เฉลย…ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน

“ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน” หนึ่งในปัญหาโลกแตกที่เรามักถูกถามกันเล่นในทุกยุคทุกสมัย และมีหลากหลายคำตอบที่เคยได้ยิน แต่วันนี้ วิทยาศาสตร์มีคำตอบของปัญหานี้ให้กับเราแล้ว ลองมาดูกันว่า ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกันแน่ ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Sheffield และ Warwick ในประเทศอังกฤษ ได้ใช้คอมพิวเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์โครงสร้างโมเลกุลของเปลือกไข่ และค้นพบโปรตีน Ovocledidin-17 (OC-17) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่ผลิตเปลือกไข่ เหมือนกับโปรตีนในการสร้างเปลือกหอย หรือกระดูก โปรตีน Ovocledidin-17 นี้ จำเป็นในการเริ่มต้นและเร่งกระบวนการเปลี่ยนสภาพของแคลเซียมคาร์บอเนตจากในตัวไก่ ให้อยู่ในรูปของเปลือกแข็งที่ใช้ห่อหุ้มไข่แดงและไข่ขาว และเป็นโปรตีนที่มีเฉพาะในรังไข่ของไก่เท่านั้น หากไม่มีไก่ กระบวนการนี้ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์จึงสรุปได้ว่า ไก่ต้องเกิดก่อนไข่ เพราะต้องมีแม่ไก่ที่มีสาร Ovocledidin-17 ในรังไข่เพื่อสร้างเปลือกให้กับไข่เสียก่อน ไข่จึงจะเกิดขึ้นได้ เชื่อแน่ว่า มีอีกหลายคนที่ยังสงสัยว่า ไก่ตัวแรกของโลกเกิดมาจากไหน นักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายไว้อย่างง่าย ๆ คือ ไดโนเสาร์ที่เป็นบรรพบุรุษของไก่ ใช้เวลาหลายล้านปีเพื่อวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และกลายพันธุ์มาจนถึงจุดหนึ่งที่กลายเป็นไก่ โดยมีดีเอ็นเออย่างที่เราพบในไก่ปัจจุบันนี้ ยีนถูกพัฒนามาเรื่อย ๆ จึงทำให้ไก่ตัวนั้นสามารถสร้างโปรตีน OC-17 ขึ้นในตัวเอง และออกไข่ได้ในที่สุด ท้ายนี้ มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับไข่ไก่มาฝากทุกท่าน หากต้องการรู้ว่าไก่ตัวไหนจะออกไข่เปลือกสีอะไร ให้สังเกตสีบริเวณติ่งหูของแม่ไก่ แม่ไก่ที่มีติ่งหูสีขาวจะออกไข่เปลือกสีขาว […]

superadmin

8 January 2024

เครื่องฟอกอากาศจากธรรมชาติ

ในปัจจุบัน นอกจากโรคภัยไข้เจ็บอย่างโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แล้ว เรายังต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะในอากาศด้วย ไม่ว่าจะเป็นควันเสียจากรถยนต์ หรือฝุ่นละออง PM2.5 คนส่วนใหญ่จึงใส่ใจสุขภาพของตัวเองมากขึ้น หลายคนแก้ปัญหาด้วยการใช้เครื่องฟอกอากาศ เพื่อสร้างอากาศบริสุทธิ์ภายในบ้าน แต่ต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมาก จะดีและประหยัดเพียงใด ในปัจจุบัน นอกจากโรคภัยไข้เจ็บอย่างโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แล้ว เรายังต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะในอากาศด้วย ไม่ว่าจะเป็นควันเสียจากรถยนต์ หรือฝุ่นละออง PM2.5 คนส่วนใหญ่จึงใส่ใจสุขภาพของตัวเองมากขึ้น หลายคนแก้ปัญหาด้วยการใช้เครื่องฟอกอากาศ เพื่อสร้างอากาศบริสุทธิ์ภายในบ้าน แต่ต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมาก จะดีและประหยัดเพียงใด วงจรการหายใจ และวงจรการสังเคราะห์ด้วยแสงของต้นไม้ เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่เนื่องจากปริมาณการสังเคราะห์ด้วยแสงมีมากกว่าการหายใจ ทำให้ในเวลากลางวัน ต้นไม้จะผลิตแก๊สออกซิเจนได้มากกว่าที่ใช้ไป ส่วนในเวลากลางคืนซึ่งไม่มีแสง ต้นไม้จะหายใจเพียงอย่างเดียว และปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ดังนั้น กลไกการทำงานของต้นไม้ที่สามารถช่วยดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางวัน ทำให้ต้นไม้ทำหน้าที่เป็นเครื่องฟอกอากาศในธรรมชาติได้ อีกทั้ง ใบไม้ยังสามารถช่วยดักจับฝุ่นละอองในอากาศโดยจะติดค้างอยู่บนผิวใบ เมื่อฝนตกลงมา ละอองฝุ่นเหล่านี้จะถูกชะล้างลงดินในที่สุด การปลูกต้นไม้จะช่วยให้บริเวณบ้านของเรามีอากาศดี และเป็นการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้ด้วย ในแวดวงวิทยาศาสตร์ที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือสภาวะโลกร้อน มีความเห็นตรงกันว่า หากเราร่วมกันปลูกต้นไม้ทั่วโลก จำนวน 1.2 ล้านล้านต้น จะช่วยดูดซับแก๊สเรือนกระจกที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ในช่วง 10 ปี […]

superadmin

1 January 2024

ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ จัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม เดือนมกราคม เรื่อง “ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New horizons)”

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้บริการส่วนการแสดงท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ โดยเปิดการแสดงเป็นรอบ ๆ ละประมาณ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คน ต่อ 1 รอบการแสดง ช่วงแรกของการแสดงฯ เป็นการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการศึกษา และช่วงท้ายเป็นการแสดงภาพยนตร์เต็มโดมจากเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดียในช่วงท้าย สำหรับการแสดงภาพยนตร์เต็มโดม ในเดือนมกราคม จัดแสดงเรื่อง “ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New horizons)” ภาพยนตร์ความยาว 23 นาที ที่จะนำทุกคนไปสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ต้านแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวพฤหัส และตื่นตากับความสวยงามของดาวเสาร์ นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับดาวเคราะห์ที่ชื่อว่า “โลก” ว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เราพบสื่งมีชีวิต เป็นไปได้หรือไม่? ที่เราจะอพยพไปอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น แล้วลองตัดสินใจว่าดาวเคราะห์ดวงไหนที่เราอยากไปอาศัยอยู่ พากษ์เสียงภาษาไทยโดย คุณฉันทวิทย์ ธนะเสวี (เต๋อ)

superadmin

28 December 2023

ของขวัญปีใหม่ 2567 สุดพิเศษมอบให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) ฉลองครบรอบ 60 ปี ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพเตรียมของขวัญปีใหม่ 2567 สุดพิเศษ มอบให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป 3 กล่องโต ๆ ของขวัญชิ้นที่ 1 ส.ค.ส. 2567 เรียนดี มีความสุข เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ท่องโลกวิทยาศาสตร์ผ่านนิทรรศการเสมือนจริง 6 เรื่อง ผ่านช่องทางเว็บไซต์ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา https://sciplanet.org/content/8198 หรือฐานข้อมูลแหล่งการเรียนรู้แบบเสมือนจริง ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ https://eduworld.moe.go.th/home ของขวัญชิ้นที่ 2 ฉลองครบรอบ 60 ปี ประชาชนชมท้องฟ้าจำลองฟรี 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 9-12 มกราคม 2567 เฉพาะรอบประชาชนทั่วไป จำนวน 8 รอบ ๆ ละ 280 ที่นั่ง รวม 2,240 ที่นั่ง (รอบเวลา 11.00 น. และ 15.00 น.) ของขวัญชิ้นที่ 3 วันเด็กแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2567 เด็กและเยาวชนชมท้องฟ้าจำลองและนิทรรศการฟรี เสาร์ที่ 13 มกราคม 2567 สนุกกับกิจกรรมหลากหลาย ในธีม “Kids Dee Kid’s day Star Party with SCE 60 ปี ท้องฟ้าจำลอง พาน้องท่องอวกาศ”

superadmin

28 December 2023

วิชาวิ่งบนผิวน้ำของกิ้งก่าบาซิลลิสก์

หากพูดถึงการวิ่งบนผิวน้ำแล้ว เรามักนึกถึงวิชานินจาวิ่งบนผิวน้ำในภาพยนตร์หรือการ์ตูนบางเรื่อง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันเป็นไปได้ยากมากที่เราจะวิ่งบนผิวน้ำได้ แต่ใครจะรู้ว่ามีสัตว์อยู่ชนิดหนึ่งที่สำเร็จเคล็ดลับวิชานี้ กิ้งก่าบาซิลลิสก์ (Basilisk lizard – ชื่อวิทยาศาสตร์ Basiliscus basiliscus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภท กิ้งก่า ที่อยู่ในสกุล Basiliscus เป็นกิ้งก่าที่มีขนาดกลาง มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 70 – 75 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 80 กรัม โดยตัวเต็มวัยมีความยาวจากหัวถึงปลายหางได้ถึง 80 เซนติเมตร กิ้งก่าบาซิลลิสก์จะมีเกล็ดห่อหุ้มลำตัวเป็นสีเขียว ขาว น้ำตาลและดำ สีส่วนใหญ่ของพวกมันจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสภาพแวดล้อมที่พวกมันอาศัยอยู่ และสามารถปรับสีของเกล็ดเพื่อการพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ได้ด้วย ความสามารถพิเศษของกิ้งก่าบาซิลลิสก์ คือ สามารถวิ่งบนผิวน้ำได้ พวกมันจะใช้ขาคู่หลังเปลี่ยนสลับก้าวด้วยความเร็ว 0.052 วินาที ซึ่งเมื่อเท้าของมันกระแทกลงบนผิวน้ำจะเกิดแรงพยุงตัว แรงต้านทาน และแรงลอยตัวจากอากาศขึ้น และก่อนที่แรงเหล่านี้จะหมดลง กิ้งก่าบาซิลลิสก์จะสลับเท้าอีกข้างลงน้ำในลักษณะเดียวกัน เกิดแรงทั้งสามขึ้นเช่นเดิม ทำให้มันวิ่งต่อเนื่องบนผิวน้ำได้ นี่คือเคล็ดลับวิชาวิ่งบนผิวน้ำของกิ้งก่าบาซิลลิสก์ หากมนุษย์จะทำบ้างคงต้องใช้ความเร็วที่สูงมาก โดยนักวิจัยได้คำนวณไว้ว่า ถ้าผู้ชายหนัก 80 กิโลกรัมจะวิ่งไปบนผิวน้ำได้นั้นต้องวิ่งให้ความเร็วถึง 106 กิโลเมตรต่อชั่วโมง […]

superadmin

25 December 2023

แร่ทัลก์…ในเครื่องสำอาง

แป้งฝุ่นโรยตัว แป้งผัดหน้านวล ที่ทำให้ผิวพรรณผ่องใสเสริมความมั่นใจ อีกทั้งช่วยลดความชื้นของผิวให้ผ่อนคลายสบายตัว เคยสงสัยไหมว่าแป้งที่เราใช้นั้นทำมาจากอะไร Talcum powder หรือ แป้ง ผลิตได้จาก แร่ทัลก์ ซึ่งหากเอ่ยชื่อนี้ เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่รู้จัก ทั้งที่แร่ชนิดนี้อยู่ไม่ไกลจากการใช้ชีวิตประจำวันของเราเลย ทัลก์ (Talc , สูตรเคมี Mg3(Si4O10)(OH)2) เป็นแร่ที่เกิดจากการผุหรือแปรสภาพของแร่แมกนีเซียมซิลิเกต ผลึกเป็นแผ่นหนารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหรือหกเหลี่ยม พบได้ในธรรมชาติ มีคุณสมบัติเด่นคือมีความอ่อนนุ่ม สามารถสร้างรอยขูดขีดที่ผิวแร่ได้ด้วยเล็บ และอาจพบเป็นส่วนประกอบในหินแปร ซึ่งหากเนื้อหินมีลักษณะสมานแน่นเรียก หินสบู่ soapstone เรานำแร่ทัลก์มาใช้ประโยชน์ตามคุณภาพของแร่ กล่าวคือ ทัลก์เกรดอุตสาหกรรม จะนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมที่ต้องการเสริมความแข็งแรง เช่น งานวัสดุทนไฟ งานวัสดุมุงหลังคา พลาสติกและสิ่งทอ อุตสาหกรรมสี เป็นต้น ส่วน ทัลก์เกรดที่มีความบริสุทธิ์สูง จะถูกนำไปใช้เพื่อการผลิต ยา อาหารและเครื่องสำอาง เป็นต้น รู้ไว้ใช่ว่า ในประเทศไทยพบแร่ทัลก์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และจันทบุรี ด้วยนะ แร่ทัลก์…ในเครื่องสำอาง ลองสังเกตส่วนประกอบที่เขียนไว้ข้างกระป๋องแป้งซักนิด ส่วนมากจะเจอคำว่า ทัลก์ (Talc) […]

superadmin

18 December 2023

ขอเชิญรับชมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 60 ปี ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ขอเชิญรับชมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ตลอดปีงบประมาณ 2567 เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 60 ปี ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพและในโอกาสเทศกาลปีใหม่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขอมอบของขวัญปีใหม่เพื่อส่งความสุขให้ประชาชน ท่านสามารถรับชมได้ที่ รายการสายใย กศน.

superadmin

12 December 2023

ทำไมมีน้ำอยู่ในลูกมะพร้าว

มะพร้าว เป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวงกำหนดให้ปลูกไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล มะพร้าวเป็นพืชยืนต้นในตระกูลปาล์ม เราใช้ประโยชน์จากมะพร้าวได้หลากหลายรูปแบบ เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวใช้รับประทาน กะลามะพร้าวนำมาประดิษฐ์ของใช้ แล้วน้ำมะพร้าวเข้าไปอยู่ในลูกมะพร้าวได้อย่างไร น้ำมะพร้าว คือ สิ่งหล่อเลี้ยงต้นอ่อนของมะพร้าว ผ่านกระบวนการมาตั้งแต่ราก ลำต้น จนถึงลูกมะพร้าว มีการสะสมน้ำไว้เพื่อเลี้ยงดูต้นอ่อน จนกระทั่งมีใบแทงออกมา มะพร้าวมีเอนโดสเปิร์มทั้งของแข็งและของเหลว เอนโดสเปิร์มของแข็งจะเจริญเติบโตเป็นเนื้อมะพร้าว ส่วนเอนโดสเปิร์มของเหลวจะเป็นน้ำมะพร้าว น้ำมะพร้าวไม่สามารถซึมผ่านกะลาออกมาได้ จึงอยู่ในลูกมะพร้าวนั้น เมื่อมะพร้าวติดผล จะมีสารกาแลตโตแมนแนน (Glucomannan) และมีเอนไซม์ย่อยให้กลายเป็น “แมนแนน (Mannan)” ซึ่งแยกตัวเป็นส่วนของเนื้อมะพร้าว และน้ำมะพร้าว หากไม่มีการสร้างเอนไซม์มาย่อย เนื้อมะพร้าวจะมีลักษณะเป็นก้อนกึ่งเหลวกึ่งแข็ง คือ มะพร้าวกะทิ นั่นเอง ขณะที่มะพร้าวยังอ่อน เนื้อจะมีลักษณะบาง อ่อนนุ่ม และมีน้ำมะพร้าว เรามักรับประทานมะพร้าวในระยะนี้ หากมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มจะดูดเอาน้ำมะพร้าวไป ทำให้น้ำมะพร้าวแห้งลงบางส่วน เนื้อจะหนาและแข็งขึ้น สังเกตได้จากเปลือกนอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และร่วงหล่นจากต้นในที่สุด สรุปแล้ว น้ำมะพร้าว คือ น้ำที่เข้าไปอยู่ในลูกมะพร้าวผ่านทาง ราก ลำต้น และเข้าสู่ผลทางขั้วลูกมะพร้าว ทำหน้าที่เป็นอาหารของต้นอ่อน น้ำมะพร้าวไม่สามารถซึมผ่านเปลือกชั้นใน […]

superadmin

11 December 2023

นิทรรศการมหัศจรรย์พลังงานไฟฟ้าเสมือนจริง

นิทรรศการเสมือนจริงเรื่องใหม่มาแล้วจ้า พบกับนิทรรศการเสมือนจริง เรื่อง มหัศจรรย์พลังงานไฟฟ้า (The Miracle of Electricity) ผู้ชมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าทุกแง่มุมตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน เช่น ไขข้อข้องใจ ไฟฟ้าคืออะไร ไฟฟ้ามาจากไหน ไฟฟ้ามาถึงเราได้อย่างไร สนุกกับเกมต่าง ๆ เช่น เกมต่อวงจรไฟฟ้า เกมปิดปรับเปลี่ยน รู้จักเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ คำนวณค่าไฟฟ้าและคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการใช้ไฟฟ้า มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ปิดท้ายด้วย Quiz ทดสอบความรู้สุดท้าทาย…ห้ามพลาด!!! เข้าชมนิทรรศการเสมือนจริงมหัศจรรย์พลังงานไฟฟ้า ได้ทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน https://electricity.sciplanet.org หรือสแกน QR code ในภาพ หลังชมนิทรรศการแล้ว อย่าลืมตอบแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อนิทรรศการให้เราด้วยน้า >>> https://forms.gle/pYxGGpKMN3F1tTfd9

superadmin

7 December 2023

สิ่งมีชีวิตในทะเลทราย

โลกของเรามีพื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยทะเลทรายมากกว่า 1 ใน 5 ของพื้นโลก ทะเลทราย คือ พื้นที่ที่เป็นทรายกว้างใหญ่ มีอากาศร้อน แห้งแล้ง และมีฝนตกน้อยมาก โดยมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ในทะเลทราย คือ สายพันธุ์ที่ทนต่อความแห้งแล้งเท่านั้น สิ่งมีชีวิตในทะเลทรายมีการปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศเพื่อความอยู่รอด สัตว์ในทะเลทรายส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางคืนและปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่น เต่าทะเลทรายจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ใต้ดิน หรือ อูฐ ที่อยู่ในทะเลทรายได้โดยไม่ต้องกินอาหารหรือน้ำนานถึง 2 สัปดาห์ เพราะสะสมไขมันไว้ในหนอก และร่างกายเก็บน้ำได้เป็นอย่างดี หรือ หมาจิ้งจอกทะเลทราย ที่มีขนอุ้งเท้าหนาสำหรับใช้เดินบนพื้นทรายที่ร้อนระอุ ขนสีน้ำตาลของมันเหมือนสีของทรายช่วยพรางตัวจากศัตรู และยังทำหน้าที่สะท้อนความร้อนจากแสงแดด ไม่มีพืชชนิดใดอยู่รอดได้ถ้าขาดน้ำ พืชจึงต้องดิ้นรนเพื่อให้มีน้ำเก็บสะสมอยู่มากพอกับความต้องการ พืชทะเลทรายเกือบทุกชนิดเก็บสะสมน้ำไว้ในลำต้นและใบ พวกมันจึงมีรูปร่างพิเศษกว่าต้นไม้ทั่วไป เช่น กระบองเพชร มีลำต้นอวบใหญ่เพื่อเก็บน้ำไว้ในลำต้น มันปรับเปลี่ยนใบให้เป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำ และมีรากยาวชอนไชลงสู่ชั้นใต้ดินเพื่อหาแหล่งน้ำ หรือ ต้นครีโอโสต (creosote) ที่ใบของมันจะเหี่ยวแห้งคาต้นในฤดูแล้ง ทำให้ดูเหมือนต้นไม้ที่ตายแล้ว แต่ในหน้าฝนมันจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาสดชื่นใหม่อีกครั้ง แม้ทะเลทรายจะมีสภาพโหดร้ายสักเพียงใด ธรรมชาติก็ยังสร้างสิ่งมีชีวิตสุดพิเศษที่มีความสามารถในการปรับตัวด้านรูปร่างลักษณะ การปรับตัวด้านสรีระ และการปรับตัวด้านพฤติกรรม เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่รอดได้ท่ามกลางความร้อนจัดและแห้งแล้งนั้น อ้างอิง มารู้จักทะเลทราย […]

superadmin

4 December 2023

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนธันวาคม 2566

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนธันวาคม 2566 ดังนี้ 5 ธันวาคม 2566 วันพ่อแห่งชาติ 10 ธันวาคม 2566 วันรัฐธรรมนูญ 11 ธันวาคม 2566 วันหยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ วันที่ 29 ธันวาคม 2566 ถึง วันที่ 1 มกราคม 2567 เนื่องในเทศกาลปีใหม่

superadmin

30 November 2023
1 2 3 4 43