งานอาคารสถานที่และบริการ |
---|
แบบฟอร์มการขอใช้สถานที่ |
ปฏิทินการจองห้อง |
แบบฟอร์มการขอใช้บริการ |
ข่าวสาร กิจกรรม บทความและนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ
ภาพยนตร์เต็มโดมประจำเดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons)
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยส่วนวิชาการ กลุ่มงานท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง ด้วยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการ ผ่านเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย และจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม รอบละประมาณ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คนต่อ 1 รอบการแสดง ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ในภาพยนตร์เต็มโดม เดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons) ภาพยนตร์ความยาว 23 นาที นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับดาวเคราะห์ที่ชื่อว่า “โลก” ว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เราพบสื่งมีชีวิต แต่เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะอพยพไปอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ต้านแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวพฤหัส และตื่นตากับความสวยงามของดาวเสาร์ แล้วลองตัดสินใจว่าดาวเคราะห์ดวงไหนที่เราอยากไปอยู่ พากษ์เสียงภาษาไทยโดย คุณฉันทวิทย์ ธนะเสวี (เต๋อ) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ห้องแรงดันลบ (Negative Pressure Rooms) คืออะไร
จากข่าวการติดเชื้อโควิด-19 หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องการนำผู้ติดเชื้อต้องแยกให้อยู่ในห้องแรงดันลบ ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่ามันคือห้องอะไร แล้วมันแตกต่างจากห้องปกติอย่างไร ห้องแรงดันลบ (Negative Pressure Rooms) เป็นห้องกักกันเชื้อที่มีระบบระบายอากาศแยกจากส่วนอื่นๆ มีแรงดันอากาศภายในห้องน้อยกว่าภายนอกห้อง มีการควบคุมการไหลของอากาศไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายทำให้อากาศจากภายในห้องไม่ไหลออกมาสู่ภายนอก ระบบภายในห้องที่ใช้ดูดอากาศสู่ภายนอกก็ยังสามารถบำบัดอากาศด้วย HEPA Filter และฆ่าเชื้อโรคด้วย UVC และ Ozone ก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะได้อีกด้วย โดยห้องแรงดันลบนี้ไม่ได้มีไว้แค่ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 เท่านั้น แต่ยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้อีกด้วย อาทิ โรคไข้หวัดใหญ่ โรควัณโรค เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ก็ยังเป็นโรคติดต่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเป็นรูปแบบใหม่ของห้องฉุกเฉินในยุค new normal ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่มาใช้บริการได้เป็นอย่างดี อ้างอิง การระบายอากาศของห้องคนไข้แบบแยกเดี่ยว What are Negative Pressure Rooms? Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ศูนย์สร้างสรรค์เยาวชน (กระจ่าง บริรักษ์นิติเกษตร)
เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสังกัดศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสื่อนิทรรศการโดยทำบทปฏิบัติการประกอบการเล่นเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี ให้บริการสื่อนิทรรศการภายในอาคาร จำนวน 10 ฐานและสื่อนิทรรศภายนอกอาคาร จำนวน 13 ฐาน นิทรรศการภายในอาคาร ผึ้งกับเสือ, การผจญภัยของหยดน้ำ, ชีวิตในน้ำ, ต้นไม้ ใบหญ้า พืช ผัก ผลไม้, กินให้ฉลาดและโตเร็ว, รู้จักตนเองและเพื่อน, จักรวาลและอวกาศ, สุขสบายคลายเหนื่อย, มุมรักการอ่าน, ฝากอะไรไว้ให้โลก นิทรรศการภายนอกอาคาร ผึ้งกับเสือ, เครื่องเล่นสนาม, เรียนรู้แรงดันน้ำ, เรียนรู้เรื่องสูตรคูณ, วาดฝันกับเม็ดทราย, เรียนรู้การทรงตัว, บ้านต้นไม้, เรียนรู้เลขคู่และคี่, เรียนรู้รูปทรงเรขาคณิต, ฐานสะกดรอย, เรียนรู้เรื่องมุม, เรียนรู้เรื่องจำนวน, เรียนรู้การขนส่งทางน้ำ, ลานนวดเท้า Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
Scratch โปรแกรมการเขียนโค้ดดิ้ง
เราจะมาทำความรู้จักกับโปรแกรมการเขียนโค้ดดิ้งในรูปแบบที่ใช้งานได้ง่าย สามารถสร้างเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหว เกม และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งโปรแกรมที่เราพูดถึง คือโปรแกรม Scratch นั่นเอง โปรแกรม Scratch คืออะไร Scratch อ่านว่า สะ-แครช เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานในรูปแบบของบล็อกคำสั่ง (Block Programming) แล้วนำมาต่อกันเพื่อสร้างรหัสคำสั่ง (Code) เพื่อสั่งให้โปรแกรม Scratch ทำงานตามที่ได้เขียนโปรแกรมไว้ สามารถนำมาใช้พัฒนาซอฟต์แวร์เชิงสร้างสรรค์ เช่น ภาพเคลื่อนไหว นิทานที่สามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ เกม ดนตรี และศิลปะ และเมื่อสร้างเป็นชิ้นงานแล้ว ยังสามารถนำชิ้นงานที่สร้างนี้ นำไปแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้ นอกจากนี้ โปรแกรม Scratch เปิดให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แปลเป็นภาษาต่าง ๆ กว่า 74 ภาษา และมีการเปิดสอนตั้งแต่ในโรงเรียนจนถึงมหาวิทยาลัย โดยการเข้าใช้งานมี 2 วิธี คือ การเข้าใช้งานแบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ https://scratch.mit.edu และการเข้าใช้งานแบบออฟไลน์ได้ที่เว็บไซต์ […]
ภาพติดตา…ก่อกำเนิดภาพยนตร์
ปัจจุบันความเครียดในช่วงโควิด 19 แพร่ระบาด เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่หลายคนต้องเผชิญ เมื่อต้องจัดการกับความเครียดนั้นมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือที่ชอบ การออกไปท่องเที่ยว แต่มีอีกหนึ่งวิธีที่ผู้คนเลือกที่จะทำเพื่อผ่อนคลายความเครียด นั่นคือการดูภาพยนตร์ที่ตนเองชอบ เพราะว่าการดูภาพยนตร์นั้นจะช่วยทำให้ร่างกายของเรามีการผ่อนคลาย รู้สึกเหมือนได้พักผ่อน ได้เรียนรู้กับภาพยนตร์ที่ฉายที่จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้นอยู่เสมอ แต่รู้หรือไม่ว่าภาพยนตร์ที่เราดูนั้นมีจุดกำเกิดมาจากอะไร สามารถศึกษาได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้ ภาพยนตร์ คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำมาฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้ว เป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมากที่แสดงอิริยาบถต่างๆ มาเรียงติดกันอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ชมมองเห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหว โดยใช้หลักการที่เรียกว่า “การเห็นภาพติดตา” (Persistence of vision) คิดค้นโดย Dr. John Ayrton Paris และเมื่อนำเอาภาพนิ่งเหล่านั้นมาฉายดูทีละภาพด้วยอัตราความเร็วในการฉายภาพต่อภาพเท่า ๆ กัน สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 1/15 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของเราจะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อย ๆ หากภาพต่อไปปรากฏในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยเฉพาะในกรณีที่ภาพแต่ละภาพเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพนิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกัน สำหรับเครื่องฉายภาพยนตร์เครื่องแรกของโลกที่เรียกว่า Kinetoscope ได้ถูกออกแบบในปี 1891 โดย William Kennedy Laurie […]