รูบนชีสมาได้อย่างไร?

ปัจจุบันในโลกใบนี้มีชีสมากกว่า 3,000 ชนิดที่ถูกคิดค้นขึ้น ทั้งแบบที่มีรูปร่างหน้าตา สี และรสชาติแตกต่างกันไป แต่ถ้านึกถึงชีส ภาพจำของผู้คนส่วนใหญ่ก็ต้องเป็นชีสแผ่นหรือชีสก้อนสีเหลืองที่มักจะมีรูพรุนอยู่ด้านใน ซึ่งเห็นได้ทั่วไปตามสื่อโฆษณาหรือการ์ตูนในวัยเด็ก แต่ใช่ว่าชีสทุกชนิดจะมีรูเสมอไป มีแค่ชีสบางประเภทเท่านั้นที่มีรูกลวงอยู่ภายใน ซึ่งเจ้าก้อนชีสมีรูเช่นนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ สวิสชีส (Swiss Cheese) ชีส (Cheese) คือ ผลิตภัณฑ์จากการถนอมอาหารโดยการแปรรูปจากน้ำนมของสัตว์ เช่น นมวัว นมแกะ นมแพะ หรือแม้แต่นมอูฐ เป็นต้น นำมาผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ ใส่แบคทีเรียที่สร้างกรดแลคติกและเติมเอนไซม์เรนนิน (Rennet) หลังจากการหมักน้ำตาลแลคโตสในนมจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดแลคติก ทำให้นมมีความเป็นกรดมากขึ้นและจับตัวกันเป็นตะกอน  จากการทำปฏิกิริยาเคมีทำให้นมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นของแข็ง มีลักษณะเป็นลิ่มสีขาว (Curd) และส่วนที่เป็นของเหลว (Whey) เมื่อนำไปผ่านกระบวนการบีบอัดเพื่อนำส่วนที่เป็นของเหลวออก เราจึงได้ชีสก้อนในที่สุด ปัจจัยที่ทำให้ชีสแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับกระบวนการบ่ม อุณหภูมิ ชนิดของจุลินทรีย์ และประเภทของนมที่ใช้ สำหรับสวิสชีสเองก็มีกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างออกไป จึงทำให้มีลักษณะที่โดดเด่นไม่เหมือนกับชีสชนิดอื่น สวิสชีส (Swiss cheese) หรือ ชีสเอ็มเมินทาล (Emmental cheese) คือชีสที่มีต้นกำเนิดจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ […]

superadmin

18 September 2023

ความลับของต้นไม้ใบด่าง เกิดได้อย่างไร?

ต้นไม้ใบด่างกลายมาเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมของหลายๆ คนที่ชื่นชอบพันธุ์ไม้ที่มีสีสันแปลกตาหาได้ยาก ไม่เหมือนต้นไม้ที่มีสีเขียวทั่วๆ ไป ด้วยลักษณะที่แตกต่างนี้ ทำให้ไม้ด่างมีราคาสูง และเป็นที่ต้องการของนักสะสมต้นไม้เป็นจำนวนมาก แต่ทราบหรือไม่ว่าจริงๆ แล้วไม้ด่างนั้นเกิดจากการปรับตัวให้อยู่รอดได้ในธรรมชาติ โดยลักษณะการด่างสามารถช่วยพรางตัวจากผู้ล่าหรือสัตว์กินพืช ทำให้ผู้ล่าเข้าใจว่าพืชนั่นมีพิษ อีกทั้งยังสามารถช่วยดึงดูดแมลงให้ช่วยผสมพันธุ์อีกด้วย บางกรณีที่ต้นไม้นั้นต้องเจริญเติบโตอยู่ในป่าทึบที่มีแสงแดดน้อย การปรับตัวเพื่อลดการสังเคราะห์แสงหรือลดการสร้างคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ซึ่งเป็นสารสี (Pigments) ที่ใช้ในการดูดซับแสง ทำให้เห็นใบด่างมีสีขาวหรือเหลือง ซึ่งก็คือบริเวณที่ไม่มีการสร้างคลอโรฟิลล์ตรงบริเวณนั้นนั่นเอง นอกจากการด่างที่ทำให้ใบเกิดสีขาวแล้ว ยังมีต้นไม้ด่างหลากสีสันจากสารสีอื่น ๆ เช่น แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ทำให้เห็นใบเป็นสีเหลืองหรือส้ม และแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ทำให้มองเห็นใบมีสีชมพู แดง และม่วง ซึ่งรูปแบบของสีใบที่เกิดขึ้นกับใบด่างแต่ละชนิดขึ้นกับข้อมูลของสารพันธุกรรม โดยมียีนเฉพาะที่ควบคุมลักษณะเหล่านี้ถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกให้เกิดพืชใบด่างได้ ส่วนลักษณะด่างที่เห็นเป็นสีเงิน ไม่ได้เกิดจากสารสีของพืช แต่เกิดจากลักษณะโครงสร้างของใบที่มีช่องอากาศระหว่างเนื้อเยื่อใบ ทำให้เมื่อแสงแดดตกกระทบบนใบจะเกิดการหักเหมองเห็นใบเป็นสีเงินเป็นลักษณะที่มีการถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม เรียกลักษณะด่างแบบนี้ว่า Reflective variegation หรือ Blister variegation ตัวอย่างต้นเปปเปอร์โรเมียลายแตงโม (Watermelon peperomia) และต้นพลูแนบอุรา(Scindapsus pictus) อีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดใบด่างที่ทำให้พืชจากเดิมทีมีสีเขียวกลายเป็นพืชใบด่างได้ จากความผิดปกติในระดับพันธุกรรม ที่เป็นการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อเจริญของพืช ซึ่งก็คือเนื้อเยื่อบริเวณยอดของพืชที่มีการแบ่งเซลล์เพื่อการเจริญเติบโต เมื่อมีการแบ่งตัวซ้ำ ๆ จึงทำให้ง่ายที่จะเกิดการกลายพันธุ์ […]

superadmin

4 September 2023

ภาพยนตร์เต็มโดมประจำเดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons)

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยส่วนวิชาการ กลุ่มงานท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง ด้วยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการ ผ่านเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย และจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม รอบละประมาณ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คนต่อ 1 รอบการแสดง ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ในภาพยนตร์เต็มโดม เดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons) ภาพยนตร์ความยาว 23 นาที นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับดาวเคราะห์ที่ชื่อว่า “โลก” ว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เราพบสื่งมีชีวิต แต่เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะอพยพไปอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น  ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ต้านแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวพฤหัส และตื่นตากับความสวยงามของดาวเสาร์ แล้วลองตัดสินใจว่าดาวเคราะห์ดวงไหนที่เราอยากไปอยู่ พากษ์เสียงภาษาไทยโดย คุณฉันทวิทย์ ธนะเสวี (เต๋อ)

superadmin

1 September 2023

ร่วมแสดงความยินดีแด่รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้

วันที่ 31 สิงหาคม 2566 นายโยฑิน สมโนนนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา พร้อมคณะผู้แทนเจ้าหน้าที่ ศว. เข้าร่วมสักการะพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 และมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแด่ว่าที่เรือตรีชูชีพ อรุณเหลือง ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ รักษาราชการอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ณ กระทรวงศึกษาธิการ

superadmin

31 August 2023

บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้โครงการวันวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566 บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานำโดย นางสาวพรทิพย์ สกลกูล นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ นางสาวจุฬวดี สุทธิประภา นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ และนางสาวนันทิชา ม่วงปาน นักวิชาการศึกษา เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้โครงการวันวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษา สกร.เขตพญาไท โดยมีนักศึกษาพลเรือนและทหารกองประจำการ จำนวน 105 คน เข้าร่วมโครงการ สำหรับการบรรยายในครั้งนี้ผู้บรรยายทั้ง 3 ท่าน ได้แบ่งกลุ่มและให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ (Workshop) ในส่วนของการทดลองเพื่อต่อยอดโครงงาน การหาปัญหา เค้าโครงของโครงงาน และเทคนิคการนำเสนอผลงาน ทั้งในส่วนของการเขียนรายงาน การจัดทำแผงโครงงาน และการนำเสนอด้วยวาจา​ สุดท้ายนักศึกษา สกร.เขตพญาไท ได้นำเสนอผลงานของตัวเอง และผู้บรรยายได้เปิดโอกาสให้นักศึกษา สกร. ถาม – ตอบ เรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้นักศึกษาได้นำไปปรับใช้ในการต่อยอดผลงานและโครงงานวิทยาศาสตร์ต่อไป

superadmin

30 August 2023

ประกาศผลการประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2566

ประกาศผลการประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) ระดับประเทศ  ประจำปี พ.ศ. 2566  ช่วงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนอนุบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนเชาวน์วัศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รางวัลชมเชย โรงเรียนอักษรศึกษา จังหวัดชลบุรี โรงเรียนบ้านโสกเชือก (คุรุราษฎร์อำนวย) จังหวัดร้อยเอ็ด โรงเรียนปัญญาวิทย์ จังหวัดตรัง ช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง จังหวัดสมุทรปราการ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) จังหวัดขอนแก่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต รางวัลชมเชย โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โรงเรียนวารีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” จังหวัดระยอง ขอแสดงความยินดีกับทุกโรงเรียนที่ได้รางวัล สำหรับเกียรติบัตรในการประกวดฯ จะจัดส่งไปตามที่อยู่ของโรงเรียนที่แจ้งไว้ ขอขอบคุณ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เป็นศูนย์จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนในภูมิภาค คณะผู้บริหารโรงเรียน […]

superadmin

30 August 2023

ขอแสดงความยินดีกับ สกร.เขตห้วยขวาง

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขอแสดงความยินดีกับ สกร.เขตห้วยขวาง ตัวแทนจากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ได้รับรางวัลชมเชย ในการประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) สำหรับนักศึกษา สกร. ระดับประเทศ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

superadmin

28 August 2023

บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเป็นวิทยากรโครงการอบรมให้ความรู้ทางวิชาการโครงงานด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

นางสาวพรทิพย์ สกลกูล นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนวิชาการ เป็นวิทยากรโครงการอบรมให้ความรู้ทางวิชาการโครงงานด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้แก่นักศึกษา สกร.เขตลาดพร้าว ในวันที่ 26 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวัดสาครสุ่นประชาสรรค์ แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร สำหรับโครงการอบรมให้ความรู้ทางวิชาการโครงงานด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 120 คน โดยในวิทยากรได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการทำโครงงาน นอกจากนี้​นักศึกษา สกร. เขตลาดพร้าว ได้ทดลอง​และลงมือปฏิบัติทำโครงงาน พร้อมทั้งนำเสนอผลงาน

superadmin

26 August 2023

ความลับของสีดอกไฮเดรนเยีย

ดอกไฮเดรนเยียเป็นดอกไม้ที่คนนิยมนำมาใช้จัดช่อดอกไม้หรือปลูกไว้ที่บ้าน เนื่องจากดอกไม้มีสีสันสวยงามตั้งแต่สีแดง ชมพู ม่วง ฟ้าอมม่วง และจากความหมายของดอกไม้ที่ใช้แทนคำขอบคุณที่คอยอยู่เคียงข้างกันมาตลอด (Thank you for understanding) หรือแทนอีกหนึ่งความหมายที่แสดงถึงความเย็นชา เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่มีต้นกำเนิดในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น และสามารถทนต่ออากาศหนาวได้ นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งความพิเศษของดอกไฮเดรนเยียคือ การเปลี่ยนสีของดอกไม้จากระดับความเป็นกรดหรือด่างของดินที่ปลูก ทำให้เราสามารถเห็นต้นไฮเดรนเยียจากดอกสีฟ้ากลายเป็นดอกสีแดงได้ในต้นเดียวกัน ซึ่งเป็นคุณสมบัติของสายพันธุ์ดอกไฮเดรนเยียที่มีชื่อเรียกว่า Bigleaf Hydrangea หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ Hydrangea macrophylla (Thunb.) Ser. อยู่ในวงศ์ Hydrangeaceae ลักษณะของดอกเป็นช่อกลมแน่น ออกดอกตามปลายยอด โดยกลีบดอกสีสันสวยงามที่เราเห็นนี้แท้จริงแล้วคือ กลีบเลี้ยงหรือกลีบประดับคล้ายกลีบดอกจำนวน 4-5 กลีบ และยังมีกลีบดอกขนาดเล็กมากจำนวน 4-5 กลีบ อยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยกลีบประดับ ความพิเศษของสีดอกต้นไฮเดรนเยียนี้ ถูกนำมาใช้เป็นอีกหนึ่งอินดิเคเตอร์ (indicator) หรือตัวชี้วัดความเป็นกรด-ด่างของดินได้ ซึ่งคล้ายคลึงกับการเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด-เบสของสาร  โดยเมื่อเราจุ่มกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินลงในสารทดสอบที่เป็นกรด กระดาษจะเปลี่ยนเป็นสีแดง แต่ถ้าสารทดสอบเป็นเบส กระดาษลิตมัสสีแดงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งคล้ายกับการเปลี่ยนสีดอกไฮเดรนเยียแต่จะเปลี่ยนสีตรงกันข้ามกัน โดยเมื่อดินที่ปลูกมีสภาพเป็นกรดดอกไฮเดรนเยียจะมีสีฟ้า หากดินมีสภาพเป็นเบสดอกไฮเดรนเยียก็จะปรากฏเป็นสีม่วงไปจนถึงสีแดง การเปลี่ยนแปลงของสีดอกนี้เกิดจากสารสีหรือรงควัตถุ (pigment) ที่เรียกว่า delphinidin-3-glucoside เป็นกลุ่มสารแอนโทไซยานินที่ทำให้ใบไม้มีสีแดงในฤดูใบไม้ร่วง และสีของผลเบอร์รี่นั่นเอง นอกจากสภาวะความเป็นกรดด่างของดินแล้ว […]

superadmin

15 August 2023

กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566

กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 วันที่ 18 – 20 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมการให้บริการและการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการเรียนรู้รูปแบบพิพิธภัณฑ์ การจัดนิทรรศการ กิจกรรมการศึกษา และสื่อการเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม แก่นักเรียน  นักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พร้อมกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาได้จัดกิจกรรมต่อเนื่องทุกปี ดังนั้น ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ในฐานะแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้กำหนดจัดโครงการวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 ในวันที่ 18-20 สิงหาคม 2566 หัวข้อ “Science Challenge : วิทยาศาสตร์ท้าพิสูจน์” มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน นักศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน เยาวชน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความรู้ เกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีความพึงพอใจในการรับบริการ ได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง ส่งผลให้สามารถนำความรู้และทักษะไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งส่งเสริมให้องค์กรภาคส่วนต่าง […]

superadmin

8 August 2023

รับสมัครผู้เข้าร่วมแข่งขันเครื่องบินเล็กพลังยาง

การแข่งขันเครื่องบินเล็กพลังยาง เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปี 2566 วันที่จัดกิจกรรม            วันที่ 19 สิงหาคม 2566 สถานที่จัดกิจกรรม       ณ สนามฟุตซอล ด้านหน้าอาคาร 5  ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 3 รุ่น ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ( ป.3 – ป. 6) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 – ม.3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 – ม.6) ดาวน์โหลด กติกาการแข่งขันเครื่องบินเล็กพลังยาง หนังสือเชิญร่วมกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 ลงทะเบียนออนไลน์แข่งขันเครื่องบินเล็กพลังยาง https://forms.gle/2GUG9DCR7yd3iCGi7 กติกาเบื้องต้น ต้องเป็นเครื่องบินเล็กพลังยางประเภท Stick ที่สร้างขึ้นจากไม้และกระดาษเป็นวัสดุหลัก โดยปีกและชุดหางของเครื่องบินต้องสร้างขึ้นด้วยไม้แล้วบุด้วยวัสดุประเภทกระดาษเท่านั้น กางปีก (Wing Span) วัดเป็นเส้นตรงจากปลายปีกซ้ายจรดปลายปีกขวา […]

superadmin

5 August 2023
1 2 39