ข่าวสาร กิจกรรม บทความและนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ
ท้องฟ้าจำลองจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม เดือนสิงหาคม เรื่อง “กลับไปดวงจันทร์กันเถอะ (Back to The Moon for good)”
สำหรับภาพยนตร์เต็มโดม เดือนสิงหาคม 2565 จัดแสดงเรื่อง กลับไปดวงจันทร์กันเถอะ (Back to The Moon for good) นำเสนอเนื้อหาสาระเกี่ยวกับดวงจันทร์และการเดินทางไปยังดวงจันทร์ของมนุษย์ ซึ่งเมื่อครั้งอดีต มนุษย์เคยไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์มาแล้ว แต่มากกว่า 40 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ยังไม่เคยเดินทางไปยังดวงจันทร์อีกเลย มาร่วมติดตามภารกิจในการกลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง เพื่อจุดมุ่งหมายด้านอวกาศร่วมกันของมนุษยชาติ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) สำนักงาน กศน. เปิดให้บริการส่วนการแสดงท้องฟ้าจำลอง ด้วยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศจากนักวิชาการศึกษา และจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดมจากเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย โดยเปิดการแสดงเป็นรอบ ๆ ละ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คนต่อ 1 รอบการแสดง ซึ่งให้บริการทั้งสถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป ท่านสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ : 0-2392-0508, 0-2391-0544 และ 0-2392-1773 ในวันและเวลาราชการ และตรวจสอบรอบการแสดงท้องฟ้าจำลองหรือกำหนดการฉายภาพยนตร์เต็มโดมได้ที่หน้าเว็บไซต์ www.sciplanet.org หรือ กำหนดการฉายภาพยนตร์เต็มโดม Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขอเชิญร่วมกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2565
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ขอเชิญร่วมกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 18 – 21 สิงหาคม 2565 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ในปี 2565 นี้ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ปี ค.ศ. 2022 เป็นปีสากลแห่งวิทยาศาสตร์พื้นฐานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ International Year of Basic Sciences for Sustainable Development 2022 (IYBSSD 2022) โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นและเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของวิทยาศาสตร์พื้นฐานต่อการดำรงชีวิตและการมีส่วนร่วมในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามที่กำหนดไว้ในปี พ.ศ. 2573 โดยมีองค์กรภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการสนับสนุนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของศูนย์วิทยาศาสตร์ในครั้งนี้ โดยการจัดกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2565 ได้จัดขึ้นทั้ง 2 แห่ง ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กิจกรรมปฏิบัติการรู้จักตัวเรา กำหมุนมหาสนุก กิจกรรมมหัศจรรย์ความเร็วลวงตา Basic Robot Camp Water filter มหัศจรรย์วงล้อสีรุ้งล่องหน เปลวเทียนในท้องทะเล ไฟฟ้าจากน้ำ Slime […]
นิทรรศการโค้ดดิ้ง ทักษะเพื่อชีวิต
นิทรรศการโค้ดดิ้ง ทักษะเพื่อชีวิต เป็นนิทรรศการที่ให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวโค้ดดิ้ง (CODING) ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งภายในนิทรรศการประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้ ความหมายของโค้ดดิ้ง (CODING) ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (DIGITAL LITERACY) ตรรกศาสตร์ (LOGIC) อัลกอริทึม หรือการลำดับขั้นตอนของคำสั่ง (ALGORITHM) ภาษาคอมพิวเตอร์ (COMPUTER LANGUAGE) ระบบเลขฐานสอง (BINARY DIGIT) การเขียนโปรแกรม (PROGRAMMING) ปัญญาประดิษฐ์ (AI : ARTIFICIAL INTELLIGENCE) หุ่นยนต์ (ROBOTIC) โดยในนิทรรศการจะมีกิจกรรมเกี่ยวกับโค้ดดิ้งหลากหลายรูปแบบให้ผู้ชมได้เข้าร่วม เช่น เกมเรือข้ามฝั่ง ทดลองขบคิดหาวิธีพาสุนัขจิ้งจอก กระต่าย และเห็ด นั่งเรือข้ามฝั่งไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ได้ เกมเรียงลำดับฮีโร่ ฮีโร่แต่ละคนมีพลังแตกต่างกัน จงพาฮีโร่ไปยังตำแหน่งที่เรียงลำดับถูกต้องตามคำสั่งและรูปแบบที่กำหนดไว้ เกมแปลงเลขฐานสองเป็นอาร์ต ทดลองวางตำแหน่งของบล็อกสี ที่แต่ละสีแทนด้วยเลข 0 และ 1 เพื่อสร้างภาพแบบต่าง ๆ ขึ้นมา เกมถอดรหัสเลขฐานสอง จากเลขฐานสองที่กำหนดให้ […]
ความเปรี้ยวรสชาติลับจากเมล็ดกาแฟ
กลิ่นหอมอบอวลที่ลอยมาในอากาศทุกครั้งที่สัมผัสกับความร้อน กลิ่นที่หลายคนโปรดปรานชวนให้รู้สึกผ่อนคลายกลิ่นนั้นเป็นของเจ้าเมล็ดสีดำนามว่า “กาแฟ” กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดกาแฟคั่วหรือเรียกว่า ผลเชอร์รี่ ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งมีสายพันธุ์หลัก ๆ ที่นิยมปลูกคืออาราบิก้าและโรบัสต้า นอกจากกลิ่นที่ชวนหลงใหล รสชาติที่กลมกล่อมก็ชวนให้หลายคนตกหลุมรักได้ แล้วเราเคยสงสัยกันไหมทำไมบางครั้งกาแฟที่รับประทานจึงมีรสชาติเปรี้ยวออกมาด้วย กาแฟแต่ละประเภทจะมีเอกลักษณ์ของรสชาติทั้งความหวาน เปรี้ยว ขม ฝาด และกลิ่นผลไม้ เฉพาะที่แตกต่างกัน นั่นอาจเป็นเพราะพื้นที่ปลูกและภูมิอากาศที่มีความแตกต่างกัน โดยหนึ่งในรสชาติที่มักจะพบในกาแฟ ที่ทำให้ผู้ดื่มกาแฟบางคนชอบและบางคนไม่ชอบ เพราะเข้าใจผิดคิดว่ากาแฟเสีย นั้นคือ ความเปรี้ยว (acidity) ที่อยู่ในเมล็ดกาแฟ รสชาติเปรี้ยวที่เรารับรู้ได้จากการรับประทานกาแฟส่วนหนึ่งมาจากผลเชอร์รี่ของกาแฟ เมื่อสุกเต็มที่จะสร้างรสชาติและความหอมของสายพันธุ์นั้น ๆ ซึ่งเมล็ดกาแฟจะมีกรดธรรมชาติที่พบได้ในผลไม้ เช่น กรดมาลิก ซึ่งเป็นกรดชนิดเดียวกับที่พบในแอปเปิ้ลเขียว ทำให้กาแฟที่ชงออกมามีรสชาติเปรี้ยวนุ่มคล้ายแอปเปิ้ลเขียว กรดซิตริก ให้รสเปรี้ยวคล้ายเลม่อนและเนคทารีน (ผลไม้ที่หน้าตาคล้ายพีช) กรดอะซิติก ให้รสเปรี้ยวคล้ายน้ำส้มสายชู กรดควินิก ที่ให้รสขม ฝาดและเปรี้ยวโดด นอกจากความเปรี้ยวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จากแหล่งปลูก ความสูงของพื้นที่ปลูก สภาพภูมิอากาศ ชนิดและสายพันธุ์กาแฟ รวมทั้งวิธีการแปรรูปและกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟก็มีผลเช่นกัน สำหรับระดับความเปรี้ยวของกาแฟสามารถควบคุมได้จากการคั่ว โดยเรียงลำดับจากรสเปรี้ยวมากไปน้อยได้แก่ คั่วอ่อน คั่วกลาง และคั่วเข้ม คั่วอ่อน ใช้อุณหภูมิความร้อน 350 […]
ภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งแรกของจีนโดยยานอวกาศเทียนเวิ่น-1 (Tianwen-1)
“คำถามต่อสรวงสวรรค์” ภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งแรกของจีนโดยยานอวกาศเทียนเวิ่น-1 (Tianwen-1) องค์การอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) ตั้งชื่อภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งแรกของจีนนี้ใช้ชื่อว่า “เทียนเวิ่น-1” (Tianwen-1) มีความหมายว่า “คำถามต่อสรวงสวรรค์” ตั้งตามบทกวีซึ่งประพันธ์โดย “ชวี เยหวียน” (Qu Yuan) องค์การอวกาศแห่งชาติจีนระบุว่าชื่อนี้แสดงถึงความมุมานะของจีนในการแสวงหาความจริงและวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการสำรวจธรรมชาติและจักรวาลตามเนื้อหาในบทกวี ยานอวกาศเทียนเวิ่น-1 ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยจรวดลองมาร์ช-5 (Long March-5) ณ ฐานปล่อยจรวดเหวินชาง เกาะไห่หนานและเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารได้สำเร็จเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 19:52 น. ตามเวลาประเทศไทย ตามหลังยานโฮปของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไปติด ๆ เป็นเริ่มต้นก้าวแรกสู่การสำรวจดาวอังคารของประเทศจีน ยานอวกาศเทียนเวิ่น-1 จะแยกส่วนยานเพื่อลงจอดบริเวณที่ราบต่ำยูโทเปีย (Utopia Planitia) บนดาวอังคาร ส่วนที่แยกออกไป ประกอบด้วยยานลงจอด (Lander) และรถสำรวจ (Rover) ที่จะทำหน้าที่ศึกษาพื้นผิวดาวอังคารที่ตำแหน่งต่าง ๆ มีอายุภารกิจประมาณ 90 วัน […]