พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย

ร่วมเฉลิมฉลองวันพิพิธภัณฑ์ไทย ตรงกับวันที่ 19 กันยายน ของทุกปี ทราบหรือไม่ว่า…พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทยอยู่ที่ไหนกันนะ และมีความเป็นมาอย่างไร? 🔸หลังจาก “ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ” เปิดให้บริการเมื่อ พ.ศ. 2507 โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2507 🔸สภาคณะปฏิวัติมีมติเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2514 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นแหล่งสาธิตและส่งเสริมการเรียนการสอน และเพื่อเป็นศูนย์รวบรวมตัวอย่างผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักเรียนและประชาชนทั่วไปเข้าชมและศึกษา 🔸จากนั้นมีการอนุมัติให้ออกแบบและก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2518 ดำเนินการออกแบบโดย บริษัท สุเมธ ลิขิต ตรี และสหาย จำกัด มีผู้รับจ้างก่อสร้าง คือบริษัท ร่วมใจวิศวกรรม จำกัด แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 🔸และเมื่อวันที่ 9 […]

parani ting-in

20 September 2023

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย จัดแสดงภาพยนตร์สั้น Star Dreaming

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย จัดแสดงภาพยนตร์สั้น Star Dreaming เรื่องราวเกี่ยวกับอารยธรรมดูดาวของชนพื้นเมืองออสเตรเลีย เรียนรู้ภูมิปัญญาเกี่ยวกับจักรวาลของบรรพชนออสเตรเลียที่ส่งต่อมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งจะจัดแสดงระหว่างวันที่ 1 – 31 ตุลาคม 2566 ณ #ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เช็ครอบการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง https://sciplanet.org/content/6891 เปิดบริการวันอังคาร – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. ท่านสามารถซื้อบัตรเข้าชมได้ที่เคาน์เตอร์จำหน่ายบัตร หมายเหตุ : การแสดงทางท้องฟ้าจำลองยังคงให้บริการตามปกติ โดยช่วงแรกจะเป็นการบรรยายดาว จากนั้นชมภาพยนตร์สั้น Star Dreamingและต่อด้วยภาพยนตร์เต็มโดม เดือนตุลาคม เสนอเรื่อง โคโคมง ผจญภัยในอวกาศ

parani ting-in

20 September 2023

อาคาร 3 สิ่งแวดล้อมโลก (The Green Planet)

ในศตวรรษที่ 21 สถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกเป็นอย่างไร เรา…จะช่วยโลกของเราได้อย่างไร มาเรียน เล่น หาคำตอบได้ที่นิทรรศการสิ่งแวดล้อมโลก วันนี้เทอร่าจะพาทุกคนไปสำรวจนิทรรศการสิ่งแวดล้อมโลกของเรากันนะคะ นิทรรศการนี้เน้นสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม พร้อมทั้งรู้จักวิธีการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความร่วมมือและรู้ทันเหตุการณ์ และร่วมกันหาแนวทางป้องกันและลงมือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยนิทรรศการสิ่งแวดล้อมโลกในศตวรรษที่ 21 เพื่อความยั่งยืนมีการจัดแบ่งเป็น 5 โซน ได้แก่ โซนที่ 1 ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในประเทศ ธรรมชาติรอบตัวเรา จัดแสดงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติผ่านการจำลองผืนป่าและน้ำตกมาจัดแสดงในนิทรรศการ พร้อมกับเรียนรู้ผ่านเกม “มาเล่นซ่อนหากันเถอะ” เคยสังเกตหรือไม่รอบตัวของเรามีอะไรซุกซ่อนอยู่บ้าง ใครนะใครแอบซ่อนอยู่ในป่า ใต้กองใบไม้หนาบนพื้นดิน ในลำธารน้ำตก ใต้ท้องทะเลและบนชายหาด ลองสำรวจดูกันไหมว่า มีอะไรซ่อนอยู่ในธรรมชาติรอบตัวของเรา โซนที่ 2 สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติซึ่งมีประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ ได้แก่ อากาศ น้ำ ดิน แร่ธาตุ ป่าไม้  สัตว์ป่า แสงอาทิตย์ และอื่นๆ ที่มนุษย์สามารถเสาะแสวงหามาใช้ในการดำรงชีวิต จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมวลมนุษย์ นำเสนอผ่านภาพเคลื่อนไหว จำนวน 2 เรื่อง ให้เลือกชม แต่ละเรื่องความยาวประมาณ 3 […]

parani ting-in

14 September 2023

ยินดีต้อนรับท่านรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้

12 กันยายน 2566 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาต้อนรับ ว่าที่เรือตรีชูชีพ อรุณเหลือง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อพบปะและมอบนโยบายแก่ บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา นำโดยนายโยฑิน สมโนนนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา พร้อมด้วยข้าราชการ พนักงานราชการและเจ้าหน้าที่ ณ ห้องประชุมชั้น อาคาร 4 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

parani ting-in

13 September 2023

หูไม่ใช่หู หางไม่ใช่หาง เรื่องจริงของทากทะเล

‘กระต่ายทะเล’ ‘แกะทะเล’ นี่คือชื่อเรียกสุดน่ารักที่ผู้คนตั้งให้กับทากทะเลตัวจิ๋ว จากลักษณะเด่นของพวกมัน ได้แก่ ส่วนที่ยื่นออกมาจากส่วนหัวดูคล้ายหูยาว ๆ และพวงหางที่ดูนุ่มฟูตรงส่วนท้ายของลำตัว แต่แท้จริงแล้วนั้น หูกลับไม่ใช่หู และหางกลับไม่ใช่หางอย่างที่คิด ทากทะเล หรือ ทากเปลือย (Nudibranch) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) เช่นเดียวกับหอยและหมึก กลุ่มเดียวกับหอยฝาเดียว แต่เปลือกถูกลดรูปจนไม่เหลือให้เห็นจากภายนอก ลำตัวมีขนาดเล็กโดยมีตั้งแต่ขนาด 2 มิลลิเมตรไปจนถึง 30 เซนติเมตรได้เลยทีเดียว ส่วนมากอาศัยอยู่ในทะเลและสามารถพบได้ตามบริเวณที่เป็นแหล่งอาหารของพวกมัน เช่น ตามแนวปะการัง โขดหิน และสาหร่าย ทำให้ทากทะเลสามารถเป็นตัวบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศได้ ทากทะเลมีรูปร่างและสีสันที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด แต่มีลักษณะที่คล้ายกันนั่นคือ ลำตัวแบน และมีส่วนที่คล้ายหูหรือเขา 2 ข้างที่ส่วนหัว ซึ่งความจริงแล้วอวัยวะส่วนนี้ไม่ได้ทำหน้าที่ในการรับเสียงแบบหูของกระต่ายหรือแกะแต่อย่างใด แต่มันคือ ไรโนฟอร์ (Rhinophore) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการรับสารเคมีในน้ำ หรือใช้ในการรับกลิ่นเหมือนจมูก เพื่อตรวจหากลิ่นของอาหาร รวมทั้งหากลิ่นของฮอร์โมนจากเพศตรงข้ามได้อีกด้วย และส่วนที่คล้ายหางบริเวณปลายลำตัวก็ไม่ได้ใช้ในการเคลื่อนที่หรือการทรงตัว แต่มันคือเหงือก (Gill plume หรือ Branchial plume) ที่ช่วยในการหายใจเหมือนสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ […]

parani ting-in

11 September 2023

ปลวก นักย่อยสลายบำรุงดิน

หากเราพูดถึงปลวก หลายๆคนอาจจะมองว่าปลวกเป็นแมลงรบกวนที่สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ แต่ในธรรมชาตินั้นปลวกกลับมีประโยชน์อย่างมากในระบบนิเวศ เนื่องจากทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลาย (Decomposer) ช่วยในการบำรุงดิน การย่อยสลายนั้น ปลวกมีตัวช่วยเป็นจุลินทรีย์ตัวเล็ก ๆ นั่นคือ โปรโตซัว (Protozoa) ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของปลวกซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันแบบภาวะพึ่งพา (Mutualism) ปลวกย่อยสลายไม้ได้อย่างไร? แหล่งอาหารของปลวกเป็นจำพวกเนื้อไม้ เศษไม้ ซากพืช ซึ่งปลวกสามารถกินไม้เหล่านี้ได้ แต่ไม่สามารถย่อยสลายเซลลูโลส (Cellulose) ได้ จึงต้องอาศัยโปรโตซัวที่มีชื่อว่า ไตรโคนิมฟา (Trichonympha sp.) ที่อาศัยอยู่ในลำไส้สร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยสลายเซลลูโลสให้กลายเป็นอาหารแก่ปลวก ในขณะเดียวกันก็เป็นอาหารให้กับโปรโตซัวเองด้วย ประโยชน์จากการย่อยสลาย การย่อยสลายซากพืช เศษไม้ของปลวกในธรรมชาติทำให้เกิดการสลายสารอินทรีย์ เปลี่ยนแปลงไปเป็นฮิวมัส (Humus) เกิดการหมุนเวียนแร่ธาตุในดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชที่จะเป็นแหล่งอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นในระบบนิเวศต่อไป      ที่มา : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม TPA NEWS คบเด็กสร้างบ้าน ตอน 2 ปลวก ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโพรทิสตา ปลวกผู้ย่อยสลายในระบบนิเวศ  รูปภาพ

parani ting-in

28 August 2023

เพราะอะไร!! ทำไมฉันจึงถนัดซ้าย

ลองสังเกตคนรอบตัวคุณดูสักนิดมีใครถนัดซ้ายไหม นี่อาจไม่ใช่เรื่องแปลกในสังคมปัจจุบันสักเท่าไร แต่คุณรู้หรือไม่ว่าในอดีตมีคนกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าคนที่ถนัดซ้ายเป็นคนประหลาด และมองว่าคือ ปีศาจ จนทำให้องค์กรหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาลุกขึ้นมาเพื่อปกป้องสิทธิของคนเหล่านี้ รวมถึงสร้างความตระหนักเรื่องความเสมอ ภาคในตัวของบุคคล ถึงขั้นจัดตั้งวันคนถนัดซ้ายสากล หรือ Happy Left Handers Day ขึ้น ซึ่งตรงกับวันที่ 13 สิงหาคมของทุกปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับคนถนัดซ้ายที่ถูกรังเกียจว่าแปลกประหลาด อีกทั้งยังรณรงค์ให้เห็นว่าแม้จะถนัดซ้ายคนเหล่านั้นก็มีความเป็นมนุษย์เหมือน ๆ กัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมนุษย์เราถนัดขวามากกว่าซ้าย 80-90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเลยทีเดียว เพราะเหตุใดจึงมีคนถนัดซ้ายเพียงเล็กน้อยแตกต่างไปจากคนอื่น ๆ กันนะ สาเหตุของการถนัดซ้าย งานวิจัยของ eLife เชื่อว่าความถนัดของมือมีต้นเหตุมาจากการทำงานที่ไม่สมดุลกันของยีนภายในกระดูกไขสันหลังของตัวอ่อนขณะอยู่ในมดลูก โดยการเคลื่อนไหวของมือและแขนของมนุษย์เกิดจากการสั่งงานของสมองส่วน Motor Cortex ที่เป็นตัวส่งสัญญาณประสาทไปที่ไขสันหลัง เพื่อทำหน้าที่แปลผลคำสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหวมือและแขน ซึ่งการแสดงออกของยีนนี้จะอยู่ในช่วงอายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ ผลการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า การที่พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้องถนัดซ้ายนั้น จะเพิ่มโอกาสให้ลูกถนัดซ้ายได้เช่นกัน จากงานวิจัยในประเทศเบลเยี่ยมพบว่า เด็กแฝด ไม่ว่าจะแฝดแท้หรือแฝดเทียม (Fraternal twin) หากมีหนึ่งคนถนัดขวา อีกคนมักจะถนัดซ้าย ซึ่งอัตราส่วนความเป็นไปได้ถึง 21 เปอร์เซ็นต์ […]

parani ting-in

24 August 2023

ขอแสดงความยินดีกับ สกร.วังทองหลาง

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ขอแสดงความยินดีกับ สกร.วังทองหลาง ตัวแทนจากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ได้รับรางวัลชมเชย ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม  สำหรับนักศึกษา สกร. ระดับประเทศ ประเภทนวัตกรรมการจัดการขยะ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

parani ting-in

21 August 2023

ขอแสดงความยินดีกับ สกร.เขตห้วยขวาง

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ขอแสดงความยินดีกับ สกร.เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตัวแทนศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ได้รับรางวัลชมเชยระดับประเทศ จากโครงงานเรื่อง เครื่องบริหารกล้ามเนื้อแขนและขาผลิตพลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน. ระดับประเทศ “ด้านการใช้และการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตและสังคม” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

parani ting-in

21 August 2023

ความร่วมมือจัดทำนิทรรศการและเผยแพร่องค์ความรู้งานวิจัยกับหอสังเกตการณ์นิวทริโนไอซ์คิวบ์ (IceCube Neutrino Observatory)

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาให้การต้อนรับผู้บริหารจากไอซ์คิวบ์ (IceCube) พร้อมด้วยทีมนักวิจัยจาก มช. และ สดร. นายโยฑิน สมโนนนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา และนายดิษพล มาตุอำพันวงศ์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเผยแพร่ทางการศึกษา ให้การต้อนรับ Professor Albrecht Karle รองผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์และเครื่องมือโครงการวิจัยหอสังเกตการณ์นิวทริโนไอซ์คิวบ์ (IceCube Neutrino Observatory) และ ผศ.ดร.วราภรณ์ นันทิยกุล นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย ดร.อัจฉรา เสรีเพียรเลิศ จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อหารือความร่วมมือจัดทำนิทรรศการและเผยแพร่องค์ความรู้งานวิจัยกับหอสังเกตการณ์นิวทริโนไอซ์คิวบ์ (IceCube Neutrino Observatory) เกี่ยวกับรังสีคอสมิก นิวทริโน และรังสีแกมม่า ด้วยสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย เช่น VR เรียนรู้หอสังเกตการณ์นิวทริโน (IceCube) ที่แอนตาร์กติกาเพื่อเปิดประสบการณ์และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกช่วงวัย #ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา #ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ #กรมส่งเสริมการเรียนรู้ #IceCube

parani ting-in

19 August 2023

ล่อรากด้วยน้ำ เทคนิคปลูกต้นไม้อย่างไรเมื่อไร้ดิน

“ราก” เป็นส่วนสำคัญของต้นไม้ที่ใช้ในการดูดซึม (Absorption) และลำเลียง (Conduction) น้ำ แร่ธาตุเข้าสู่ลำต้น ช่วยยึด (Anchorage) ลำต้นให้ติดกับพื้นดิน รากจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ต้นไม้มีชีวิตอยู่ได้ นอกจากการปลูกต้นไม้ลงดินโดยตรงเพื่อให้เกิดรากแล้ว ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ต้นไม้สร้างราก และถือว่าเป็นการอนุบาลต้นไม้ที่กำลังอ่อนแอให้มีชีวิตรอด โดยเทคนิคดังกล่าว เรียกว่า การล่อราก “การล่อราก” เป็นเทคนิคการหลอกล่อให้ต้นไม้ที่นำมาเลี้ยงมีรากงอกออกมาด้วยตัวเอง เพื่อใช้ดูดสารอาหารในภาชนะปลูกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ การล่อรากสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การล่อรากด้วยดินหรือหินภูเขาไฟ การล่อรากด้วยแสงแดด และการล่อรากด้วยน้ำ ซึ่งเทคนิคการล่อรากด้วยน้ำจะกล่าวถึงดังต่อไปนี้ การใช้น้ำเพื่อล่อราก เป็นเทคนิคการเลี้ยงต้นไม้ที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาไม่นานรากใหม่ก็เริ่มงอกออกมาแล้ว ในช่วงที่ทำการล่อรากต้นไม้อาจหยุดการเจริญเติบโต เนื่องจากยังไม่มีรากที่ใช้ดูดซึมอาหารและน้ำได้ด้วยตัวเอง และจะเริ่มเจริญเติบโตเมื่อโคนต้นเริ่มมีรากสีขาวแทรกออกมา การล่อรากด้วยน้ำนี้มีลักษณะคล้ายกับการปลูกต้นไม้ในแจกันที่มีน้ำ แต่ต่างกันตรงที่การล่อรากจะไม่นำโคนต้นลงไปสัมผัสกับน้ำโดยตรง โดยลำต้นจะต้องลอยอยู่เหนือน้ำและปล่อยให้รากที่งอกออกมายืดออกไปหาน้ำด้านล่างเพื่อความอยู่รอดเอง เตรียมพืชอย่างไรเพื่อใช้ “ล่อราก” การเตรียมต้นไม้สำหรับใช้ล่อราก หากเป็นต้นไม้ที่มีกิ่งควรเลือกตัดกิ่งที่ติดส่วนของโหนดใบมาด้วย หรือที่เรียกว่า Leaf Node เพราะเป็นบริเวณที่มีอาหารสะสมและมีฮอร์โมน เช่น ไซโทไคนิน (Cytokinin) เอทิลีน (Ethylene) และจิบเบอเรลลิน (Gibberellin) ซึ่งสามารถกระตุ้นให้รากเจริญออก มาได้ และควรตัดกิ่งเฉียงประมาณ 45 […]

parani ting-in

7 August 2023

ภาพยนตร์เต็มโดม เดือนสิงหาคม 2566 เรื่อง มหัศจรรย์แห่งออโรรา (Experience the Aurora)

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้บริการส่วนการแสดงท้องฟ้าจำลอง ด้วยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศจากนักวิชาการศึกษา และจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดมจากเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย โดยเปิดการแสดงเป็นรอบ ๆ ละ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คนต่อ 1 รอบ เปิดให้บริการทั้งรอบสถาบันการศึกษา และรอบประชาชนทั่วไป  ควงคู่มาเพิ่มความโรแมนติก กับภาพยนตร์เต็มโดม เดือนสิงหาคม 2566 เรื่อง มหัศจรรย์แห่งออโรรา (Experience the Aurora) ภาพยนตร์ความยาว 27 นาที นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ “แสงออโรรา” อาจเรียกว่า “แสงเหนือ” หรือ “แสงใต้” ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด แสงสวยงามหลากสีสันบนท้องฟ้าเหล่านี้เกิดจากสนามแม่เหล็กโลก กำลังทำหน้าที่ปกป้องสิ่งมีชีวิตในโลกจากลมสุริยะ ร่วมเดินทางไปสัมผัสความสวยงามของแสงออโรราในบริเวณคาบสมุทรอาร์คติกเสมือนว่าไปอยู่ที่ขั้วโลกจริง ๆ   “มหัศจรรย์แห่งออโรรา (Experience the Aurora)” เป็นภาพยนตร์ที่เข้าชิงรอบสุดท้ายรางวัล Telly Awards พากษ์เสียงภาษาไทยโดย คุณปิยะวัฒน์ เข็มเพชร (PK)

parani ting-in

25 July 2023
1 2 4