ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่
สำหรับการแสดงภาพยนตร์เต็มโดม ในเดือนมกราคม 2563 จัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่
สำหรับการแสดงภาพยนตร์เต็มโดม ในเดือนมกราคม 2563 จัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยส่วนวิชาการ กลุ่มงานท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง ด้วยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการ ผ่านเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย และจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม รอบละประมาณ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คนต่อ 1 รอบการแสดง ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ในภาพยนตร์เต็มโดม เดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons) ภาพยนตร์ความยาว 23 นาที นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับดาวเคราะห์ที่ชื่อว่า “โลก” ว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เราพบสื่งมีชีวิต แต่เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะอพยพไปอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ต้านแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวพฤหัส และตื่นตากับความสวยงามของดาวเสาร์ แล้วลองตัดสินใจว่าดาวเคราะห์ดวงไหนที่เราอยากไปอยู่ พากษ์เสียงภาษาไทยโดย คุณฉันทวิทย์ ธนะเสวี (เต๋อ) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
โรคฝีดาษลิงคืออะไร โรคฝีดาษลิงหรือไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เป็นโรคที่ใกล้เคียงกับโรคอีสุกอีใสแต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับมีตุ่มผื่นตุ่มหนองทั่วตัว และต่อมน้ำเหลืองโต เกิดจากไวรัส Othopoxvirus ซึ่งเป็นไวรัสที่เกิดโดยธรรมชาติ พบในตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ โรคฝีดาษลิงมีต้นกำเนิดมาจากไหน เป็นโรคที่พบการระบาดครั้งแรกเมื่อ 60 ปีก่อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศคองโก โดยพบการติดเชื้อของสัตว์ตระกูลลิง พบที่แรกในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ที่ใช้ลิงในการทดลอง โรคฝีดาษลิงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์แอฟริกากลางมีความรุนแรงมากอาจถึงขั้นเสียชีวิตและสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก มีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์แอฟริกากลางมากซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ ณ ขณะนี้ โรคฝีดาษลิงติดต่อได้อย่างไร โรคฝีดาษลิง สามารถติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ได้โดยการสัมผัสทางผิวหนัง หรือผ่านเยื่อเมือก เช่น จมูก ปาก ตา ของสัตว์ที่ป่วยเป็นโรค การนำซากสัตว์ที่ป่วยมาปรุงอาหาร การถูกสัตว์ป่วยข่วน และการใช้เครื่องมือที่สัมผัสกับสัตว์ที่ป่วยได้อีกเช่นกัน โรคนี้จะมีระยะฟักตัวเฉลี่ย 7–14 วัน หรืออาจนานถึง 24 วัน แม้ว่าโรคฝีดาษลิงจะมีโอกาสติดจากคนสู่คนได้น้อย แต่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้สามารถเสียชีวิตได้ โดยมีอัตราการเสียชีวิต 1-10% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กเล็ก โรคฝีดาษลิงตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างไร แพทย์จะทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยวิธี PCR ของเหลวจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง หากพบว่าเป็นโรคฝีดาษลิง สามารถรักษาโดยให้ยาต้านไวรัส […]
จากข่าวการติดเชื้อโควิด-19 หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องการนำผู้ติดเชื้อต้องแยกให้อยู่ในห้องแรงดันลบ ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่ามันคือห้องอะไร แล้วมันแตกต่างจากห้องปกติอย่างไร ห้องแรงดันลบ (Negative Pressure Rooms) เป็นห้องกักกันเชื้อที่มีระบบระบายอากาศแยกจากส่วนอื่นๆ มีแรงดันอากาศภายในห้องน้อยกว่าภายนอกห้อง มีการควบคุมการไหลของอากาศไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายทำให้อากาศจากภายในห้องไม่ไหลออกมาสู่ภายนอก ระบบภายในห้องที่ใช้ดูดอากาศสู่ภายนอกก็ยังสามารถบำบัดอากาศด้วย HEPA Filter และฆ่าเชื้อโรคด้วย UVC และ Ozone ก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะได้อีกด้วย โดยห้องแรงดันลบนี้ไม่ได้มีไว้แค่ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 เท่านั้น แต่ยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้อีกด้วย อาทิ โรคไข้หวัดใหญ่ โรควัณโรค เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ก็ยังเป็นโรคติดต่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเป็นรูปแบบใหม่ของห้องฉุกเฉินในยุค new normal ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่มาใช้บริการได้เป็นอย่างดี อ้างอิง การระบายอากาศของห้องคนไข้แบบแยกเดี่ยว What are Negative Pressure Rooms? Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสังกัดศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสื่อนิทรรศการโดยทำบทปฏิบัติการประกอบการเล่นเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี ให้บริการสื่อนิทรรศการภายในอาคาร จำนวน 10 ฐานและสื่อนิทรรศภายนอกอาคาร จำนวน 13 ฐาน นิทรรศการภายในอาคาร ผึ้งกับเสือ, การผจญภัยของหยดน้ำ, ชีวิตในน้ำ, ต้นไม้ ใบหญ้า พืช ผัก ผลไม้, กินให้ฉลาดและโตเร็ว, รู้จักตนเองและเพื่อน, จักรวาลและอวกาศ, สุขสบายคลายเหนื่อย, มุมรักการอ่าน, ฝากอะไรไว้ให้โลก นิทรรศการภายนอกอาคาร ผึ้งกับเสือ, เครื่องเล่นสนาม, เรียนรู้แรงดันน้ำ, เรียนรู้เรื่องสูตรคูณ, วาดฝันกับเม็ดทราย, เรียนรู้การทรงตัว, บ้านต้นไม้, เรียนรู้เลขคู่และคี่, เรียนรู้รูปทรงเรขาคณิต, ฐานสะกดรอย, เรียนรู้เรื่องมุม, เรียนรู้เรื่องจำนวน, เรียนรู้การขนส่งทางน้ำ, ลานนวดเท้า Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
เมื่อสัญชาตญาณการรับรู้การเปลี่ยนแปลงรอบตัว บ่งบอกถึงฤดูกาลกำลังจะเปลี่ยนผ่าน ในทุก ๆ ปี เหล่านกที่อยู่ในเขตอบอุ่นเริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับลมหนาวที่กำลังจะมาถึง ในแหล่งอาศัยที่มีสภาพอากาศที่เลวร้ายและอาหารกำลังจะหมดลงในไม่ช้า มีความจำเป็นต้องหาที่อยู่และแหล่งอาหารใหม่ เพื่อที่จะให้พอใช้ชีวิตอยู่ตลอดช่วงฤดูหนาว จากสภาพแวดล้อมและความกดดันของสภาพอากาศเหล่านี้ ทำให้นกตัดสินใจที่จะเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่หรือที่เรียกว่า “การอพยพ” ซึ่งหลังจากหมดช่วงเวลาการอพยพ นกก็จะกลับมายังรังหรือแหล่งอาศัยเดิมที่มันจากมา เส้นทางการอพยพไปยังเป้าหมายนั้นไกลแสนไกลเป็นหลายร้อยกิโลเมตรอาจจะทำให้มันบินออกนอกเส้นทางได้ นกจึงมีเครื่องมือช่วยให้มันสามารถไปถึงเป้าหมายได้สำเร็จ เช่นเดียวกับการเดินทางของคนที่ต้องใช้ระบบนำทางอย่าง GPS ระบบนำทางนกนั้นมีสิ่งที่เรียกว่า Orientation และ Navigation ซึ่งดูเหมือนว่าคำสองคำนี้อาจจะคล้ายกัน แต่ความหมายของทั้งสองคำนี้แตกต่างกัน โดย Orientation เหมือนกับเข็มทิศ ส่วน Navigation เหมือนกับแผนที่ โดยนกจะมีทั้งเข็มทิศและแผนที่ ซึ่งนกจะหาจุดอ้างอิงไม่ให้หลุดออกจากเส้นทางการบินอพยพ โดยสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ครอบคลุมพื้นที่การบินของนกสามารถเห็นได้ง่าย เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กโลก นอกจากนี้ยังมีอย่างอื่นที่นกใช้เป็นตัวบอกทิศ เช่น ดาวบนฟ้า กลิ่น เสียง เป็นต้น ตัวอย่างของจุดอ้างอิงที่ใช้เป็นเข็มทิศ 1. สนามแม่เหล็ก (Magnetic field) นกสามารถรับรู้สนามแม่เหล็กจากโปรตีนที่ชื่อว่า คริพโตโครม (Cryptochrome) ในตาของนก โดยแสงไปกระตุ้นอิเล็กตรอนตัวหนึ่งในโมเลกุลของคริพโตโครมและส่งสัญญาณไปยังระบบประสาท ทำให้สามารถตรวจจับสนามแม่เหล็กได้ ซึ่งอวัยวะที่รับรู้สนามแม่เหล็กนี้ไม่ได้มีแต่ในตาเท่านั้น นกบางชนิดมีสัมผัสพิเศษนี้อยู่ที่บริเวณขอบจะงอยปากและในรูจมูก […]