ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของหลอดพลาสติก

หลอดพลาสติกขนาดเล็ก ที่ถูกใช้จนเคยชินและกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่ถูกแถมมากับเครื่องดื่มที่เราสั่ง ที่มีอายุการใช้งานไม่กี่ชั่วโมงแล้วก็ทิ้งไป หลอดจำนวนมากที่ถูกทิ้งนั้นจะกลายเป็นขยะและจะเป็น อันตรายต่อสิ่งแวดล้อมเหตุใดหลอดพลาสติกจึงไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม

1. หลอดพลาสติกรีไซเคิลได้ยาก

หลอดมักทำจากพลาสติกประเภท 5 หรือโพลีโพรพีลีน (Polypropylene : PP) แม้จะเป็นพลาสติกประเภท 5 ที่สามารถรีไซเคิลได้แต่ปัญหาคือเครื่องรีไซเคิลส่วนใหญ่ไม่รองรับพลาสติกที่มีขนาดเล็กอย่างหลอด และการรีไซเคิลหลอดนั้นมีต้นทุนที่สูง นอกจากรอการถูกกำจัดและทำให้เกิดมลพิษตามมา

2. พลาสติกไม่มีการย่อยสลายอย่างสมบูรณ์

การสลายได้ (decompose) เป็นคุณสมบัติหนึ่งของพลาสติกอยู่แล้ว แต่การย่อยสลายของพลาสติกนั้นไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์เหมือนซากพืชซากสัตว์ ปัญหาคือพลาสติกใช้เวลาย่อยสลายนานหลายร้อยปี ย่อย สลายกลายเป็นไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในน้ำ ดิน และวนกลับเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ อีกทั้งระหว่างที่พลาสติกยังไม่ย่อยสลาย ยังสร้างปัญหาขยะมากมาย และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

3. หลอดมักถูกทิ้งไม่ถูกที่และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร

เมื่อใดก็ตามที่มีการทำความสะอาดชายฝั่ง หลอดพลาสติกจะอยู่ในรายชื่อของขยะที่ถูกพบ และเมื่อดูขยะทะเลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าหลอดหรือที่คนเครื่องดื่มอยู่ในอันดับที่ 10 ซึ่งมีจำนวน 80,730 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 5.21 ของขยะทะเลที่พบ (พฤษภาคม 2564)

นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ผลวิจัยพบว่านกทะเลกว่าร้อยละ 70 และเต่าทะเลกว่าร้อย ละ 30 มีขยะพลาสติกอยู่ในท้องของพวกมัน ลองจินตนาการดูว่าภายใต้มหาสมุทรกว้างใหญ่ที่มีขยะลอยปะปนอยู่นับ ล้านตัน จะมีสัตว์กี่ตัวที่ต้องทุกข์ทรมานโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือ ยกตัวอย่างเช่น คลิปช่วยเหลือเต่าทะเลที่มีหลอด ติดอยู่ในจมูกซึ่งได้รับการแชร์อย่างแพร่หลายจนเป็นกระแส สีหน้าของเต่าทะเลดูทุกข์ทรมานกับสิ่งแปลกปลอมใน ร่างกายของมันอย่างมาก

4. หลอดจะแตกตัวเป็นไมโครพลาสติก

เมื่อหลอดพลาสติกถูกย่อยสลายจะกลายเป็นไมโครพลาสติก โดยทั่วไปจะเป็นชิ้นส่วนของพลาสติกที่มีความ ยาวน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ซึ่งสามารถทำอันตรายต่อสัตว์ได้เมื่อเข้าใจผิดว่าเป็นอาหาร ในความเป็นจริงไมโครพลาสติก อาจเป็นอันตรายมากกว่าพลาสติกขนาดปกติเนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าและสามารถเคลื่อนย้ายผ่านห่วงโซ่อาหารได้ง่าย ตัวอย่างเช่น หากปลาตัวเล็กกินไมโครพลาสติกแล้วถูกนักล่ากิน เช่น ฉลาม ไมโครพลาสติกนี้จะถูกถ่ายโอน จากปลาตัวเล็กไปยังผู้ล่าหรือฉลาม

เราจะช่วยลดปริมาณหลอดพลาสติกได้อย่างไร

  • ลดและเลิกใช้ โดยเริ่มจากการปฏิเสธการขอรับหลอดจากร้านอาหารหรือร้านเครื่องดื่ม
  • ใช้หลอดที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น หลอดซิลิโคน หลอดสแตนเลส เป็นต้น

อ้างอิง