ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่
ทั้งนี้ ได้จัดพิธีมอบรางวัลแก่
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่
ทั้งนี้ ได้จัดพิธีมอบรางวัลแก่
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยส่วนวิชาการ กลุ่มงานท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง ด้วยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการ ผ่านเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย และจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม รอบละประมาณ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คนต่อ 1 รอบการแสดง ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ในภาพยนตร์เต็มโดม เดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons) ภาพยนตร์ความยาว 23 นาที นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับดาวเคราะห์ที่ชื่อว่า “โลก” ว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เราพบสื่งมีชีวิต แต่เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะอพยพไปอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ต้านแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวพฤหัส และตื่นตากับความสวยงามของดาวเสาร์ แล้วลองตัดสินใจว่าดาวเคราะห์ดวงไหนที่เราอยากไปอยู่ พากษ์เสียงภาษาไทยโดย คุณฉันทวิทย์ ธนะเสวี (เต๋อ) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ภาพมองตาม (hollow-face illusion) เป็นภาพลวงตา (optical illusion) ที่น่าทึ่ง เมื่อเรามองไปที่ภาพใบหน้าคน ในขณะที่เรายืนห่างออกมา 3-5 เมตร จะเห็นว่าภาพนั้นหันหน้ามองมาทางเรา แต่เมื่อเราเดินไปทางซ้าย หรือเดินไปทางขวา พบว่าภาพนั้นหันหน้าตามเรามาด้วย ภาพสามารถหันหน้าตามเราได้จริง ๆ หรือว่าเราตาฝาดกันแน่ ในการเห็นภาพต่าง ๆ นั้น มีความสัมพันธ์กับกระบวนการทางสมองของเรา สมองรู้ว่าหน้าเป็นทรงนูน (convex) ไม่ใช่ทรงเว้า (concave) โดยอันที่จริงแล้ว ภาพมองตาม เป็นภาพที่เว้า (hollow) ลึกเข้าไป แต่ด้วยกระบวนการของสมองเห็นว่าภาพเป็นหน้าทรงนูน และเมื่อเราเคลื่อนที่ไป เงา (shadow) บนหน้าของภาพลวงตาที่เปลี่ยนไปทำให้เห็นว่าภาพหันหน้าตามเรามา มาพบกับ ภาพมองตาม ได้ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ กันนะครับ อ้างอิง https://1th.me/hSz3i Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
หากใครที่ชอบเที่ยวงานวัดหรืองานเทศกาลต่าง ๆ น่าจะเคยเห็นโชว์หนึ่งที่สร้างความตื่นตาตื่นใจกับคนในงานอย่างมาก นั่นคือ การแสดงท้าวหัวข่อหล่อ (ท้าวหัวข่อหล่อ – ตัวละครในนิทานพื้นบ้านของลาวผู้มีแค่หัวกับคอ) หรือก็คือ การโชว์คนที่มีแต่หัว!! ซึ่งมีแต่หัวจริง ๆ และยังไม่ได้ตายอะไรด้วย สีหน้าสายตายังมองได้แบบคนทั่วไป เพียงแค่มีหัวของเขาอย่างเดียวเท่านั้นวางอยู่บนโต๊ะ!! การแสดงนี้ถือว่าสร้างความประหลาดใจกับผู้ชมจนต้องยอมเสียค่าใช้จ่ายเข้าไปดู ใครเล่าจะมีแค่หัวแต่ยังไม่ตายแบบนี้ได้ ทว่าแท้จริงแล้วการแสดงนี้เป็นมายากลในรูปแบบหนึ่งที่ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแสงและกระจกเงา การแสดงท้าวหัวข่อหล่อใช้หลักการสะท้อนของกระจกเงาราบ โดยมีกระจกติดอยู่ที่แต่ละด้านของโต๊ะ สะท้อนภาพให้เหมือนกับว่าใต้พื้นไม่มีอะไร มีแค่หัววางไว้บนโต๊ะเพียงอย่างเดียว ซึ่งขาของโต๊ะที่เห็นเป็นส่วนที่ทำไว้หลอกตา ให้มองไม่ออกว่าด้านที่เห็นนั้นเป็นกระจกเงา การสะท้อนของแสงจะทำให้เกิดมุม 2 มุมคือ มุมตกกระทบ และมุมสะท้อน โดยมุมตกกระทบจะเท่ากับมุมสะท้อนเสมอ ภาพที่เกิดขึ้นจากการสะท้อนของกระจกเงาราบจะเป็นภาพเสมือนหัวตั้งกลับซ้ายขวาขนาดเท่าวัตถุ นอกจากรูปแบบที่ใช้กระจกเงาสะท้อนทั้งสามด้านในลักษณะนี้แล้ว ยังมีการวางกระจกสองบานตั้งเป็นมุม แล้วจัดตำแหน่งให้อยู่ทางมุมห้องหรือมีฉากกั้นด้านหลัง ทำให้มองเห็นแบบเหลือแต่หัวด้วยหลักการสะท้อนของกระจกเช่นเดียวกัน อ้างอิง ท้าวหัวข่อหล่อ ตามงานวัด เค้าทำกันยังไงค่ะ ?!?!?! เฉลยกลคนมีแต่หัว สิ่งมหัศจรรย์แห่งงานวัดกับการแฉกลที่รู้แล้วตายตาหลับ!! ง่าย ๆ แบบนี้เนี่ยนะ?! Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
จากข่าวการติดเชื้อโควิด-19 หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องการนำผู้ติดเชื้อต้องแยกให้อยู่ในห้องแรงดันลบ ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่ามันคือห้องอะไร แล้วมันแตกต่างจากห้องปกติอย่างไร ห้องแรงดันลบ (Negative Pressure Rooms) เป็นห้องกักกันเชื้อที่มีระบบระบายอากาศแยกจากส่วนอื่นๆ มีแรงดันอากาศภายในห้องน้อยกว่าภายนอกห้อง มีการควบคุมการไหลของอากาศไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายทำให้อากาศจากภายในห้องไม่ไหลออกมาสู่ภายนอก ระบบภายในห้องที่ใช้ดูดอากาศสู่ภายนอกก็ยังสามารถบำบัดอากาศด้วย HEPA Filter และฆ่าเชื้อโรคด้วย UVC และ Ozone ก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะได้อีกด้วย โดยห้องแรงดันลบนี้ไม่ได้มีไว้แค่ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 เท่านั้น แต่ยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้อีกด้วย อาทิ โรคไข้หวัดใหญ่ โรควัณโรค เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ก็ยังเป็นโรคติดต่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเป็นรูปแบบใหม่ของห้องฉุกเฉินในยุค new normal ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่มาใช้บริการได้เป็นอย่างดี อ้างอิง การระบายอากาศของห้องคนไข้แบบแยกเดี่ยว What are Negative Pressure Rooms? Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
โรคฝีดาษลิงคืออะไร โรคฝีดาษลิงหรือไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เป็นโรคที่ใกล้เคียงกับโรคอีสุกอีใสแต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับมีตุ่มผื่นตุ่มหนองทั่วตัว และต่อมน้ำเหลืองโต เกิดจากไวรัส Othopoxvirus ซึ่งเป็นไวรัสที่เกิดโดยธรรมชาติ พบในตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ โรคฝีดาษลิงมีต้นกำเนิดมาจากไหน เป็นโรคที่พบการระบาดครั้งแรกเมื่อ 60 ปีก่อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศคองโก โดยพบการติดเชื้อของสัตว์ตระกูลลิง พบที่แรกในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ที่ใช้ลิงในการทดลอง โรคฝีดาษลิงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์แอฟริกากลางมีความรุนแรงมากอาจถึงขั้นเสียชีวิตและสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก มีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์แอฟริกากลางมากซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ ณ ขณะนี้ โรคฝีดาษลิงติดต่อได้อย่างไร โรคฝีดาษลิง สามารถติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ได้โดยการสัมผัสทางผิวหนัง หรือผ่านเยื่อเมือก เช่น จมูก ปาก ตา ของสัตว์ที่ป่วยเป็นโรค การนำซากสัตว์ที่ป่วยมาปรุงอาหาร การถูกสัตว์ป่วยข่วน และการใช้เครื่องมือที่สัมผัสกับสัตว์ที่ป่วยได้อีกเช่นกัน โรคนี้จะมีระยะฟักตัวเฉลี่ย 7–14 วัน หรืออาจนานถึง 24 วัน แม้ว่าโรคฝีดาษลิงจะมีโอกาสติดจากคนสู่คนได้น้อย แต่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้สามารถเสียชีวิตได้ โดยมีอัตราการเสียชีวิต 1-10% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กเล็ก โรคฝีดาษลิงตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างไร แพทย์จะทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยวิธี PCR ของเหลวจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง หากพบว่าเป็นโรคฝีดาษลิง สามารถรักษาโดยให้ยาต้านไวรัส […]