เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2562 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่ อการศึกษา สำนักงาน กศน. ได้ให้การต้อนรับคณะครูระดับชั้ นมัธยมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิ ทยาศาสตร์ ประเทศบังคลาเทศ เข้าศึกษาดูงาน โดยคณะครูได้เยี่ ยมชมนิทรรศการ ชมการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ เช่น การสกัด DNA จากผักและผลไม้ กิจกรรมมนต์เปลี่ยนสี ซึ่งเป็นการทดสอบความเป็นกรด ด่าง จากสารในชีวิตประจำวัน พร้อมแนะนำสื่อการเรียนการสอนที่ หาได้ง่ายจากสิ่งของรอบตัว นอกจากนี้กลุ่มวิทยาศาสตร์และเท คโนโลยี ส่วนพิพิธภัณฑ์ ได้ทำการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) เพื่อเพิ่มเติมความรู้ และประสบการณ์ที่จะนำไปใช้พั ฒนารูปแบบการเรียนการสอนในห้ องเรียน จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่ วกัน ชมภาพคณะครูวิทยาศาสตร์จากบังคลาเทศเข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
ข่าวสาร กิจกรรม บทความและนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ
กิจกรรมการประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย”
การประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” เชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” ประเภท สิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ โครงการกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับผู้สูงวัย “แฮปปี้…สูงวัย” ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยสามารถกรอก ใบสมัครลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ และส่งหลักฐานการสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 9 มิถุนายน 2566 รายละเอียดโครงการ : หลักเกณฑ์การประกวด หรือ สแกน QR Code ในรูปภาพเพื่อดูรายละเอียดและสมัครได้เลยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-3910544, 02-3920508 และ 061-8793919 (อ.เอส) , 0852609401 (อ.เบนซ์) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
หน่วยฐาน (base unit)
หน่วยฐาน (base unit) เป็นปริมาณหลักของระบบเอสไอ (International System of Units หรือ SI units) และยังเป็นหน่วยการวัดพื้นฐานของหน่วยวัดอื่น ๆ ทั้งหมดทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีทั้งหมด 7 ปริมาณ ได้แก่ มวล ความยาว เวลา กระแสไฟฟ้า อุณหภูมิอุณหพลวัต ความเข้มของการส่องสว่าง และปริมาณสาร โดยมีสัญลักษณ์ปริมาณ หน่วยฐาน และตัวย่อหน่วยฐาน ดังภาพ ในสมัยก่อนหน่วยที่ใช้สำหรับวัดปริมาณต่าง ๆ มีหลายระบบ เช่น ระบบอิมพีเรียล ระบบเมตริก หรือ ระบบของไทย เป็นต้น ทำให้ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ต่อมาในปีพ.ศ. 2503 จึงมีการจัดทำหน่วยวัดรูปแบบใหม่ของระบบเมตริกขึ้นในที่ประชุม CGPM (General Conference on Weights and Measures) ซึ่งหน่วยวัดรูปแบบใหม่นี้มีชื่อว่า ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศหรือระบบเอสไอ (International System of Units […]
สนทนาภาษามด
เราคงเคยเห็นมดเดินตามกันเป็นแถวยาวไปยังแหล่งอาหาร เมื่อมดตัวหนึ่งพบอาหารแล้ว มันมีวิธีบอกมดตัวอื่น ๆ ในรังอย่างไรว่าแหล่งอาหารของพวกมันอยู่ที่ไหน ภายในรังมดมืด และมดมีการมองเห็นไม่ดีนักฉะนั้น การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญ และยังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของพวกมันด้วย มดสื่อสารโดยใช้สารเคมีในร่างกาย ที่เรียกว่า “ฟีโรโมน” ส่งผ่านอวัยวะรับสัมผัสและรับกลิ่น คือ “หนวด” มดใช้ฟีโรโมนในร่างกาย ซึ่งจะมีกลิ่นแตกต่างกันไป มดงานจะออกจากรังไปหาอาหาร เมื่อพบแหล่งอาหาร มันจะกินจนอิ่มแล้วเดินทางกลับรัง ระหว่างนั้นมันจะผลิตฟีโรโมนออกมา เมื่อพบมดตัวอื่น มันจะใช้หนวดสัมผัสเพื่อให้มดอื่น ๆ ตามกลิ่นออกมาจากรัง และเดินทางไปยังแหล่งอาหาร ซึ่งเราอาจเรียกว่า “เส้นทางมด” มดใช้ “ฟีโรโมน” เป็นภาษาในการสนทนา และสิ่งนี้เอง ที่ทำให้มดเดินตามกันเป็นแถวอย่างมีระเบียบไปยังแหล่งอาหาร และนำอาหารกลับมายังรังโดยไม่หลงทาง อ้างอิง https://bit.ly/3qSXw8xwww://biology.ipst.ac.th/?p=723 Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
Ventablack & Superwhite
“ในดำมีขาว ในขาวมีดำ ทุกสิ่งในโลกล้วนมีคู่ตรงข้ามกัน” ถ้าพูดถึงสีดำ สีดำที่ดำที่สุดนั่นก็คือ “แวนตาแบล็ก” (Vantablack) เป็นสีดำที่ดูดกลืนแสงสว่างได้ 99.96% ถูกคิดค้นขึ้นโดย นักวิจัยชาวอังกฤษในปี 2014 โครงสร้างของแวนตาแบล็ก ประกอบด้วยแท่งนาโนทิวบ์ขนาดเล็กจำนวนมากเรียงกันอย่างหนาแน่น แสงที่ตกกระทบจะสะท้อนไปมาระหว่างแท่งนาโนทิวบ์ ไม่สามารถสะท้อนกลับออกมาข้างนอกได้ ในที่สุดแสงจะถูกดูดซับและเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน วัตถุที่ดำมาก ๆ นี้ เป็นประโยชน์ต่อโครงการสำรวจอวกาศ เพราะมันจะช่วยกรองแสงที่ไม่ต้องการออกได้เป็นอย่างดี ทำให้กล้องโทรทรรศน์รับแสงจากอวกาศที่ไกลมาก ๆ ได้มากขึ้น เราก็จะเห็นอวกาศได้ไกลขึ้น ต่อมาในปี 2019 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์หรือเอ็มไอที (MIT) ของสหรัฐฯ เปิดตัววัสดุชนิดใหม่ที่มีสีดำมืดที่สุดในโลก โดยสามารถดูดกลืนแสงได้มากกว่า 99.995% ทำลายสถิติของสี“แวนตาแบล็ก” (Vantablack) ที่เคยครองแชมป์ความมืดทึบมาก่อนหน้านี้ เอ็มไอทีเผยว่า ยังไม่มีการตั้งชื่อให้กับวัสดุดังกล่าวซึ่งจัดเป็นคาร์บอนนาโนทิวบ์ (Carbon Nanotubes) ประเภทหนึ่ง โดยนักวิจัยด้านวิศวกรรมได้ค้นพบวัสดุนี้โดยบังเอิญ ขณะทำการทดลอง “เพาะ” สายคาร์บอนนาโนทิวบ์ให้เติบโตขึ้นบนวัสดุนำไฟฟ้าเช่นอะลูมิเนียม รายงานการค้นพบที่ตีพิมพ์ในวารสาร ACS Applied Materials & Interfaces ระบุว่า เมื่อคาร์บอนนาโนทิวบ์เรียงตัวกันเป็นเส้นในแนวตั้งบนแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ที่อยู่ในภาวะพิเศษ จนดูคล้ายกับ […]
เพราะเราคู่กัน…เต้าเสียบ ❤ เต้ารับ (plug and socket)
ไฟฟ้าที่ใช้กันตามบ้านเรือนในประเทศไทยเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ระบบไฟฟ้า 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิร์ต (220 V 50 Hz) ในขณะที่บางประเทศอย่างญี่ปุ่นใช้ระบบไฟฟ้า 100 โวลต์ ความถี่ 50/60 เฮิร์ต (100 V 50/60 Hz) และหลายประเทศในยุโรปใช้ระบบไฟฟ้า 230 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิร์ต (230 V 50 Hz) ซึ่งนอกจากแต่ละประเทศจะใช้ระบบไฟฟ้าแตกต่างกันแล้ว อุปกรณ์สำคัญที่ต้องใช้งานเป็นคู่เพื่อต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่าง เต้าเสียบ (plug) หรือที่เรามักเรียกว่า ปลั๊กไฟ และเต้ารับ (socket) ที่ใช้ในแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันไปด้วย คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอนิกส์ (International Electrotechnical Commission) หรือ IEC ได้จัดรูปแบบของเต้าเสียบและเต้ารับออกเป็น 15 แบบ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.iec.ch/worldplugs) โดยแต่ละแบบจะมีลักษณะขา จำนวนขา การต่อกราวด์ การใช้ปริมาณกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าแตกต่างกันไป […]