เดือน | ภาพยนตร์เต็มโดม |
---|---|
ปี พ.ศ. 2565 (ตุลาคม 2565 - ธันวาคม 2565) | |
ตุลาคม | โคโคมง : ผจญภัยในอวกาศ (Cocomong : A Space Adventure) |
พฤศจิกายน | ภาพยนตร์ Science Film เรื่องเคว้งคว้างไปกับขยะอวกาศ (My life as a piece of space debris x zenith) |
ธันวาคม | มหัศจรรย์แห่งจักรวาล (Two small pieces of glass) |
ปี พ.ศ. 2566 (มกราคม 2566 - กันยายน 2566) | |
มกราคม | ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New horizons) |
กุมภาพันธ์ | มหัศจรรย์แห่งออโรร่า (Experience the Aurora) |
มีนาคม | กลับไปดวงจันทร์กันเถอะ (Back to the Moon for Good) |
เมษายน | จากโลกสู่จักรวาล (From Earth to the Universe) |
พฤษภาคม | จักรวาลอันเกรี้ยวกราด (Violent Universe ) |
มิถุนายน | โคโคมง : ผจญภัยในอวกาศ (Cocomong : A Space Adventure) |
กรกฎาคม | กว่าจะบินได้ (Flight Adventures) |
สิงหาคม | มหัศจรรย์แห่งออโรร่า (Experience the Aurora) |
กันยายน | ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New horizons) |
ข่าวสาร กิจกรรม บทความและนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ
กิจกรรมการประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย”
การประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” เชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” ประเภท สิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ โครงการกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับผู้สูงวัย “แฮปปี้…สูงวัย” ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยสามารถกรอก ใบสมัครลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ และส่งหลักฐานการสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 9 มิถุนายน 2566 รายละเอียดโครงการ : หลักเกณฑ์การประกวด หรือ สแกน QR Code ในรูปภาพเพื่อดูรายละเอียดและสมัครได้เลยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-3910544, 02-3920508 และ 061-8793919 (อ.เอส) , 0852609401 (อ.เบนซ์) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
เดจาวู ปรากฏการณ์อันน่าพิศวง
คุณเคยมีประสบการณ์รู้สึกราวกับว่าเคยอยู่ในเหตุการณ์ สถานที่ หรือบทสนทนาที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้หรือไม่ ถ้าเคยผู้คนมักเรียกอาการนี้ว่า “เดจาวู” โดยอาการเดจาวูคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ศึกษาได้จากข้อมูลต่อไปนี้ คำว่า “เดจาวู” (Déjà vu) มาจากภาษาฝรั่งเศส ปรากฏครั้งแรกในหนังสือ L’Avenir des science psychiques โดย เอมีล บัวรัค (Emile Boirac) นักปรจิตวิทยาชาวฝรั่งเศส ซึ่ง “เดจาวู” คือ อาการที่รู้สึกว่าเหตุการณ์ที่เพิ่งพบเจอนั้นคลับคล้ายคลับคลาว่าเคยพบเจอมาแล้ว เป็นประสบการณ์ทางจิต สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเวลาไม่ว่าหลับหรือตื่น ซึ่งปรากฏการณ์นี้มักถูกมองเป็นเรื่องปริศนาเหนือธรรมชาติที่ไม่สามารถหาข้อเท็จจริงมายืนยันได้ แต่นักวิทยาศาสตร์พยายามอธิบายการเกิดปรากฏการณ์เดจาวู โดยอ้างอิงจากทฤษฎี ดังนี้ 1. การเดินทาง โดยเดจาวูมักเกี่ยวข้องกับสถานที่ และผู้คนส่วนมากมักมีความรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาค่อนข้างรุนแรงทั้งที่ไปยังสถานที่นี้เป็นครั้งแรก ที่เป็นเช่นนี้ เพราะสถานที่ที่เราไม่รู้จักมักจะกระตุ้น “ความขัดแย้ง” ในความรู้สึกนึกคิด ว่ามีบางอย่างที่เราคุ้นเคยกับความตะหนักว่าสิ่งที่พบเจอนั้นไม่ใช่ความทรงจำ 2. การเรียกคืนหน่วยความจำ จากงานวิจัยที่จัดทำขึ้นโดย Anne Cleary นักวิจัยเดจาวูและศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจาก Colorado State University สนับสนุนทฤษฎีนี้ โดยหลักฐานที่บ่งชี้ว่าเดจาวูนั้นเกิดขึ้นได้ […]
ฟิสิกส์กับบอลลูน
บอลลูนลอยได้อย่างไร ยานพาหนะที่เคลื่อนที่อยู่บนท้องฟ้า นอกจากเครื่องบินแล้วบอลลูนก็เป็นอีกยานพาหนะที่บ่งบอกว่ามนุษย์เราในสมัยก่อนมีความใฝ่ฝันที่อยากจะบินได้เหมือนนก จนเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2326 มีการบันทึกการบินด้วยบอลลูนครั้งแรก โดยเกิดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นบอลลูนที่ทำจากกระดาษและผ้าไหม ออกแบบโดยโจเซฟ มงต์กอลฟิเยร์ (Joseph-Michel Montgolfier) และเอเตียน มงต์กอลฟิเยร์ (Jacques-Étienne Montgolfier) สองพี่น้อง นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส เป็นคนสร้างบอลลูนที่ขับเคลื่อนด้วยอากาศร้อน เดินทางที่ความสูง 500 ฟุตในอากาศ เป็นระยะทาง 5 1/2 ไมล์ ใช้เวลา 25 นาทีได้สำเร็จ โดยที่ส่วนประกอบของบอลลูนและหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้บอลลูนลอยได้ ศึกษาได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้ ถุงบอลลูน “Envelope” ทำจากผ้าไนลอนชนิด rip-stop nylon ที่ไม่ฉีกขาดง่าย ถักทอแบบร่างแห ทำให้มีน้ำหนักเบาและเหนียวทนทาน มีการเคลือบภายในด้วยพลาสติกเพื่อช่วยเก็บอากาศร้อน ต่อมาคือส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญของบอลลูน เรียกว่า “Burner” เป็นหัวเผาเชื้อเพลิง และส่วนสุดท้ายคือส่วนของตะกร้าโดยสาร เรียกว่า “Gondola” เป็นส่วนที่บรรทุกถังเชื้อเพลิง ผู้โดยสาร และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่าง ๆ ทำมาจากหวายถักแน่นอย่างแน่นหนาบนแกนเหล็กกล้า มีน้ำหนักเบา […]
ทำไมต้องใช้หินแกรนิต
เคยสังเกตแผ่นหินขนาดใหญ่ที่นำมาสลักเป็นป้ายชื่อประดับหน้าอาคาร แผ่นหินปูพื้น/ ผนัง หรือปูโต๊ะในห้องครัว หรือแม้กระทั่งหินแกะสลักเป็นรูปทรงต่าง ๆ ที่มักพบประดับตามสวนสาธารณะ ทราบหรือไม่ว่านั่นคือ หินแกรนิต หินแกรนิต (granite) คือ หินอัคนีชนิดหนึ่ง เกิดจากแมกมาเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ จึงทำให้แร่ที่เป็นส่วนประกอบในแมกมา มีเวลาจับตัวกันเป็นผลึกขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หินแกรนิต ประกอบด้วยแร่หลัก 3 ชนิด นั่นคือแร่ควอตซ์ (quartz) แร่เฟลด์สปาร์ (feldspar) และแร่สีเข้มที่มีประกอบเป็นส่วนน้อย เช่น แร่ฮอร์นเบลนด์ (hornblend) แร่ไพรอกซีน (pyroxene) เป็นต้น หินแกรนิตในธรรมชาติมักมีสีอ่อน ส่วนจะมีสีใดนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณและแร่ธาตุที่เข้าไปปะปนอยู่ในหิน เช่น แร่ควอตซ์ทำให้หินแกรนิตเป็นสีขาวหรือเทา แร่เฟลด์สปาร์ทำให้หินมีสีแดงหรือสีชมพู ส่วนแร่สีเข้มทำให้หินแกรนิตมีสีเข้มของสีเขียว สีน้ำตาลหรือสีดำ ของแร่แต่ละชนิดปะปน ทำให้เกิดลวดลายตามธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ การนำแกรนิตไปใช้ประโยชน์ ด้วยคุณสมบัติของแร่ประกอบหินแกรนิตแต่ละชนิด มีความทนทานต่อการผุกร่อนตามธรรมชาติหรือการขูดขีด เนื่องจาก แร่ควอตซ์ (quartz) มีความแข็งระดับ 7 ตามโมห์สเกล แร่เฟลด์สปาร์ (feldspar) มีความแข็งระดับ 6 ตามโมห์สเกล […]
Ventablack & Superwhite
“ในดำมีขาว ในขาวมีดำ ทุกสิ่งในโลกล้วนมีคู่ตรงข้ามกัน” ถ้าพูดถึงสีดำ สีดำที่ดำที่สุดนั่นก็คือ “แวนตาแบล็ก” (Vantablack) เป็นสีดำที่ดูดกลืนแสงสว่างได้ 99.96% ถูกคิดค้นขึ้นโดย นักวิจัยชาวอังกฤษในปี 2014 โครงสร้างของแวนตาแบล็ก ประกอบด้วยแท่งนาโนทิวบ์ขนาดเล็กจำนวนมากเรียงกันอย่างหนาแน่น แสงที่ตกกระทบจะสะท้อนไปมาระหว่างแท่งนาโนทิวบ์ ไม่สามารถสะท้อนกลับออกมาข้างนอกได้ ในที่สุดแสงจะถูกดูดซับและเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน วัตถุที่ดำมาก ๆ นี้ เป็นประโยชน์ต่อโครงการสำรวจอวกาศ เพราะมันจะช่วยกรองแสงที่ไม่ต้องการออกได้เป็นอย่างดี ทำให้กล้องโทรทรรศน์รับแสงจากอวกาศที่ไกลมาก ๆ ได้มากขึ้น เราก็จะเห็นอวกาศได้ไกลขึ้น ต่อมาในปี 2019 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์หรือเอ็มไอที (MIT) ของสหรัฐฯ เปิดตัววัสดุชนิดใหม่ที่มีสีดำมืดที่สุดในโลก โดยสามารถดูดกลืนแสงได้มากกว่า 99.995% ทำลายสถิติของสี“แวนตาแบล็ก” (Vantablack) ที่เคยครองแชมป์ความมืดทึบมาก่อนหน้านี้ เอ็มไอทีเผยว่า ยังไม่มีการตั้งชื่อให้กับวัสดุดังกล่าวซึ่งจัดเป็นคาร์บอนนาโนทิวบ์ (Carbon Nanotubes) ประเภทหนึ่ง โดยนักวิจัยด้านวิศวกรรมได้ค้นพบวัสดุนี้โดยบังเอิญ ขณะทำการทดลอง “เพาะ” สายคาร์บอนนาโนทิวบ์ให้เติบโตขึ้นบนวัสดุนำไฟฟ้าเช่นอะลูมิเนียม รายงานการค้นพบที่ตีพิมพ์ในวารสาร ACS Applied Materials & Interfaces ระบุว่า เมื่อคาร์บอนนาโนทิวบ์เรียงตัวกันเป็นเส้นในแนวตั้งบนแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ที่อยู่ในภาวะพิเศษ จนดูคล้ายกับ […]