คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) หมายถึง ปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งานและการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่านั่นเอง ซึ่งการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่มีการปล่อยแก๊สเรือนกระจกน้อยจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้บริโภคสามารถมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแก๊สเรือนกระจกได้ เคล็ดลับการบริโภคอาหารที่ช่วยลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 1. กินให้หมด ลดเศษอาหาร เศษอาหารนั้นมีส่วนในการทำให้เกิดแก๊สเรือนกระจก เพราะอาหารที่ถูกทิ้งจะย่อยสลายและเกิดเป็นแก๊สมีเทน และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกด้วย 2. กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง การลดการกินเนื้อเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เนื่องจากการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากการผลิตของปศุสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อวัวและโคนมคิดเป็น 14.5 % ของการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขึ้น เราอาจจำกัดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ให้เหลือเพียงมื้อเดียวต่อวันหรืองดเนื้อสัตว์สัปดาห์ละ 1 วัน เพื่อลดปริมาณของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้น 3. ซื้อผลิตผลในท้องถิ่น การซื้อของในท้องถิ่นช่วยลดการพึ่งพาอาหารที่ต้องขนส่งจากสถานที่ห่างไกล เป็นการตัดระยะทางในการขนส่ง ซึ่งเป็นการลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคการขนส่ง แถมยังได้อาหารที่สดใหม่ และควรใส่ใจกับการเลือกซื้ออาหารปลอดสารพิษ เพื่องดการสนับสนุนผลผลิตที่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก 4. กินอาหารที่มีกากใยมากขึ้น การกินอาหารที่อุดมด้วยไฟเบอร์ไม่เพียงแต่ทำให้สุขภาพดีขึ้น แต่ยังอาจช่วยลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีกด้วย ซึ่งจากการศึกษาในชาวอเมริกัน 16,800 คน พบว่าอาหารที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกต่ำที่สุด คือ อาหารจากพืชที่อุดมด้วยเส้นใยสูงและมีไขมันอิ่มตัวและโซเดียมต่ำ 5. ลดการบริโภคนม การลดผลิตภัณฑ์นม เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากการศึกษาในผู้ใหญ่ชาวดัตช์ 2,101 คน เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์จากนมเป็นปัจจัยใหญ่เป็นอันดับสอง ในการปล่อยแก๊สเรือนกระจกรองจากเนื้อสัตว์เท่านั้น […]