ทำไมต้องใช้หินแกรนิต

ทำไมต้องใช้หินแกรนิต

เคยสังเกตแผ่นหินขนาดใหญ่ที่นำมาสลักเป็นป้ายชื่อประดับหน้าอาคาร แผ่นหินปูพื้น/ ผนัง หรือปูโต๊ะในห้องครัว หรือแม้กระทั่งหินแกะสลักเป็นรูปทรงต่าง ๆ ที่มักพบประดับตามสวนสาธารณะ ทราบหรือไม่ว่านั่นคือ หินแกรนิต

หินแกรนิต (granite) คือ หินอัคนีชนิดหนึ่ง เกิดจากแมกมาเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ จึงทำให้แร่ที่เป็นส่วนประกอบในแมกมา มีเวลาจับตัวกันเป็นผลึกขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

หินแกรนิต ประกอบด้วยแร่หลัก 3 ชนิด นั่นคือแร่ควอตซ์ (quartz) แร่เฟลด์สปาร์ (feldspar) และแร่สีเข้มที่มีประกอบเป็นส่วนน้อย เช่น แร่ฮอร์นเบลนด์ (hornblend) แร่ไพรอกซีน (pyroxene) เป็นต้น

หินแกรนิตในธรรมชาติมักมีสีอ่อน ส่วนจะมีสีใดนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณและแร่ธาตุที่เข้าไปปะปนอยู่ในหิน เช่น แร่ควอตซ์ทำให้หินแกรนิตเป็นสีขาวหรือเทา แร่เฟลด์สปาร์ทำให้หินมีสีแดงหรือสีชมพู ส่วนแร่สีเข้มทำให้หินแกรนิตมีสีเข้มของสีเขียว สีน้ำตาลหรือสีดำ ของแร่แต่ละชนิดปะปน ทำให้เกิดลวดลายตามธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์

การนำแกรนิตไปใช้ประโยชน์

ด้วยคุณสมบัติของแร่ประกอบหินแกรนิตแต่ละชนิด มีความทนทานต่อการผุกร่อนตามธรรมชาติหรือการขูดขีด เนื่องจาก แร่ควอตซ์ (quartz) มีความแข็งระดับ 7 ตามโมห์สเกล  แร่เฟลด์สปาร์ (feldspar) มีความแข็งระดับ 6 ตามโมห์สเกล และระดับความแข็งของแร่สีเข้มที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของแร่ที่มาประกอบ และมีสมบัติอีกประการสำคัญคือ ไม่ทำปฏิกิริยากับกรด จากคุณสมบัติเหล่านี้ จึงทำให้หินแกรนิตเป็นอีกตัวเลือกที่ดีในการนำมาใช้ประโยชน์ในงานข้างต้น

อ้างอิง

https://bit.ly/3tynlMO
https://bit.ly/3hkI1mu
https://bit.ly/3E7smR5