ประกาศผลการประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2566

ประกาศผลการประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) ระดับประเทศ  ประจำปี พ.ศ. 2566  ช่วงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนอนุบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนเชาวน์วัศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รางวัลชมเชย โรงเรียนอักษรศึกษา จังหวัดชลบุรี โรงเรียนบ้านโสกเชือก (คุรุราษฎร์อำนวย) จังหวัดร้อยเอ็ด โรงเรียนปัญญาวิทย์ จังหวัดตรัง ช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง จังหวัดสมุทรปราการ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) จังหวัดขอนแก่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต รางวัลชมเชย โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โรงเรียนวารีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” จังหวัดระยอง ขอแสดงความยินดีกับทุกโรงเรียนที่ได้รางวัล สำหรับเกียรติบัตรในการประกวดฯ จะจัดส่งไปตามที่อยู่ของโรงเรียนที่แจ้งไว้ ขอขอบคุณ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เป็นศูนย์จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนในภูมิภาค คณะผู้บริหารโรงเรียน […]

superadmin

30 August 2023

ขอแสดงความยินดีกับ สกร.เขตห้วยขวาง

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขอแสดงความยินดีกับ สกร.เขตห้วยขวาง ตัวแทนจากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ได้รับรางวัลชมเชย ในการประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) สำหรับนักศึกษา สกร. ระดับประเทศ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

superadmin

28 August 2023

บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเป็นวิทยากรโครงการอบรมให้ความรู้ทางวิชาการโครงงานด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

นางสาวพรทิพย์ สกลกูล นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนวิชาการ เป็นวิทยากรโครงการอบรมให้ความรู้ทางวิชาการโครงงานด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้แก่นักศึกษา สกร.เขตลาดพร้าว ในวันที่ 26 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวัดสาครสุ่นประชาสรรค์ แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร สำหรับโครงการอบรมให้ความรู้ทางวิชาการโครงงานด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 120 คน โดยในวิทยากรได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการทำโครงงาน นอกจากนี้​นักศึกษา สกร. เขตลาดพร้าว ได้ทดลอง​และลงมือปฏิบัติทำโครงงาน พร้อมทั้งนำเสนอผลงาน

superadmin

26 August 2023

ความลับของสีดอกไฮเดรนเยีย

ดอกไฮเดรนเยียเป็นดอกไม้ที่คนนิยมนำมาใช้จัดช่อดอกไม้หรือปลูกไว้ที่บ้าน เนื่องจากดอกไม้มีสีสันสวยงามตั้งแต่สีแดง ชมพู ม่วง ฟ้าอมม่วง และจากความหมายของดอกไม้ที่ใช้แทนคำขอบคุณที่คอยอยู่เคียงข้างกันมาตลอด (Thank you for understanding) หรือแทนอีกหนึ่งความหมายที่แสดงถึงความเย็นชา เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่มีต้นกำเนิดในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น และสามารถทนต่ออากาศหนาวได้ นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งความพิเศษของดอกไฮเดรนเยียคือ การเปลี่ยนสีของดอกไม้จากระดับความเป็นกรดหรือด่างของดินที่ปลูก ทำให้เราสามารถเห็นต้นไฮเดรนเยียจากดอกสีฟ้ากลายเป็นดอกสีแดงได้ในต้นเดียวกัน ซึ่งเป็นคุณสมบัติของสายพันธุ์ดอกไฮเดรนเยียที่มีชื่อเรียกว่า Bigleaf Hydrangea หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ Hydrangea macrophylla (Thunb.) Ser. อยู่ในวงศ์ Hydrangeaceae ลักษณะของดอกเป็นช่อกลมแน่น ออกดอกตามปลายยอด โดยกลีบดอกสีสันสวยงามที่เราเห็นนี้แท้จริงแล้วคือ กลีบเลี้ยงหรือกลีบประดับคล้ายกลีบดอกจำนวน 4-5 กลีบ และยังมีกลีบดอกขนาดเล็กมากจำนวน 4-5 กลีบ อยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยกลีบประดับ ความพิเศษของสีดอกต้นไฮเดรนเยียนี้ ถูกนำมาใช้เป็นอีกหนึ่งอินดิเคเตอร์ (indicator) หรือตัวชี้วัดความเป็นกรด-ด่างของดินได้ ซึ่งคล้ายคลึงกับการเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด-เบสของสาร  โดยเมื่อเราจุ่มกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินลงในสารทดสอบที่เป็นกรด กระดาษจะเปลี่ยนเป็นสีแดง แต่ถ้าสารทดสอบเป็นเบส กระดาษลิตมัสสีแดงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งคล้ายกับการเปลี่ยนสีดอกไฮเดรนเยียแต่จะเปลี่ยนสีตรงกันข้ามกัน โดยเมื่อดินที่ปลูกมีสภาพเป็นกรดดอกไฮเดรนเยียจะมีสีฟ้า หากดินมีสภาพเป็นเบสดอกไฮเดรนเยียก็จะปรากฏเป็นสีม่วงไปจนถึงสีแดง การเปลี่ยนแปลงของสีดอกนี้เกิดจากสารสีหรือรงควัตถุ (pigment) ที่เรียกว่า delphinidin-3-glucoside เป็นกลุ่มสารแอนโทไซยานินที่ทำให้ใบไม้มีสีแดงในฤดูใบไม้ร่วง และสีของผลเบอร์รี่นั่นเอง นอกจากสภาวะความเป็นกรดด่างของดินแล้ว […]

superadmin

15 August 2023

กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566

กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 วันที่ 18 – 20 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมการให้บริการและการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการเรียนรู้รูปแบบพิพิธภัณฑ์ การจัดนิทรรศการ กิจกรรมการศึกษา และสื่อการเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม แก่นักเรียน  นักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พร้อมกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาได้จัดกิจกรรมต่อเนื่องทุกปี ดังนั้น ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ในฐานะแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้กำหนดจัดโครงการวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 ในวันที่ 18-20 สิงหาคม 2566 หัวข้อ “Science Challenge : วิทยาศาสตร์ท้าพิสูจน์” มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน นักศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน เยาวชน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความรู้ เกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีความพึงพอใจในการรับบริการ ได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง ส่งผลให้สามารถนำความรู้และทักษะไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งส่งเสริมให้องค์กรภาคส่วนต่าง […]

superadmin

8 August 2023

รับสมัครผู้เข้าร่วมแข่งขันเครื่องบินเล็กพลังยาง

การแข่งขันเครื่องบินเล็กพลังยาง เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปี 2566 วันที่จัดกิจกรรม            วันที่ 19 สิงหาคม 2566 สถานที่จัดกิจกรรม       ณ สนามฟุตซอล ด้านหน้าอาคาร 5  ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 3 รุ่น ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ( ป.3 – ป. 6) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 – ม.3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 – ม.6) ดาวน์โหลด กติกาการแข่งขันเครื่องบินเล็กพลังยาง หนังสือเชิญร่วมกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 ลงทะเบียนออนไลน์แข่งขันเครื่องบินเล็กพลังยาง https://forms.gle/2GUG9DCR7yd3iCGi7 กติกาเบื้องต้น ต้องเป็นเครื่องบินเล็กพลังยางประเภท Stick ที่สร้างขึ้นจากไม้และกระดาษเป็นวัสดุหลัก โดยปีกและชุดหางของเครื่องบินต้องสร้างขึ้นด้วยไม้แล้วบุด้วยวัสดุประเภทกระดาษเท่านั้น กางปีก (Wing Span) วัดเป็นเส้นตรงจากปลายปีกซ้ายจรดปลายปีกขวา […]

superadmin

5 August 2023

รับสมัครผู้เข้าร่วมแข่งขันเครื่องร่อนพุ่งด้วยมือ

การแข่งขันเครื่องร่อนพุ่งด้วยมือ เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปี 2566 วันที่จัดกิจกรรม  วันที่ 18 สิงหาคม 2566  สถานที่จัดกิจกรรม  ณ สนามฟุตซอล ด้านหน้าอาคาร 5 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา แข่งขันประเภทร่อนนาน โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 3 รุ่น ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ( ป.3 – ป. 6) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 – ม.3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 – ม.6) ดาวน์โหลด กติกาการแข่งขันเครื่องร่อนพุ่งด้วยมือ หนังสือเชิญร่วมกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 ลงทะเบียนออนไลน์แข่งขันเครื่องร่อนพุ่งด้วยมือ    ลงทะเบียนออนไลน์แข่งขันเครื่องร่อนพุ่งด้วยมือ กติกาเบื้องต้น กำหนดขนาดของความยาวปีกเครื่องร่อนพุ่งด้วยมือ 20 นิ้ว ในแต่ละทีมจะต้องมีเครื่องร่อนพุ่งด้วยมือเป็นของตัวเองที่ถูกต้องตามคุณลักษณะที่กำหนดอย่างน้อย 1 ลำ การแต่งกายของผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้แต่งกายด้วยชุดเครื่องแบบนักเรียน/เครื่องแบบพละศึกษาของโรงเรียนเหมือนกันทุกคน  โดยแต่ละโรงเรียนสามารถส่งทีมเข้าร่วมกิจกรรมได้ระดับละไม่เกิน 3 ทีม กำหนดให้ใช้เครื่องร่อนขนาดความยาวปีก 20 นิ้ว ผลการแข่งขันเครื่องร่อนพุ่งด้วยมือ ระดับประถมศึกษา […]

superadmin

5 August 2023

รับสมัครผู้เข้าร่วมแข่งขันประลองความเร็วแข่งขันเรือ ป๊อป ป๊อป POPPOP BOATRacing 2023 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาท้องฟ้าจําลองกรุงเทพ

รับสมัครผู้เข้าร่วมแข่งขันประลองความเร็วแข่งขันเรือ ป๊อป ป๊อป POPPOP BOATRacing 2023ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจําลองกรุงเทพ กติกาการแข่งขัน รับสมัครออนไลน์ตั้งแต่วันนี้ – 18 สิงหาคม 2566 หรือสมัคร ณ จุดลงทะเบียนในวันที่ 20 สิงหาคม 2566 ต้องเป็นเรือ POP-POP ที่ผลิตด้วยตนเองไม่จํากัดวัสดุและเชื้อเพลิง (ต้องไม่ก่อให้เกิดอันตราย) ขนาดเรือกว้างยาวไม่เกิน 4″x12″ (รวมทุกส่วน) ไม่จํากัดน้ำหนักและความสูง ควรทําการออกแบบติดตั้งหางเสือของตัวเรือให้พร้อมเข้าแข่งขันเพื่อให้เรือสามารถเดินทางเป็นเส้นตรง ระยะทางสนามแข่งขันความยาว 15 เมตร ศูนย์วิทยาศาสตร์เพืื่อการศึกษาขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสินของคณะกรรมการเป็นที่สิ้นสุด (รอบคัดเลือก-ชิงชนะเลิศ) ในวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 66 เวลา 9.00-16.30 น. ประเภทการแข่งขันแบ่งเป็น 3 ประเภท ระดับประถม ระดับมัธยม ระดับทั่วไป ร่วมสนุกแข่งขันประลองความเร็วชิงเงินรางวัล รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 3,000 บาทพร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล […]

superadmin

3 August 2023

แสงสีกับการเจริญเติบโตของพืช

พืชใช้แสงจากดวงอาทิตย์ในการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นกระบวนการที่พืชแปลงพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมี เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของพืช โมเลกุลที่พืชใช้ในการดูดซับแสง เรียกว่า รงควัตถุ (pigments) หรือสารสี ซึ่งสารสีแต่ละชนิดมีการดูดซับช่วงคลื่นแสงที่แตกต่างกัน โดยสารสีที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ สารสีเขียวหรือคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) สามารถดูดซับคลื่นในช่วงแสงสีแดงและสีน้ำเงินได้มากกว่าช่วงคลื่นแสงสีเขียว ทำให้เราสามารถมองเห็นพืชเป็นสีเขียว เนื่องจากการสะท้อนของคลื่นแสงสีเขียวที่อยู่ในช่วงแสงที่ตามองเห็นได้ สารสีอื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์แสง คือ แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งดูดซับแสงในช่วงคลื่นแสงสีน้ำเงิน – เขียว และสะท้อนช่วงแสงสีเหลืองหรือเหลือง – ส้ม ทำให้เราจะเห็นพืชมีสีเหลืองส้มหลังจากการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ แสงสีแต่ละสีที่พืชดูดซับมีผลต่อการเจริญเติบโตต่างกัน โดยมีการศึกษาวิจัยพบว่า แสงสีน้ำเงิน (400–520 นาโนเมตร) มีผลต่อปริมาณของคลอโรฟิลล์และการเจริญเติบโตของใบพืช รวมทั้งการสร้างรากในระยะแรกของพืช (veg stage/ growth) แต่ไม่ควรให้แสงสีฟ้ามากเกินไปในพืชบางชนิด เพราะอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ แสงสีแดง (630–660 นาโนเมตร) จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลำต้นและการขยายตัวของใบ รวมทั้งมีผลกับพืชเมื่ออยู่ในช่วงที่เริ่มออกดอก (flowering) จึงเหมาะกับพืชที่เราต้องการผลมากกว่าพืชใบ แสงสีเขียว (500–600นาโนเมตร) ถึงแม้พืชจะนำมาใช้น้อยที่สุด แต่ก็มีผลกับใบพืชที่อยู่ด้านล่าง เนื่องจากแสงสีเขียวทะลุผ่านได้ดีกว่า ทำให้พืชได้รับแสงอย่างทั่วถึง จะเห็นได้ว่าพืชยังคงต้องการแสงในทุกช่วงคลื่นแสงสำหรับการสังเคราะห์แสง […]

superadmin

18 July 2023

AC🆚DC สงครามนี้…คุณให้ฝ่ายไหนชนะ?

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขอเชิญชม “สงครามกระแสไฟฟ้า The War of Currents: AC vs DC” ร่วมโหวตและแสดงความคิดเห็นคุณให้ฝ่ายไหนชนะ? ระหว่างระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ของนิโคลา เทสลากับระบบไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ของโทมัส อัลวา เอดิสันหรือให้ทั้งคู่เสมอกัน พร้อมเหตุผลผ่านลิงก์ https://forms.gle/oj9xW6opPTSze3gw9 เท่านั้น! เปิดโหวตวันที่ 18-27 กรกฎาคม 2566 ลุ้นรับของรางวัลพิเศษ มอบให้กับผู้ที่โหวตและแสดงความคิดเห็น 5 คนแรก และสุ่มจับรางวัลอีก 15 รางวัล ส่งฟรีให้ถึงบ้าน และสามารถชมเรื่องราวของสงครามกระแสไฟฟ้า AC vs DC แบบเมจิกวิชั่น บรรยากาศสุดคลาสสิก ได้ที่นิทรรศการเมืองไฟฟ้า⚡ชั้น 3 อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อาคาร 2) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ซื้อบัตรเข้าชมนิทรรศการตามปกติ) ประกาศผลโหวตและผู้ที่ได้รับรางวัลวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ทางเฟซบุ๊ก ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเอกมัย และเว็บไซต์ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา sciplanet.org […]

superadmin

18 July 2023

โครงการประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) สำหรับนักศึกษา กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

การประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) สำหรับนักศึกษา กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เงื่อนไขการสมัคร รับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 28 กรกฎาคม 2566 ส่งใบสมัครและเอกสารประกอบการแสดง สามารถสมัครออนไลน์ได้ที่นี่ https://forms.gle/U6yhVcfZvQajnu7A9 หรือส่งเอกสารและเอกสารประกอบการแสดงที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2392 5951-5 ต่อ 1197 และ 08 9030 6378 (อ. ณัฐวุฒิ) เฉพาะนักศึกษา กศน. โซนกรุงเทพกลาง และโซนกรุงเทพใต้ รวม 19 เขต กำหนดการประกวด วันที่ 5 – 6  สิงหาคม 2566 สอบถามรายละเอียด/ติดต่อผู้ประสานงาน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2392 5951-5 ต่อ 1197 และ 08 9030 6378 (อ. ณัฐวุฒิ)

superadmin

6 July 2023
1 5 6 7 43