
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการในวันที่ 13 – 14 ตุลาคม 2565 เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และวันหยุดพิเศษ
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการในวันที่ 13 – 14 ตุลาคม 2565 เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และวันหยุดพิเศษ
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ร่วมกับสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมจัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 19 (Science Film Festival 2023) ภายใต้แนวคิด “ทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการฟื้นฟูระบบนิเวศ” United Nations Decade on Ecosystem Restoration 2021-2030 ในปี พ.ศ. 2566 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้เป็นพันธมิตรสนับสนุนอย่างเป็นทางการของทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการฟื้นฟูระบบนิเวศโดยหัวข้อของแคมเปญนี้คือการเรียกร้องให้มีการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศทั่วโลก ทศวรรษแห่งสหประชาชาตินั้นเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2573 ซึ่งถือเป็นเส้นตายสำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นไทม์ไลน์ที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะสามารถป้องกันวิกฤติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง การฟื้นฟูระบบนิเวศหมายถึงการช่วยให้ระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมหรือถูกทำลายคืนสภาพ รวมทั้งอนุรักษ์ระบบนิเวศที่ยังคงสภาพสมบูรณ์เอาไว้เทศกาลนี้จัดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 สำหรับประเทศไทย จัดขึ้นในช่วง 1 พฤศจิกายน ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ความมืดมิดเข้าปกคลุม ชีวิตสัตว์กลางคืนจึงเริ่มต้นขึ้น พวกมันสามารถมองเห็นในที่มืดได้อย่างชัดเจน จึงล่าเหยื่อในความมืดได้ เช่น นกฮูก นอกจากนั้น สัตว์กลางคืนยังสามารถได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวของเหยื่อได้เป็นอย่างดี แม้เป็นการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย เช่น ค้างคาว มันจะปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูงออกมา เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับวัตถุ จะสะท้อนกลับมายังหูของค้างคาว ทำให้มันรู้ตำแหน่งของเหยื่อจึงล่าเหยื่อได้โดยง่าย ในยามค่ำคืน ดวงจันทร์และดาวยังเป็นเสมือนเข็มทิศในการนำทางให้แก่สัตว์ต่าง ๆ เช่น ลูกเต่าทะเลที่ฟักออกจากไข่ในเวลากลางคืน จะใช้ดวงจันทร์และดาวเป็นตัวบอกทิศทางไปยังมหาสมุทร สัตว์กลางคืนไม่ต้องการแสงอาทิตย์ในวัฏจักรชีวิต พวกมันจะนอนหลับไหลในเวลากลางวัน และออกหากินในเวลากลางคืน นี่คือพฤติกรรมการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เพื่อความอยู่รอด และการดำรงอยู่ของเผ่าพันธ์ุ ความลับของธรรมชาติยังมีเรื่องราวให้เราค้นหาคำตอบอีกมากมาย มาสนุกกับการไขความลับของธรรมชาติรอบตัวเราได้ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
“ในดำมีขาว ในขาวมีดำ ทุกสิ่งในโลกล้วนมีคู่ตรงข้ามกัน” ถ้าพูดถึงสีดำ สีดำที่ดำที่สุดนั่นก็คือ “แวนตาแบล็ก” (Vantablack) เป็นสีดำที่ดูดกลืนแสงสว่างได้ 99.96% ถูกคิดค้นขึ้นโดย นักวิจัยชาวอังกฤษในปี 2014 โครงสร้างของแวนตาแบล็ก ประกอบด้วยแท่งนาโนทิวบ์ขนาดเล็กจำนวนมากเรียงกันอย่างหนาแน่น แสงที่ตกกระทบจะสะท้อนไปมาระหว่างแท่งนาโนทิวบ์ ไม่สามารถสะท้อนกลับออกมาข้างนอกได้ ในที่สุดแสงจะถูกดูดซับและเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน วัตถุที่ดำมาก ๆ นี้ เป็นประโยชน์ต่อโครงการสำรวจอวกาศ เพราะมันจะช่วยกรองแสงที่ไม่ต้องการออกได้เป็นอย่างดี ทำให้กล้องโทรทรรศน์รับแสงจากอวกาศที่ไกลมาก ๆ ได้มากขึ้น เราก็จะเห็นอวกาศได้ไกลขึ้น ต่อมาในปี 2019 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์หรือเอ็มไอที (MIT) ของสหรัฐฯ เปิดตัววัสดุชนิดใหม่ที่มีสีดำมืดที่สุดในโลก โดยสามารถดูดกลืนแสงได้มากกว่า 99.995% ทำลายสถิติของสี“แวนตาแบล็ก” (Vantablack) ที่เคยครองแชมป์ความมืดทึบมาก่อนหน้านี้ เอ็มไอทีเผยว่า ยังไม่มีการตั้งชื่อให้กับวัสดุดังกล่าวซึ่งจัดเป็นคาร์บอนนาโนทิวบ์ (Carbon Nanotubes) ประเภทหนึ่ง โดยนักวิจัยด้านวิศวกรรมได้ค้นพบวัสดุนี้โดยบังเอิญ ขณะทำการทดลอง “เพาะ” สายคาร์บอนนาโนทิวบ์ให้เติบโตขึ้นบนวัสดุนำไฟฟ้าเช่นอะลูมิเนียม รายงานการค้นพบที่ตีพิมพ์ในวารสาร ACS Applied Materials & Interfaces ระบุว่า เมื่อคาร์บอนนาโนทิวบ์เรียงตัวกันเป็นเส้นในแนวตั้งบนแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ที่อยู่ในภาวะพิเศษ จนดูคล้ายกับ […]
“คำถามต่อสรวงสวรรค์” ภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งแรกของจีนโดยยานอวกาศเทียนเวิ่น-1 (Tianwen-1) องค์การอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) ตั้งชื่อภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งแรกของจีนนี้ใช้ชื่อว่า “เทียนเวิ่น-1” (Tianwen-1) มีความหมายว่า “คำถามต่อสรวงสวรรค์” ตั้งตามบทกวีซึ่งประพันธ์โดย “ชวี เยหวียน” (Qu Yuan) องค์การอวกาศแห่งชาติจีนระบุว่าชื่อนี้แสดงถึงความมุมานะของจีนในการแสวงหาความจริงและวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการสำรวจธรรมชาติและจักรวาลตามเนื้อหาในบทกวี ยานอวกาศเทียนเวิ่น-1 ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยจรวดลองมาร์ช-5 (Long March-5) ณ ฐานปล่อยจรวดเหวินชาง เกาะไห่หนานและเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารได้สำเร็จเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 19:52 น. ตามเวลาประเทศไทย ตามหลังยานโฮปของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไปติด ๆ เป็นเริ่มต้นก้าวแรกสู่การสำรวจดาวอังคารของประเทศจีน ยานอวกาศเทียนเวิ่น-1 จะแยกส่วนยานเพื่อลงจอดบริเวณที่ราบต่ำยูโทเปีย (Utopia Planitia) บนดาวอังคาร ส่วนที่แยกออกไป ประกอบด้วยยานลงจอด (Lander) และรถสำรวจ (Rover) ที่จะทำหน้าที่ศึกษาพื้นผิวดาวอังคารที่ตำแหน่งต่าง ๆ มีอายุภารกิจประมาณ 90 วัน […]
ไขมัน (Fat) เป็นสารที่เกิดจากสารประกอบหลายชนิดร่วมกัน สามารถละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์แต่ไม่ละลายน้ำ ไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายแต่ต้องได้รับในปริมาณที่พอดีเท่านั้น หากได้รับในปริมาณมากจนเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น น้ำหนักเกิน โรคอ้วน และไขมันอุดตันในหลอดเลือด ไขมันชนิดทรานส์ (Trans Fat) หรือที่เราเรียกกันว่า ไขมันทรานส์ คือ ไขมันจำพวกไตรกลีเซอไรด์ ที่มีส่วนประกอบของโมเลกุลเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acid) ซึ่งในธรรมชาติจะพบกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดซิส (Cis) เป็นหลัก แต่กรดไขมันไม่อิ่มตัวนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เมื่อนำมาผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenation) เพื่อทำให้เปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นของแข็งหรือกึ่งเหลว เช่น เนยเทียม เนยขาว มาร์การีน ครีมเทียม กระบวนการไฮโดรจีเนชัน (Hydrogenation) เป็นวิธีการแปรรูปน้ำมันพืชที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การเติมไฮโดรเจนแบบสมบูรณ์ (Full Hydrogenation) เป็นกระบวน การผลิตขั้นสูงมีขั้นตอนที่ซับซ้อน น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการนี้จะไม่เกิดไขมันทรานส์ แต่จะเปลี่ยนเป็นไขมันชนิดอิ่มตัวแทน และอีกวิธีคือ การเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partial Hydrogenation) ดังที่ได้กล่าวข้างต้น กระบวนการเติมไฮโดรเจนนี้มักดำเนินไปอย่างไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เกิดไขมันทรานส์ขึ้น […]