รถไฟเหาะตีลังกา

เครื่องเล่นในสวนสนุกเป็นที่นิยมสำหรับคนที่ชอบความท้าทายต้องไม่พลาดกันเลย นั่นก็คือ “รถไฟเหาะตีลังกา” ซึ่งเป็นเครื่องเล่นน่าหวาดเสียว อาจจะเป็นเรื่องยากสักหน่อยที่ในขณะเล่นอยู่นั้นจะไม่กรีดร้องเลย เพราะการเคลื่อนที่ของรถไฟเหาะตีลังกาเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกกับแรงเฉื่อยในการเคลื่อนที่จากที่สูงลงมาอย่างอิสระตามเส้นทางของรางที่ถูกออกแบบไว้ แต่เบื้องหลังของความสนุกสุดเหวี่ยงที่เกิดขึ้นทำให้เราได้เครื่องเล่นที่สามารถสร้างความสนุกสนานแล้ว การเคลื่อนที่ของเครื่องเล่นชิ้นนี้ยังใช้หลักการของฟิสิกส์หลาย ๆ อย่าง เช่น พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานจลน์ แรงเข้าสู่ศูนย์กลาง แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นต้น การเคลื่อนที่ของรถไฟเหาะตีลังกาเริ่มต้นจากการถูกดึงด้วยระบบโซ่และมอเตอร์ขึ้นไปยังจุดสูงสุดเพื่อทำการปล่อยลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลกและเคลื่อนที่ด้วยแรงเฉื่อย การกักเก็บพลังงานทำให้รถไฟที่กำลังเคลื่อนที่ลงอย่างอิสระจากจุดสูงสุดนั้นจะมีพลังงานศักย์โน้มถ่วงมากที่จุดเริ่มต้นของราง ขณะที่รถไฟถูกปล่อยลงมาจะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์และจะมีพลังงานจลน์สูงสุด ณ จุดต่ำสุดของราง ยิ่งจุดเริ่มต้นนั้นมีความสูงมากเท่าไหร่ พลังงานศักย์โน้มถ่วงก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้นและเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ได้มากขึ้นตามความเร็วเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างองศาของรางทำมุม 60 ํ สามารถทำความเร็วได้ถึง 125 km/h เลยทีเดียว จากความรู้สึกที่ได้เล่นรถไฟเหาะนั้น ในขณะรถไฟเหาะกำลังแล่นลงมาจากที่สูงวิ่งเข้ามายังวงกลม จะเกิดแรงกระทำต่อตัวเรามากที่สุด เราจะรู้สึกว่าน้ำหนักตัวเองเพิ่มขึ้นจนหลังติดเบาะ และเมื่อรถไฟเคลื่อนที่ขึ้นไปถึงจุดบนสุดของวงกลม เราจะรู้สึกได้ถึงสภาวะไร้น้ำหนัก และกลับมาสู่ภาวะปกติอีกครั้งเมื่อลงมาที่จุดต่ำสุด การเปลี่ยนแปลงของแรงที่กระทำต่อตัวเราทำให้เรารู้สึกสนุก ตื่นเต้นตลอดเวลาในขณะนั่งอยู่บนรถไฟเหาะ ยิ่งหากรางมีรูปแบบเป็นหยดน้ำทรงคว่ำด้วยแล้ว ความสนุกจะเกิดขึ้นจากการที่รัศมีของวงกลมด้านบนมีค่าน้อยกว่าด้านล่าง ก่อให้เกิดแรงเข้าสู่ศูนย์กลางของรถไฟด้านบนมีค่ามากกว่าด้านล่าง จึงทำให้ตัวของเราติดกับที่นั่งมากขึ้น และเมื่อรถไฟแล่นกลับลงมาความเร่งจะลดลง ผู้เล่นจะไม่รู้สึกอึดอัดนั่นเอง รวมถึงโค้งต่าง ๆ ในเส้นทางของรางที่จะเกิดแรงเข้าสู่ศูนย์กลางด้วยเช่นกัน ปัจจุบันวิศวกรออกแบบรถไฟได้นำเทคโนโลยีระบบมอเตอร์และแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามาช่วยในการเคลื่อนที่ เพื่อให้รถไฟขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่องในรูปแบบหลากหลายมากยิ่งขึ้น ในความสนุกสนานก็มีอันตรายเช่นเดียวกัน ซึ่งการเล่นเครื่องเล่นในสวนสนุกก็อย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำที่บอกเอาไว้ อ้างอิง ฟิสิกส์ของรถไฟเหาะ ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน […]

superadmin

8 April 2024

เรือใบแล่นทวนลมได้ไหม?

ก่อนที่จะหาคำตอบของคำถามนี้ เรามารู้จักเรือใบเบื้องต้นจากเรือใบขนาดเล็กกันก่อน เรือใบขนาดเล็กนั้นนอกจากตัวเรือแล้วยังมีส่วนประกอบที่สำคัญหลักคือ ใบเรือ หางเสือเรือ และคัดแคง ใบเรือ (Sail) ทำหน้าที่รับลมและและสร้างแรงผลักให้เรือแล่นไปข้างหน้า แต่ใบเรือต้องอยู่ในองศาเหมาะสมกับทิศทางลม หางเสือเรือ (Rudder) ใช้ควบคุมทิศทางเรือ เมื่อหางเสือปัดไปทางใด หัวเรือก็จะหันไปในทิศทางเดียวกัน คัดแคง (Center Board หรือ Drager Board) มีลักษณะเป็นแผ่นกระดานยื่นลงไปใต้ท้องเรือ ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เรือเซหรือเอียงเมื่อแล่นขวางทิศทางลม การแล่นของเรือใบ เกิดจากใบเรือได้รับแรงจากลมที่พัดมา แรงลมก็จะไหลไปตามพื้นผิวของใบเรือและแรงนั้นจะถูกส่งไปยังท้ายเรือ เกิดเป็นแรงผลักให้เรือแล่นไปข้างหน้าได้ โดยการที่เรือใบจะเคลื่อนที่ไปยังทิศทางที่ต้องการได้นั้นขึ้นอยู่กับใบเรือและหางเสือ ใบเรือต้องอยู่ในองศาที่เหมาะสมกับทิศทางลม และหางเสือต้องบังคับเรือไปยังทิศทางที่ใบเรือรับลมได้ ซึ่งการปรับองศาของใบเรือต้องสัมพันธ์กับทิศทางของลมที่พัดมา ทั้งนี้สามารถบังคับเรือให้ไปยังทิศทางที่สวนลมได้อีกด้วย ตามปกติแล้วหากเป็นลมสวนในทิศทางตรง ใบเรือจะไม่สามารถรับลมให้เรือแล่นไปข้างหน้าตรง ๆ ได้เลย การจะแล่นเรือใบในสภาวะสวนลมได้ การบังคับเรือต้องให้องศาของใบเรืออยู่ในลักษณะเฉียงกับทิศทางลมที่สวนมา แรงลมสวนที่ปะทะใบเรือจะถูกเปลี่ยนทิศทางโดยใบเรือที่เปลี่ยนองศาไปขณะแล่นอยู่ ส่งผลให้เรือแล่นในลักษณะโค้งสลับไปมา จนไปถึงจุดหมายด้านหน้าได้ อ้างอิง https://www.blockdit.com/posts/5ee43aeb3d014a0ca37861a1 http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/physcis-for-everyday/physics-for-everydayuse-content/1-20/indexcontent20.htm

superadmin

1 April 2024

ดาวยูเรนัส (Uranus)

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าอยู่ 5 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์ ตามลำดับ ส่วนดาวยูเรนัสกับดาวเนปจูนนั้น จะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องอาศัยกล้องโทรทรรศน์ในการช่วยสังเกต ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับดาวยูเรนัสกัน ดาวยูเรนัส (Uranus) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 7 ของระบบสุริยะ ในช่วงที่ดาวยูเรนัสเข้าใกล้โลกที่สุดจะเป็นช่วงที่เราสามารถมองเห็นดาวยูเรนัสด้วยตาเปล่าได้ ซึ่งในช่วงนี้ดาวยูเรนัสจะมีโชติมาตรปรากฏ 5.7 (โชติมาตรปรากฏที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าคือ 6) เป็นช่วงที่พอจะสังเกตเห็นได้จาง ๆ แต่เราจะจำแนกไม่ได้ หรือเกือบไม่ได้ เนื่องจากบนท้องฟ้าในเวลากลางคืนมีดาวที่มีความสว่างใกล้เคียงกับดาวยูเรนัสอยู่เป็นจำนวนมาก จุดแสงของดาวยูเรนัสจึงกลมกลืนไปกับดาวฉากหลัง ทำให้ไม่อาจจำแนกได้ว่าจุดไหนเป็นดาวยูเรนัส ดาวยูเรนัสมีอีกชื่อเรียกหนึ่งในภาษาไทยว่า ดาวมฤตยู ซึ่งแปลว่า ดาวแห่งความตาย ส่วนคำว่า ‘ยูเรนัส’ นั้น มาจากชื่อของเทพเจ้ากรีก ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งท้องฟ้า คำ ๆ นี้ได้ถูกเสนอให้นำมาตั้งเป็นชื่อดาวเพื่อที่จะได้สอดคล้องกับชื่อดาวดวงอื่นที่เป็นชื่อของเทพเจ้าเช่นกัน และชื่อนี้ก็ได้ถูกยอมรับกันอย่างกว้างขวางดาวยูเรนัส มีองค์ประกอบคล้ายดาวพฤหัสบดี ซึ่งภายในดาวจะประกอบไปด้วยไฮโดรเจน และฮีเลียม เป็นส่วนใหญ่ แต่ลึกลงไปชั้นในมีส่วนประกอบของ แอมโมเนีย และมีเทน ผสมอยู่ด้วย เนื่องจากดาวยูเรนัส […]

superadmin

25 March 2024

ผีเสื้อ แมลงที่ต้องคุ้มครอง

แมลง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีความสำคัญในการรักษาสมดุลระบบนิเวศ เนื่องจากมีความหลากหลายของชนิดมากเป็นอันดับต้น ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่พบบนโลก การเปลี่ยนแปลงจำนวนชนิดและประชากรของแมลงจึงสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศได้ แม้ว่าแมลงจะมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้รวดเร็ว สามารถปรับตัวให้อยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ แต่ปัจจุบันปัจจัยต่าง ๆ ล้วนทำให้แมลงปรับตัวได้ยากลำบากยิ่งขึ้นและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยหนึ่งในแมลงที่ได้รับผลกระทบในวงกว้าง คือ ผีเสื้อ แมลงสวยงามที่มีบทบาทสำคัญในธรรมชาติ ผีเสื้อ สัตว์จำพวกแมลงถูกจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) อันดับ – เลพิดอปเทอรา (Order Lepidoptera) ที่มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวไม่มีโครงกระดูกภายในเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแต่จะมีเปลือกแข็งที่เกิดจากสารจำพวกไคติน (Chitin) หุ้มอยู่ภายนอก ร่างกายแบ่งออกได้ 3 ส่วน คือ หัว อก และท้อง ส่วนหัว (Head) ประกอบด้วย ปาก ลักษณะเป็นท่อเหมือนงวงใช้สำหรับดูดน้ำหวาน มีหนวด 1 คู่ มีตาเดี่ยวและตาประกอบ 1 คู่ ส่วนอก (Thorax) ประกอบด้วย ขา 3 คู่ และปีก 2 […]

superadmin

14 March 2024

“เกาะความร้อน” ปรากฏการณ์ร้ายในเขตเมือง

ปัจจุบันเราต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนที่ทวีความรุนเเรงมากขึ้น เมื่อเทียบกับในอดีต ยิ่งในพื้นที่เขตเมืองที่มีสิ่งปลูกสร้างจำนวนมาก อุณหภูมิความร้อนก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เราจึงนิยามสภาพอากาศร้อนในเขตเมืองที่มากกว่าบริเวณอื่น ๆ ว่า “เกาะ” เช่นเดียวกันกับลักษณะของเกาะซึ่งเป็นพื้นดินยกตัวสูงในมหาสมุทรเเละมีน้ำล้อมรอบ การเปลี่ยนเเปลงนี้ไม่ใช่แค่การเพิ่มของอุณหภูมิเท่านั้น แต่มันยังเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับโลกของเรามาหลายร้อยปีที่เรียกกันว่า ปรากฏการณ์เกาะความร้อน เกาะความร้อนหรือเกาะความร้อนเมือง (Urban heat island : UHI) เป็นปรากฏการณ์ที่พื้นที่สังคมเมืองมีอุณหภูมิและมลพิษทางสิ่งแวดล้อมสูงกว่าบริเวณโดยรอบ อีกทั้งมีแสงสลัว ลมน้อย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของแผ่นดินจากการพัฒนาเมือง ทำให้มีอาคารก่อสร้างจำนวนมากกว่าต้นไม้ที่คอยดูดซับมลพิษหรือดักจับฝุ่นในอากาศ พื้นที่เขตเมืองเมื่อขาดต้นไม้พลังงานแสงอาทิตย์ที่แผ่มายังโลกจึงตกกระทบกับพื้นดิน และสิ่งก่อสร้างโดยตรงเกิดการสะสมพลังงานกลายเป็นความร้อนในวัตถุได้ง่าย และถ่ายเทออกสู่อากาศโดยรอบ เมื่อความร้อนที่ถ่ายเทออกมารวมตัวกันในปริมาณมาก จะก่อให้เกิดเป็นโดมความร้อนสูงครอบเมืองเอาไว้ ส่งผลให้อุณหภูมิบริเวณที่อยู่ใต้โดมสูงกว่าอุณหภูมิด้านนอกโดม ซึ่งความแตกต่างของอุณหภูมิจะชัดเจนมากในตอนกลางคืนมากกว่ากลางวัน ปรากฏการณ์เกาะความร้อนที่เกิดขึ้นในเขตเมืองล้วนมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากปัจจัยเหล่านี้ การเพิ่มขึ้นของอาคารต่าง ๆ นำมาซึ่งการใช้ทรัพยากรด้านพลังงานที่ปล่อยทั้งพลังงานความร้อนและมลพิษออกมา สิ่งก่อสร้างที่มีมากนี้ยังก่อให้เกิดการปิดกั้นความร้อนจากพื้นดินไม่ให้แผ่ขึ้นสู่ท้องฟ้าในช่วงตอนกลางคืน ดังนั้นท้องฟ้ากลางคืนจึงเย็นกว่าพื้นดิน คุณสมบัติด้านการดูดซับ และการสะท้อนกลับของรังสีความร้อนจากผิววัสดุในสิ่งก่อสร้าง เช่น คอนกรีต และแอสฟัลต์ (ยางมะตอย) โดยเฉพาะแอสฟัลต์ที่มีคุณสมบัติในการดูดซับ และเก็บรังสีจากดวงอาทิตย์ได้ดี จึงก่อให้เกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนได้ง่าย การขาดการระเหยหรือคายน้ำ เนื่องจากในพื้นที่เมืองมีพื้นที่สีเขียวและต้นไม้ต่าง ๆ น้อยมาก เมื่อเทียบกับสัดส่วนของพื้นที่ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้าง การระเหยหรือคายน้ำของพืชเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถช่วยลดอุณหภูมิอากาศภาคพื้นดินได้ดีและช่วยให้พื้นที่เมืองเย็นขึ้น การบังลมของอาคารสูง ทำให้ความร้อนไม่สามารถระบายออกไปจากเมืองได้ […]

superadmin

28 February 2024

ไส้กรอก : อาหารแปรรูป กินอย่างไรให้ปลอดภัย?

อาหารแปรรูปประเภทเนื้อหมัก เช่น ไส้กรอก แฮม โบโลน่า ที่หลาย คนนิยมบริโภคเป็นอาหารเช้า หรืออาหารว่าง ด้วยลักษณะรูปร่าง กลิ่นรส สี ชวนน่ารับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไส้กรอก ที่เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม อร่อย มีทั้งแบบสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน หรือซื้อนำมาประกอบอาหารเอง ปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายชนิดหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด แต่รู้หรือไม่ว่าในไส้กรอกมีส่วนประกอบอะไรบ้าง ? และมีความปลอดภัยหรือไม่ ? ส่วนประกอบหลักในไส้กรอกมีโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ ไขมัน น้ำ เป็นส่วนช่วยให้เนื้อสัมผัสเกิดความนุ่ม ชุ่มฉ่ำ นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่น คือ วัตถุเจือปน ที่ใช้เป็นวัตถุกันเสีย เพื่อรักษาสีสันของเนื้อสัตว์ให้ดูสดใหม่ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในอาหารป้องกันการเน่าเสีย ซึ่งเป็นสารกลุ่มไนไตรต์ ไนเตรต อย่างโซเดียมไนไตรต์ และโซเดียมไนเตรต หรือที่คุ้นเคยกันอย่าง ดินประสิว มีชื่อทางเคมีว่า โปแตสเซียมไนเตรต ถึงแม้ว่าสารเหล่านี้จะมีข้อดี แต่มีข้อที่ต้องระมัดระวังด้วยเช่นกัน เพราะวัตถุเจือปนสามารถทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินอาหารได้ ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดท้องอย่างรุนแรง หากรับประทานเกินปริมาณที่กำหนดจะก่อให้เกิดอันตราย ส่งผลต่อการทำงานของ ฮีโมโกลบิน ในเม็ดเลือด ที่ทำหน้าที่ในการส่งออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน […]

superadmin

19 February 2024

เรารู้อายุของปลาได้อย่างไร

เรารู้อายุของมนุษย์และสัตว์ได้ด้วยการคำนวณจากวันเดือนปีเกิด ส่วนอายุของต้นไม้ก็คำนวณได้จากวงปีในเนื้อไม้ของต้นไม้นั้น ๆ ถ้าเราอยากรู้อายุของปลา จะรู้ได้จากอะไร ปลาเป็นสิ่งมีชีวิต ย่อมต้องมีการเจริญเติบโต จากรายงานทางวิชาการพบว่าปลาทะเลบางชนิดในเขตอบอุ่นมีอายุถึง 20 ปี เช่น ปลาแฮร์ริ่งในทะเลเหนือ หรือปลาบึกในแม่น้ำโขงอาจมีอายุมากกว่า 15 ปี ในขณะที่ ปลาทูอาจมีอายุเพียง 3 ปี ก่อนจะถูกชาวประมงจับ นักวิทยาศาสตร์มีวิธีคำนวณอายุของปลาหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดของปลานั้น ๆ สำหรับปลามีเกล็ด จำนวนเกล็ดจะไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่เกิดจนตาย เราจึงไม่สามารถรู้อายุของปลาจากจำนวนเกล็ดได้ ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงใช้วิธีนับจำนวนวงปีบนเกล็ดปลา ซึ่งวงปีดังกล่าว มีลักษณะเป็นวง และมีเส้นขอบชัดเจนเป็นการแสดงระยะเวลาการเจริญเติบโตของปลาเหล่านั้น หากบนเกล็ดปลานั้นมีวงปีจำนวนมาก แสดงว่าปลานั้นมีอายุมาก ในกรณีที่ปลาไม่มีเกล็ด จะใช้วิธีคำนวณอายุจากกระดูกหูของปลา (กระดูกชิ้นเล็ก ๆ ที่เชื่อมระหว่างหูกับกระเพาะลม) โดยการนำกระดูกหูไปตัดขวาง แล้วสังเกตวงปีบนกระดูกหูของปลานั้น อ้างอิง หนังสือ 243 คำถามวิทย์ต่อยอดความคิดไม่รู้จบ หนังสือ ชีวิตน่ารู้ นานมีบุ๊คส์ 2543 https://www.saranukromthai.or.th

superadmin

12 February 2024

“กระต่ายบนดวงจันทร์” จากความเชื่อสู่เรื่องจริงของแพริโดเลีย

ดวงจันทร์ที่ปรากฏบนท้องฟ้าเป็นบริวารของโลกที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง เเต่เเสงที่เห็นนั้นเกิดจากแสงสะท้อนของดวงอาทิตย์ ทำให้มองเห็นดวงจันทร์ มีลักษณะต่าง ๆ เช่น ดวงจันทร์ครึ่งเสี้ยว ดวงจันทร์เสี้ยว เเละดวงจันทร์เต็มดวง นอกจากนี้เมื่อมองจากพื้นโลกหากสังเกตดี ๆ อาจเห็นพื้นผิวดวงจันทร์ที่เหมือนมีเงาสีเทา ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับกระต่ายตัวใหญ่ดังเช่นในนิทานหรือตำนานพื้นบ้านของหลาย ๆ ประเทศ ที่มักกล่าวถึงเรื่องราวการอาศัยอยู่บนดวงจันทร์ของกระต่าย เช่น แอฟริกา ทิเบต จีน ญี่ปุ่น อเมริกากลางเเละอเมริกาใต้ แล้วกระต่ายบนดวงจันทร์มีจริงหรือไม่ กระต่ายบนดวงจันทร์ คือ บริเวณเงาสีเทาที่เกิดจากการพุ่งชนดวงจันทร์ของอุกกาบาต ประมาณ 3.9-3 พันล้านปีที่แล้ว การพุ่งชนของอุกกาบาตส่งผลให้เกิดหลุมขนาดใหญ่ เเละทำให้พื้นผิวของดวงจันทร์ทะลุจนแมกมาซึ่งอยู่ด้านล่างไหลออกมาเป็นลาวาจำนวนมาก เมื่อลาวาเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วจึงเกิดเป็นหินบะซอลต์ที่มีสีเทาถึงดำ ซึ่งบริเวณเเอ่งราบที่ลาวาไหลมาปกคลุมนี้ถูกเรียกว่าทะเล (Sea) หรือมาเร (Mare) เพราะมีพื้นที่กว้างใหญ่เปรียบได้กับทะเลบนพื้นโลกเพียงแค่ไม่มีน้ำเท่านั้นเอง หากมองจากโลกพื้นที่ที่เป็นหินบะซอลต์จะมีสีทึบมองดูคล้ายกับกระต่าย ส่วนพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าทะเลจะมีสีจางเรียกว่า ที่สูงดวงจันทร์ หรือ Lunar highland ความสูง-ต่ำของพื้นที่เเละหินบะซอลต์นี่เองที่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลว่าทำไมเราถึงมองเห็นเหมือนว่ามีกระต่ายอยู่บนดวงจันทร์ แพริโดเลีย (Pareidolia) กับกระต่ายบนดวงจันทร์ เคยสงสัยกันไหม เเค่หินบะซอลต์ทำไมจึงกลายเป็นกระต่ายได้ล่ะ กระต่ายที่เราเห็นนั้นเเท้จริงเเล้วเกิดจากปรากฏการณ์แพริโดเลีย (Pareidolia) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางจิตใจของมนุษย์เท่านั้น เเพริโดเลียเป็นทักษะการจดจำใบหน้าที่มนุษย์มีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ช่วยให้สามารถระบุหน้าตาสิ่งต่าง ๆ […]

superadmin

5 February 2024

“กัญชาเสรี” กินอย่างไรให้ปลอดภัย

กัญชา พืชสมุนไพรที่นอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้ โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ คือ ใบสดกัญชา เช่น ใบกัญชาอ่อน หรือใบเพสลาด (ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป) ใบกัญชามีกรดกลูตามิก (Glutamic acid) ที่ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้กลมกล่อม และสารTetrahydrocannabinol : THC ทำให้อาหารมีกลิ่นหอมเมื่อกินไปแล้วจึงรู้สึกอยากอาหารมากขึ้นนั่นเอง แต่การนำมาใช้ประกอบอาหารนั้นต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียแก่ร่างกาย ใบสดกัญชามีสาร Cannabidiolic acid : CBDA และสาร Tetrahydrocannabinolic acid : THCA ที่ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ไม่ใช่สารเมา) แต่ THCA สามารถเปลี่ยนเป็นสาร THC หรือสารเมาได้ ด้วยกระบวนการต่าง ๆ เช่น เมื่อถูกแสงแดด สภาพอากาศร้อน และอุณหภูมิที่สูง หากใบกัญชาอยู่ในสภาวะต่อไปนี้จะทำให้สาร THCA ในใบกัญชาสามารถเปลี่ยนเป็น สาร THC ได้อย่างสมบูรณ์ คือ อุณหภูมิ 98 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง อุณหภูมิ […]

superadmin

29 January 2024

ทำความรู้จักกับหินอ่อน

เมื่อครั้งยังเป็นเด็กน้อยวัยละอ่อน ผู้เขียนเคยได้ฟังเพลงที่มีเนื้อร้องว่า “น้ำหยดลงหินทุกวันหินมันยังกร่อน แต่หัวใจอ่อน ๆ ของเธอทำด้วยอะไร” เนื้อเพลงได้เปรียบเทียบถึงความแข็งแรงของหินกับความบอบบางของกล้ามเนื้อหัวใจ ครั้นเติบโตขึ้นมาจึงได้เรียนรู้ว่าในบรรดาหินหลากหลายชนิด มีหินบางชนิดที่ชื่อแสดงถึงความนุ่มนวล นั่นคือ หินอ่อน มารู้จักหินอ่อนกันสักนิดว่าอ่อนจริงเหมือนชื่อหรือไม่ หินอ่อน (marble) คือหินที่แปรสภาพมาจากกลุ่มหินตะกอนชนิดหินปูน (limestone) เกิดจากการสะสมตัวของแร่แคลไซต์ (calcite) หรือแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) นั่นเอง ด้วยสมบัติของแร่ชนิดนี้ที่มีความแข็งตามโมห์สเกลในระดับ 3 สามารถขูดเข้าได้โดยเล็บ และทำปฏิกิริยาเกิดเป็นฟองฟู่เห็นเด่นชัดเมื่อโดนกรดเจือจาง ด้วยความแข็งแรงเพียงระดับนี้ของหินอ่อน การรับแรงกระแทกจากหยดน้ำฝนบ่อย ๆ จะส่งผลทำให้หินอ่อนเกิดความเสียหายได้ ซ้ำร้ายบางครั้งเจอหยดน้ำฝนรวมเข้ากับมลพิษในอากาศมีฤทธิ์เป็นกรด จะสามารถกัดผิวทำลายหินอ่อนให้เสียหายได้มากกว่าเดิมอีก ส่วนที่มาของชื่อเรียกนั้น เป็นเพราะว่าคุณสมบัติความแข็งที่มีมากไม่เท่าหินชนิดอื่น ๆ และเราสามารถใช้เครื่องมือแกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ ได้โดยง่าย ดังนั้น หินชนิดนี้จึงถูกเรียกชื่อว่า หินอ่อน นั่นเอง         อ่านมาจนถึงตอนนี้แล้ว รู้จักหินอ่อนมากขึ้นหรือยัง อ้างอิง แร่:กรมทรัพยากรธรณี

superadmin

22 January 2024

คันศรแห่งรัตติกาล (Moonbow)

ในเดือนมิถุนายนของทุกปี เรามักพบเห็นสีรุ้งอยู่ในสื่อต่าง ๆ รุ้ง หรือรุ้งกินน้ำ (Rainbow) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงามน่าอัศจรรย์ และความอัศจรรย์จะเพิ่มมากขึ้นไปอีก เมื่อได้รู้ว่า เราสามารถมองเห็นรุ้งได้ในเวลากลางคืนได้เช่นกัน รุ้งที่เห็นได้ในเวลากลางคืน เราเรียกว่า รุ้งแสงจันทร์หรือรุ้งจันทรา (Moonbow) รุ้ง หรือรุ้งกินน้ำ (Rainbow) เกิดขึ้นเมื่อในอากาศมีละอองน้ำจำนวนมาก แสงจากดวงอาทิตย์ส่องผ่านละอองน้ำนั้น เกิดการกระจายออกเป็นแสงสีและเกิดการสะท้อนกลับหมด ทำให้เรามองเห็นเป็นแถบสีต่าง ๆ 7 สี คือ สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีแสด และสีแดง ตามลำดับ โดยสีม่วงอยู่ด้านล่างสุด และสีแดงจะอยู่ด้านบนสุด รุ้งกินน้ำมักเกิดหลังจากฝนตกใหม่ ๆ และเกิดในทิศตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ รุ้งแสงจันทร์, รุ้งจันทรา หรือคันศรแห่งรัตติกาล (Moonbow) เป็นรุ้งที่เกิดในเวลากลางคืน เกิดจากแสงอาทิตย์ที่กระทบดวงจันทร์แล้วส่องมาบนโลก (ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าเป็นแสงจันทร์) โดยแสงจันทร์ต้องมีความสว่างมากเพียงพอ ท้องฟ้ามืดสนิท ดวงจันทร์จะต้องทำมุมน้อยกว่า 42 องศาเหนือพื้นราบ และละอองน้ำจากฝนหรือน้ำตกต้องอยู่ตรงข้ามกับดวงจันทร์ เพื่อให้แสงจันทร์สาดส่องได้ทั่วถึง ทั้งหมดนี้ เป็นปัจจัยสำคัญมากต่อการเกิดรุ้งแสงจันทร์ เราจึงพบเห็นได้ยาก […]

superadmin

15 January 2024

เฉลย…ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน

“ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน” หนึ่งในปัญหาโลกแตกที่เรามักถูกถามกันเล่นในทุกยุคทุกสมัย และมีหลากหลายคำตอบที่เคยได้ยิน แต่วันนี้ วิทยาศาสตร์มีคำตอบของปัญหานี้ให้กับเราแล้ว ลองมาดูกันว่า ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกันแน่ ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Sheffield และ Warwick ในประเทศอังกฤษ ได้ใช้คอมพิวเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์โครงสร้างโมเลกุลของเปลือกไข่ และค้นพบโปรตีน Ovocledidin-17 (OC-17) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่ผลิตเปลือกไข่ เหมือนกับโปรตีนในการสร้างเปลือกหอย หรือกระดูก โปรตีน Ovocledidin-17 นี้ จำเป็นในการเริ่มต้นและเร่งกระบวนการเปลี่ยนสภาพของแคลเซียมคาร์บอเนตจากในตัวไก่ ให้อยู่ในรูปของเปลือกแข็งที่ใช้ห่อหุ้มไข่แดงและไข่ขาว และเป็นโปรตีนที่มีเฉพาะในรังไข่ของไก่เท่านั้น หากไม่มีไก่ กระบวนการนี้ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์จึงสรุปได้ว่า ไก่ต้องเกิดก่อนไข่ เพราะต้องมีแม่ไก่ที่มีสาร Ovocledidin-17 ในรังไข่เพื่อสร้างเปลือกให้กับไข่เสียก่อน ไข่จึงจะเกิดขึ้นได้ เชื่อแน่ว่า มีอีกหลายคนที่ยังสงสัยว่า ไก่ตัวแรกของโลกเกิดมาจากไหน นักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายไว้อย่างง่าย ๆ คือ ไดโนเสาร์ที่เป็นบรรพบุรุษของไก่ ใช้เวลาหลายล้านปีเพื่อวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และกลายพันธุ์มาจนถึงจุดหนึ่งที่กลายเป็นไก่ โดยมีดีเอ็นเออย่างที่เราพบในไก่ปัจจุบันนี้ ยีนถูกพัฒนามาเรื่อย ๆ จึงทำให้ไก่ตัวนั้นสามารถสร้างโปรตีน OC-17 ขึ้นในตัวเอง และออกไข่ได้ในที่สุด ท้ายนี้ มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับไข่ไก่มาฝากทุกท่าน หากต้องการรู้ว่าไก่ตัวไหนจะออกไข่เปลือกสีอะไร ให้สังเกตสีบริเวณติ่งหูของแม่ไก่ แม่ไก่ที่มีติ่งหูสีขาวจะออกไข่เปลือกสีขาว […]

superadmin

8 January 2024
1 2 15