ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่
การประกวดการแสดงทางวิ
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่
การประกวดการแสดงทางวิ
การประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” เชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” ประเภท สิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ โครงการกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับผู้สูงวัย “แฮปปี้…สูงวัย” ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยสามารถกรอก ใบสมัครลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ และส่งหลักฐานการสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 9 มิถุนายน 2566 รายละเอียดโครงการ : หลักเกณฑ์การประกวด หรือ สแกน QR Code ในรูปภาพเพื่อดูรายละเอียดและสมัครได้เลยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-3910544, 02-3920508 และ 061-8793919 (อ.เอส) , 0852609401 (อ.เบนซ์) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
เมื่อฤดูฝนมาเยือน บรรยากาศของฝนตกหรือหลังฝนตกนั้น เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงนึกถึงบรรยากาศของความสดชื่น และได้กลิ่นที่คุ้นเคย เช่น กลิ่นไอดินที่ออกมาจากผิวดิน ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายและสดชื่นกลิ่นไอดิน คือ อะไร กลิ่นไอดินที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาฝนตกนั้นในทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า เพทริเคอร์ (Petrichor) ซึ่งกลิ่นนี้ไม่ได้เกิดจากดินกับน้ำฝน แต่เกิดจากจุลินทรีย์ที่ชื่อว่า สเตรปโตมัยซีส (Streptomyces) ผลิตสารชนิดหนึ่ง เรียกว่า จีโอสมิน (Geosmin) จุลินทรีย์ชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มแอคติโนมัยซีส (Actinomycetes) เป็นแบคทีเรียที่พบมากในดิน มีลักษณะรูปร่างเป็นเส้นใย โดยเส้นใยมีทั้งส่วนที่เจริญไปในแหล่งอาหารและชูขึ้นไปในอากาศ สืบพันธุ์โดยการใช้สปอร์ ในระบบนิเวศจะทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ เพื่อเป็นธาตุหมุนเวียนให้กับพืชและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน เมื่อแบคทีเรียชนิดนี้ตายลงจะสร้างสารจีโอสมิน (Geosmin) ขึ้นมา ในขณะที่ฝนตกลงมากระทบกับพื้นดิน จะเกิดการฟุ้งกระจายของสปอร์ของแบคทีเรียและลอยขึ้นไปในอากาศ พร้อมกับโมเลกุลของจีโฮสมิน จึงทำให้เราสัมผัสกลิ่นนี้ได้ นอกจากแบคทีเรียชนิดนี้แล้ว สารจีโอสมินยังพบในพืชบางชนิดที่จะผลิตออกมาในขณะที่ดินไม่มีน้ำหรือแห้งแล้งเพื่อชะลอการงอกของเมล็ดพืช ซึ่งเมื่อฝนตกก็จะผสมไปพร้อม ๆ กับสารจีโอสมินที่แบคทีเรียสร้างนั่นเอง หลังฝนตกทำไมเราจึงเห็นแมลงและสัตว์ต่าง ๆ ออกมาจากดินมากมาย กลิ่นไอดินมีประโยชน์อย่างไรต่อธรรมชาติ กลิ่นไอดินที่เราได้สัมผัสนั้น นอกจากมนุษย์ที่ได้กลิ่นนี้แล้ว ในธรรมชาติยังมีสัตว์อีกหลายชนิดที่มีความไวต่อกลิ่นนี้ นั่นคือ สัตว์จำพวกขาปล้อง เช่น มด […]
แผ่นกรองอากาศ HEPA ทำจากเส้นใยไฟเบอร์กลาสที่สานกันไปมาอย่างละเอียด ทำให้ดักจับฝุ่นได้ดียิ่งขึ้นแม้ว่าฝุ่นนั้นจะมีขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอน หลักการทำงานที่สำคัญ คือ Impaction อนุภาคบางส่วนติดหรือถูกจับเมื่อชนกับเส้นใยโดยตรง Interception อนุภาคบางส่วนที่ยังสามารถเคลื่อนไหวต่อไปได้ แต่ก็จะไปชนและถูกดักจับในเส้นใยชั้นถัดไป Diffusion อนุภาคขนาดเล็กเคลื่อนที่แบบไร้ทิศทาง ครั้งชนกันแล้วไปติดที่เส้นใย ดังนั้น เราจึงมักพบแผ่นกรองอากาศ HEPA ในขั้นตอนการทำงานของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกรองอากาศอยู่เสมอ เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศหรือในบางครั้งก็พบในเครื่องดูดฝุ่นอีกด้วย อ้างอิง http://www.shimono.in.th/hepa-fillter/https://www.explainthatstuff.com/hepafilters.htmlhttps://www.bioplusgroup.com/page/id/ตู้ปลอดเชื้อคืออะไร Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
หากพูดถึงสถานการณ์ของโรคระบาดไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทยกล่าวได้ว่ายังเป็นเรื่องที่ควรวิตกกังวล เนื่องจากพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งมีรายงานว่าพบผู้ป่วยโควิดจำนวนหนึ่งที่ไม่แสดงอาการป่วย แทบจะไม่มีอาการเหนื่อยหรือมีอาการบ่งชี้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แต่พบว่าปอดมีความผิดปกติ เมื่อตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดพบว่าระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำแต่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อความผิดปกตินี้ ส่งผลให้เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ อาการจึงรุนแรงกว่าที่คาดไว้ เราเรียกสภาวะนี้ว่า ภาวะพร่องออกซิเจนเรื้อรัง (Happyhypoxia) ดังนั้นเครื่องตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด หรือ Pulse Oximeter จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยติดตามอาการของผู้ป่วยโควิด 19 ทั้งผู้ป่วยที่รักษาตัวที่โรงพยาบาลและที่บ้าน เครื่องวัดออกซิเจนมีทั้งแบบตั้งพื้นและแบบพกพา ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะเครื่องวัดออกซิเจนพกพาแบบปลายนิ้ว หรือชื่อเต็มคือเครื่องตรวจวัดความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินจากชีพจร โดยจะบอกค่าโดยประมาณของระดับความอิ่มตัวออกซิเจนที่จับกับฮีโมโกลบินที่อยู่ภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งหากค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดสูง แสดงว่าอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายสามารถนำออกซิเจนในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ ในทางกลับกันหากค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดต่ำแสดงว่าอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย อีกทั้งค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดนี้ยังเป็นค่าสำคัญที่ใช้บอกประสิทธิภาพการทำงานของปอดด้วย ความอิ่มตัวของออกซิเจน (SpO2 ) คืออะไร ? ส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีหน้าที่นำออกซิเจนไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเรียกว่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) โดยทั่วไปแล้วฮีโมโกลบิน 1 โมเลกุล จะสามารถจับกับออกซิเจนได้ 4 โมเลกุล ในเม็ดเลือดแดงจะมีฮีโมโกลบินอยู่ 4 ชนิด ซึ่งเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วนี้จะตรวจวัดได้แค่ 2 ชนิด […]
รถยนต์ไฟฟ้าเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบัน ทดแทนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยใช้แหล่งพลังงานจากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งน้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่นับวันจะหมดไปเรื่อย ๆ รถยนต์ไฟฟ้าจะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าโดยใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่อาจเป็นแบตเตอรี่หรือแหล่งพลังงานอื่นโดยไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง ไม่ปล่อยคาร์บอนมอนอกไซด์ ไม่เกิดฝุ่นและเสียงรบกวน ถือว่าเป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (low carbon society) อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้าปัจจุบันยังมีทั้งแบบอาศัยเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในมาใช้ร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าทั้งในส่วนการขับเคลื่อนและผลิตพลังงานไฟฟ้าเก็บสะสมในแบตเตอรี่ หรือเป็นแบบที่ใช้เชื้อเพลิงอื่นอย่างแก๊สไฮโดรเจนมาผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงด้วยดังนั้น จึงแบ่งรถยนต์ไฟฟ้าออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% จากแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า โดยต้องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานภายนอก และไม่มีเครื่องยนต์ที่ต้องเผาไหม้เชื้อเพลิงจึงไม่มีการปล่อยไอเสียออกมา 2) รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมประกอบไปด้วยเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนเป็นหลัก ร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมแบตเตอรี่ ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่ำกว่ารถยนต์ทั่วไป ไม่มีช่องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานภายนอก 3) รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in Hybrid Electric Vehicle: PHEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนามาจากแบบไฮบริด แต่มีช่องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานภายนอกได้สามารถวิ่งได้ระยะทางที่ไกลกว่าแบบไฮบริด 4) รถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric […]