ข่าวสาร กิจกรรม บทความและนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ
กิจกรรมการประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย”
การประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” เชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” ประเภท สิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ โครงการกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับผู้สูงวัย “แฮปปี้…สูงวัย” ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยสามารถกรอก ใบสมัครลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ และส่งหลักฐานการสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 9 มิถุนายน 2566 รายละเอียดโครงการ : หลักเกณฑ์การประกวด หรือ สแกน QR Code ในรูปภาพเพื่อดูรายละเอียดและสมัครได้เลยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-3910544, 02-3920508 และ 061-8793919 (อ.เอส) , 0852609401 (อ.เบนซ์) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
Skateboard เทรนด์ใหม่ในยุคโควิด
ขณะนี้ต้องยอมรับกันเลยว่าเทรนด์ใหม่ที่เรากำลังจะพูดถึงคงเป็นเรื่องอื่นไปไม่ได้นอกจาก Skateboard ซึ่งตอนนี้ทั้งรุ่นเล็กจนถึงรุ่นใหญ่ รวมแม้กระทั่งดาราในวงการหลาย ๆ คน ต่างก็หันมาเล่นเจ้าสเก็ตบอร์ดกันเป็นจำนวนมาก และเนื่องจากความฮอตฮิตของมันนี่เอง เรามาทำความรู้จักกับ Skateboard กันซะหน่อยดีกว่า สเก็ตบอร์ด (Skateboard) เป็นกีฬาเอ็กซ์ตรีมสุดฮอตที่ถูกดัดแปลงมาจากกีฬาเซิร์ฟมาไว้บนบก ที่ต้องใช้ทักษะในการเล่นค่อนข้างสูง ประกอบไปด้วยหลักการของวิทยาศาสตร์ที่สามารถอธิบายได้ตั้งแต่การออกแบบส่วนประกอบของตัว Skateboard จนกระทั่งถึงวิธีการเล่นในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างน่าสนใจทีเดียว สเก็ตบอร์ด ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ส่วนที่ 1 พื้นกระดาน (Deck) เป็นส่วนพื้น สเก็ตบอร์ดที่มีความแข็งแรงทนทานและมีความยืดหยุ่นตัว ส่วนใหญ่มักทำมาจากไม้เมเปิ้ล เป็นแผ่นซ้อนกันประมาณ 7 ชั้นด้วยกาวสูตรน้ำหรืออีพอกซีเรซิ่นพิเศษที่ถูกกดเข้าด้วยกันภายใต้แรงดันสูง โดยทั่วไปจะมีรูปทรงโค้งขึ้นตามแนวขอบด้านข้าง สำหรับให้นักเล่นสเก็ตใช้รักษาการควบคุมและสร้างความแข็งแรงของตัวพื้นกระดานเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งส่วนผิวด้านบนจะมีแผ่นกริ๊ปเทป (Griptape) เพื่อช่วยในการยึดเกาะระหว่างเท้ากับแผ่นสเก็ตบอร์ด ส่วนที่ 2 ทรัคหรือแกนล้อ (Trucks) เปรียบเสมือนเพลาของล้อรถ เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างพื้นกระดานกับล้อ เป็นส่วนที่รับแรงหมุนบดและการเคลื่อนไหวที่รุนแรงด้วยแกนบูช (Bushings) และลูกปืน (Bearings) ที่ต้องมีความแข็งแรงมาก สามารถปรับแต่งสำหรับควบคุมการเลี้ยวให้ง่ายขึ้นตามความชอบของผู้เล่นได้ ส่วนที่ 3 […]
ทำไมต้องใช้หินแกรนิต
เคยสังเกตแผ่นหินขนาดใหญ่ที่นำมาสลักเป็นป้ายชื่อประดับหน้าอาคาร แผ่นหินปูพื้น/ ผนัง หรือปูโต๊ะในห้องครัว หรือแม้กระทั่งหินแกะสลักเป็นรูปทรงต่าง ๆ ที่มักพบประดับตามสวนสาธารณะ ทราบหรือไม่ว่านั่นคือ หินแกรนิต หินแกรนิต (granite) คือ หินอัคนีชนิดหนึ่ง เกิดจากแมกมาเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ จึงทำให้แร่ที่เป็นส่วนประกอบในแมกมา มีเวลาจับตัวกันเป็นผลึกขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หินแกรนิต ประกอบด้วยแร่หลัก 3 ชนิด นั่นคือแร่ควอตซ์ (quartz) แร่เฟลด์สปาร์ (feldspar) และแร่สีเข้มที่มีประกอบเป็นส่วนน้อย เช่น แร่ฮอร์นเบลนด์ (hornblend) แร่ไพรอกซีน (pyroxene) เป็นต้น หินแกรนิตในธรรมชาติมักมีสีอ่อน ส่วนจะมีสีใดนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณและแร่ธาตุที่เข้าไปปะปนอยู่ในหิน เช่น แร่ควอตซ์ทำให้หินแกรนิตเป็นสีขาวหรือเทา แร่เฟลด์สปาร์ทำให้หินมีสีแดงหรือสีชมพู ส่วนแร่สีเข้มทำให้หินแกรนิตมีสีเข้มของสีเขียว สีน้ำตาลหรือสีดำ ของแร่แต่ละชนิดปะปน ทำให้เกิดลวดลายตามธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ การนำแกรนิตไปใช้ประโยชน์ ด้วยคุณสมบัติของแร่ประกอบหินแกรนิตแต่ละชนิด มีความทนทานต่อการผุกร่อนตามธรรมชาติหรือการขูดขีด เนื่องจาก แร่ควอตซ์ (quartz) มีความแข็งระดับ 7 ตามโมห์สเกล แร่เฟลด์สปาร์ (feldspar) มีความแข็งระดับ 6 ตามโมห์สเกล […]
ภาพมองตาม (HOLLOW-FACE ILLUSION)
ภาพมองตาม (hollow-face illusion) เป็นภาพลวงตา (optical illusion) ที่น่าทึ่ง เมื่อเรามองไปที่ภาพใบหน้าคน ในขณะที่เรายืนห่างออกมา 3-5 เมตร จะเห็นว่าภาพนั้นหันหน้ามองมาทางเรา แต่เมื่อเราเดินไปทางซ้าย หรือเดินไปทางขวา พบว่าภาพนั้นหันหน้าตามเรามาด้วย ภาพสามารถหันหน้าตามเราได้จริง ๆ หรือว่าเราตาฝาดกันแน่ ในการเห็นภาพต่าง ๆ นั้น มีความสัมพันธ์กับกระบวนการทางสมองของเรา สมองรู้ว่าหน้าเป็นทรงนูน (convex) ไม่ใช่ทรงเว้า (concave) โดยอันที่จริงแล้ว ภาพมองตาม เป็นภาพที่เว้า (hollow) ลึกเข้าไป แต่ด้วยกระบวนการของสมองเห็นว่าภาพเป็นหน้าทรงนูน และเมื่อเราเคลื่อนที่ไป เงา (shadow) บนหน้าของภาพลวงตาที่เปลี่ยนไปทำให้เห็นว่าภาพหันหน้าตามเรามา มาพบกับ ภาพมองตาม ได้ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ กันนะครับ อ้างอิง https://1th.me/hSz3i Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
บ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิต The Big House of living things
“บ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิต The Big House of living things” โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความมหัศจรรย์มากเพราะมีดาวเคราะห์ไม่กี่ดวงเท่านั้นที่จะมีน้ำและสภาวะแวดล้อมเหมาะสมกับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต หรีอว่า “โลก” จะเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะจักรวาลที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ พื้นที่ส่วนใหญ่บนโลก ถูกปกคลุมด้วยน้ำ ทั้งยังมีอุณหภูมิ และชั้นบรรยากาศซึ่งประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ องค์ประกอบของโลกมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่พื้นดินไปจนถึงชั้นบรรยากาศเหล่านี้เป็นปัจจัยเอื้ออำนวยต่อการกำเนิดและการอาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นบนโลกมานานนับพันล้านปีแล้ว สิ่งมีชีวิตชนิดแรกบนโลก คือ ไซยาโนแบคทีเรีย (Cyanobacteria) นับเป็นจุดเริ่มต้นวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต พื้นที่โลกถูกปกคลุมด้วยน้ำประมาณ 3 ใน 4 ส่วน อีกทั้งโลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ในระยะที่พอเหมาะจึงมีความอบอุ่น และได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการสร้างอาหารของสิ่งมีชีวิต นอกจากนั้น ชั้นบรรยากาศยังช่วยให้อากาศภายในโลกมีความสมดุล ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีคุณสมบัติและเอกลักษณ์เฉพาะตัว สิ่งมีชีวิตจึงสามารถก่อกำเนิด และอาศัยอยู่บนโลกนี้ได้ โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีชั้นบรรยากาศ อุณหภูมิ แผ่นดิน พื้นน้ำ และธาตุต่าง ๆ อย่างสมดุล โดยทุกอย่างสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบเป็นสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ และความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เราควรช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้ “โลก” เป็นบ้านหลังใหญ่อันแสนสุขสำหรับทุก ๆ ชีวิต Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine