
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2565 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ขอขอบคุณการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนนิทรรศการเพื่อให้เด็ก นักเรียน นักศึกษา และประชาชนได้เรียนรู้และใช้ประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2565 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ขอขอบคุณการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนนิทรรศการเพื่อให้เด็ก นักเรียน นักศึกษา และประชาชนได้เรียนรู้และใช้ประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ร่วมกับสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมจัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 19 (Science Film Festival 2023) ภายใต้แนวคิด “ทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการฟื้นฟูระบบนิเวศ” United Nations Decade on Ecosystem Restoration 2021-2030 ในปี พ.ศ. 2566 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้เป็นพันธมิตรสนับสนุนอย่างเป็นทางการของทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการฟื้นฟูระบบนิเวศโดยหัวข้อของแคมเปญนี้คือการเรียกร้องให้มีการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศทั่วโลก ทศวรรษแห่งสหประชาชาตินั้นเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2573 ซึ่งถือเป็นเส้นตายสำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นไทม์ไลน์ที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะสามารถป้องกันวิกฤติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง การฟื้นฟูระบบนิเวศหมายถึงการช่วยให้ระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมหรือถูกทำลายคืนสภาพ รวมทั้งอนุรักษ์ระบบนิเวศที่ยังคงสภาพสมบูรณ์เอาไว้เทศกาลนี้จัดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 สำหรับประเทศไทย จัดขึ้นในช่วง 1 พฤศจิกายน ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ปัจจุบันด้วยภาวะโรคระบาด ภาวะเศรษฐกิจต่าง ๆ ส่งผลให้คนมีความเครียดจนก่อเกิดอาการนอนไม่หลับ หลับยาก หลับๆ ตื่นๆ พักผ่อนไม่เพียงพอ จนกลายเป็นปัญหาสุขภาพส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต บางคนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังไม่สามารถช่วยให้นอนหลับได้จึงเลือกที่จะใช้ตัวช่วยโดยการรับประทานยาหรือฮอร์โมนทดแทนเพื่อช่วยบรรเทาปัญหานอนไม่หลับ ฮอร์โมนนั้นคือเมลาโทนิน เมลาโทนินคืออะไรนะ ? เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นฮอร์โมนที่สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ที่ต่อมไพเนียล (pineal gland) ในสมอง โดยมีความมืดเป็นตัวกระตุ้นให้หลั่งเมลาโทนินเข้าสู่กระแสเลือดและจะหยุดหลั่งเมื่อเจอแสงสว่าง โดยร่างกายจะเริ่มหลั่งเมลาโทนินออกมาตั้งแต่ช่วงที่พระอาทิตย์ตกดินทำให้คนเรารู้สึกง่วงและระดับฮอร์โมนเมลาโทนินจะคงอยู่ในกระแสเลือดประมาณ 10 – 60 พิโคกรัมต่อมิลลิตร (pg/mL) ติดต่อกัน 12 ชั่วโมง ก่อนที่ระดับฮอร์โมนเมลาโทนินจะลดลงตอนเช้า จนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 9.00 น. ระดับเมลาโทนินในร่างกายจะลดต่ำลงจนวัดระดับไม่ได้ เมลาโทนินเหมาะกับใคร ? เนื่องจากเมลาโทนินมีคุณสมบัติเป็นตัวช่วยในการคงการหลับ (maintain sleep) ซึ่งจะทำให้ง่วงหรือหลับเร็วจึงเหมาะกับกลุ่มคนดังต่อไปนี้ บุคคลที่มีอาการนอนหลับผิดเวลา หรือ delayed sleep phase syndrome ซึ่งเป็นความผิดปกติด้านการนอนหลับ คือไม่สามารถนอนหลับได้ก่อนเวลา 2.00 น. และมักมีปัญหาในการตื่นนอนตอนเช้า บุคคลที่เป็นโรคนอนไม่หลับ (insomnia) […]
โรคฝีดาษลิงคืออะไร โรคฝีดาษลิงหรือไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เป็นโรคที่ใกล้เคียงกับโรคอีสุกอีใสแต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับมีตุ่มผื่นตุ่มหนองทั่วตัว และต่อมน้ำเหลืองโต เกิดจากไวรัส Othopoxvirus ซึ่งเป็นไวรัสที่เกิดโดยธรรมชาติ พบในตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ โรคฝีดาษลิงมีต้นกำเนิดมาจากไหน เป็นโรคที่พบการระบาดครั้งแรกเมื่อ 60 ปีก่อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศคองโก โดยพบการติดเชื้อของสัตว์ตระกูลลิง พบที่แรกในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ที่ใช้ลิงในการทดลอง โรคฝีดาษลิงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์แอฟริกากลางมีความรุนแรงมากอาจถึงขั้นเสียชีวิตและสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก มีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์แอฟริกากลางมากซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ ณ ขณะนี้ โรคฝีดาษลิงติดต่อได้อย่างไร โรคฝีดาษลิง สามารถติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ได้โดยการสัมผัสทางผิวหนัง หรือผ่านเยื่อเมือก เช่น จมูก ปาก ตา ของสัตว์ที่ป่วยเป็นโรค การนำซากสัตว์ที่ป่วยมาปรุงอาหาร การถูกสัตว์ป่วยข่วน และการใช้เครื่องมือที่สัมผัสกับสัตว์ที่ป่วยได้อีกเช่นกัน โรคนี้จะมีระยะฟักตัวเฉลี่ย 7–14 วัน หรืออาจนานถึง 24 วัน แม้ว่าโรคฝีดาษลิงจะมีโอกาสติดจากคนสู่คนได้น้อย แต่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้สามารถเสียชีวิตได้ โดยมีอัตราการเสียชีวิต 1-10% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กเล็ก โรคฝีดาษลิงตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างไร แพทย์จะทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยวิธี PCR ของเหลวจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง หากพบว่าเป็นโรคฝีดาษลิง สามารถรักษาโดยให้ยาต้านไวรัส […]
เราคงเคยได้ยินว่าอาหารมื้อเช้าเป็นมื้ออาหารที่สำคัญ เพราะการกินอาหารเช้าจะช่วยเติมท้องที่ว่างของเรา เมื่อตื่นนอนในตอนเช้าระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำ เมื่อเราลุกขึ้นเคลื่อนไหวก็อาจจะรู้สึกหิว แต่ก็อาจมีบางครั้งที่เราไม่หิว ซึ่งการไม่หิวนั้นอาจเป็นสัญญาณของการเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพก็เป็นได้ แล้วสาเหตุที่ทำให้เราไม่รู้สึกหิวในตอนเช้ามีอะไรกันบ้างนะ 1. ทานอาหารเย็นมื้อใหญ่หรือทานของว่างตอนดึก ถ้าหากกินอาหารที่มีไขมันหรือโปรตีนสูง จะทำให้เรารู้สึกอิ่มนานขึ้น โดยเฉพาะโปรตีนที่สามารเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวและความอยากอาหาร และอาหารที่มีไขมันสูงอาจเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับความอยากอาหารและความรู้สึกอิ่ม ส่งผลให้ความหิวลดลง 2. ระดับฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลงในชั่วข้ามคืน การวิจัยแสดงให้เห็นว่าระดับของอะดรีนาลีน (Adrenaline) มักจะสูงขึ้นในตอนเช้า เชื่อกันว่าฮอร์โมนนี้ยับยั้งความอยากอาหารและเพิ่มการสลายคาร์โบไฮเดรตที่เก็บไว้ในตับและกล้ามเนื้อเพื่อเติมพลังงานให้กับร่างกาย งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าระดับของเกรลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความหิวลดลงในตอนเช้าเมื่อเทียบกับเมื่อคืนก่อน นอกจากนี้ยังสามารถอธิบายได้ว่าทำไมคุณรู้สึกหิวน้อยลงเมื่อตื่นขึ้น งานวิจัยบางชิ้นแนะนำว่าระดับเลปติน (Leptin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นความรู้สึกอิ่มก็อาจสูงขึ้นในตอนเช้าเช่นกัน ระดับของฮอร์โมน เช่น อะดรีนาลีน เกรลิน และเลปติน จะผันผวนในชั่วข้ามคืนและในตอนเช้าซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกหิวน้อยลงเมื่อตื่นนอน 3. คุณรู้สึกวิตกกังวลหรือความหดหู่ ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าอาจทำให้เบื่ออาหาร ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกหิวน้อยลงในตอนเช้า 4. เกิดอาการเจ็บป่วย การเจ็บป่วยบางอย่างสามารถลดความอยากอาหารของคุณได้เนื่องจากอาการต่าง ๆ เช่น คลื่นไส้อาเจียน และสูญเสียรสชาติจากการรับรสและกลิ่น 5. สาเหตุอื่น ๆ ต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่เป็นไปได้ในบางประการที่ทำให้ความหิวลดลงในตอนเช้า กำลังใช้ยาบางชนิด รวมทั้งยาขับปัสสาวะและยาปฏิชีวนะ สามารถลดความหิวและความอยากอาหารได้ อายุมากขึ้นความอยากอาหารลดลงเป็นเรื่องปกติในผู้สูงอายุและอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงความต้องการพลังงาน ฮอร์โมน และรสชาติหรือกลิ่น มีปัญหาต่อมไทรอยด์ […]
รู้ไหมว่าป่าชายเลนนั้นเป็นอีกหนึ่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าอย่างมหาศาล เพราะสามารถดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าป่าประเภทอื่น จากการที่พืชในป่าชายเลนมีอัตราการสังเคราะห์แสงสูง จึงต้องการใช้คาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมาก ป่าชายเลนนั้นมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดูดซับคาร์บอนแล้วดึงลงไปในผืนดินใต้ทะเลหรือดินเลนชายฝั่ง เรียกคาร์บอนเหล่านั้นว่า บลูคาร์บอน (Blue carbon) การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ลงสู่มหาสมุทรถือเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน (Carbon sink) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าหนึ่งในสี่ของที่มนุษย์ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ โดยคาร์บอนจะถูกปล่อยออกมาอย่างช้า ๆ ผ่านกระบวนการย่อยสลายในดิน ซึ่งเกิดขึ้นได้น้อยเนื่องจากสภาพไร้ออกซิเจนจากการท่วมขังของน้ำแต่ถ้ามีการตัดไม้ในป่าชายเลนจะไปลดการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และยังทำให้เกิดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์กลับสู่ชั้นบรรยากาศอีกครั้ง ในระบบนิเวศป่าชายเลนประกอบไปด้วยพืชจำพวก แสม ลำพู โกงกาง ถั่วขาว พังกาหัวสุม ฝาด และ โปรง เป็นต้น และยังมีแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ นก แมลง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และสัตว์ทะเลหน้าดินที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปู กุ้ง หอย แมงดา อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากถือได้ว่าเป็นระบบนิเวศที่มีห่วงโซ่อาหารที่สมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง และด้วยความที่ป่าชายเลนนั้นเป็นดินเลนมีน้ำทะเลท่วมถึงตลอดทำให้พืชเหล่านี้มีการปรับตัวมีรากแบบพิเศษช่วยยึดเกาะหน้าดิน ลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นเสมือนเกาะป้องกันภัยจากธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดแรงทำลายล้างของพายุโซนร้อนหรือแม้กระทั่งลดความรุนแรงการเกิดสึนามิ ในขณะที่ป่าชายเลนสร้างประโยชน์ให้กับเรามากมาย แต่พื้นที่ของป่าชายเลนเองกลับลดลงอย่างน่าใจหาย สาเหตุก็มาจากน้ำมือของมนุษย์ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย การทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำเกษตรกรรม การประมง การทำเหมืองแร่ การขุดลอกร่องน้ำ การทำเขื่อนกั้นน้ำ การตัดไม้เกินกำลังการผลิตของป่า […]