พ.ศ. 2495 | จัดตั้งกองอุปกรณ์การศึกษา |
พ.ศ. 2501 | คณะกรรมการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ มอบอาคาร “ศาลาวันเด็ก”
ในบริเวณสนามเสือป่า |
พ.ศ. 2505 | คณะรัฐมนตรี อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการ โดย มล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สร้างท้องฟ้าจำลองกรุงเทพและหอดูดาว |
18 สิงหาคม 2507 | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด อาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ |
ธันวาคม 2514 | สภาคณะปฏิวัติมีมติเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ |
พ.ศ. 2515 | รัฐบาลโดยคณะปฏิวัติมีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการของประเทศใหม่ “กองอุปกรณ์การศึกษา” เปลี่ยนชื่อเป็น “กองพิพิธภัณฑ์การศึกษา” |
สิงหาคม 2518 | เริ่มการสร้างพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ |
เมษายน 2519 | ประกาศพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการใหม่ “กองพิพิธภัณฑ์กาศึกษา”เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา” ประกอบด้วยหน่วยงานหลัก คือ ศาลาวันเด็ก ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ |
กุมภาพันธ์ 2520 | การก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แล้วเสร็จ |
24 มีนาคม 2522 | ประกาศจัดตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยมีศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานในสังกัด |
9 สิงหาคม 2522 | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรง เปิดพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แห่งแรกของประเทศไทย |
พ.ศ.2537 | เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น “ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา” ในสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน |
7 กรกฎาคม 2546 | ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เปลี่ยนชื่อสังกัด จาก กรมการศึกษานอกโรงเรียน เป็นสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน |
1 ตุลาคม 2546 | รับการถ่ายโอนภารกิจการดูแลสนามกีฬาบ้านกล้วย มีพื้นที่จำนวน 10 ไร่ 10 ตารางวา ประกอบด้วย สระว่ายน้ำ และสนามเทนนิส พร้อมบ้านพักคนงาน จากสำนักพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
พ.ศ. 2551 | ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เปลี่ยนชื่อสังกัด จากสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน เป็น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 38 ไร่ 86 ตารางวา |
ข่าวสาร กิจกรรม และนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ
Summer Camp 2021 : ค่าย ICT for Kids เรียนฟรี ! …. มีของแถม
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ขอเชิญชวนน้อง ๆ หนู ๆ ร่วมกิจกรรมค่ายฤดูร้อน Summer Camp 2021 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ค่าย ICT for Kids 2564 – เรียนรู้และทดลองด้วย Micro:bit เหมาะสำหรับเด็ก เยาวชน อายุระหว่าง 9-12 ปี ICT (Information and Communication Technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และระบบการสื่อสารต่างๆ ซี่ง ICT มีประโยชน์ในการทำให้การทำงานต่างๆ ทันสมัย รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ช่วยให้การติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลกในระยะเวลาอันสั้นและมีประสิทธภาพ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อีกมากมายทั้งในด้านอุตสาหกรรม ธุรกิจ และในชีวิตประจำวันในปัจจุบัน เพื่อพัฒนาความรู้เบื้องต้นและพื้นฐานของ ICT เพื่อเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและการใช้เครื่องมือ […]
กิจกรรมหมุนเวียน นิทรรศการ Fun Science ธันวาคม 2563 – มีนาคม 2564
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา โดยกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดกิจกรรมหมุนเวียน ระหว่างเดือนธันวาคม 2563 – มีนาคม 2564 ภายในนิทรรศการ Fun Science วิทยาศาสตร์แสนสนุก ที่จะสร้างความสนุกให้กับทุกคน โดยมีรายชื่อกิจกรรมดังนี้ ธันวาคม 2563 กิจกรรมลูกแก้วกัมปนาท มกราคม 2564 กิจกรรมรหัสคืออะไร? กุมภาพันธ์ 2564 กิจกรรมสมการไม้ขีดไฟ มีนาคม 2564 กิจกรรม Ultrasonic Sensor ในชีวิตประจำวัน ท่านสามารถร่วมสนุกได้ที่นิทรรศการ Fun Science ชั้น 1 อาคารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (อาคาร 4) จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
นิทรรศการความตระหนักรู้ด้านพลังงาน (Energy Literacy)
ปิดนิทรรศการเนื่องจากปรับปรุงอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อาคาร 2) และบริเวณโดยรอบ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2391-0544, 0-2392-0508, 0-2392-1773 ในวันและเวลาราชการ นิทรรศการความตระหนักรู้ด้านพลังงาน (Energy Literacy) ดำเนินงานภายใต้โครงการสร้างกระบวนการความคิดในการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนและพัฒนาวิชาชีพด้านพลังงานแก่ประชาชน (Energy for Life) ได้รับการสนันสนุนงบประมาณจากกระทรวงพลังงานโดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นคณะที่ปรึกษาดำเนินโครงการเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมตามกรอบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านพลังงานแก่ประชาชนระหว่างสำนักงาน กศน.และกระทรวงพลังงาน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557 เรื่องการพัฒนาต้นแบบแหล่งเรียนรู้พลังงานโดยใช้ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเป็นศูนย์กลางเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป เห็นความสำคัญของการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ร่วมกันอนุรักษ์พลังงานและสามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ นิทรรศการความตระหนักรู้ด้านพลังงาน จัดแสดงภายใต้แนวคิด “รู้ปัญหา รู้ความจริง ร่วมแก้ไข”เป็นนิทรรศการมีชีวิต มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม และสร้างประสบการณ์เรียนรู้ด้วยตนเองแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1) เครื่องตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ (Weather Station System)ให้ความรู้เรื่องสภาพภูมิอากาศและศักยภาพพลังงาน มีการแสดงข้อมูลแบบ real-time จากเครื่องตรวจวัดสภาพภูมิอากาศของจริงที่ติดตั้งอยู่ภายนอกอาคาร 2) ความตระหนักรู้ด้านพลัง (Energy Literacy) จัดแสดง 3แนวคิดสำคัญในเรื่องความตระหนักรู้ด้านพลังงานคือ “รู้ปัญหา รู้ความจริง ร่วมแก้ไข”และให้ความรู้เรื่องพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่การจัดหา การส่งผ่าน และการใช้งานจัดแสดงผ่านชุดโมเดลจำลองพร้อมสื่อประสมเชิงโต้ตอบ […]
นิทรรศการโลกของแมลง (Insect world exhibition)
ให้ความรู้เกี่ยวกับแมลงซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนและชนิดมากที่สุดในโลก โดยเริ่มตั้งแต่วิวัฒนาการ โครงสร้าง ชีวิตความเป็นอยู่ที่น่าสนใจของแมลงบางชนิด ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ในแง่ที่เป็นประโยชน์โดยเป็นแหล่งอาหาร และเป็นตัวควบคุมพืช Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine