
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ เข้าร่วมกิจกรรม วันวาเลนไทน์ “ชวนคู้จิ้น มาฟินดูดาว “
สามารถเช็ค รายละเอียด ตาม Link
รายชื่อผู้มีสิทธิ์
https://shorturl.asia/3fJdT
รายชื่อ สำรอง
https://shorturl.asia/gdjvK
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ เข้าร่วมกิจกรรม วันวาเลนไทน์ “ชวนคู้จิ้น มาฟินดูดาว “
สามารถเช็ค รายละเอียด ตาม Link
รายชื่อผู้มีสิทธิ์
https://shorturl.asia/3fJdT
รายชื่อ สำรอง
https://shorturl.asia/gdjvK
แผ่นกรองอากาศ HEPA ทำจากเส้นใยไฟเบอร์กลาสที่สานกันไปมาอย่างละเอียด ทำให้ดักจับฝุ่นได้ดียิ่งขึ้นแม้ว่าฝุ่นนั้นจะมีขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอน หลักการทำงานที่สำคัญ คือ Impaction อนุภาคบางส่วนติดหรือถูกจับเมื่อชนกับเส้นใยโดยตรง Interception อนุภาคบางส่วนที่ยังสามารถเคลื่อนไหวต่อไปได้ แต่ก็จะไปชนและถูกดักจับในเส้นใยชั้นถัดไป Diffusion อนุภาคขนาดเล็กเคลื่อนที่แบบไร้ทิศทาง ครั้งชนกันแล้วไปติดที่เส้นใย ดังนั้น เราจึงมักพบแผ่นกรองอากาศ HEPA ในขั้นตอนการทำงานของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกรองอากาศอยู่เสมอ เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศหรือในบางครั้งก็พบในเครื่องดูดฝุ่นอีกด้วย อ้างอิง http://www.shimono.in.th/hepa-fillter/https://www.explainthatstuff.com/hepafilters.htmlhttps://www.bioplusgroup.com/page/id/ตู้ปลอดเชื้อคืออะไร Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
เราคงเคยเห็นมดเดินตามกันเป็นแถวยาวไปยังแหล่งอาหาร เมื่อมดตัวหนึ่งพบอาหารแล้ว มันมีวิธีบอกมดตัวอื่น ๆ ในรังอย่างไรว่าแหล่งอาหารของพวกมันอยู่ที่ไหน ภายในรังมดมืด และมดมีการมองเห็นไม่ดีนักฉะนั้น การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญ และยังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของพวกมันด้วย มดสื่อสารโดยใช้สารเคมีในร่างกาย ที่เรียกว่า “ฟีโรโมน” ส่งผ่านอวัยวะรับสัมผัสและรับกลิ่น คือ “หนวด” มดใช้ฟีโรโมนในร่างกาย ซึ่งจะมีกลิ่นแตกต่างกันไป มดงานจะออกจากรังไปหาอาหาร เมื่อพบแหล่งอาหาร มันจะกินจนอิ่มแล้วเดินทางกลับรัง ระหว่างนั้นมันจะผลิตฟีโรโมนออกมา เมื่อพบมดตัวอื่น มันจะใช้หนวดสัมผัสเพื่อให้มดอื่น ๆ ตามกลิ่นออกมาจากรัง และเดินทางไปยังแหล่งอาหาร ซึ่งเราอาจเรียกว่า “เส้นทางมด” มดใช้ “ฟีโรโมน” เป็นภาษาในการสนทนา และสิ่งนี้เอง ที่ทำให้มดเดินตามกันเป็นแถวอย่างมีระเบียบไปยังแหล่งอาหาร และนำอาหารกลับมายังรังโดยไม่หลงทาง อ้างอิง https://bit.ly/3qSXw8xwww://biology.ipst.ac.th/?p=723 Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
คุณรู้หรือไม่ ว่าร่างกายของเรานั้นประกอบไปด้วยจุลินทรีย์กว่า 1,000 ชนิด มีจำนวนรวมมากถึง 100 ล้านล้านเซลล์ ในขณะที่มนุษย์มีเพียงแค่ 10 ล้านล้านเซลล์เท่านั้น หรือคิดเป็นอัตราส่วน 10:1 และจุลินทรีย์ส่วนมาก จะอยู่รวมกันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหารพบว่ามีจุลินทรีย์อยู่มากถึง 100,000 ล้านตัวเลยทีเดียว ซึ่งมีทั้งจุลินทรีย์ก่อโรคและจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายที่เราเรียกว่า Probiotics PROBIOTICS คืออะไร ? Probiotics คือจุลินทรีย์ชนิดดีตัวจิ๋วที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร และระบบอื่น ๆ ในร่างกายมีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณเยื่อบุผิวของลำไส้ แล้วผลิตสารต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคชนิดอื่น ทำให้ร่างกายสมดุลส่งผลให้สุขภาพแข็งแรงได้ ประโยชน์ของ PROBIOTICS เพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ช่วยให้ขับถ่ายได้เป็นปกติทุกวัน ลดอาการท้องผูกและท้องเสีย ช่วยลดอาการลำไส้แปรปรวน และอาการกรดไหลย้อน ช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดอาการข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะ ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ปัจจัยที่ส่งผลให้ PROBIOTICS ลดลง การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็น นอกจากจะทำลายเชื้อโรคแล้วยังส่งผลต่อเชื้อ Probiotics และเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์แก่ร่างกายอีกด้วย […]
การรับรส (taste) ของอาหารที่เรากินเข้าไปนั้นเกิดขึ้นที่ในปาก โดยอวัยวะรับรสที่สำคัญคือ ลิ้นที่มีเซลล์รับรส (taste receptor cell) ทำหน้าที่จับกับสารเคมีในอาหาร (ซึ่งเป็นสารเคมีที่ไม่ระเหย มีขั้วและละลายน้ำได้) เซลล์รับรสส่งสัญญาณประสาทไปที่สมอง เพื่อระบุว่าเป็นรสอะไร รสอาหารแบ่งออกเป็น 5 รส คือ เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม และอูมามิ รสหวาน สาเหตุการเกิดรส : น้ำตาล และแอลกอฮอลล์ รวมทั้งกรดอะมิโนตัวอย่างอาหาร : น้ำผึ้ง ลูกอม น้ำผลไม้ เค้ก รสเปรี้ยว สาเหตุการเกิดรส : สารที่เป็นกรดให้ประจุไฮโดรเจนตัวอย่างอาหาร : น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว โยเกิร์ต รวมทั้งอาหารที่เสีย ที่เตือนให้รู้ถึงอันตรายที่มีต่อร่างกาย รสเค็ม สาเหตุการเกิดรส : เกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)และเกลือแร่ต่างๆตัวอย่างอาหาร : ซอสถั่วเหลือง เนื้อแปรรูป ผักและผลไม้ดอง รสขม สาเหตุการเกิดรส : […]
หากใครที่ชอบเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์โลก เราจะพบสัตว์อยู่ชนิดหนึ่งที่มันไร้ซึ่งความกลัวใด ๆ พร้อมท้าชนกับสัตว์ทุกสายพันธุ์ ประมาณว่าต่อให้มันโดนล้อมด้วยสิงโต 4 ตัว มันก็สู้ยิบตา ไม่กลัวถูกกินอีกต่างหาก สัตว์ชนิดนี้ คือ ฮันนี่แบดเจอร์ (honey badger, Ratel) (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mellivora capensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ จัดอยู่ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ชนิดหนึ่ง (ไม่ได้เขียนผิด ไม่ใช่วงศ์พังพอน) รูปร่างเล็กราวหมาน้อยธรรมดา แต่ดันเป็นสัตว์ที่ไม่กลัวเกรงสิ่งมีชีวิตอื่นแม้แต่น้อย พร้อมบวกกับสายพันธุ์อื่นได้ทุกสถาบัน อย่างที่เห็นภาพและในคลิปวิดีโอหลายแห่ง เจ้าฮันนี่แบดเจอร์ต่อสู้กับสิงโตหลายตัวแบบไม่กลัวอะไรเลย ซึ่งตามปกติแล้วสัตว์อื่นต่างกลัวสิงโตกันทั้งสิ้น ไม่เพียงแค่นั้นฮันนี่แบดเจอร์ยังไม่กลัวพิษร้าย ในชื่อก็บอกแล้วว่าฮันนี่ คือ มันชอบกินน้ำผึ้งอย่างมาก เวลาไปเอาน้ำผึ้งโดนผึ้งต่อยแค่ไหนก็ไม่ระคายผิว กินได้อย่างสบาย หรือว่าจะเป็นพิษจากงูเห่า เพราะบางครั้งฮันนี่แบดเจอร์ก็กินงูเห่า และถึงโดนกัดแล้วจะมีอาการจนนอนฟุบไปบ้าง แต่สักพักก็ลุกขึ้นมากินงูเห่าที่เพิ่งจัดการต่อจนอิ่ม แล้วเดินออกไปแบบปกติเหมือนไม่ได้โดนพิษอะไร เหตุที่ฮันนี่แบดเจอร์ไม่กลัวอะไรเลย เป็นเพราะร่างกายของมันมีลักษณะพิเศษ ผิวหนังของฮันนี่แบดเจอร์มีความหนามาก ๆ หนาในระดับที่ว่าเขี้ยวเล็บของสัตว์อื่นแทงไม่เข้า จะบอกว่าต่อให้โดนหอกของมนุษย์แทงก็น่าจะไม่เข้าอีกด้วย แล้วพอผิวหนังหนาแบบนี้ มันเลยลุย ๆ แบบไม่กลัวอะไร โดนผึ้งต่อยก็เฉย ๆ แค่คัน ๆ […]