ตามที่กลุ่มวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ส่วนพิพิธภัณฑ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา สำนักงาน กศน. ได้จัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับเด็กเล็ก ในระดับอนุบาล 2-3 และระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 คณะกรรมการได้พิจารณาโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับเด็กเล็กทั้งหมดแล้ว จึงขอประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับเด็กเล็ก ในระดับอนุบาล 2-3 และระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 ดาวน์โหลดรายชื่อโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก
ข่าวสาร กิจกรรม บทความและนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ
กิจกรรมการประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย”
การประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” เชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” ประเภท สิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ โครงการกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับผู้สูงวัย “แฮปปี้…สูงวัย” ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยสามารถกรอก ใบสมัครลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ และส่งหลักฐานการสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 9 มิถุนายน 2566 รายละเอียดโครงการ : หลักเกณฑ์การประกวด หรือ สแกน QR Code ในรูปภาพเพื่อดูรายละเอียดและสมัครได้เลยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-3910544, 02-3920508 และ 061-8793919 (อ.เอส) , 0852609401 (อ.เบนซ์) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ทำไม “กอด” ถึงชาร์จพลังได้
อาการหมดไฟ หรือหมดพลังในการทำบางสิ่งบางอย่างที่ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เคยชื่นชอบ การเหนื่อยกับการทำงาน เหนื่อยกับการใช้ชีวิต สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสภาพจิตใจของคน ๆ นั้น อาจทำให้มีความคิดที่เลวร้าย เช่น การไม่อยากอยู่บนโลกนี้แล้วซึ่งนำไปสู่การพยายามฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายตัวเอง อาการเหล่านี้ใช่ว่าไม่สามารถรักษาหรือบรรเทาให้ดีขึ้นไม่ได้ สิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยได้โดยที่หลายคนอาจไม่รู้มาก่อนนั่นคือ การกอด การกอด คือ การแสดงความรักเป็นภาษากายที่ใช้ทักทายและบอกลาเพื่อน ครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงานที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย กอดมีค่ามากกว่าการเป็นสื่อแสดงความรัก เราสามารถเรียกการกอดได้ว่า “พลัง” เพราะขณะที่ร่างกายเรากำลังหมดแรง รู้สึกเหนื่อย ท้อแท้ หรือเศร้าใจ การได้กอดดี ๆ จากคนที่เรารักจะทำให้เรารู้สึกเหมือนได้ชาร์จแบตให้เต็มอีกครั้ง เนื่องจากการกอดเป็นการสัมผัสที่ช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียด ช่วยทำให้รู้สึกมั่นคง ปลอดภัยทางอารมณ์ เมื่อมีการสัมผัสไม่ว่าจะเป็นการจับมือหรือการกอดนานกว่า 20 วินาที เราจะรับรู้ถึงความรู้สึกนั้น และร่างกายก็จะมีการตอบสนอง โดยสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) จะผลิตสารเคมีที่เรียกว่า ออกซิโทซิน (Oxytocin) หรือฮอร์โมนแห่งความรัก ซึ่งปล่อยออกมาจากต่อมใต้สมอง ทำให้รู้สึกอบอุ่น รู้สึกดี นอกจากนี้ยังกระตุ้นการทำงานของฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง ทำให้ลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายได้ดีขึ้น ส่งผลให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แข็งแรง สุขภาพดี […]
หุ่นยนต์หลบสิ่งกีดขวางด้วย Ultrasonic Sensor
เซนเซอร์ที่ใช้งานในชีวิตประจำวันมีหลากหลายสามารถเลือกใช้ตามวัตถุประสงค์ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อตอบสนองความสะดวกสบายของมนุษย์นั่นเอง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเซนเซอร์ที่สามารถทำงานโดยหลบสิ่งกีดขวางได้นั่นก็คือ Ultrasonic Sensor หุ่นยนต์หลบสิ่งกีดขวางด้วย Ultrasonic Sensor สามารถทำงานได้โดยผ่านอุปกรณ์เซนเซอร์ที่มีชื่อว่า Ultrasonic Module HC-SR04 (เป็นชื่อเรียกของ เซนเซอร์ Ultrasonic) ทำหน้าที่เป็นเซนเซอร์วัดระยะทาง มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ สามารถวัดระยะทางได้ตั้งแต่ 2 เซนติเมตร ไปจนถึง 400 เซนติเมตร โดยใช้ภาษาซีควบคุมการทำงานของบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่มีชื่อว่า อาดุยโน่ (Arduino) สั่งการให้เซนเซอร์ตรวจจับการทำงานว่าจะวัดระยะของวัตถุที่เท่าไร (ในกรณีนี้กำหนดให้ภาษาซีสั่งการให้เซนเซอร์ตรวจวัดระยะทางที่ 30 เซนติเมตร) จากนั้น กำหนดให้อาดุยโน่สั่งการทำงานประสานกันระหว่างไอซีกับ เซนเซอร์ทำให้มอเตอร์ทำงานเคลื่อนที่ตามความเร็วที่ต้องการ พร้อมทั้งหลบสิ่งกีดขวางได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Ultrasonic Sensor เพื่อหลบหลีกสิ่งกีดขวางที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น หุ่นยนต์ดูดฝุ่นอัตโนมัติหรือใช้เป็นเซนเซอร์ที่สามารถวัดระยะทางการจอดรถในมุมที่เรามองไม่เห็นด้านหลังของรถได้ เป็นต้น อ้างอิง Ultrasonic Ranging Module HC – SR04 โปรเจคหุ่นยนต์หลบสิ่งกีดขวาง Arduino Nano Facebook iconFacebookTwitter […]
ฟิสิกส์กับบอลลูน
บอลลูนลอยได้อย่างไร ยานพาหนะที่เคลื่อนที่อยู่บนท้องฟ้า นอกจากเครื่องบินแล้วบอลลูนก็เป็นอีกยานพาหนะที่บ่งบอกว่ามนุษย์เราในสมัยก่อนมีความใฝ่ฝันที่อยากจะบินได้เหมือนนก จนเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2326 มีการบันทึกการบินด้วยบอลลูนครั้งแรก โดยเกิดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นบอลลูนที่ทำจากกระดาษและผ้าไหม ออกแบบโดยโจเซฟ มงต์กอลฟิเยร์ (Joseph-Michel Montgolfier) และเอเตียน มงต์กอลฟิเยร์ (Jacques-Étienne Montgolfier) สองพี่น้อง นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส เป็นคนสร้างบอลลูนที่ขับเคลื่อนด้วยอากาศร้อน เดินทางที่ความสูง 500 ฟุตในอากาศ เป็นระยะทาง 5 1/2 ไมล์ ใช้เวลา 25 นาทีได้สำเร็จ โดยที่ส่วนประกอบของบอลลูนและหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้บอลลูนลอยได้ ศึกษาได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้ ถุงบอลลูน “Envelope” ทำจากผ้าไนลอนชนิด rip-stop nylon ที่ไม่ฉีกขาดง่าย ถักทอแบบร่างแห ทำให้มีน้ำหนักเบาและเหนียวทนทาน มีการเคลือบภายในด้วยพลาสติกเพื่อช่วยเก็บอากาศร้อน ต่อมาคือส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญของบอลลูน เรียกว่า “Burner” เป็นหัวเผาเชื้อเพลิง และส่วนสุดท้ายคือส่วนของตะกร้าโดยสาร เรียกว่า “Gondola” เป็นส่วนที่บรรทุกถังเชื้อเพลิง ผู้โดยสาร และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่าง ๆ ทำมาจากหวายถักแน่นอย่างแน่นหนาบนแกนเหล็กกล้า มีน้ำหนักเบา […]
ฮันนี่แบดเจอร์ ท้าชนทุกเผ่าพันธุ์
หากใครที่ชอบเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์โลก เราจะพบสัตว์อยู่ชนิดหนึ่งที่มันไร้ซึ่งความกลัวใด ๆ พร้อมท้าชนกับสัตว์ทุกสายพันธุ์ ประมาณว่าต่อให้มันโดนล้อมด้วยสิงโต 4 ตัว มันก็สู้ยิบตา ไม่กลัวถูกกินอีกต่างหาก สัตว์ชนิดนี้ คือ ฮันนี่แบดเจอร์ (honey badger, Ratel) (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mellivora capensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ จัดอยู่ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ชนิดหนึ่ง (ไม่ได้เขียนผิด ไม่ใช่วงศ์พังพอน) รูปร่างเล็กราวหมาน้อยธรรมดา แต่ดันเป็นสัตว์ที่ไม่กลัวเกรงสิ่งมีชีวิตอื่นแม้แต่น้อย พร้อมบวกกับสายพันธุ์อื่นได้ทุกสถาบัน อย่างที่เห็นภาพและในคลิปวิดีโอหลายแห่ง เจ้าฮันนี่แบดเจอร์ต่อสู้กับสิงโตหลายตัวแบบไม่กลัวอะไรเลย ซึ่งตามปกติแล้วสัตว์อื่นต่างกลัวสิงโตกันทั้งสิ้น ไม่เพียงแค่นั้นฮันนี่แบดเจอร์ยังไม่กลัวพิษร้าย ในชื่อก็บอกแล้วว่าฮันนี่ คือ มันชอบกินน้ำผึ้งอย่างมาก เวลาไปเอาน้ำผึ้งโดนผึ้งต่อยแค่ไหนก็ไม่ระคายผิว กินได้อย่างสบาย หรือว่าจะเป็นพิษจากงูเห่า เพราะบางครั้งฮันนี่แบดเจอร์ก็กินงูเห่า และถึงโดนกัดแล้วจะมีอาการจนนอนฟุบไปบ้าง แต่สักพักก็ลุกขึ้นมากินงูเห่าที่เพิ่งจัดการต่อจนอิ่ม แล้วเดินออกไปแบบปกติเหมือนไม่ได้โดนพิษอะไร เหตุที่ฮันนี่แบดเจอร์ไม่กลัวอะไรเลย เป็นเพราะร่างกายของมันมีลักษณะพิเศษ ผิวหนังของฮันนี่แบดเจอร์มีความหนามาก ๆ หนาในระดับที่ว่าเขี้ยวเล็บของสัตว์อื่นแทงไม่เข้า จะบอกว่าต่อให้โดนหอกของมนุษย์แทงก็น่าจะไม่เข้าอีกด้วย แล้วพอผิวหนังหนาแบบนี้ มันเลยลุย ๆ แบบไม่กลัวอะไร โดนผึ้งต่อยก็เฉย ๆ แค่คัน ๆ […]