ข่าวสาร กิจกรรม บทความและนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ
กิจกรรมการประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย”
การประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” เชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” ประเภท สิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ โครงการกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับผู้สูงวัย “แฮปปี้…สูงวัย” ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยสามารถกรอก ใบสมัครลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ และส่งหลักฐานการสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 9 มิถุนายน 2566 รายละเอียดโครงการ : หลักเกณฑ์การประกวด หรือ สแกน QR Code ในรูปภาพเพื่อดูรายละเอียดและสมัครได้เลยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-3910544, 02-3920508 และ 061-8793919 (อ.เอส) , 0852609401 (อ.เบนซ์) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ศูนย์สร้างสรรค์เยาวชน (กระจ่าง บริรักษ์นิติเกษตร)
เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสังกัดศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสื่อนิทรรศการโดยทำบทปฏิบัติการประกอบการเล่นเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี ให้บริการสื่อนิทรรศการภายในอาคาร จำนวน 10 ฐานและสื่อนิทรรศภายนอกอาคาร จำนวน 13 ฐาน นิทรรศการภายในอาคาร ผึ้งกับเสือ, การผจญภัยของหยดน้ำ, ชีวิตในน้ำ, ต้นไม้ ใบหญ้า พืช ผัก ผลไม้, กินให้ฉลาดและโตเร็ว, รู้จักตนเองและเพื่อน, จักรวาลและอวกาศ, สุขสบายคลายเหนื่อย, มุมรักการอ่าน, ฝากอะไรไว้ให้โลก นิทรรศการภายนอกอาคาร ผึ้งกับเสือ, เครื่องเล่นสนาม, เรียนรู้แรงดันน้ำ, เรียนรู้เรื่องสูตรคูณ, วาดฝันกับเม็ดทราย, เรียนรู้การทรงตัว, บ้านต้นไม้, เรียนรู้เลขคู่และคี่, เรียนรู้รูปทรงเรขาคณิต, ฐานสะกดรอย, เรียนรู้เรื่องมุม, เรียนรู้เรื่องจำนวน, เรียนรู้การขนส่งทางน้ำ, ลานนวดเท้า Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
5 อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
หลายท่านอาจเคยได้ยินคำว่า “สารต้านอนุมูลอิสระ” กันมาบ้าง เคยสงสัยไหมว่าอนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระคืออะไร แล้วสารต้านอนุมูลอิสระนั้นมีอยู่ในอาหารชนิดใดบ้าง มาหาคำตอบไปพร้อมกันได้เลย อนุมูลอิสระ (Free Radicle) คือ โมเลกุลหรืออะตอมที่ไม่เสถียรเนื่องจากขาดอิเล็กตรอน โดยปกติในร่างกายของเรามีโมเลกุลหรืออะตอมที่มีอิเล็กตรอนอยู่เป็นจำนวนคู่ ในกรณีที่ร่างกายมีการสูญเสียอิเล็กตรอนจากการถูกอนุมูลอิสระแย่งจับ จะทำให้โมเลกุลของเซลล์ในร่างกายไม่เสถียร ขาดความสมดุล ซึ่งส่งผลทำให้เซลล์ร่างกายเสียหายได้ สารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) เป็นสารประกอบสำคัญที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วในกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายจะสร้างของเสียออกมา ซึ่งของเสียหนึ่งในนั้นก็คือสารอนุมูลอิสระ ดังนั้นเราจึงต้องการสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยทำให้โมเลกุลที่ไม่เสถียรนี้มีความเป็นกลาง และช่วยปกป้องร่างกายจากการเสื่อมโทรมของเซลล์เหล่านี้ อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง 1. ดาร์กช็อกโกแลต (Dark Chocolate) เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งมีปริมาณโกโก้มากกว่าช็อกโกแลตทั่วไป จึงทำให้มีแร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่า จากการวิเคราะห์หาปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระชองดาร์กช็อกโกแลต พบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระมากถึง 15 มิลลิโมล ต่อ 3.5 ออนซ์ (100 กรัม) ทั้งยังช่วยในการทำให้การอักเสบน้อยลงและลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ 2. ผักเคล (Kale) หรือเรียกอีกชื่อว่า “ผักคะน้าใบหยิก” เป็นผักใบเขียวที่มีคุณค่าทางโภชนาการมาก และยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินเค และวิตามินซีจากการวิเคราะห์หาปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระของผักเคล พบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระมากถึง 2.7 มิลลิโมล […]
มีหัวใจแต่ใช้ได้ไม่เท่ากัน
สัตว์ที่มีหัวใจหนึ่งดวงเท่ากัน แต่ไม่ได้แปลว่าจะมีหัวใจ 4 ห้องเหมือนกับคนเราหรอกนะ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดก็มีระบบหมุนเวียนเลือดที่แตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้ สัตว์จำพวกปลา มีหัวใจ 2 ห้อง ห้องบน (Atrium) ทำหน้าที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจห้องล่าง (Ventricle) ส่วนหัวใจห้องล่าง ทำหน้าที่ปั๊มเลือดออกจากหัวใจ โดยเลือดที่มีแก๊สออกซิเจนต่ำจะเข้าทางห้องบนและไหลต่อไปยังห้องล่าง จากนั้นจะถูกสูบฉีดต่อไปยังเหงือก ภายในเหงือกจะมีเส้นเลือดฝอยจำนวนมากทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊สกับสิ่งแวดล้อมในที่นี้คือน้ำ หลังจากนั้นออกซิเจนจะถูกนำเข้าสู่ร่างกายและคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกนำออกจากร่างกาย ทำให้เลือดมีปริมาณออกซิเจนสูงขึ้นและจะถูกส่งต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อร่างกายนำออกซิเจนจากเลือดไปใช้แล้ว เลือดที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำจะถูกส่งกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนอีกครั้ง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีหัวใจ 3 ห้อง มีห้องบน 2 ห้อง ได้แก่ ห้องบนขวา (right atrium) และห้องบนซ้าย (left atrium) ส่วนห้องล่าง (Ventricle) มี 1 ห้อง โดยจะเริ่มจากห้องบนขวารับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำมาจากร่างกายส่งไปที่หัวใจห้องล่าง แล้วส่งต่อไปยังปอดและผิวหนังที่มีเส้นเลือดฝอยจำนวนมากเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส เมื่อปอดและผิวหนังทำการแลกเปลี่ยนแก๊สเสร็จแล้ว จะได้เลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงขึ้น และเลือดจะถูกส่งกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย หลังจากนั้นจะถูกส่งต่อไปยังห้องล่างอีกครั้งเพื่อส่งเลือดที่มีออกซิเจนสูงออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกาย แต่เนื่องจากหัวใจห้องล่างมีเพียงห้องเดียว จึงทำให้เลือดที่มีออกซิเจนสูงและเลือดที่มีออกซิเจนต่ำปะปนกันได้ สัตว์เลื้อยคลาน มีหัวใจ 3 ห้อง […]
ทำไมต้องใช้หินแกรนิต
เคยสังเกตแผ่นหินขนาดใหญ่ที่นำมาสลักเป็นป้ายชื่อประดับหน้าอาคาร แผ่นหินปูพื้น/ ผนัง หรือปูโต๊ะในห้องครัว หรือแม้กระทั่งหินแกะสลักเป็นรูปทรงต่าง ๆ ที่มักพบประดับตามสวนสาธารณะ ทราบหรือไม่ว่านั่นคือ หินแกรนิต หินแกรนิต (granite) คือ หินอัคนีชนิดหนึ่ง เกิดจากแมกมาเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ จึงทำให้แร่ที่เป็นส่วนประกอบในแมกมา มีเวลาจับตัวกันเป็นผลึกขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หินแกรนิต ประกอบด้วยแร่หลัก 3 ชนิด นั่นคือแร่ควอตซ์ (quartz) แร่เฟลด์สปาร์ (feldspar) และแร่สีเข้มที่มีประกอบเป็นส่วนน้อย เช่น แร่ฮอร์นเบลนด์ (hornblend) แร่ไพรอกซีน (pyroxene) เป็นต้น หินแกรนิตในธรรมชาติมักมีสีอ่อน ส่วนจะมีสีใดนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณและแร่ธาตุที่เข้าไปปะปนอยู่ในหิน เช่น แร่ควอตซ์ทำให้หินแกรนิตเป็นสีขาวหรือเทา แร่เฟลด์สปาร์ทำให้หินมีสีแดงหรือสีชมพู ส่วนแร่สีเข้มทำให้หินแกรนิตมีสีเข้มของสีเขียว สีน้ำตาลหรือสีดำ ของแร่แต่ละชนิดปะปน ทำให้เกิดลวดลายตามธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ การนำแกรนิตไปใช้ประโยชน์ ด้วยคุณสมบัติของแร่ประกอบหินแกรนิตแต่ละชนิด มีความทนทานต่อการผุกร่อนตามธรรมชาติหรือการขูดขีด เนื่องจาก แร่ควอตซ์ (quartz) มีความแข็งระดับ 7 ตามโมห์สเกล แร่เฟลด์สปาร์ (feldspar) มีความแข็งระดับ 6 ตามโมห์สเกล […]