่างได้ จากความผิดปกติในระดับพันธุกรรม ที่เป็นการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อเจริญของพืช ซึ่งก็คือเนื้อเยื่อบริเวณยอดของพืชที่มีการแบ่งเซลล์เพื่อการเจริญเติบโต เมื่อมีการแบ่งตัวซ้ำ ๆ จึงทำให้ง่ายที่จะเกิดการกลายพันธุ์ […]

ภาพยนตร์เต็มโดมประจำเดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons)

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยส่วนวิชาการ กลุ่มงานท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง ด้วยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการ ผ่านเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย และจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม รอบละประมาณ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คนต่อ 1 รอบการแสดง ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ในภาพยนตร์เต็มโดม เดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons) ภาพยนตร์ความยาว 23 นาที นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับดาวเคราะห์ที่ชื่อว่า “โลก” ว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เราพบสื่งมีชีวิต แต่เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะอพยพไปอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น  ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ต้านแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวพฤหัส และตื่นตากับความสวยงามของดาวเสาร์ แล้วลองตัดสินใจว่าดาวเคราะห์ดวงไหนที่เราอยากไปอยู่ พากษ์เสียงภาษาไทยโดย คุณฉันทวิทย์ ธนะเสวี (เต๋อ)

ร่วมแสดงความยินดีแด่รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้

วันที่ 31 สิงหาคม 2566 นายโยฑิน สมโนนนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา พร้อมคณะผู้แทนเจ้าหน้าที่ ศว. เข้าร่วมสักการะพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 และมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแด่ว่าที่เรือตรีชูชีพ อรุณเหลือง ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ รักษาราชการอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ณ กระทรวงศึกษาธิการ

บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้โครงการวันวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566 บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานำโดย นางสาวพรทิพย์ สกลกูล นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ นางสาวจุฬวดี สุทธิประภา นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ และนางสาวนันทิชา ม่วงปาน นักวิชาการศึกษา เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้โครงการวันวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษา สกร.เขตพญาไท โดยมีนักศึกษาพลเรือนและทหารกองประจำการ จำนวน 105 คน เข้าร่วมโครงการ สำหรับการบรรยายในครั้งนี้ผู้บรรยายทั้ง 3 ท่าน ได้แบ่งกลุ่มและให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ (Workshop) ในส่วนของการทดลองเพื่อต่อยอดโครงงาน การหาปัญหา เค้าโครงของโครงงาน และเทคนิคการนำเสนอผลงาน ทั้งในส่วนของการเขียนรายงาน การจัดทำแผงโครงงาน และการนำเสนอด้วยวาจา​ สุดท้ายนักศึกษา สกร.เขตพญาไท ได้นำเสนอผลงานของตัวเอง และผู้บรรยายได้เปิดโอกาสให้นักศึกษา สกร. ถาม – ตอบ เรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้นักศึกษาได้นำไปปรับใช้ในการต่อยอดผลงานและโครงงานวิทยาศาสตร์ต่อไป

ประกาศผลการประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2566

ประกาศผลการประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) ระดับประเทศ  ประจำปี พ.ศ. 2566  ช่วงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนอนุบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนเชาวน์วัศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รางวัลชมเชย โรงเรียนอักษรศึกษา จังหวัดชลบุรี โรงเรียนบ้านโสกเชือก (คุรุราษฎร์อำนวย) จังหวัดร้อยเอ็ด โรงเรียนปัญญาวิทย์ จังหวัดตรัง ช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง จังหวัดสมุทรปราการ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) จังหวัดขอนแก่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต รางวัลชมเชย โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โรงเรียนวารีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” จังหวัดระยอง ขอแสดงความยินดีกับทุกโรงเรียนที่ได้รางวัล สำหรับเกียรติบัตรในการประกวดฯ จะจัดส่งไปตามที่อยู่ของโรงเรียนที่แจ้งไว้ ขอขอบคุณ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เป็นศูนย์จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนในภูมิภาค คณะผู้บริหารโรงเรียน […]