ประมวลภาพกิจกรรมวันวาเลนไทน์ 14 ก.พ. 66 “ชวนคู่จิ้น มาฟินดูดาว”

ประมวลภาพกิจกรรมวันวาเลนไทน์ 14 ก.พ. 66 “ชวนคู่จิ้น มาฟินดูดาว” ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ชมภาพ คลิก ภาพกิจกรรม

parani ting-in

15 February 2023

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ เข้าร่วมกิจกรรม วันวาเลนไทน์

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ เข้าร่วมกิจกรรม วันวาเลนไทน์  “ชวนคู้จิ้น มาฟินดูดาว “ สามารถเช็ค รายละเอียด ตาม Link รายชื่อผู้มีสิทธิ์https://shorturl.asia/3fJdT รายชื่อ สำรองhttps://shorturl.asia/gdjvK

parani ting-in

10 February 2023

วันวาเลนไทน์ “ชวนคู่จิ้น มาฟินดูดาว”

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 มาเพิ่มพูนความรู้และทำให้ความรักผลิบานที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพกับกิจกรรมวันวาเลนไทน์ “ชวนคู่จิ้น มาฟินดูดาว” พบกับกิจกรรมสุดพิเศษฟรี การแสดงท้องฟ้าจำลองรอบพิเศษ Heart bead for love ลูกปัดสื่อรัก Soap Love สบู่คู่รัก A loving card การ์ดนี้เพื่อเธอ (การ์ด ป๊อปอัพ) ถ่ายภาพแห่งความทรงจำ วันที่จัดกิจกรรม วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 สถานที่จัดกิจกรรรม อาคารท้องฟ้าจำลอง ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) คุณสมบัติ/เอกสารของผู้สมัคร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องสมัครเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเท่านั้น ไม่จำกัดรูปแบบความสัมพันธ์ของผู้สมัคร ขั้นตอนการสมัคร กรอกใบสมัครออนไลน์โดยแสกน QR Code หรือ https://shorturl.asia/Hph8j หมายเหตุ ผู้สมัครร่วมกิจกรรมต้องมาแสดงตนภายในเวลา 10.00 น. ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อยืนยันสิทธิ์การร่วมกิจกรรม หากไม่มาแสดงตนในเวลาที่กำหนดขอยกเลิกการจองเพื่อให้สิทธิ์แก่ผู้สมัครท่านอื่น ๆ

parani ting-in

6 February 2023

ควงคู่มาเพิ่มความโรแมนติก ชมความสวยงามของแสงเหนือ กับภาพยนตร์เต็มโดม เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เรื่อง มหัศจรรย์แห่งออโรรา (Experience the Aurora)

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) สำนักงาน กศน. ให้บริการส่วนการแสดงท้องฟ้าจำลอง ด้วยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศจากนักวิชาการศึกษา และจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดมจากเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย โดยเปิดการแสดงเป็นรอบ ๆ ละ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คนต่อ 1 รอบ เปิดให้บริการทั้งรอบสถาบันการศึกษา และรอบประชาชนทั่วไป  ควงคู่มาเพิ่มความโรแมนติก กับภาพยนตร์เต็มโดม เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เรื่อง มหัศจรรย์แห่งออโรรา (Experience the Aurora) ภาพยนตร์ความยาว 27 นาที นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ “แสงออโรรา” อาจเรียกว่า “แสงเหนือ” หรือ “แสงใต้” ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด แสงสวยงามหลากสีสันบนท้องฟ้าเหล่านี้เกิดจากสนามแม่เหล็กโลก กำลังทำหน้าที่ปกป้องสิ่งมีชีวิตในโลกจากลมสุริยะ ร่วมเดินทางไปสัมผัสความสวยงามของแสงออโรราในบริเวณคาบสมุทรอาร์คติกเสมือนว่าไปอยู่ที่ขั้วโลกจริง ๆ   “มหัศจรรย์แห่งออโรรา (Experience the Aurora)” เป็นภาพยนตร์ที่เข้าชิงรอบสุดท้ายรางวัล Telly Awards พากษ์เสียงภาษาไทยโดย คุณปิยะวัฒน์ เข็มเพชร (PK)

parani ting-in

3 February 2023

ย้อนเวลารู้จักกับ “หนังกลางแปลง”

ปัจจุบันหนังกลางแปลงเป็นกิจกรรมรื่นเริงชนิดหนึ่งที่จัดขึ้นในเวลากลางคืนในที่โล่งแจ้ง โดยจะใช้เครื่องฉายหนังชนิดฟิล์ม หรือเครื่องฉายเตาถ่าน ในการฉายภาพลงบนผ้าใบสีขาวขนาดใหญ่ มักจัดขึ้นในงานวัด หรืองานรื่นเริงประจำหมู่บ้านในละแวกพื้นที่นั้น ที่มาของหนังกลางแปลง ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์หนังกลางแปลงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตกลายเป็นประเทศมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ของโลก เนื่องด้วยทั้งสองฝั่งมีอุดมการณ์ที่แน่วแน่เป็นของตนเอง และมุ่งหวังให้ไทยเป็น “ป้อมปราการต่อต้านคอมมิวนิสต์” หนังกลางแปลงจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่อุดมการณ์ในด้านการเมือง อีกทั้งยังใช้ประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ในด้านรัฐบาล และเอกชน รวมไปถึงใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์ขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทภายใน หมู่บ้านนั้นๆ อีกด้วย หนังกลางแปลงถูกเรียกอีกหลากหลายชื่อ เช่น หนังล้อมผ้าหรือหนังล้อมรั้ว หนังเร่ หนังขายยา หน่วยประชาสัมพันธ์ เป็นต้น โดยแต่ละชื่อจะใช้เรียกตามบรรยากาศที่มองเห็นจากภายนอก อย่างเช่น หนังล้อมผ้าหรือหนังล้อมรั้ว จะใช้เรียกเมื่อพื้นที่ของหนังกลางแปลงจะล้อมไปด้วยผ้า หรือสังกะสี โดยหนังดังกล่าวจะมีการเก็บค่าใช้จ่ายก่อนการเข้ารับชม ในส่วนของหนังขายยา จะเป็นหนังกลางแปลงที่เข้ารับชมฟรี แต่จะมีการขายผลิตภัณฑ์สลับกับการฉายหนัง และในชื่อหน่วยประชาสัมพันธ์ ก็เป็นการทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารภายในหมู่บ้านนั่นเอง เอกลักษณ์ของหนังกลางแปลงที่เป็นที่รู้จักกันในอดีตนั่นคือหนังกลางแปลงจะฉายในเวลากลางคืน ใช้เครื่องฉายฟิล์มฉายลงบนผืนผ้าสีขาวขนาดใหญ่ ควบคู่กับเครื่องขยายเสียง และนักพากย์สดพร้อมกับหนัง แต่ในปัจจุบันจะเป็นการฉายหนังพร้อมเสียงพูดที่มาพร้อมกับหนัง ถึงแม้ว่าเอกลักษณ์ของนักพากย์สดจะหายไป หนังกลางแปลงก็ถือว่ายังเป็นที่นิยมและเป็นความบันเทิงในกลุ่มคนที่ชอบความย้อนยุคอีกด้วย ภาพยนตร์ถูกนำมาฉายได้อย่างไร ภาพยนตร์เริ่มเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยคณะละครเร่ชาวฝรั่งเศสชื่อว่า เอส จี มาร์คอฟสกี (S.G. Marchovsky) โดยภาพยนตร์ที่ได้ถูกนำมาจัดแสดงสู่สายตาสาธารณชนครั้งแรก เป็นภาพยนตร์ฝรั่งเศสฉายเมื่อวันที่ […]

parani ting-in

30 January 2023

เมื่อได้ยินเสียง “วี้ หว่อ วี้ หว่อ”

“วี้ หว่อ วี้ หว่อ” เมื่อได้ยินเสียงนี้มาแต่ไกลแม้จะยังไม่เห็นตัวรถ เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าอาจจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น หรืออาจจะมีผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วนอยู่บนรถ หรือตำรวจกำลังไล่ล่าจับผู้ร้าย เป็นต้น โดยเสียง “วี้ หว่อ วี้ หว่อ” คือเสียงไซเรนซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของเสียงที่เราได้ยิน ของการได้ยินเสียงนี้ เราจะรู้สึกว่าเสียงมีความทุ้มหรือสูงผิดปกติไปจากเสียงจริง เช่น หากวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงกำลังเคลื่อนที่เข้ามาหาผู้ฟัง ลักษณะของเสียงจะสูงขึ้นเนื่องจากความถี่สูงขึ้น (ความยาวคลื่นน้อยลง) แต่หากแหล่งกำเนิดเสียงค่อย ๆ ออกห่างจากผู้ฟังเสียงจะทุ้มมากขึ้น เนื่องจากมีความถี่ต่ำลง (ความยาวคลื่นมากขึ้น) จนเงียบไป ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ (Doppler Effect) ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงหรือผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังได้ยินเสียงที่มีความถี่ไม่เท่ากับความถี่เสียงที่แหล่งกำเนิดเสียงให้ออกมานั่นเอง แหล่งข้อมูล ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ Doppler Effect ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์

parani ting-in

16 January 2023

“สนุกวิทย์วันเด็ก”

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566  ภายใต้แนวคิด “สนุกวิทย์วันเด็ก” ในวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ดาราศาสตร์และอวกาศ ธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์การกีฬา เปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป เข้ามาใช้แหล่งเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ  “รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ความดี” คำขวัญโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ขอเชิญน้อง ๆ หนู ๆ ร่วมกิจกรรม #วันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566″ “สนุกวิทย์วันเด็ก” พบกับ การแสดงทางท้องฟ้าจำลอง 7 รอบ การแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) เวทีหนูน้อยคนเก่ง กิจกรรมรหัสลับกับ Color Light ไฟฟ้า-สายลม-แสงแดด เครื่องบินกระดาษทะยานฟ้า หุ่นยนต์ผจญภัยในอวกาศ แรลลี่ไดโนเสาร์ปริศนา […]

parani ting-in

10 January 2023

ฟิสิกส์กับบอลลูน

บอลลูนลอยได้อย่างไร ยานพาหนะที่เคลื่อนที่อยู่บนท้องฟ้า นอกจากเครื่องบินแล้วบอลลูนก็เป็นอีกยานพาหนะที่บ่งบอกว่ามนุษย์เราในสมัยก่อนมีความใฝ่ฝันที่อยากจะบินได้เหมือนนก จนเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2326 มีการบันทึกการบินด้วยบอลลูนครั้งแรก โดยเกิดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นบอลลูนที่ทำจากกระดาษและผ้าไหม ออกแบบโดยโจเซฟ มงต์กอลฟิเยร์ (Joseph-Michel Montgolfier) และเอเตียน มงต์กอลฟิเยร์ (Jacques-Étienne Montgolfier) สองพี่น้อง นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส เป็นคนสร้างบอลลูนที่ขับเคลื่อนด้วยอากาศร้อน เดินทางที่ความสูง 500 ฟุตในอากาศ เป็นระยะทาง 5 1/2 ไมล์ ใช้เวลา 25 นาทีได้สำเร็จ โดยที่ส่วนประกอบของบอลลูนและหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้บอลลูนลอยได้ ศึกษาได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้ ถุงบอลลูน “Envelope” ทำจากผ้าไนลอนชนิด rip-stop nylon ที่ไม่ฉีกขาดง่าย ถักทอแบบร่างแห ทำให้มีน้ำหนักเบาและเหนียวทนทาน มีการเคลือบภายในด้วยพลาสติกเพื่อช่วยเก็บอากาศร้อน ต่อมาคือส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญของบอลลูน เรียกว่า “Burner” เป็นหัวเผาเชื้อเพลิง และส่วนสุดท้ายคือส่วนของตะกร้าโดยสาร เรียกว่า  “Gondola” เป็นส่วนที่บรรทุกถังเชื้อเพลิง ผู้โดยสาร และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่าง ๆ ทำมาจากหวายถักแน่นอย่างแน่นหนาบนแกนเหล็กกล้า มีน้ำหนักเบา […]

parani ting-in

3 January 2023

ภาพยนตร์เต็มโดม เดือนมกราคม 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizon)

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา สำนักงาน กศน. โดยส่วนท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง ด้วยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการ ผ่านเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย และจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม รอบละประมาณ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คนต่อ 1 รอบการแสดง ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ในภาพยนตร์เต็มโดม เดือนมกราคม 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizon) ภาพยนตร์ความยาว 23 นาที นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับดาวเคราะห์ที่ชื่อว่า “โลก” ว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เราพบสื่งมีชีวิต แต่เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะอพยพไปอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ต้านแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวพฤหัส และตื่นตากับความสวยงามของดาวเสาร์ แล้วลองตัดสินใจว่าดาวเคราะห์ดวงไหนที่เราอยากไปอยู่พากษ์เสียงภาษาไทยโดย คุณฉันทวิทย์ ธนะเสวี (เต๋อ)

parani ting-in

3 January 2023

เดจาวู ปรากฏการณ์อันน่าพิศวง

คุณเคยมีประสบการณ์รู้สึกราวกับว่าเคยอยู่ในเหตุการณ์ สถานที่ หรือบทสนทนาที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้หรือไม่ ถ้าเคยผู้คนมักเรียกอาการนี้ว่า “เดจาวู” โดยอาการเดจาวูคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ศึกษาได้จากข้อมูลต่อไปนี้ คำว่า “เดจาวู” (Déjà vu) มาจากภาษาฝรั่งเศส ปรากฏครั้งแรกในหนังสือ L’Avenir des science psychiques โดย เอมีล บัวรัค (Emile Boirac) นักปรจิตวิทยาชาวฝรั่งเศส ซึ่ง “เดจาวู”  คือ อาการที่รู้สึกว่าเหตุการณ์ที่เพิ่งพบเจอนั้นคลับคล้ายคลับคลาว่าเคยพบเจอมาแล้ว เป็นประสบการณ์ทางจิต สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเวลาไม่ว่าหลับหรือตื่น ซึ่งปรากฏการณ์นี้มักถูกมองเป็นเรื่องปริศนาเหนือธรรมชาติที่ไม่สามารถหาข้อเท็จจริงมายืนยันได้ แต่นักวิทยาศาสตร์พยายามอธิบายการเกิดปรากฏการณ์เดจาวู โดยอ้างอิงจากทฤษฎี ดังนี้ 1. การเดินทาง โดยเดจาวูมักเกี่ยวข้องกับสถานที่ และผู้คนส่วนมากมักมีความรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาค่อนข้างรุนแรงทั้งที่ไปยังสถานที่นี้เป็นครั้งแรก ที่เป็นเช่นนี้ เพราะสถานที่ที่เราไม่รู้จักมักจะกระตุ้น “ความขัดแย้ง” ในความรู้สึกนึกคิด ว่ามีบางอย่างที่เราคุ้นเคยกับความตะหนักว่าสิ่งที่พบเจอนั้นไม่ใช่ความทรงจำ 2. การเรียกคืนหน่วยความจำ จากงานวิจัยที่จัดทำขึ้นโดย Anne Cleary นักวิจัยเดจาวูและศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจาก Colorado State University สนับสนุนทฤษฎีนี้ โดยหลักฐานที่บ่งชี้ว่าเดจาวูนั้นเกิดขึ้นได้ […]

parani ting-in

28 December 2022
1 3 4