หูไม่ใช่หู หางไม่ใช่หาง เรื่องจริงของทากทะเล

‘กระต่ายทะเล’ ‘แกะทะเล’ นี่คือชื่อเรียกสุดน่ารักที่ผู้คนตั้งให้กับทากทะเลตัวจิ๋ว จากลักษณะเด่นของพวกมัน ได้แก่ ส่วนที่ยื่นออกมาจากส่วนหัวดูคล้ายหูยาว ๆ และพวงหางที่ดูนุ่มฟูตรงส่วนท้ายของลำตัว แต่แท้จริงแล้วนั้น หูกลับไม่ใช่หู และหางกลับไม่ใช่หางอย่างที่คิด ทากทะเล หรือ ทากเปลือย (Nudibranch) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) เช่นเดียวกับหอยและหมึก กลุ่มเดียวกับหอยฝาเดียว แต่เปลือกถูกลดรูปจนไม่เหลือให้เห็นจากภายนอก ลำตัวมีขนาดเล็กโดยมีตั้งแต่ขนาด 2 มิลลิเมตรไปจนถึง 30 เซนติเมตรได้เลยทีเดียว ส่วนมากอาศัยอยู่ในทะเลและสามารถพบได้ตามบริเวณที่เป็นแหล่งอาหารของพวกมัน เช่น ตามแนวปะการัง โขดหิน และสาหร่าย ทำให้ทากทะเลสามารถเป็นตัวบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศได้ ทากทะเลมีรูปร่างและสีสันที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด แต่มีลักษณะที่คล้ายกันนั่นคือ ลำตัวแบน และมีส่วนที่คล้ายหูหรือเขา 2 ข้างที่ส่วนหัว ซึ่งความจริงแล้วอวัยวะส่วนนี้ไม่ได้ทำหน้าที่ในการรับเสียงแบบหูของกระต่ายหรือแกะแต่อย่างใด แต่มันคือ ไรโนฟอร์ (Rhinophore) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการรับสารเคมีในน้ำ หรือใช้ในการรับกลิ่นเหมือนจมูก เพื่อตรวจหากลิ่นของอาหาร รวมทั้งหากลิ่นของฮอร์โมนจากเพศตรงข้ามได้อีกด้วย และส่วนที่คล้ายหางบริเวณปลายลำตัวก็ไม่ได้ใช้ในการเคลื่อนที่หรือการทรงตัว แต่มันคือเหงือก (Gill plume หรือ Branchial plume) ที่ช่วยในการหายใจเหมือนสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ […]

parani ting-in

11 September 2023

ความลับของต้นไม้ใบด่าง เกิดได้อย่างไร?

ต้นไม้ใบด่างกลายมาเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมของหลายๆ คนที่ชื่นชอบพันธุ์ไม้ที่มีสีสันแปลกตาหาได้ยาก ไม่เหมือนต้นไม้ที่มีสีเขียวทั่วๆ ไป ด้วยลักษณะที่แตกต่างนี้ ทำให้ไม้ด่างมีราคาสูง และเป็นที่ต้องการของนักสะสมต้นไม้เป็นจำนวนมาก แต่ทราบหรือไม่ว่าจริงๆ แล้วไม้ด่างนั้นเกิดจากการปรับตัวให้อยู่รอดได้ในธรรมชาติ โดยลักษณะการด่างสามารถช่วยพรางตัวจากผู้ล่าหรือสัตว์กินพืช ทำให้ผู้ล่าเข้าใจว่าพืชนั่นมีพิษ อีกทั้งยังสามารถช่วยดึงดูดแมลงให้ช่วยผสมพันธุ์อีกด้วย บางกรณีที่ต้นไม้นั้นต้องเจริญเติบโตอยู่ในป่าทึบที่มีแสงแดดน้อย การปรับตัวเพื่อลดการสังเคราะห์แสงหรือลดการสร้างคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ซึ่งเป็นสารสี (Pigments) ที่ใช้ในการดูดซับแสง ทำให้เห็นใบด่างมีสีขาวหรือเหลือง ซึ่งก็คือบริเวณที่ไม่มีการสร้างคลอโรฟิลล์ตรงบริเวณนั้นนั่นเอง นอกจากการด่างที่ทำให้ใบเกิดสีขาวแล้ว ยังมีต้นไม้ด่างหลากสีสันจากสารสีอื่น ๆ เช่น แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ทำให้เห็นใบเป็นสีเหลืองหรือส้ม และแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ทำให้มองเห็นใบมีสีชมพู แดง และม่วง ซึ่งรูปแบบของสีใบที่เกิดขึ้นกับใบด่างแต่ละชนิดขึ้นกับข้อมูลของสารพันธุกรรม โดยมียีนเฉพาะที่ควบคุมลักษณะเหล่านี้ถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกให้เกิดพืชใบด่างได้ ส่วนลักษณะด่างที่เห็นเป็นสีเงิน ไม่ได้เกิดจากสารสีของพืช แต่เกิดจากลักษณะโครงสร้างของใบที่มีช่องอากาศระหว่างเนื้อเยื่อใบ ทำให้เมื่อแสงแดดตกกระทบบนใบจะเกิดการหักเหมองเห็นใบเป็นสีเงินเป็นลักษณะที่มีการถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม เรียกลักษณะด่างแบบนี้ว่า Reflective variegation หรือ Blister variegation ตัวอย่างต้นเปปเปอร์โรเมียลายแตงโม (Watermelon peperomia) และต้นพลูแนบอุรา(Scindapsus pictus) อีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดใบด่างที่ทำให้พืชจากเดิมทีมีสีเขียวกลายเป็นพืชใบด่างได้ จากความผิดปกติในระดับพันธุกรรม ที่เป็นการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อเจริญของพืช ซึ่งก็คือเนื้อเยื่อบริเวณยอดของพืชที่มีการแบ่งเซลล์เพื่อการเจริญเติบโต เมื่อมีการแบ่งตัวซ้ำ ๆ จึงทำให้ง่ายที่จะเกิดการกลายพันธุ์ […]

superadmin

4 September 2023

ปลวก นักย่อยสลายบำรุงดิน

หากเราพูดถึงปลวก หลายๆคนอาจจะมองว่าปลวกเป็นแมลงรบกวนที่สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ แต่ในธรรมชาตินั้นปลวกกลับมีประโยชน์อย่างมากในระบบนิเวศ เนื่องจากทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลาย (Decomposer) ช่วยในการบำรุงดิน การย่อยสลายนั้น ปลวกมีตัวช่วยเป็นจุลินทรีย์ตัวเล็ก ๆ นั่นคือ โปรโตซัว (Protozoa) ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของปลวกซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันแบบภาวะพึ่งพา (Mutualism) ปลวกย่อยสลายไม้ได้อย่างไร? แหล่งอาหารของปลวกเป็นจำพวกเนื้อไม้ เศษไม้ ซากพืช ซึ่งปลวกสามารถกินไม้เหล่านี้ได้ แต่ไม่สามารถย่อยสลายเซลลูโลส (Cellulose) ได้ จึงต้องอาศัยโปรโตซัวที่มีชื่อว่า ไตรโคนิมฟา (Trichonympha sp.) ที่อาศัยอยู่ในลำไส้สร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยสลายเซลลูโลสให้กลายเป็นอาหารแก่ปลวก ในขณะเดียวกันก็เป็นอาหารให้กับโปรโตซัวเองด้วย ประโยชน์จากการย่อยสลาย การย่อยสลายซากพืช เศษไม้ของปลวกในธรรมชาติทำให้เกิดการสลายสารอินทรีย์ เปลี่ยนแปลงไปเป็นฮิวมัส (Humus) เกิดการหมุนเวียนแร่ธาตุในดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชที่จะเป็นแหล่งอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นในระบบนิเวศต่อไป      ที่มา : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม TPA NEWS คบเด็กสร้างบ้าน ตอน 2 ปลวก ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโพรทิสตา ปลวกผู้ย่อยสลายในระบบนิเวศ  รูปภาพ

parani ting-in

28 August 2023

เพราะอะไร!! ทำไมฉันจึงถนัดซ้าย

ลองสังเกตคนรอบตัวคุณดูสักนิดมีใครถนัดซ้ายไหม นี่อาจไม่ใช่เรื่องแปลกในสังคมปัจจุบันสักเท่าไร แต่คุณรู้หรือไม่ว่าในอดีตมีคนกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าคนที่ถนัดซ้ายเป็นคนประหลาด และมองว่าคือ ปีศาจ จนทำให้องค์กรหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาลุกขึ้นมาเพื่อปกป้องสิทธิของคนเหล่านี้ รวมถึงสร้างความตระหนักเรื่องความเสมอ ภาคในตัวของบุคคล ถึงขั้นจัดตั้งวันคนถนัดซ้ายสากล หรือ Happy Left Handers Day ขึ้น ซึ่งตรงกับวันที่ 13 สิงหาคมของทุกปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับคนถนัดซ้ายที่ถูกรังเกียจว่าแปลกประหลาด อีกทั้งยังรณรงค์ให้เห็นว่าแม้จะถนัดซ้ายคนเหล่านั้นก็มีความเป็นมนุษย์เหมือน ๆ กัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมนุษย์เราถนัดขวามากกว่าซ้าย 80-90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเลยทีเดียว เพราะเหตุใดจึงมีคนถนัดซ้ายเพียงเล็กน้อยแตกต่างไปจากคนอื่น ๆ กันนะ สาเหตุของการถนัดซ้าย งานวิจัยของ eLife เชื่อว่าความถนัดของมือมีต้นเหตุมาจากการทำงานที่ไม่สมดุลกันของยีนภายในกระดูกไขสันหลังของตัวอ่อนขณะอยู่ในมดลูก โดยการเคลื่อนไหวของมือและแขนของมนุษย์เกิดจากการสั่งงานของสมองส่วน Motor Cortex ที่เป็นตัวส่งสัญญาณประสาทไปที่ไขสันหลัง เพื่อทำหน้าที่แปลผลคำสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหวมือและแขน ซึ่งการแสดงออกของยีนนี้จะอยู่ในช่วงอายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ ผลการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า การที่พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้องถนัดซ้ายนั้น จะเพิ่มโอกาสให้ลูกถนัดซ้ายได้เช่นกัน จากงานวิจัยในประเทศเบลเยี่ยมพบว่า เด็กแฝด ไม่ว่าจะแฝดแท้หรือแฝดเทียม (Fraternal twin) หากมีหนึ่งคนถนัดขวา อีกคนมักจะถนัดซ้าย ซึ่งอัตราส่วนความเป็นไปได้ถึง 21 เปอร์เซ็นต์ […]

parani ting-in

24 August 2023

ความลับของสีดอกไฮเดรนเยีย

ดอกไฮเดรนเยียเป็นดอกไม้ที่คนนิยมนำมาใช้จัดช่อดอกไม้หรือปลูกไว้ที่บ้าน เนื่องจากดอกไม้มีสีสันสวยงามตั้งแต่สีแดง ชมพู ม่วง ฟ้าอมม่วง และจากความหมายของดอกไม้ที่ใช้แทนคำขอบคุณที่คอยอยู่เคียงข้างกันมาตลอด (Thank you for understanding) หรือแทนอีกหนึ่งความหมายที่แสดงถึงความเย็นชา เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่มีต้นกำเนิดในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น และสามารถทนต่ออากาศหนาวได้ นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งความพิเศษของดอกไฮเดรนเยียคือ การเปลี่ยนสีของดอกไม้จากระดับความเป็นกรดหรือด่างของดินที่ปลูก ทำให้เราสามารถเห็นต้นไฮเดรนเยียจากดอกสีฟ้ากลายเป็นดอกสีแดงได้ในต้นเดียวกัน ซึ่งเป็นคุณสมบัติของสายพันธุ์ดอกไฮเดรนเยียที่มีชื่อเรียกว่า Bigleaf Hydrangea หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ Hydrangea macrophylla (Thunb.) Ser. อยู่ในวงศ์ Hydrangeaceae ลักษณะของดอกเป็นช่อกลมแน่น ออกดอกตามปลายยอด โดยกลีบดอกสีสันสวยงามที่เราเห็นนี้แท้จริงแล้วคือ กลีบเลี้ยงหรือกลีบประดับคล้ายกลีบดอกจำนวน 4-5 กลีบ และยังมีกลีบดอกขนาดเล็กมากจำนวน 4-5 กลีบ อยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยกลีบประดับ ความพิเศษของสีดอกต้นไฮเดรนเยียนี้ ถูกนำมาใช้เป็นอีกหนึ่งอินดิเคเตอร์ (indicator) หรือตัวชี้วัดความเป็นกรด-ด่างของดินได้ ซึ่งคล้ายคลึงกับการเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด-เบสของสาร  โดยเมื่อเราจุ่มกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินลงในสารทดสอบที่เป็นกรด กระดาษจะเปลี่ยนเป็นสีแดง แต่ถ้าสารทดสอบเป็นเบส กระดาษลิตมัสสีแดงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งคล้ายกับการเปลี่ยนสีดอกไฮเดรนเยียแต่จะเปลี่ยนสีตรงกันข้ามกัน โดยเมื่อดินที่ปลูกมีสภาพเป็นกรดดอกไฮเดรนเยียจะมีสีฟ้า หากดินมีสภาพเป็นเบสดอกไฮเดรนเยียก็จะปรากฏเป็นสีม่วงไปจนถึงสีแดง การเปลี่ยนแปลงของสีดอกนี้เกิดจากสารสีหรือรงควัตถุ (pigment) ที่เรียกว่า delphinidin-3-glucoside เป็นกลุ่มสารแอนโทไซยานินที่ทำให้ใบไม้มีสีแดงในฤดูใบไม้ร่วง และสีของผลเบอร์รี่นั่นเอง นอกจากสภาวะความเป็นกรดด่างของดินแล้ว […]

superadmin

15 August 2023

ล่อรากด้วยน้ำ เทคนิคปลูกต้นไม้อย่างไรเมื่อไร้ดิน

“ราก” เป็นส่วนสำคัญของต้นไม้ที่ใช้ในการดูดซึม (Absorption) และลำเลียง (Conduction) น้ำ แร่ธาตุเข้าสู่ลำต้น ช่วยยึด (Anchorage) ลำต้นให้ติดกับพื้นดิน รากจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ต้นไม้มีชีวิตอยู่ได้ นอกจากการปลูกต้นไม้ลงดินโดยตรงเพื่อให้เกิดรากแล้ว ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ต้นไม้สร้างราก และถือว่าเป็นการอนุบาลต้นไม้ที่กำลังอ่อนแอให้มีชีวิตรอด โดยเทคนิคดังกล่าว เรียกว่า การล่อราก “การล่อราก” เป็นเทคนิคการหลอกล่อให้ต้นไม้ที่นำมาเลี้ยงมีรากงอกออกมาด้วยตัวเอง เพื่อใช้ดูดสารอาหารในภาชนะปลูกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ การล่อรากสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การล่อรากด้วยดินหรือหินภูเขาไฟ การล่อรากด้วยแสงแดด และการล่อรากด้วยน้ำ ซึ่งเทคนิคการล่อรากด้วยน้ำจะกล่าวถึงดังต่อไปนี้ การใช้น้ำเพื่อล่อราก เป็นเทคนิคการเลี้ยงต้นไม้ที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาไม่นานรากใหม่ก็เริ่มงอกออกมาแล้ว ในช่วงที่ทำการล่อรากต้นไม้อาจหยุดการเจริญเติบโต เนื่องจากยังไม่มีรากที่ใช้ดูดซึมอาหารและน้ำได้ด้วยตัวเอง และจะเริ่มเจริญเติบโตเมื่อโคนต้นเริ่มมีรากสีขาวแทรกออกมา การล่อรากด้วยน้ำนี้มีลักษณะคล้ายกับการปลูกต้นไม้ในแจกันที่มีน้ำ แต่ต่างกันตรงที่การล่อรากจะไม่นำโคนต้นลงไปสัมผัสกับน้ำโดยตรง โดยลำต้นจะต้องลอยอยู่เหนือน้ำและปล่อยให้รากที่งอกออกมายืดออกไปหาน้ำด้านล่างเพื่อความอยู่รอดเอง เตรียมพืชอย่างไรเพื่อใช้ “ล่อราก” การเตรียมต้นไม้สำหรับใช้ล่อราก หากเป็นต้นไม้ที่มีกิ่งควรเลือกตัดกิ่งที่ติดส่วนของโหนดใบมาด้วย หรือที่เรียกว่า Leaf Node เพราะเป็นบริเวณที่มีอาหารสะสมและมีฮอร์โมน เช่น ไซโทไคนิน (Cytokinin) เอทิลีน (Ethylene) และจิบเบอเรลลิน (Gibberellin) ซึ่งสามารถกระตุ้นให้รากเจริญออก มาได้ และควรตัดกิ่งเฉียงประมาณ 45 […]

parani ting-in

7 August 2023

ผักอบกรอบ กระเเสฮิตจากโซเซียล

ผักและผลไม้เป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิดซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งมี   เส้นใยที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยควบคุมน้ำหนักได้ แต่ด้วยรสชาติและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของผักและผลไม้บางชนิด ทำให้การรับประทานสด ๆ เป็นเรื่องยากหรือแม้แต่นำมาปรุงเป็นอาหารก็ยังคงทิ้งกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์นั้นไว้ นี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการแปรรูปผักและผลไม้ให้สามารถรับประทานได้ง่ายยิ่งขึ้น และกำลังกลายเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมในขณะนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งคงไม่มีใครไม่รู้จัก “ผักอบกรอบ” ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่าผักอบกรอบที่ผู้คนให้ความสนใจจนกลายเป็นอาหารยอดฮิตในโซเซียลนั้น เริ่มแรกเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ภายหลังเมื่อได้รับความนิยมมากขึ้นจึงมีหลายยี่ห้อในประเทศไทยที่ลงทุนผลิตและจำหน่ายเองด้วย โดยผักและผลไม้ที่นิยมนำมาทำนั้น ได้แก่ กระเจี๊ยบเขียว       แครอท กล้วย ฟักทอง ขนุน เห็ดหอม และมันชนิดต่าง ๆ เป็นต้น การนำมาแปรรูปเป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยยืดอายุผักและผลไม้ที่ค่อนข้างเน่าเสียง่ายให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นานขึ้น และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต โดยกรรมวิธีการผลิตผักอบกรอบนั้นมี 2 วิธี คือ การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Drying) และ การทอดแบบสุญญากาศ (Vacuum Frying)  1. การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Drying) การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง คือ กระบวนการกำจัดน้ำออกจากอาหารด้วยการแช่เยือกแข็งอาหารด้วยอุณหภูมิต่ำ ทำให้ผลึกน้ำแข็งระเหิดกลายเป็นไอ โดยการลดความดันบรรยากาศให้ต่ำกว่าปกติ ผักและผลไม้ที่ผ่านกระบวนการทำแห้งวิธีนี้ สามารถคงสภาพกลิ่น สี รส และคุณค่าทางโภชนาการได้ใกล้เคียงกับผักและผลไม้สด การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง ประกอบด้วย […]

parani ting-in

24 July 2023

แสงสีกับการเจริญเติบโตของพืช

พืชใช้แสงจากดวงอาทิตย์ในการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นกระบวนการที่พืชแปลงพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมี เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของพืช โมเลกุลที่พืชใช้ในการดูดซับแสง เรียกว่า รงควัตถุ (pigments) หรือสารสี ซึ่งสารสีแต่ละชนิดมีการดูดซับช่วงคลื่นแสงที่แตกต่างกัน โดยสารสีที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ สารสีเขียวหรือคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) สามารถดูดซับคลื่นในช่วงแสงสีแดงและสีน้ำเงินได้มากกว่าช่วงคลื่นแสงสีเขียว ทำให้เราสามารถมองเห็นพืชเป็นสีเขียว เนื่องจากการสะท้อนของคลื่นแสงสีเขียวที่อยู่ในช่วงแสงที่ตามองเห็นได้ สารสีอื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์แสง คือ แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งดูดซับแสงในช่วงคลื่นแสงสีน้ำเงิน – เขียว และสะท้อนช่วงแสงสีเหลืองหรือเหลือง – ส้ม ทำให้เราจะเห็นพืชมีสีเหลืองส้มหลังจากการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ แสงสีแต่ละสีที่พืชดูดซับมีผลต่อการเจริญเติบโตต่างกัน โดยมีการศึกษาวิจัยพบว่า แสงสีน้ำเงิน (400–520 นาโนเมตร) มีผลต่อปริมาณของคลอโรฟิลล์และการเจริญเติบโตของใบพืช รวมทั้งการสร้างรากในระยะแรกของพืช (veg stage/ growth) แต่ไม่ควรให้แสงสีฟ้ามากเกินไปในพืชบางชนิด เพราะอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ แสงสีแดง (630–660 นาโนเมตร) จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลำต้นและการขยายตัวของใบ รวมทั้งมีผลกับพืชเมื่ออยู่ในช่วงที่เริ่มออกดอก (flowering) จึงเหมาะกับพืชที่เราต้องการผลมากกว่าพืชใบ แสงสีเขียว (500–600นาโนเมตร) ถึงแม้พืชจะนำมาใช้น้อยที่สุด แต่ก็มีผลกับใบพืชที่อยู่ด้านล่าง เนื่องจากแสงสีเขียวทะลุผ่านได้ดีกว่า ทำให้พืชได้รับแสงอย่างทั่วถึง จะเห็นได้ว่าพืชยังคงต้องการแสงในทุกช่วงคลื่นแสงสำหรับการสังเคราะห์แสง […]

superadmin

18 July 2023

Ant-man กับ Pym Particle

Ant-man กับ Pym Particle วิทยาศาสตร์ในหนังแฟนตาซี ถ้าหากพูดถึงฉากที่เป็นภาพจำของใครหลายคนจากเรื่อง Ant-Man หนังซุปเปอร์ฮีโร่จากค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง Marvel คงหนีไม่พ้นฉากที่สก็อตต์ แลง ตัวเอกของเรื่องยกกองทัพมดพร้อมกับขี่พวกมันเพื่อไปบุกฐานทัพของ Avenger หรือจะเป็นฉากที่ตัวสก็อตต์ แลง ย่อขยายตัวไปมาตลอดเวลาขณะที่สู้อยู่กับฟอลคอน โดยไม่ว่าเขาจะมีขนาดตัวเล็กเท่าใด แรงที่ใช้ในการต่อสู้ก็จะมีขนาดเท่ากันกับตอนที่เขามีขนาดตัวปกติ หากมองในโลกของความเป็นจริงแล้ว การย่อขยายขนาดตัวของเขาแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะการที่เราทำการบีบอัดหรือเปลี่ยนความหนาแน่นของร่างกายอย่างฉับพลัน จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวร่างกาย รวมถึงอวัยวะภายในก็ได้รับผลกระทบด้วย  อีกทั้งการย่อขนาดให้เล็กลงจะทำให้มวลลดลงไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นอัตราส่วนระหว่างมวลต่อปริมาตร นั่นคือ ”ความหนาแน่น” ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ในตัวภาพยนต์เน้นย้ำว่าพละกำลังและความแข็งแกร่งยังเท่าเดิม หากสก็อตต์ แลง มีขนาดเท่าแมลง โดยในความเป็นจริงแรงกับมวลควรลดลงไปในทิศทางเดียวกัน แต่วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับ Pym Particle ทฤษฎีที่อธิบายการย่อขยายของร่างกายสก็อตต์ แลง ในเรื่อง Ant-Man ซึ่งเป็นเพียงวิทยาศาสตร์แฟนตาซีที่มีเพียงในหนังเท่านั้น Pym Particles หรือ อนุภาคพิม ที่ปรากฏอยู่ในหนังเรื่อง Ant-Man เป็นอนุภาคที่ถูกค้นพบโดย Dr. Henry Pym ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจของทฤษฎีนี้คือ Pym Particles เป็นอนุภาคย่อยพิเศษที่สามารถอธิบายการย่อหรือขยายของสิ่งมีชีวิตและวัตถุไว้ว่า […]

parani ting-in

10 July 2023

ภาพติดตา…ก่อกำเนิดภาพยนตร์

ปัจจุบันความเครียดในช่วงโควิด  19 แพร่ระบาด เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่หลายคนต้องเผชิญ เมื่อต้องจัดการกับความเครียดนั้นมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือที่ชอบ การออกไปท่องเที่ยว แต่มีอีกหนึ่งวิธีที่ผู้คนเลือกที่จะทำเพื่อผ่อนคลายความเครียด นั่นคือการดูภาพยนตร์ที่ตนเองชอบ เพราะว่าการดูภาพยนตร์นั้นจะช่วยทำให้ร่างกายของเรามีการผ่อนคลาย รู้สึกเหมือนได้พักผ่อน ได้เรียนรู้กับภาพยนตร์ที่ฉายที่จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้นอยู่เสมอ แต่รู้หรือไม่ว่าภาพยนตร์ที่เราดูนั้นมีจุดกำเกิดมาจากอะไร สามารถศึกษาได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้ ภาพยนตร์ คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำมาฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้ว เป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมากที่แสดงอิริยาบถต่างๆ มาเรียงติดกันอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ชมมองเห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหว โดยใช้หลักการที่เรียกว่า “การเห็นภาพติดตา” (Persistence of vision) คิดค้นโดย Dr. John Ayrton Paris และเมื่อนำเอาภาพนิ่งเหล่านั้นมาฉายดูทีละภาพด้วยอัตราความเร็วในการฉายภาพต่อภาพเท่า ๆ กัน สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ  1/15 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของเราจะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อย ๆ หากภาพต่อไปปรากฏในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยเฉพาะในกรณีที่ภาพแต่ละภาพเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพนิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกัน สำหรับเครื่องฉายภาพยนตร์เครื่องแรกของโลกที่เรียกว่า Kinetoscope ได้ถูกออกแบบในปี 1891 โดย William Kennedy Laurie […]

parani ting-in

4 July 2023

ย้อนเวลารู้จักกับ “หนังกลางแปลง”

ปัจจุบันหนังกลางแปลงเป็นกิจกรรมรื่นเริงชนิดหนึ่งที่จัดขึ้นในเวลากลางคืนในที่โล่งแจ้ง โดยจะใช้เครื่องฉายหนังชนิดฟิล์ม หรือเครื่องฉายเตาถ่าน ในการฉายภาพลงบนผ้าใบสีขาวขนาดใหญ่ มักจัดขึ้นในงานวัด หรืองานรื่นเริงประจำหมู่บ้านในละแวกพื้นที่นั้น ที่มาของหนังกลางแปลง ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์หนังกลางแปลงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตกลายเป็นประเทศมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ของโลก เนื่องด้วยทั้งสองฝั่งมีอุดมการณ์ที่แน่วแน่เป็นของตนเอง และมุ่งหวังให้ไทยเป็น “ป้อมปราการต่อต้านคอมมิวนิสต์” หนังกลางแปลงจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่อุดมการณ์ในด้านการเมือง อีกทั้งยังใช้ประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ในด้านรัฐบาล และเอกชน รวมไปถึงใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์ขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทภายใน หมู่บ้านนั้นๆ อีกด้วย หนังกลางแปลงถูกเรียกอีกหลากหลายชื่อ เช่น หนังล้อมผ้าหรือหนังล้อมรั้ว หนังเร่ หนังขายยา หน่วยประชาสัมพันธ์ เป็นต้น โดยแต่ละชื่อจะใช้เรียกตามบรรยากาศที่มองเห็นจากภายนอก อย่างเช่น หนังล้อมผ้าหรือหนังล้อมรั้ว จะใช้เรียกเมื่อพื้นที่ของหนังกลางแปลงจะล้อมไปด้วยผ้า หรือสังกะสี โดยหนังดังกล่าวจะมีการเก็บค่าใช้จ่ายก่อนการเข้ารับชม ในส่วนของหนังขายยา จะเป็นหนังกลางแปลงที่เข้ารับชมฟรี แต่จะมีการขายผลิตภัณฑ์สลับกับการฉายหนัง และในชื่อหน่วยประชาสัมพันธ์ ก็เป็นการทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารภายในหมู่บ้านนั่นเอง เอกลักษณ์ของหนังกลางแปลงที่เป็นที่รู้จักกันในอดีตนั่นคือหนังกลางแปลงจะฉายในเวลากลางคืน ใช้เครื่องฉายฟิล์มฉายลงบนผืนผ้าสีขาวขนาดใหญ่ ควบคู่กับเครื่องขยายเสียง และนักพากย์สดพร้อมกับหนัง แต่ในปัจจุบันจะเป็นการฉายหนังพร้อมเสียงพูดที่มาพร้อมกับหนัง ถึงแม้ว่าเอกลักษณ์ของนักพากย์สดจะหายไป หนังกลางแปลงก็ถือว่ายังเป็นที่นิยมและเป็นความบันเทิงในกลุ่มคนที่ชอบความย้อนยุคอีกด้วย ภาพยนตร์ถูกนำมาฉายได้อย่างไร ภาพยนตร์เริ่มเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยคณะละครเร่ชาวฝรั่งเศสชื่อว่า เอส จี มาร์คอฟสกี (S.G. Marchovsky) โดยภาพยนตร์ที่ได้ถูกนำมาจัดแสดงสู่สายตาสาธารณชนครั้งแรก เป็นภาพยนตร์ฝรั่งเศสฉายเมื่อวันที่ […]

parani ting-in

30 January 2023

เมื่อได้ยินเสียง “วี้ หว่อ วี้ หว่อ”

“วี้ หว่อ วี้ หว่อ” เมื่อได้ยินเสียงนี้มาแต่ไกลแม้จะยังไม่เห็นตัวรถ เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าอาจจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น หรืออาจจะมีผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วนอยู่บนรถ หรือตำรวจกำลังไล่ล่าจับผู้ร้าย เป็นต้น โดยเสียง “วี้ หว่อ วี้ หว่อ” คือเสียงไซเรนซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของเสียงที่เราได้ยิน ของการได้ยินเสียงนี้ เราจะรู้สึกว่าเสียงมีความทุ้มหรือสูงผิดปกติไปจากเสียงจริง เช่น หากวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงกำลังเคลื่อนที่เข้ามาหาผู้ฟัง ลักษณะของเสียงจะสูงขึ้นเนื่องจากความถี่สูงขึ้น (ความยาวคลื่นน้อยลง) แต่หากแหล่งกำเนิดเสียงค่อย ๆ ออกห่างจากผู้ฟังเสียงจะทุ้มมากขึ้น เนื่องจากมีความถี่ต่ำลง (ความยาวคลื่นมากขึ้น) จนเงียบไป ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ (Doppler Effect) ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงหรือผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังได้ยินเสียงที่มีความถี่ไม่เท่ากับความถี่เสียงที่แหล่งกำเนิดเสียงให้ออกมานั่นเอง แหล่งข้อมูล ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ Doppler Effect ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์

parani ting-in

16 January 2023
1 2 3 13