นิทรรศการเสมือนจริง |
---|
นิทรรศการกาล-อวกาศเสมือนจริง |
นิทรรศการชีวิตพิศวงเสมือนจริง |
นิทรรศการท้องฟ้าจำลองกรุงเทพเสมือนจริง |
นิทรรศการโลกมหัศจรรย์ของเด็ก |
ข่าวสาร กิจกรรม บทความและนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ
ศูนย์สร้างสรรค์เยาวชน (กระจ่าง บริรักษ์นิติเกษตร)
เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสังกัดศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสื่อนิทรรศการโดยทำบทปฏิบัติการประกอบการเล่นเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี ให้บริการสื่อนิทรรศการภายในอาคาร จำนวน 10 ฐานและสื่อนิทรรศภายนอกอาคาร จำนวน 13 ฐาน นิทรรศการภายในอาคาร ผึ้งกับเสือ, การผจญภัยของหยดน้ำ, ชีวิตในน้ำ, ต้นไม้ ใบหญ้า พืช ผัก ผลไม้, กินให้ฉลาดและโตเร็ว, รู้จักตนเองและเพื่อน, จักรวาลและอวกาศ, สุขสบายคลายเหนื่อย, มุมรักการอ่าน, ฝากอะไรไว้ให้โลก นิทรรศการภายนอกอาคาร ผึ้งกับเสือ, เครื่องเล่นสนาม, เรียนรู้แรงดันน้ำ, เรียนรู้เรื่องสูตรคูณ, วาดฝันกับเม็ดทราย, เรียนรู้การทรงตัว, บ้านต้นไม้, เรียนรู้เลขคู่และคี่, เรียนรู้รูปทรงเรขาคณิต, ฐานสะกดรอย, เรียนรู้เรื่องมุม, เรียนรู้เรื่องจำนวน, เรียนรู้การขนส่งทางน้ำ, ลานนวดเท้า Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ภาพมองตาม (HOLLOW-FACE ILLUSION)
ภาพมองตาม (hollow-face illusion) เป็นภาพลวงตา (optical illusion) ที่น่าทึ่ง เมื่อเรามองไปที่ภาพใบหน้าคน ในขณะที่เรายืนห่างออกมา 3-5 เมตร จะเห็นว่าภาพนั้นหันหน้ามองมาทางเรา แต่เมื่อเราเดินไปทางซ้าย หรือเดินไปทางขวา พบว่าภาพนั้นหันหน้าตามเรามาด้วย ภาพสามารถหันหน้าตามเราได้จริง ๆ หรือว่าเราตาฝาดกันแน่ ในการเห็นภาพต่าง ๆ นั้น มีความสัมพันธ์กับกระบวนการทางสมองของเรา สมองรู้ว่าหน้าเป็นทรงนูน (convex) ไม่ใช่ทรงเว้า (concave) โดยอันที่จริงแล้ว ภาพมองตาม เป็นภาพที่เว้า (hollow) ลึกเข้าไป แต่ด้วยกระบวนการของสมองเห็นว่าภาพเป็นหน้าทรงนูน และเมื่อเราเคลื่อนที่ไป เงา (shadow) บนหน้าของภาพลวงตาที่เปลี่ยนไปทำให้เห็นว่าภาพหันหน้าตามเรามา มาพบกับ ภาพมองตาม ได้ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ กันนะครับ อ้างอิง https://1th.me/hSz3i Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
สัตว์เลี้ยง (หรือ) สัตว์แปลก
หากกล่าวถึงสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษหรือ exotic pets คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว สัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษสามารถจำแนกได้หลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน กลุ่มสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง กลุ่มสัตว์ปีก กลุ่มปลาแปลก และกลุ่มเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม นอกจากกลุ่มที่กล่าวมาแล้วนี้แล้วยังสามารถแบ่งตามแนวทางการเลี้ยงและความชอบส่วนบุคคล เช่นความแปลกเนื่องจากเป็นชนิดพันธุ์ที่หายาก (rare & very rare species) หรือความแปลกเนื่องจากความผิดปกติของยีนและเม็ดสี (morphs) ที่เราเรียกกันว่าสัตว์เผือก เป็นต้น และสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษยังหมายถึงสัตว์พื้นบ้านหรือสัตว์ป่าประจำถิ่นที่ไม่ผิดกฎหมายด้วย อยากจะเลี้ยงต้องตรวจสอบอะไรบ้าง ในการจะเลี้ยงสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษจะต้องคำนึงถึงกฎหมายก่อนเป็นอันดับแรก ปัจจุบันสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษบางชนิดไม่ต้องขออนุญาตในการครอบครอง แต่บางชนิดยังต้องมีการขออนุญาตตามข้อบังคับของไซเตส (CITES) หรืออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น เต่าดาวอินเดียที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ จะไม่สามารถเลี้ยงได้เนื่องจากผิดกฎหมาย ส่วนคนที่มีในครอบครองอยู่แล้วจะต้องไปจดทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบเช่นกรมป่าไม้ หรือกรมคุ้มครองสัตว์ป่า กรณีสัตว์ป่าที่ขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในไทย เช่น พญากระรอกดำ แมวดาว ห้ามมีไว้ครอบครอง แต่กรณีเป็นกลุ่มสัตว์ป่าที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศสามารถเลี้ยงได้และถ้ามีใบอนุญาตเพาะพันธุ์ก็จะถือว่าไม่ผิดกฎหมาย นอกจากเรื่องของกฎหมายแล้วผู้เลี้ยงจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และรู้จักนิสัยของสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษเป็นอย่างดีก่อนนำมาเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย อาหาร สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พฤติกรรมทางธรรมชาติของสัตว์ชนิดนั้น รวมไปถึงการหาข้อมูลโรงพยาบาลสัตว์พิเศษเนื่องจากสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษต้องมีหมอเฉพาะทางในการรักษาและต้องใช้เครื่องมือที่แตกต่างจากสัตว์เลี้ยงทั่วไป เลี้ยงแล้ว อย่าทิ้ง (กัน) นะ สัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้สามารถซื้อขายและเพาะพันธุ์ได้อย่างถูกกฎหมายทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นผู้ที่สนใจเลี้ยงสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษจะต้องคำนึงเสมอว่าสัตว์เหล่านี้ถูกเพาะพันธุ์มาเพื่อให้แตกต่างจากสัตว์ที่เจอตามธรรมชาติ จึงไม่ควรไปจับ […]
เครื่องวัดออกซิเจนกับโควิด 19
หากพูดถึงสถานการณ์ของโรคระบาดไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทยกล่าวได้ว่ายังเป็นเรื่องที่ควรวิตกกังวล เนื่องจากพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งมีรายงานว่าพบผู้ป่วยโควิดจำนวนหนึ่งที่ไม่แสดงอาการป่วย แทบจะไม่มีอาการเหนื่อยหรือมีอาการบ่งชี้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แต่พบว่าปอดมีความผิดปกติ เมื่อตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดพบว่าระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำแต่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อความผิดปกตินี้ ส่งผลให้เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ อาการจึงรุนแรงกว่าที่คาดไว้ เราเรียกสภาวะนี้ว่า ภาวะพร่องออกซิเจนเรื้อรัง (Happyhypoxia) ดังนั้นเครื่องตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด หรือ Pulse Oximeter จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยติดตามอาการของผู้ป่วยโควิด 19 ทั้งผู้ป่วยที่รักษาตัวที่โรงพยาบาลและที่บ้าน เครื่องวัดออกซิเจนมีทั้งแบบตั้งพื้นและแบบพกพา ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะเครื่องวัดออกซิเจนพกพาแบบปลายนิ้ว หรือชื่อเต็มคือเครื่องตรวจวัดความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินจากชีพจร โดยจะบอกค่าโดยประมาณของระดับความอิ่มตัวออกซิเจนที่จับกับฮีโมโกลบินที่อยู่ภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งหากค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดสูง แสดงว่าอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายสามารถนำออกซิเจนในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ ในทางกลับกันหากค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดต่ำแสดงว่าอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย อีกทั้งค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดนี้ยังเป็นค่าสำคัญที่ใช้บอกประสิทธิภาพการทำงานของปอดด้วย ความอิ่มตัวของออกซิเจน (SpO2 ) คืออะไร ? ส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีหน้าที่นำออกซิเจนไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเรียกว่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) โดยทั่วไปแล้วฮีโมโกลบิน 1 โมเลกุล จะสามารถจับกับออกซิเจนได้ 4 โมเลกุล ในเม็ดเลือดแดงจะมีฮีโมโกลบินอยู่ 4 ชนิด ซึ่งเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วนี้จะตรวจวัดได้แค่ 2 ชนิด […]
ทำไม “กอด” ถึงชาร์จพลังได้
อาการหมดไฟ หรือหมดพลังในการทำบางสิ่งบางอย่างที่ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เคยชื่นชอบ การเหนื่อยกับการทำงาน เหนื่อยกับการใช้ชีวิต สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสภาพจิตใจของคน ๆ นั้น อาจทำให้มีความคิดที่เลวร้าย เช่น การไม่อยากอยู่บนโลกนี้แล้วซึ่งนำไปสู่การพยายามฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายตัวเอง อาการเหล่านี้ใช่ว่าไม่สามารถรักษาหรือบรรเทาให้ดีขึ้นไม่ได้ สิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยได้โดยที่หลายคนอาจไม่รู้มาก่อนนั่นคือ การกอด การกอด คือ การแสดงความรักเป็นภาษากายที่ใช้ทักทายและบอกลาเพื่อน ครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงานที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย กอดมีค่ามากกว่าการเป็นสื่อแสดงความรัก เราสามารถเรียกการกอดได้ว่า “พลัง” เพราะขณะที่ร่างกายเรากำลังหมดแรง รู้สึกเหนื่อย ท้อแท้ หรือเศร้าใจ การได้กอดดี ๆ จากคนที่เรารักจะทำให้เรารู้สึกเหมือนได้ชาร์จแบตให้เต็มอีกครั้ง เนื่องจากการกอดเป็นการสัมผัสที่ช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียด ช่วยทำให้รู้สึกมั่นคง ปลอดภัยทางอารมณ์ เมื่อมีการสัมผัสไม่ว่าจะเป็นการจับมือหรือการกอดนานกว่า 20 วินาที เราจะรับรู้ถึงความรู้สึกนั้น และร่างกายก็จะมีการตอบสนอง โดยสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) จะผลิตสารเคมีที่เรียกว่า ออกซิโทซิน (Oxytocin) หรือฮอร์โมนแห่งความรัก ซึ่งปล่อยออกมาจากต่อมใต้สมอง ทำให้รู้สึกอบอุ่น รู้สึกดี นอกจากนี้ยังกระตุ้นการทำงานของฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง ทำให้ลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายได้ดีขึ้น ส่งผลให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แข็งแรง สุขภาพดี […]