ตามที่ Amarin Baby & Kids เครือข่ายแม่ลูกในเครืออมรินทร์
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึ
ตามที่ Amarin Baby & Kids เครือข่ายแม่ลูกในเครืออมรินทร์
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึ
การประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” เชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” ประเภท สิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ โครงการกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับผู้สูงวัย “แฮปปี้…สูงวัย” ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยสามารถกรอก ใบสมัครลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ และส่งหลักฐานการสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 9 มิถุนายน 2566 รายละเอียดโครงการ : หลักเกณฑ์การประกวด หรือ สแกน QR Code ในรูปภาพเพื่อดูรายละเอียดและสมัครได้เลยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-3910544, 02-3920508 และ 061-8793919 (อ.เอส) , 0852609401 (อ.เบนซ์) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องของพลังเอนไซม์กำจัดคราบสกปรก จากโฆษณาผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก แต่รู้หรือไม่ว่า เอนไซม์ที่ใช้ในผงซักฟอกเป็นเอนไซม์ประเภทเดียวกับเอนไซม์ที่ใช้ในระบบย่อยอาหาร โดยหน้าที่ของเอนไซม์ คือ ช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมี ทำให้สารโมเลกุลใหญ่ถูกย่อยเป็นสารที่มีขนาดเล็ก เมื่อเติมเอนไซม์ลงในผงซักฟอกจึงทำให้ผงซักฟอกมีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบสกปรกขนาดใหญ่ที่เกาะติดกับเส้นใยผ้าถูกเอนไซม์ย่อยสลายเป็นอนุภาคขนาดเล็กแล้วหลุดออกจากเส้นใยผ้าได้ง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความร้อนสูงในการซักผ้า เพื่อให้คราบกำจัดออกได้ง่าย ซึ่งการใช้ความร้อนนี้มีผลเสีย ทำให้เส้นใยผ้าถูกทำลาย และมีสีซีด และอีกหนึ่งข้อดีของเอนไซม์คือเป็นสารที่มีขนาดเล็ก สามารถใช้ในปริมาณไม่มาก แต่มีประสิทธิภาพในการทำปฏิกิริยาซ้ำได้หลายรอบ เอนไซม์ที่ถูกเติมในผงซักฟอกมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีความจำเพาะในการย่อยสลายสารต่างประเภทกัน โดยเอนไซม์ที่นิยมนำมาเติมลงในผงซักฟอกมีหลัก ๆ 3 ชนิด คือ โปรติเอส (proteases) คือ เอนไซม์ที่มีหน้าที่ย่อยโปรตีนให้มีขนาดเล็ก โดยกระบวนการย่อยสลายโปรตีน (proteolysis) ตัดสายเพปไทด์ให้มีขนาดที่เล็กลง คราบโปรตีนบนเสื้อผ้าจึงหลุดออกได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น รอยเลือด, คราบหญ้า, ไข่, เหงื่อ และคราบอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรตีน อะไมเลส (α-amylases) คือ เอนไซม์ที่มีหน้าที่ย่อยแป้งให้มีขนาดเล็ก โดยใช้เพื่อกำจัดคราบอาหารเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของแป้ง เช่น แป้งพาสต้า, มันฝรั่ง, น้ำเกรวี่, ช็อกโกแลต, และอาหารเด็ก เป็นต้น นอกจากนี้อะไมเลสยังช่วยกำจัดคราบเจลที่เกิดจากการบวมของเม็ดแป้ง ทำให้เกิดคราบเหนียวจับกับฝุ่นละอองได้ง่าย และทำให้ผ้าไม่ขาวสะอาดอีกด้วย ไลเปส (lipase) […]
หากใครที่เคยรับประทานสับปะรดแบบผลสด นอกจากรสเปรี้ยวอมหวานที่หลาย ๆ คน ชื่นชอบกันแล้ว สำหรับบางคนอาจจะมีอาการ คัน แสบ หรือเกิดการระคายเคืองบริเวณลิ้น ขณะหรือหลังรับประทานสับปะรด ทำให้เกิดความกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อร่างกายของเราหรือไม่ ? วันนี้จะพามารู้จักเกี่ยวกับสารที่เกี่ยวข้องในสับปะรดกัน สับปะรดเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน เนื่องจากมีกรดซิตริก และกรดมาลิก เป็นองค์ประกอบ จึงทำให้สับปะรดมีรสเปรี้ยว ซึ่งกรดซิตริกสามารถพบได้ทั่วไปในพืชตระกูลส้มและผลไม้หลาย ๆ ชนิด เช่น ส้ม มะนาว เป็นต้น นอกจากนี้ภายในสับปะรด ยังพบเอนไซม์ตามธรรมชาติที่ชื่อว่า บรอมมีเลน (Bromelain) อยู่ในส่วนต่าง ๆ ของสับปะรด แต่พบปริมาณมากบริเวณแกนกลางผล มีคุณสมบัติในการย่อยสลายโปรตีน เมื่อเรารับประทานสับปะรดเข้าไปลิ้นของเราซึ่งมีโปรตีนธรรมชาติเคลือบอยู่ เอนไซม์ชนิดนี้จะทำการย่อยสลายโปรตีนที่ลิ้นของเราไปด้วย นั่นจึงทำให้บริเวณลิ้นเกิดการระคายเคือง รู้สึกแสบ คันได้ หลังจากนั้นลิ้นจะสร้างโปรตีนใหม่ขึ้นมาทดแทน นอกจากนี้สับปะรดยังมีแร่ธาตุ วิตามินซี วิตามินบี 2 ,3, 5 กรดโฟลิก แคลเซียม และอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งสับปะรดมีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ปัสสาวะขัด […]
ทองคำ แร่โลหะมูลค่าสูงมีประโยชน์มากมายทั้งใช้เป็นหลักประกันในการแลกเปลี่ยนเงินตราของนานาประเทศ ใช้ทำเครื่องประดับ ทำส่วนประกอบของเครื่องมือวิทยาศาสตร์และงานอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงสามารถใช้แปรเปลี่ยนเป็นเงินได้ในยามขัดสน และในบางครั้งทองคำถูกนำมาใช้ในด้านส่งเสริมความงาม ทองคำเสริมความงามจากภายในได้จริงหรือ ทอง เป็นแร่ธาตุโลหะตามธรรมชาติที่มีสมบัติเด่นคือ สีผิวและสีผงของแร่มีสีเหลืองทองเช่นเดียวกัน มีน้ำหนักตึงมือเนื่องจากมีค่าความถ่วงจำเพาะสูงถึง 15 – 19 ขึ้นอยู่กับมลทินที่ปะปนแล้ว มีความแข็งที่ประมาณ 2-3 ตามโมห์สเกล มีความวาวแบบโลหะ และยังมีความอ่อนตัวจึงสามารถทุบเป็นแผ่นบาง ดัดและดึงเป็นเส้นได้ ทองคำ พบได้ในหินเกือบทุกชนิด แต่พบในปริมาณน้อยเฉลี่ยเพียง 0.0035 กรัมต่อตันเปลือกโลกเท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีบางพื้นที่มีสภาพทางธรณีวิทยาเหมาะสมกับการเป็นแหล่งสะสมตัวทองคำ เช่นแหล่งทองคำที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดเลย มนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองคำหลากหลายรูปแบบ โดยมากจะเป็นประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจในทุกระดับ และยังมีการนำทองคำผสมในเครื่องสำอางต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าโดยอ้างสรรพคุณลดเลือนริ้วรอย ถึงแม้ว่าปัจจุบันวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ได้มีการค้นพบว่าทองคำสามารถต้านอนุมูลอิสระและรักษาการอักเสบของโรคเก๊าได้ดี จึงทำให้เกิดแนวคิดว่าหากนำทองคำมาใช้ในการต้านอนุมูลอิสระที่ผิวหนังน่าจะได้ผลดีเช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้ยังไม่มีงานวิจัยใดรองรับแนวคิดนี้ และถึงแม้ว่าทองคำบริสุทธิ์จะไม่ได้เป็นพิษต่อร่างกาย แต่สำหรับบางคนอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ และหากถูกสังเคราะห์ให้อนุภาคมีขนาดเล็กลงหรืออยู่ในรูปของเกลือและรับเข้าสู่ร่างกาย ก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายในและยับยั้งการสร้างเม็ดเลือดได้อีกด้วย จากคำถามที่ว่า “ทองคำเสริมความงามจากภายในได้จริงหรือ” เมื่อยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้รอบด้านถึงผลลัพธ์ที่จะตามมา รวมถึงความคุ้มค่าและเงินในกระเป๋าสตางค์ อ้างอิง แร่ : กรมทรัพยากรธรณีhttps://bit.ly/3kuDvE2https://bit.ly/3lMfDuJhttps://bit.ly/3AvJU7hhttps://bit.ly/3CD5qb7 Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE […]
ปิดนิทรรศการเนื่องจากปรับปรุงอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อาคาร 2) และบริเวณโดยรอบ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2391-0544, 0-2392-0508, 0-2392-1773 ในวันและเวลาราชการ นิทรรศการความตระหนักรู้ด้านพลังงาน (Energy Literacy) ดำเนินงานภายใต้โครงการสร้างกระบวนการความคิดในการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนและพัฒนาวิชาชีพด้านพลังงานแก่ประชาชน (Energy for Life) ได้รับการสนันสนุนงบประมาณจากกระทรวงพลังงานโดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นคณะที่ปรึกษาดำเนินโครงการเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมตามกรอบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านพลังงานแก่ประชาชนระหว่างสำนักงาน กศน.และกระทรวงพลังงาน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557 เรื่องการพัฒนาต้นแบบแหล่งเรียนรู้พลังงานโดยใช้ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเป็นศูนย์กลางเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป เห็นความสำคัญของการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ร่วมกันอนุรักษ์พลังงานและสามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ นิทรรศการความตระหนักรู้ด้านพลังงาน จัดแสดงภายใต้แนวคิด “รู้ปัญหา รู้ความจริง ร่วมแก้ไข”เป็นนิทรรศการมีชีวิต มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม และสร้างประสบการณ์เรียนรู้ด้วยตนเองแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1) เครื่องตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ (Weather Station System)ให้ความรู้เรื่องสภาพภูมิอากาศและศักยภาพพลังงาน มีการแสดงข้อมูลแบบ real-time จากเครื่องตรวจวัดสภาพภูมิอากาศของจริงที่ติดตั้งอยู่ภายนอกอาคาร 2) ความตระหนักรู้ด้านพลัง (Energy Literacy) จัดแสดง 3แนวคิดสำคัญในเรื่องความตระหนักรู้ด้านพลังงานคือ “รู้ปัญหา รู้ความจริง ร่วมแก้ไข”และให้ความรู้เรื่องพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่การจัดหา การส่งผ่าน และการใช้งานจัดแสดงผ่านชุดโมเดลจำลองพร้อมสื่อประสมเชิงโต้ตอบ […]