ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ |
---|
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ ประจำปีงบประมาณ 2565 |
ข่าวสาร กิจกรรม บทความและนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ร่วมกับสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมจัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 19
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ร่วมกับสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมจัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 19 (Science Film Festival 2023) ภายใต้แนวคิด “ทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการฟื้นฟูระบบนิเวศ” United Nations Decade on Ecosystem Restoration 2021-2030 ในปี พ.ศ. 2566 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้เป็นพันธมิตรสนับสนุนอย่างเป็นทางการของทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการฟื้นฟูระบบนิเวศโดยหัวข้อของแคมเปญนี้คือการเรียกร้องให้มีการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศทั่วโลก ทศวรรษแห่งสหประชาชาตินั้นเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2573 ซึ่งถือเป็นเส้นตายสำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นไทม์ไลน์ที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะสามารถป้องกันวิกฤติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง การฟื้นฟูระบบนิเวศหมายถึงการช่วยให้ระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมหรือถูกทำลายคืนสภาพ รวมทั้งอนุรักษ์ระบบนิเวศที่ยังคงสภาพสมบูรณ์เอาไว้เทศกาลนี้จัดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 สำหรับประเทศไทย จัดขึ้นในช่วง 1 พฤศจิกายน ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
มาทำความรู้จักกับบรรยากาศของโลกกันเถอะ
เคยสังเกตกันบ้างไหมว่าบรรยากาศของโลกนั้น นอกจากจะเป็นอากาศให้เราหายใจกันในทุก ๆ วันแล้ว บรรยากาศของโลกคืออะไร และมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตและโลกอย่างไรอีกบ้าง บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึง อากาศที่ห่อหุ้มโลก มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ แก๊สชนิดต่าง ๆ ไอน้ำ ฝุ่นละออง และอื่น ๆ โดยบรรยากาศของโลกมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ 78.08%, ออกซิเจน 20.94%, อาร์กอน 0.93%, คาร์บอนไดออกไซด์ 0.03%, และอื่น ๆ อีก 0.2% ตามปกติแล้วจะไม่มีอากาศแห้งแท้ ๆ เนื่องจากอากาศโดยทั่วไปจะมีไอน้ำปนอยู่ ตั้งแต่ 0 ถึง 4% ไอน้ำ เกิดจากการระเหยของน้ำจากแหล่งต่าง ๆ การระเหยของน้ำจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ พื้นที่ผิวหน้า และปริมาณไอน้ำในอากาศ ไอน้ำที่เป็นส่วนผสมของอากาศนั้น เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดฝน ลม พายุ ฟ้าแลบ และฟ้าร้อง อนุภาคที่เป็นของแข็งที่มีขนาดเล็ก ได้แก่ ฝุ่นละออง […]
สิ่งมีชีวิตในทะเลทราย
โลกของเรามีพื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยทะเลทรายมากกว่า 1 ใน 5 ของพื้นโลก ทะเลทราย คือ พื้นที่ที่เป็นทรายกว้างใหญ่ มีอากาศร้อน แห้งแล้ง และมีฝนตกน้อยมาก โดยมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ในทะเลทราย คือ สายพันธุ์ที่ทนต่อความแห้งแล้งเท่านั้น สิ่งมีชีวิตในทะเลทรายมีการปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศเพื่อความอยู่รอด สัตว์ในทะเลทรายส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางคืนและปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่น เต่าทะเลทรายจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ใต้ดิน หรือ อูฐ ที่อยู่ในทะเลทรายได้โดยไม่ต้องกินอาหารหรือน้ำนานถึง 2 สัปดาห์ เพราะสะสมไขมันไว้ในหนอก และร่างกายเก็บน้ำได้เป็นอย่างดี หรือ หมาจิ้งจอกทะเลทราย ที่มีขนอุ้งเท้าหนาสำหรับใช้เดินบนพื้นทรายที่ร้อนระอุ ขนสีน้ำตาลของมันเหมือนสีของทรายช่วยพรางตัวจากศัตรู และยังทำหน้าที่สะท้อนความร้อนจากแสงแดด ไม่มีพืชชนิดใดอยู่รอดได้ถ้าขาดน้ำ พืชจึงต้องดิ้นรนเพื่อให้มีน้ำเก็บสะสมอยู่มากพอกับความต้องการ พืชทะเลทรายเกือบทุกชนิดเก็บสะสมน้ำไว้ในลำต้นและใบ พวกมันจึงมีรูปร่างพิเศษกว่าต้นไม้ทั่วไป เช่น กระบองเพชร มีลำต้นอวบใหญ่เพื่อเก็บน้ำไว้ในลำต้น มันปรับเปลี่ยนใบให้เป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำ และมีรากยาวชอนไชลงสู่ชั้นใต้ดินเพื่อหาแหล่งน้ำ หรือ ต้นครีโอโสต (creosote) ที่ใบของมันจะเหี่ยวแห้งคาต้นในฤดูแล้ง ทำให้ดูเหมือนต้นไม้ที่ตายแล้ว แต่ในหน้าฝนมันจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาสดชื่นใหม่อีกครั้ง แม้ทะเลทรายจะมีสภาพโหดร้ายสักเพียงใด ธรรมชาติก็ยังสร้างสิ่งมีชีวิตสุดพิเศษที่มีความสามารถในการปรับตัวด้านรูปร่างลักษณะ การปรับตัวด้านสรีระ และการปรับตัวด้านพฤติกรรม เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่รอดได้ท่ามกลางความร้อนจัดและแห้งแล้งนั้น อ้างอิง มารู้จักทะเลทราย […]
ทำอย่างไร…ถ้าราขึ้นบนอาหาร
อาหารอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต เชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการอาหาร น้ำ อากาศ และอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต โดยการย่อยสลายอาหาร ทำให้สารเกิดการหมุนเวียนในระบบนิเวศ ราที่เราเห็นบนอาหาร เกิดจากสปอร์ของราที่มีขนาดเล็ก ลอยฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ แล้วตกลงบนอาหาร ที่มีความชื้นและสภาวะที่เหมาะสม ราจะเริ่มเจริญเติบโต สร้างใยรา (hyphae) ออกมา ซึ่งเหมือนกับรากที่ยึดพื้นผิวนั้นไว้ และปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารแล้วดูดซึมกลับ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างสปอร์เพื่อแพร่กระจายออกไปบริเวณรอบ ๆ ได้มากขึ้น ทำให้มันแพร่กระจายตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ราบางชนิดสามารถใช้เวลาย่อยสลายอาหารได้ภายใน 12 – 24 ชั่วโมง แต่ในบางชนิดอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ เราไม่สามารถมองเห็นสปอร์ของราที่ตกลงบนอาหารได้ แต่เราจะเริ่มมองเห็นราก็ต่อเมื่อราเริ่มเจริญเติบโตสร้างใยรา (hyphae) ที่รวมกลุ่มกันเป็นก้อน ๆ เรียกว่า กลุ่มใยรา (mycelium) เจริญเติบโตฝังรากลึกลงไปมากแล้ว ดังนั้นกว่าเราจะรู้ว่าราขึ้นบนอาหาร ก็สายไปแล้วเพราะเชื้อราได้ครอบครองอาหารของเราไปหมดแล้ว เราจะทำอย่างไรกับอาหารที่ขึ้นรานี้ ควรกินหรือควรทิ้ง… หลายคนอาจคิดว่า ถ้าให้ความร้อนกับอาหารจะสามารถทำลายเชื้อราได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วถึงราจะไวต่อความร้อนและสามารถถูกทำลายได้ที่อุณหภูมิ 60 – 70°C แต่ราบางชนิดมีการสร้างสปอร์ที่ทนกับความร้อนสูงไม่สามารถทำลายโดยความร้อนได้ และยังคงมีสารพิษจากเชื้อรา (mycotoxins) ที่ราสร้างขึ้นมากระจายอยู่ทั่วในอาหาร ไม่สามารถทำลายออกไปได้ […]
รู้หรือไม่ พืชกระท่อมถูกปลดล็อกจากการเป็นยาเสพติดแล้ว
ทุกคนทราบหรือไม่ว่า พืชกระท่อมจากเดิมที่ถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ในตอนนี้ได้มีประกาศออกมาว่าพืชกระท่อมได้รับการปลดออกจากสถานะยาเสพติดแล้วทำให้เราสามารถใช้พืชกระท่อมได้หลากหลายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการวิจัย การปลูก หรือการบริโภค รู้อย่างนี้แล้วเรามาทำความรู้จักกับพืชกระท่อมกันดีกว่า ว่าพืชกระท่อมคืออะไร มาจากไหน มีประโยชน์หรือโทษอะไรบ้างผ่านบทความนี้กันเลย พืชกระท่อมมีถิ่นกำเนิดมาจากที่ใด ? พืชกระท่อม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. อยู่ในวงศ์ Rubiaceaeซึ่งเป็นพืชวงศ์เข็มและกาแฟ มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้มากทางภาคใต้ของประเทศไทยมาเลเซียลงไปจนถึงเกาะนิวกินี โดยในประเทศไทยพบอยู่ 3 สายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์แตกต่างกันที่ลักษณะของใบ คือพันธุ์ก้านแดง (ก้านและเส้นใบสีแดง) พันธุ์แตงกวา (เส้นใบสีเขียวอ่อนกว่าแผ่นใบ) และพันธุ์ยักษาใหญ่ (ใบขนาดใหญ่กว่าพันธุ์อื่นและส่วนบนของขอบใบเป็นหยัก) ทำไมในอดีตพืชกระท่อมถึงจัดเป็นยาเสพติด ? ในอดีตมีการใช้ใบกระท่อมในการรักษาโรคต่าง ๆ โดยใช้ใบสดหรือใบแห้งนำมาเคี้ยว สูบ หรือชงเป็นน้ำชา ซึ่งกลุ่มผู้ใช้แรงงานและเกษตรกรมักบริโภคใบกระท่อมเพื่อกดอาการเมื่อยล้าขณะทำงาน ทำให้สามารถทำงานได้นานขึ้น และตั้งแต่ปี 2486 ในสมัยรัชกาลที่ 8 รัฐบาลได้ออกกฎหมายควบคุมพืชกระท่อมให้พืชกระท่อมจัดเป็นยาเสพติดเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าและภาษีของรัฐ เนื่องจากรัฐเป็นผู้ผูกขาดการผลิตฝิ่น ซึ่งมีราคาแพง ทำให้คนหันมาสูบกระท่อมแทนฝิ่น พืชกระท่อมสามารถกินในรูปแบบใดได้บ้าง การกินพืชกระท่อมมักนิยมนำใบสดหรือใบแห้งมาเคี้ยว สูบ หรือชงเป็นน้ำชา แต่ถ้าหากกินใบกระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจากตัวใบก่อน อาจทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า […]