ภาพบรรยากาศโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) สำหรับครู กศน. จัดโดยกลุ่มงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
ข่าวสาร กิจกรรม บทความและนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ
ภาพยนตร์เต็มโดมประจำเดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons)
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยส่วนวิชาการ กลุ่มงานท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง ด้วยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการ ผ่านเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย และจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม รอบละประมาณ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คนต่อ 1 รอบการแสดง ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ในภาพยนตร์เต็มโดม เดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons) ภาพยนตร์ความยาว 23 นาที นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับดาวเคราะห์ที่ชื่อว่า “โลก” ว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เราพบสื่งมีชีวิต แต่เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะอพยพไปอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ต้านแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวพฤหัส และตื่นตากับความสวยงามของดาวเสาร์ แล้วลองตัดสินใจว่าดาวเคราะห์ดวงไหนที่เราอยากไปอยู่ พากษ์เสียงภาษาไทยโดย คุณฉันทวิทย์ ธนะเสวี (เต๋อ) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
อาคาร 3 สิ่งแวดล้อมโลก (The Green Planet)
ในศตวรรษที่ 21 สถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกเป็นอย่างไร เรา…จะช่วยโลกของเราได้อย่างไร มาเรียน เล่น หาคำตอบได้ที่นิทรรศการสิ่งแวดล้อมโลก วันนี้เทอร่าจะพาทุกคนไปสำรวจนิทรรศการสิ่งแวดล้อมโลกของเรากันนะคะ นิทรรศการนี้เน้นสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม พร้อมทั้งรู้จักวิธีการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความร่วมมือและรู้ทันเหตุการณ์ และร่วมกันหาแนวทางป้องกันและลงมือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยนิทรรศการสิ่งแวดล้อมโลกในศตวรรษที่ 21 เพื่อความยั่งยืนมีการจัดแบ่งเป็น 5 โซน ได้แก่ โซนที่ 1 ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในประเทศ ธรรมชาติรอบตัวเรา จัดแสดงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติผ่านการจำลองผืนป่าและน้ำตกมาจัดแสดงในนิทรรศการ พร้อมกับเรียนรู้ผ่านเกม “มาเล่นซ่อนหากันเถอะ” เคยสังเกตหรือไม่รอบตัวของเรามีอะไรซุกซ่อนอยู่บ้าง ใครนะใครแอบซ่อนอยู่ในป่า ใต้กองใบไม้หนาบนพื้นดิน ในลำธารน้ำตก ใต้ท้องทะเลและบนชายหาด ลองสำรวจดูกันไหมว่า มีอะไรซ่อนอยู่ในธรรมชาติรอบตัวของเรา โซนที่ 2 สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติซึ่งมีประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ ได้แก่ อากาศ น้ำ ดิน แร่ธาตุ ป่าไม้ สัตว์ป่า แสงอาทิตย์ และอื่นๆ ที่มนุษย์สามารถเสาะแสวงหามาใช้ในการดำรงชีวิต จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมวลมนุษย์ นำเสนอผ่านภาพเคลื่อนไหว จำนวน 2 เรื่อง ให้เลือกชม แต่ละเรื่องความยาวประมาณ 3 […]
ระบบนำทางของนกนักอพยพ
เมื่อสัญชาตญาณการรับรู้การเปลี่ยนแปลงรอบตัว บ่งบอกถึงฤดูกาลกำลังจะเปลี่ยนผ่าน ในทุก ๆ ปี เหล่านกที่อยู่ในเขตอบอุ่นเริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับลมหนาวที่กำลังจะมาถึง ในแหล่งอาศัยที่มีสภาพอากาศที่เลวร้ายและอาหารกำลังจะหมดลงในไม่ช้า มีความจำเป็นต้องหาที่อยู่และแหล่งอาหารใหม่ เพื่อที่จะให้พอใช้ชีวิตอยู่ตลอดช่วงฤดูหนาว จากสภาพแวดล้อมและความกดดันของสภาพอากาศเหล่านี้ ทำให้นกตัดสินใจที่จะเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่หรือที่เรียกว่า “การอพยพ” ซึ่งหลังจากหมดช่วงเวลาการอพยพ นกก็จะกลับมายังรังหรือแหล่งอาศัยเดิมที่มันจากมา เส้นทางการอพยพไปยังเป้าหมายนั้นไกลแสนไกลเป็นหลายร้อยกิโลเมตรอาจจะทำให้มันบินออกนอกเส้นทางได้ นกจึงมีเครื่องมือช่วยให้มันสามารถไปถึงเป้าหมายได้สำเร็จ เช่นเดียวกับการเดินทางของคนที่ต้องใช้ระบบนำทางอย่าง GPS ระบบนำทางนกนั้นมีสิ่งที่เรียกว่า Orientation และ Navigation ซึ่งดูเหมือนว่าคำสองคำนี้อาจจะคล้ายกัน แต่ความหมายของทั้งสองคำนี้แตกต่างกัน โดย Orientation เหมือนกับเข็มทิศ ส่วน Navigation เหมือนกับแผนที่ โดยนกจะมีทั้งเข็มทิศและแผนที่ ซึ่งนกจะหาจุดอ้างอิงไม่ให้หลุดออกจากเส้นทางการบินอพยพ โดยสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ครอบคลุมพื้นที่การบินของนกสามารถเห็นได้ง่าย เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กโลก นอกจากนี้ยังมีอย่างอื่นที่นกใช้เป็นตัวบอกทิศ เช่น ดาวบนฟ้า กลิ่น เสียง เป็นต้น ตัวอย่างของจุดอ้างอิงที่ใช้เป็นเข็มทิศ 1. สนามแม่เหล็ก (Magnetic field) นกสามารถรับรู้สนามแม่เหล็กจากโปรตีนที่ชื่อว่า คริพโตโครม (Cryptochrome) ในตาของนก โดยแสงไปกระตุ้นอิเล็กตรอนตัวหนึ่งในโมเลกุลของคริพโตโครมและส่งสัญญาณไปยังระบบประสาท ทำให้สามารถตรวจจับสนามแม่เหล็กได้ ซึ่งอวัยวะที่รับรู้สนามแม่เหล็กนี้ไม่ได้มีแต่ในตาเท่านั้น นกบางชนิดมีสัมผัสพิเศษนี้อยู่ที่บริเวณขอบจะงอยปากและในรูจมูก […]
การเคี้ยวเอื้อง คือการเคี้ยวอย่างไร?
เคี้ยวเอื้องเป็นคำที่หลายคนมักคุ้นหูและเคยได้ยินกันมาบ้างว่า “มัวแต่เคี้ยวเอื้องเดี๋ยวไม่ทันกิน” ทำให้หลายคนก็คงแอบสงสัยว่าเคี้ยวเอื้องคือการเคี้ยวอย่างไร ใช่การกินอาหารช้าหรือไม่ แท้จริงแล้วการเคี้ยวเอื้องนั้นไม่ใช่การเคี้ยวช้า ๆ แต่อย่างใด การเคี้ยวเอื้องนั้นก็คือส่วนหนึ่งในกลไกการย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องนั่นเอง สัตว์กลุ่ม Ruminant หรือสัตว์เคี้ยวเอื้องเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับ Artiodactyla และเป็นสัตว์ที่กินพืชที่มีระบบทางเดินอาหารซับซ้อนกว่าสัตว์กระเพาะเดี่ยว โดยเฉพาะส่วนของกระเพาะอาหารที่มีการพัฒนาให้มีขนาดใหญ่และแบ่งออกเป็น 4 ส่วนการย่อยอาหารจะเริ่มเคี้ยวแบบหยาบ ๆ แล้วส่งไปย่อยอาหารให้นุ่มก่อนในกระเพาะอาหารส่วนแรก ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาของแบคทีเรียเป็นหลัก จากนั้นจึงสำรอกเอาอาหารที่ย่อยแล้วครึ่งหนึ่งออกมา เรียกว่า เอื้อง (cud) แล้วค่อย ๆ เคี้ยวอีกครั้ง กระบวนการเคี้ยวเอื้องอีกครั้งนี้มีเพื่อย่อยสลายสารที่มีอยู่ในพืชและกระตุ้นการย่อยอาหาร เรียกว่า “การเคี้ยวเอื้อง” (ruminating) สัตว์กลุ่มที่พบกระบวนการดังกล่าวนี้จึงถูกเรียกว่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยพบว่าโคใช้เวลาในการเคี้ยวเอื้อง 1 ใน 3 ของวัน หรือใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อที่จะทำการเคี้ยวเอื้องให้อาหารมีขนาดเล็กลง ส่วนสัตว์กินพืชทั่วไปเช่น หมู กระต่าย จะมีกระเพาะเดี่ยวเช่นเดียวกับคน ซึ่งจะมีการเคี้ยวอาหารจนละเอียดแล้วส่งต่อไปยังกระเพาะมีเพียงเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหารเท่านั้น กระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ รูเมน (Rumen) หรือ กระเพาะผ้าขี้ริ้ว ลักษณะมีขนาดใหญ่ผนังภายในมีลักษณะเป็นตุ่มขนเล็ก ๆ ทำหน้าที่คลุกเคล้าอาหารถ่ายเทอาหารไปมากับส่วนเรติคิวลัม และมีจุลินทรีย์ที่ช่วยในการย่อยเซลลูโลสให้เป็นกลูโคส (Glucose) ที่ไม่พบในคน เรติคิวลัม […]
หน่วยวัดความเผ็ดของพริก
ถ้าหากพูดถึงอาหารไทย หลายคนคงนึกถึงอาหารที่มีความเผ็ดเป็นแน่ ซึ่งสังเกตได้จากอาหารหลาย ๆ อย่างจะต้องมีพริกเป็นส่วนประกอบในเมนูอาหาร ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า พริกที่ให้ความเผ็ดนั้นใช้หน่วยอะไรในการวัดระดับกันนะ หน่วยวัดความเผ็ดในพริก เรียกว่า “สโกวิลล์ ฮีต ยูนิต” หรือ“เอสเอชยู” (Scoville Heat Unit ; SHU) โดยคำว่า Scoville มาจากชื่อของผู้คิดค้นวิธีการวัดระดับ คือ วิลเบอร์ สโกวิลล์ (Wilber Scoville) นักเคมีชาวอเมริกัน ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ.1912 จากการใช้วิธีทดสอบความเผ็ดของพริกโดยทดสอบทางประสาทสัมผัส และใช้แอลกอฮอล์ละลายสารให้ความเผ็ดหรือแคปไซซิน (Capsaicin) แล้วนำไปเจือจางในน้ำ ทดลองให้คนชิมแล้วเพิ่มปริมาณขึ้นทีละนิดจน 3 ใน 5 คนที่เป็นผู้ทดลองชิมจะไม่สามารถรับรู้ถึงรสเผ็ดได้ ถ้าหากมีการเจือจางมากครั้งก็แสดงว่าพริกนั้นเผ็ดมากถ้าเจือจางน้อยครั้งก็แสดงว่าเผ็ดน้อย ปัจจุบันความเข้มข้นของแคปไซซินถูกกำหนดโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งวิธีการที่ใช้ในการทดสอบทั่วไปนั้นจะใช้วิธี High Pressure Liquid Chromatography (HPLC) เป็นการวัดแคปไซซินโดยตรงที่ให้ผลลัพธ์แม่นยำกว่าวิธีทางประสาทสัมผัส ค่าตัวเลขยิ่งมาก ยิ่งทำให้พริกมีระดับความเผ็ดมากเท่านั้น เรามาดูตัวอย่างระดับความเผ็ดของพริกแต่ละชนิดกันเลย อ้างอิง https://1th.me/Gz6t0https://1th.me/JPfPV Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine