เราสามารถรับรู้รสอาหารได้อย่างไร

การรับรส (taste) ของอาหารที่เรากินเข้าไปนั้นเกิดขึ้นที่ในปาก โดยอวัยวะรับรสที่สำคัญคือ ลิ้นที่มีเซลล์รับรส (taste receptor cell) ทำหน้าที่จับกับสารเคมีในอาหาร (ซึ่งเป็นสารเคมีที่ไม่ระเหย มีขั้วและละลายน้ำได้) เซลล์รับรสส่งสัญญาณประสาทไปที่สมอง เพื่อระบุว่าเป็นรสอะไร รสอาหารแบ่งออกเป็น 5 รส คือ เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม และอูมามิ รสหวาน สาเหตุการเกิดรส : น้ำตาล และแอลกอฮอลล์ รวมทั้งกรดอะมิโนตัวอย่างอาหาร : น้ำผึ้ง ลูกอม น้ำผลไม้ เค้ก รสเปรี้ยว สาเหตุการเกิดรส : สารที่เป็นกรดให้ประจุไฮโดรเจนตัวอย่างอาหาร : น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว โยเกิร์ต รวมทั้งอาหารที่เสีย ที่เตือนให้รู้ถึงอันตรายที่มีต่อร่างกาย รสเค็ม สาเหตุการเกิดรส : เกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)และเกลือแร่ต่างๆตัวอย่างอาหาร : ซอสถั่วเหลือง เนื้อแปรรูป ผักและผลไม้ดอง รสขม สาเหตุการเกิดรส : […]

superadmin

1 June 2021

กาแฟ หรือแกฟะ?

กาแฟหรือแกฟะ? วิทยาศาสตร์ของอาการใจสั่นเมื่อกินกาแฟ ไม่รู้ว่าใจฉันที่กำลังสั่นเป็นเพราะกาแฟ หรือเป็นเพราะแพ้ให้คนน่ารักอย่างแกฟะ กาแฟหรือแกฟะ – Intoverse ถึงจะไม่รู้ว่าอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นเพราะคนตรงหน้า หรือเป็นเพราะคาเฟอีนจากกาแฟแก้วใหญ่ที่ดื่มอย่างรวดเร็วด้วยความประหม่าคนตรงหน้าอีกที แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็เป็นอาการที่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวเอาซะเลย ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับกาแฟและกระบวนการก่อนจะมาเป็นกาแฟสักเล็กน้อย กาแฟเป็นพืชชนิดหนึ่ง เมล็ดกาแฟได้จากผลกาแฟสุกสีแดงที่ทำได้จากการบีบเบา ๆ จากนั้นนำไปคั่วให้มีกลิ่นหอมตามกรรมวิธีหลากหลายแบบ ในกาแฟมีสารคาเฟอีนอยู่โดยธรรมชาติเพื่อป้องกันตัวเองจากแมลง เราสามารถพบคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบในช็อกโกแลต ชา น้ำอัดลมและเครื่องดื่มชูกำลังต่างๆและยังสามารถพบคาเฟอีนได้ในพืชอีกมากกว่า 60 ชนิด เรากินคาเฟอีนไปเพื่ออะไร? ถึงแม้ว่าคาเฟอีนจะเป็นสารที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตก็ตาม แต่ในบางกิจกรรมในชีวิตประจำวันของวัยเรียนวัยทำงานหรือช่วงเวลาพิเศษ เช่น การไปเดท การขับรถระยะไกล การรับคาเฟอีนก็เป็นส่วนช่วยในด้านการกระตุ้นของระบบร่างกายต่าง ๆ ไม่ว่าจะความกระปรี้กระเปร่า การออกจากความรู้สึกเหนื่อยล้า หลุดจากความง่วง การเพิ่มการเผาผลาญ และส่วนใหญ่มักจะรับคาเฟอีนเพื่อให้สมองตื่น แล้วสมองเราตื่นได้อย่างไร? กลไกการดีดเด้งของสมองจากกาแฟหรือคาเฟอีนเริ่มขึ้นจากสารอะดีโนซีน (adenosine) ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการเฉื่อยชาง่วงนอนจากการลดกิจกรรมของเซลล์ประสาท สารนี้จะทำงานต่อเมื่อไปจับกับตัวรับสาร (Adenosine receptor) แต่ด้วยโครงสร้างสารของคาเฟอีนมีความคล้ายกับโครงสร้างของอะดีโนซีน ดังนั้น คาเฟอีนจึงสามารถหลอกเจ้าตัวรับแล้วเข้าไปแทนอะดีโนซีนได้ การสวมรอยนี้ของคาเฟอีนส่งผลให้เพิ่มการทำงานของเซลล์ประสาทในสมอง และในเวลาเดียวกันก็มีการกระตุ้นการสร้างอะดรีนาลีนร่วมด้วย อะไรทำให้ใจสั่น แล้วใจสั่นจากสิ่งอื่นได้มั้ย? ใจสั่น (Palpitation) คือหัวใจเต้นเร็วหรือผิดจังหวะไม่สม่ำเสมอ อาการวิตกกังวล กระวนกระวาย ไม่มีสมาธิ เนื่องจากคาเฟอีนมีผลในการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจจากการหลั่งของอะดรีนาลีนร่วมด้วยกับการได้รับคาเฟอีนในปริมาณที่มากเกินไปที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว […]

superadmin

26 May 2021

บ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิต The Big House of living things

 “บ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิต The Big House of living things” โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความมหัศจรรย์มากเพราะมีดาวเคราะห์ไม่กี่ดวงเท่านั้นที่จะมีน้ำและสภาวะแวดล้อมเหมาะสมกับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต หรีอว่า “โลก” จะเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะจักรวาลที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ พื้นที่ส่วนใหญ่บนโลก ถูกปกคลุมด้วยน้ำ ทั้งยังมีอุณหภูมิ และชั้นบรรยากาศซึ่งประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ องค์ประกอบของโลกมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่พื้นดินไปจนถึงชั้นบรรยากาศเหล่านี้เป็นปัจจัยเอื้ออำนวยต่อการกำเนิดและการอาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นบนโลกมานานนับพันล้านปีแล้ว สิ่งมีชีวิตชนิดแรกบนโลก คือ ไซยาโนแบคทีเรีย (Cyanobacteria) นับเป็นจุดเริ่มต้นวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต พื้นที่โลกถูกปกคลุมด้วยน้ำประมาณ 3 ใน 4 ส่วน อีกทั้งโลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ในระยะที่พอเหมาะจึงมีความอบอุ่น และได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการสร้างอาหารของสิ่งมีชีวิต นอกจากนั้น ชั้นบรรยากาศยังช่วยให้อากาศภายในโลกมีความสมดุล ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีคุณสมบัติและเอกลักษณ์เฉพาะตัว สิ่งมีชีวิตจึงสามารถก่อกำเนิด และอาศัยอยู่บนโลกนี้ได้ โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีชั้นบรรยากาศ อุณหภูมิ แผ่นดิน พื้นน้ำ และธาตุต่าง ๆ อย่างสมดุล โดยทุกอย่างสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบเป็นสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ และความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เราควรช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้ “โลก” เป็นบ้านหลังใหญ่อันแสนสุขสำหรับทุก ๆ ชีวิต

superadmin

26 May 2021

รู้หรือไม่…ว่ามีอันตรายจากสิ่งเล็ก ๆ ที่มองไม่เห็นอยู่รอบตัว

รู้หรือไม่ว่า อากาศ ที่เราหายใจเข้าไปไม่ใช่อากาศที่บริสุทธิ์เพราะมีฝุ่นละอองขนาดเล็กเช่น pm 2.5 รวมถึงเชื้อโรคต่าง ๆ และยังมีสารปนเปื้อนอีกมากมาย ซึ่งควรต้องป้องกันหรือหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย รู้หรือไม่ว่า ฝุ่น pm2.5 มีอนุภาคขนาดเล็กเพียง 2.5 ไมครอนหรือเทียบเท่ากับ 1 ใน 25 ส่วนของขนาดเส้นผมมนุษย์ มีขนาดเล็กมากจนขนจมูกไม่สามารถกรองฝุ่นได้ ดังนั้นฝุ่นจึงแพร่เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายดาย รู้หรือไม่ว่า ไวรัสบางชนิดก่อให้เกิดโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจชนิดที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น โรคหวัด จากเชื้อไวรัสประเภทคอรีซา (Coryza virus) โรคไข้หวัดใหญ่จากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) หรือแม้กระทั่งโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพียงเพราะแค่ละอองจามหรือไอที่แพร่ผ่านอากาศก็สามารถทำให้เชื้อโรคติดต่อกันได้ รู้หรือไม่ว่า หน้ากาก n95 แบบมาตรฐานที่เราใช้สำหรับป้องกันฝุ่นเป็นคนละชนิดกับหน้ากาก n95 ในทางการแพทย์ เนื่องจาก n95 แบบมาตรฐานนั้นมีประสิทธิภาพสำหรับกันฝุ่นละอองและฟูมโลหะ (Metal fume) ได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ n95 ในทางการแพทย์นั้น จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันการซึมผ่านหรือพ่นกระเซ็นของของเหลวเพิ่มขึ้นอีกด้วย ** ฟูม คือ อนุภาคของแข็งที่มีขนาดเล็กมาก […]

superadmin

21 May 2021

อาหารปลอดภัย จากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร (From farm to table)

กว่าอาหารจะเดินทางมาถึงโต๊ะอาหารที่พร้อมเสริฟให้กับผู้บริโภคได้นั้น ต้องผ่านกระบวนการต่างๆ มากมาย ทำให้ง่ายต่อการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์และสารเคมี โดยถ้าไม่มีการตรวจสอบ ควบคุม และป้องกันที่ดี อาหารก็สามารถก่อให้เกิดโรคกับผู้บริโภคได้ เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้ได้อาหารที่มีมาตรฐาน และปลอดภัยจากมือผู้ผลิตส่งถึงมือผู้บริโภค แต่ละขั้นตอนจึงต้องมีการตรวจสอบ และป้องกันการปนเปื้อนของอาหาร โดยใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนในอาหารได้  ฟาร์มคือจุดเริ่มต้นของอาหาร ผู้ผลิตจึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องความสะอาดของวัตถุดิบ และการปนเปื้อนของอาหารให้น้อยที่สุด เช่น ใช้การทำเกษตรอินทรีย์ ที่มีวิธีการทางธรรมชาติในการควบคุมศัตรูพืช รวมทั้งการตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ใช้ทำการเกษตรต้องไม่ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารไม่สะอาด เป็นต้น วัตถุดิบจากฟาร์มเหล่านี้จะถูกส่งต่อมาถึงโรงงานที่ต้องนำวัตถุดิบมาผ่านกระบวนการแปรรูป เพื่อยืดเวลาเก็บรักษาและเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตในรูปแบบต่างๆ เช่น การแปรรูปนม ต้องนำมาฆ่าเชื้อ (พาสเจอไรซ์) เพื่อให้เก็บได้นานขึ้น หรือการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นมในรูปแบบต่างๆ เช่น ชีส เป็นต้น โดยกระบวนการแปรรูปนี้ต้องมีการตรวจสอบและควบคุมให้ได้มาตรฐานและมีความสะอาด ตั้งแต่สถานที่ผลิต เครื่องมือและอุณหภูมิที่ใช้ในแปรรูป เพื่อลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนในระหว่างการแปรรูปอาหารได้ อาหารที่แปรรูปแล้วจะถูกขนส่งออกจากโรงงาน เพื่อส่งให้กับผู้บริโภค โดยขั้นตอนการขนส่งนี้ ถ้าควบคุมความสะอาดไม่ดีก็อาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น รถขนส่งที่ไม่สะอาดและไม่ได้ควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม เชื้อจุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโตได้ดี ทำให้อาหารเกิดการเน่าเสียก่อนถึงมือผู้บริโภคได้ เมื่อผลิตภัณฑ์อาหารเหล่านี้ส่งถึงมือผู้บริโภคแล้ว การปนเปื้อนก็ยังคงสามารถเกิดขึ้นได้จากความสะอาดในขั้นตอนการปรุงอาหารของผู้บริโภคนั่นเอง โดยทางองค์การอนามัยโลก ได้กำหนดข้อปฏิบัติตามหลัก […]

superadmin

19 May 2021

กินทุเรียนอย่างไร ถึงจะพอดี ไม่อ้วน และปลอดภัย

สาวกทุเรียน ข้อแนะนำ: หากมีทุเรียนตบท้ายมื้ออาหาร มื้ออาหารนั้นควรลดอาหารกลุ่มข้าว แป้ง ของหวาน และเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง อย่างเช่น น้ำอัดลม และไม่ควรกินทุเรียนเกินครั้งละ 1-2 เม็ด และไม่ควรกินทุกวัน เพราะทุเรียนมีปริมาณน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตสูงมาก ทุเรียน 1 เม็ด (น้ำหนัก 40 กรัม) ให้พลังงาน 50 – 60 กิโลแคลอรี่ และเนื้อทุเรียน 1 กิโลกรัม อาจจะให้พลังงานมากถึง 1,350 แคลอรี่ โดยประมาณ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 68 ของพลังงานที่ผู้ใหญ่ควรได้รับต่อวัน (2,000 แคลอรี่) นอกจากนั้น สาวกทุเรียนควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย สหายแอลกอฮอล์ ข้อแนะนำ: ควรเลี่ยงการกินทุเรียนร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรณีที่ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กระบวนการเผาผลาญก็จะเพิ่มขึ้นตาม ทำให้ร่างกายจำเป็นต้องใช้น้ำปริมาณมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำ จนอาจจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยกลุ่มโรคไต เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดหัวใจตีบตัน […]

superadmin

18 May 2021

ภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งแรกของจีนโดยยานอวกาศเทียนเวิ่น-1 (Tianwen-1)

“คำถามต่อสรวงสวรรค์” ภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งแรกของจีนโดยยานอวกาศเทียนเวิ่น-1 (Tianwen-1) องค์การอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) ตั้งชื่อภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งแรกของจีนนี้ใช้ชื่อว่า “เทียนเวิ่น-1” (Tianwen-1) มีความหมายว่า “คำถามต่อสรวงสวรรค์” ตั้งตามบทกวีซึ่งประพันธ์โดย “ชวี เยหวียน” (Qu Yuan) องค์การอวกาศแห่งชาติจีนระบุว่าชื่อนี้แสดงถึงความมุมานะของจีนในการแสวงหาความจริงและวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการสำรวจธรรมชาติและจักรวาลตามเนื้อหาในบทกวี ยานอวกาศเทียนเวิ่น-1 ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยจรวดลองมาร์ช-5 (Long March-5) ณ ฐานปล่อยจรวดเหวินชาง เกาะไห่หนานและเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารได้สำเร็จเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 19:52 น. ตามเวลาประเทศไทย ตามหลังยานโฮปของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไปติด ๆ เป็นเริ่มต้นก้าวแรกสู่การสำรวจดาวอังคารของประเทศจีน ยานอวกาศเทียนเวิ่น-1 จะแยกส่วนยานเพื่อลงจอดบริเวณที่ราบต่ำยูโทเปีย (Utopia Planitia) บนดาวอังคาร ส่วนที่แยกออกไป ประกอบด้วยยานลงจอด (Lander) และรถสำรวจ (Rover) ที่จะทำหน้าที่ศึกษาพื้นผิวดาวอังคารที่ตำแหน่งต่าง ๆ มีอายุภารกิจประมาณ 90 วัน […]

superadmin

16 May 2021

ไวรัส คืออะไร

ไวรัส คืออะไร ไวรัส (Virus) คือ อนุภาคขนาดเล็กมาก (20-300 นาโนเมตร) จนสามารถหลุดรอดผ่านเครื่องกรองที่ใช้กรองแบคทีเรียได้ เราสามารถมองเห็นไวรัสโดยผ่านทางกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเท่านั้น ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าหรือกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาได้ ไวรัสเปรียบเหมือนเป็นกาฝากที่อยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) เนื่องจากไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ เพราะตัวไวรัสนั้นมีโครงสร้างแบบง่ายๆ ประกอบด้วยสารพันธุกรรมเพียงแค่หนึ่งชนิด อาจเป็น DNA หรือ RNA ก็ได้ห่อหุ้มด้วยเปลือกโปรตีนที่เรียกว่าแคปซิด ไม่มีเมตาโบลิซึมที่เป็นกระบวนการทางเคมีที่ทำให้ร่างกายสิ่งมีชีวิตทำงานได้ปกติ อีกทั้งยังไม่มีโครงสร้างย่อยขนาดเล็กที่มีหน้าที่เฉพาะที่เรียกว่าออร์แกเนลล์เป็นของตัวเอง จึงจำเป็นต้องอาศัยการทำงานจากเซลล์โฮสต์หรือเซลล์เจ้าบ้านที่ไวรัสเข้าไปฝังตัว ดังนั้นถ้าไวรัสแพร่กระจายอยู่ในอากาศแต่บริเวณนั้นไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่เลย ไวรัสก็จะไม่สามารถเติบโตและแพร่พันธุ์ได้นั่นเอง ไวรัสติดใครได้บ้าง ไวรัสสามารถเข้าไปฝังตัวได้ทั้งในพืช สัตว์ และมนุษย์ตามชนิดและสายพันธุ์ของไวรัสนั้นๆ โดยในปี 2429 ได้ค้นพบไวรัสชนิดแรกคือไวรัสทีเอ็มวี (TMV : tobacco mosaic virus) ที่ก่อให้เกิดโรคใบยาสูบด่างในพืชหลายชนิด เมื่อปี 2561 ประเทศจีนพบการระบาดเป็นวงกว้างของไวรัส ASF หรือ African swine fever virus ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร แต่ไวรัสชนิดนี้เป็นไวรัสที่ไม่ติดต่อจากสัตว์ไปสู่มนุษย์และไวรัสที่เราคุ้นหูกันดีเช่นไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ที่ก่อให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์และโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก จะเห็นว่าโดยปกติไวรัสจะไม่มีการติดต่อข้ามสายพันธุ์ ยกเว้นไวรัสนั้นจะเกิดการกลายพันธุ์ เช่น ไวรัสเอเวียนอินฟลูเอนซา (Avian […]

superadmin

16 May 2021

การเกิดเมฆ (Cloud Condensation)

โลก คือ ห้องเรียนธรรมชาติขนาดใหญ่ และบนท้องฟ้าไม่ได้มีเพียงดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือดาวเท่านั้น แต่ยังมีหมู่มวลก้อนเมฆที่มีรูปร่างแตกต่างกันไป จนบางครั้ง…เราอาจยืนจ้องมองมวลเมฆรูปร่างสวยงามแปลกตา พร้อมกับปล่อยจินตนาการไปอย่างไม่รู้ตัว เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์ส่องลงมายังโลก ทำให้บริเวณต่าง ๆ บนผิวโลกได้รับความร้อนไม่เท่ากัน พื้นน้ำบนโลกได้รับความร้อน จะระเหยกลายเป็นไอน้ำ ลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า เมื่อลอยขึ้นไปกระทบกับอากาศเย็นในบรรยากาศชั้นบน เกิดการกลั่นตัวเป็นละอองไอน้ำเล็ก ๆ และรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ลอยสูงขึ้นบนท้องฟ้า เรียกว่า เมฆ ถ้าไอน้ำมีจำนวนน้อย เราจะเห็นเป็นเมฆบาง ๆ เมฆมีรูปร่างแตกต่างได้หลายแบบ ตามชนิดของเมฆ บางครั้งเราเห็นเมฆมีรูปร่างเป็นก้อนคล้ายสำลีลอยอยู่บนท้องฟ้าที่ระดับความสูงต่าง ๆ กัน บางครั้งเราเห็นเมฆมีรูปร่างคล้ายขนนก และบางครั้งอาจเห็นเมฆมีขนาดใหญ่เป็นแผ่นหนาคล้ายกำแพง เมฆ เกิดจากไอน้ำที่ลอยในอากาศ เมื่อลอยตัวสูงขึ้น จะมีการรวมกันเป็นกลุ่มก้อนบนท้องฟ้า ในระดับความสูงที่แตกต่างกัน เมฆมีรูปร่างที่หลากหลาย ช่วยแต่งแต้มให้ท้องฟ้าสวยงามแตกต่างกันไป…ในทุก ๆ วัน

superadmin

21 April 2021

เส้นเหลืองแห่งความปลอดภัย

ปัจจุบันนี้การโดยสารด้วยรถไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่เร่งรีบของคนเมืองหลวงแล้ว เพราะการใช้บริการสะดวก เดินทางได้รวดเร็ว เส้นทางครอบคลุมเกือบทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร และที่สำคัญไม่ต้องพบเจอกับปัญหารถติด ซึ่งรถไฟฟ้าที่ให้บริการนั้นมีทั้งแบบรถไฟลอยฟ้าที่แล่นบนรางเหนือถนนปกติ และรถไฟฟ้าใต้ดินที่แล่นอยู่ภายในอุโมงค์ใต้ดิน แต่ว่าเราเคยสังเกตที่ชานชาลารถไฟฟ้าทั้งสองประเภทนี้หรือไม่ว่ามันมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ เส้นเหลือง เส้นเหลืองบนชานชาลานับเป็นเส้นแบ่งความปลอดภัยของผู้โดยสาร จะวางแนวติดกับพื้นที่ที่รถไฟฟ้าแล่นเข้าสู่สถานี ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 2 คน อยู่บริเวณด้านหัวและท้ายขบวน คอยควบคุมไม่ให้เราเข้าไปในเส้นเหลือง หากเราเผลอเหยียบหรือล้ำเข้าไป เสียงนกหวีดจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะดังขึ้นเตือนทันที เราต้องรีบถอยห่างออกมาอยู่หลังเส้นเหลืองเท่านั้น เหตุที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องเตือนเรานั้น เพื่อความปลอดภัยของเราเอง เพราะเมื่อขบวนรถไฟฟ้าวิ่งผ่านมา อากาศระหว่างขบวนรถกับบริเวณที่เรายืนอยู่จะเคลื่อนที่เร็ว ทำให้มีความดันอากาศต่ำ อากาศรอบ ๆ จะเคลื่อนที่เข้าไปแทนที่ ซึ่งการเคลื่อนที่ของอากาศนี้สามารถดูดเราให้ตกยังรางรถไฟฟ้าได้ การไหลของอากาศในลักษณะนี้เป็นเช่นเดียวกับลูกเทนนิสที่เคลื่อนที่แหวกผ่านอากาศ ซึ่งจะมีอากาศจำนวนหนึ่งห่อหุ้มลูกเทนนิสไว้ และมีแรงดึงดูดของอากาศอยู่ด้านข้าง ดูดให้เข้าหาลูกเทนนิสนั่นเอง  ดังนั้น ทุกคนคงเข้าใจแล้วว่าทำไมต้องอยู่หลังเส้นเหลือง อย่าลืมอยู่หลังเส้นเหลือง เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของตัวเอง เรียบเรียงณัฐวุฒิ  พุ่มดอกไม้ ภาพประกอบพัทธนันท์ ประดิษฐ์นันกุล อ้างอิงข้อปฏิบัติและข้อห้ามเมื่ออยู่ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสรปภ. เก่งฟิสิกส์

superadmin

19 April 2021

LIGHT BULBS ประเภทของหลอดไฟ เลือกใช้ให้เหมาะสม

เมื่อแสงสว่างจากหลอดไฟกลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น หรืออาจถูกใช้เพื่อตกแต่งสถานที่ให้สวยงาม สร้างบรรยากาศให้น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย โรงเรียน อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า หรือแหล่งท่องเที่ยวยามราตรี การเลือกใช้หลอดไฟจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับสถานที่และตรงตามจุดประสงค์ของการใช้งาน วันนี้เราจะมาแนะนำหลอดไฟ 5 ประเภท ลองมาดูกันว่าแต่ละประเภทเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง 1) หลอดอินแคนเดสเซนต์ (Incandescent Lamp) หลอดอินแคนเดสเซนต์ (Incandescent Lamp) หรือที่เรามักเรียกว่า หลอดไส้ ส่วนใหญ่ใช้ทังสเตนเป็นไส้หลอด มีหลักการทำงานคือเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอด จะเกิดความร้อนแล้วเปล่งแสงออกมา ข้อดีคือมีขนาดเล็ก ราคาถูก แต่ข้อเสียคืออายุการใช้งานสั้น ประมาณ 1,000 – 1,500 ชั่วโมง กินไฟมาก และสูญเสียพลังงานออกมาในรูปของความร้อนสูง ในอดีตมักใช้ตามอาคารบ้านเรือนทั่วไป แต่ความนิยมลดลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากมีหลอดไฟประเภทอื่นที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าให้เลือกใช้  2) หลอดแฮโลเจน (Halogen Lamp) หลอดแฮโลเจน (Halogen Lamp) เป็นหลอดอินแคนเดสเซนต์ชนิดหนึ่ง เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอด เกิดความร้อนแล้วเปล่งแสงออกมาเช่นกัน แต่ภายในหลอดมีการบรรจุสารตระกูลแฮโลเจน เช่น ไอโอดีน […]

superadmin

19 April 2021
1 11 12