
การจำแนกประเภทดินและแร่ แสดงประโยชน์ของแร่ แสดงแร่ที่มีความพิเศษ แสดงแร่ที่ใช้ทำเครื่องประดับ แสดงฟอสซิล
การจำแนกประเภทดินและแร่ แสดงประโยชน์ของแร่ แสดงแร่ที่มีความพิเศษ แสดงแร่ที่ใช้ทำเครื่องประดับ แสดงฟอสซิล
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ร่วมกับสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมจัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 19 (Science Film Festival 2023) ภายใต้แนวคิด “ทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการฟื้นฟูระบบนิเวศ” United Nations Decade on Ecosystem Restoration 2021-2030 ในปี พ.ศ. 2566 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้เป็นพันธมิตรสนับสนุนอย่างเป็นทางการของทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการฟื้นฟูระบบนิเวศโดยหัวข้อของแคมเปญนี้คือการเรียกร้องให้มีการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศทั่วโลก ทศวรรษแห่งสหประชาชาตินั้นเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2573 ซึ่งถือเป็นเส้นตายสำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นไทม์ไลน์ที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะสามารถป้องกันวิกฤติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง การฟื้นฟูระบบนิเวศหมายถึงการช่วยให้ระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมหรือถูกทำลายคืนสภาพ รวมทั้งอนุรักษ์ระบบนิเวศที่ยังคงสภาพสมบูรณ์เอาไว้เทศกาลนี้จัดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 สำหรับประเทศไทย จัดขึ้นในช่วง 1 พฤศจิกายน ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
พืชใช้แสงจากดวงอาทิตย์ในการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นกระบวนการที่พืชแปลงพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมี เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของพืช โมเลกุลที่พืชใช้ในการดูดซับแสง เรียกว่า รงควัตถุ (pigments) หรือสารสี ซึ่งสารสีแต่ละชนิดมีการดูดซับช่วงคลื่นแสงที่แตกต่างกัน โดยสารสีที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ สารสีเขียวหรือคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) สามารถดูดซับคลื่นในช่วงแสงสีแดงและสีน้ำเงินได้มากกว่าช่วงคลื่นแสงสีเขียว ทำให้เราสามารถมองเห็นพืชเป็นสีเขียว เนื่องจากการสะท้อนของคลื่นแสงสีเขียวที่อยู่ในช่วงแสงที่ตามองเห็นได้ สารสีอื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์แสง คือ แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งดูดซับแสงในช่วงคลื่นแสงสีน้ำเงิน – เขียว และสะท้อนช่วงแสงสีเหลืองหรือเหลือง – ส้ม ทำให้เราจะเห็นพืชมีสีเหลืองส้มหลังจากการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ แสงสีแต่ละสีที่พืชดูดซับมีผลต่อการเจริญเติบโตต่างกัน โดยมีการศึกษาวิจัยพบว่า แสงสีน้ำเงิน (400–520 นาโนเมตร) มีผลต่อปริมาณของคลอโรฟิลล์และการเจริญเติบโตของใบพืช รวมทั้งการสร้างรากในระยะแรกของพืช (veg stage/ growth) แต่ไม่ควรให้แสงสีฟ้ามากเกินไปในพืชบางชนิด เพราะอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ แสงสีแดง (630–660 นาโนเมตร) จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลำต้นและการขยายตัวของใบ รวมทั้งมีผลกับพืชเมื่ออยู่ในช่วงที่เริ่มออกดอก (flowering) จึงเหมาะกับพืชที่เราต้องการผลมากกว่าพืชใบ แสงสีเขียว (500–600นาโนเมตร) ถึงแม้พืชจะนำมาใช้น้อยที่สุด แต่ก็มีผลกับใบพืชที่อยู่ด้านล่าง เนื่องจากแสงสีเขียวทะลุผ่านได้ดีกว่า ทำให้พืชได้รับแสงอย่างทั่วถึง จะเห็นได้ว่าพืชยังคงต้องการแสงในทุกช่วงคลื่นแสงสำหรับการสังเคราะห์แสง […]
ในปัจจุบันแมวหรือเจ้าเหมียว เป็นสัตว์เลี้ยงอีกชนิดหนึ่งที่บรรดาคนรักสัตว์ทั้งหลายอยากจะเป็นเจ้าของ ด้วยนิสัยที่ขี้อ้อนและชอบคลอเคลียของมัน ทำให้หลายคนตกหลุมรักและยอมเป็นทาสแมวโดยไม่รู้ตัว เคยสงสัยบ้างไหมว่าทำไมแมวถึงชอบคลอเคลีย การที่แมวเอาส่วนหัว ส่วนสีข้างตัวหรือส่วนหางมาถูคลอเคลียกับเรานั่นหมายความว่าแมวต้องการทิ้งกลิ่นของตัวเองเอาไว้ โดยในตัวของแมวมีต่อมกลิ่น (Glands) มากมายหลายจุดในร่างกายถูกสร้างขึ้นเพื่อให้แมวมีกลิ่นเฉพาะตัว โดยมีต่อมกลิ่นสำคัญ ๆ 5 จุด กลิ่นเหล่านี้ กระจายติดตามร่างกายของผู้ที่แมวเข้าไปคลอเคลียเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ นอกจากนั้นยังเป็นหนึ่งในการแสดงความอ่อนโยนและเป็นมิตรของแมวอีกด้วย ดังนี้ 1. ต่อมขมับ ต่อมขมับแมวจะใช้ต่อมกลิ่นนี้ถูวัตถุต่าง ๆ รวมทั้งคนเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของและกลิ่นจากขมับหรือหน้าผากยังช่วยบอกตำแหน่งและทำเครื่องหมายเวลาเดินทางไปที่ต่าง ๆ 2. ต่อมแก้ม ต่อมแก้มแมวบางตัวมี 2 ต่อม บางตัวมี 1 ต่อม ทำหน้าที่เหมือนต่อมขมับ 3. ต่อมใต้ขากรรไกร ต่อมใต้ขากรรไกรมี 1 จุดกึ่งกลางของคางพอดีจะผลิตน้ำมันที่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ทำหน้าที่แบบเดียวกับต่อมขมับและต่อมแก้ม 4. ต่อมอุ้งเท้า ต่อมอุ้งเท้ามี 4 จุดตามเท้าแต่ละข้างเป็นต่อมให้กลิ่นแรงสุด กลิ่นจะทำหน้าที่ทันทีเมื่อแมวเหยียดและกางเล็บออกโดยการ “ฝนเล็บ” เป็นการกระจายกลิ่นอุ้งเท้าเพื่อแสดงอาณาเขตและความเป็นเจ้าของ 5. ต่อมหาง ต่อมหางอยู่ทั่วบริเวณหางจะผลิตกลิ่นเวลาแมวใช้หางในการสื่อสาร ถ้าแมวโกรธหางฟูตั้งตรงแข็งบริเวณหางก็จะกระจายกลิ่นให้ตัวอื่นรับรู้ด้วย อ้างอิง ทำไมแมวจึงชอบคลอเคลียที่ขาของเรา ทำไมแมวถึงชอบคลอเคลีย..เอาตัวมาถู..เข้ามาอ้อน https://bit.ly/3f1ZJNh Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
หลายคนคงเคยสังเกตเห็นเวลาเราดื่มน้ำเย็น จะมีหยดน้ำเกาะข้างแก้วน้ำหรือขวดพลาสติก แล้วเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า หยดน้ำนั้นมาจากไหน บางคนอาจคิดว่าเป็นน้ำที่อยู่ในแก้วหรือขวดพลาสติกซึมออกมา แต่จริง ๆ แล้วหยดน้ำที่เกาะอยู่ข้างภาชนะนั้น เป็นน้ำที่มาจากไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศ! ไอน้ำ (vapor) คือน้ำที่อยู่ในสถานะแก๊ส หากอากาศมีปริมาณไอน้ำอยู่มาก แสดงว่ามีความชื้น (humidity) สูง แต่ถ้ามีไอน้ำน้อยแสดงว่ามีความชื้นต่ำ เมื่อวางแก้วน้ำเย็นไว้บนโต๊ะ ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศเจอกับความเย็นที่ผิวแก้ว จะเกิดการควบแน่น (condensation)โดยถ่ายเทพลังงานภายในออกมาในรูปของการคายความร้อนแฝง ทำให้เปลี่ยนสถานะจากแก๊สกลายมาเป็นของเหลว จึงทำให้เราพบเห็นหยดน้ำที่เกาะอยู่ข้างแก้วได้นั่นเอง อ้างอิง การเปลี่ยนสถานะของน้ำ ความชื้นสัมพัทธ์ Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
เพื่อนๆ รู้ไหมครับ ไฟฟ้าคืออะไร ไฟฟ้ามาจากไหน ไฟฟ้ามาถึงเราได้อย่างไร พบกับเรื่องราวของไฟฟ้าตั้งแต่จุดเริ่มต้นของโลกจนมาเป็นไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ด้วยรูปแบบที่ทันสมัย สนุกสนาน และน่าตื่นตาตื่นใจ Zone 1 วิวัฒนาการไฟฟ้า (The Evolution of Electricity) พบกับประวัติความเป็นมาของไฟฟ้าโลก (War of Currents) และต้นกำเนิดไฟฟ้าไทย “แสงแรกแห่งสยาม” Zone 2 หลักการเกิดไฟฟ้า (Principles of Electricity) สนุกกับการทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้า เช่น แหล่งกำเนิดไฟฟ้า การต่อวงจรไฟฟ้า ชุดทดลองไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้าช็อตและเกมแข่งขันผลิตไฟฟ้า (Megawatt Racing) Zone 3 เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า (Electricity Generation Technologies) เรียนรู้กระบวนการผลิตไฟฟ้าและเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าแต่ละประเภท รู้จักการเลือกใช้เชื้อเพลิงที่เหมาะสมและสนุกกับเกมโรงไฟฟ้า Zone 4 ไฟฟ้ามาถึงเราได้อย่างไร (How Does Electricity Come to Our Houses ?) […]