ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันหยุดราชการประจำปี ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 ได้กำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคม 2562 เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปี หลวงและวันแม่แห่งชาติ เป็นวันหยุดราชการประจำปี ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) สำนักงาน กศน. สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานราชการ จึงขอปิดให้บริการ 1 วัน ในวันที่ 12 สิงหาคม 2562 เนื่องจากเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดราชการประจำปี จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่ วกัน
ข่าวสาร กิจกรรม บทความและนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ
กิจกรรมการประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย”
การประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” เชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” ประเภท สิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ โครงการกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับผู้สูงวัย “แฮปปี้…สูงวัย” ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยสามารถกรอก ใบสมัครลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ และส่งหลักฐานการสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 9 มิถุนายน 2566 รายละเอียดโครงการ : หลักเกณฑ์การประกวด หรือ สแกน QR Code ในรูปภาพเพื่อดูรายละเอียดและสมัครได้เลยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-3910544, 02-3920508 และ 061-8793919 (อ.เอส) , 0852609401 (อ.เบนซ์) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
รู้จัก รู้รักษ์ป่าชายเลน
รู้ไหมว่าป่าชายเลนนั้นเป็นอีกหนึ่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าอย่างมหาศาล เพราะสามารถดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าป่าประเภทอื่น จากการที่พืชในป่าชายเลนมีอัตราการสังเคราะห์แสงสูง จึงต้องการใช้คาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมาก ป่าชายเลนนั้นมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดูดซับคาร์บอนแล้วดึงลงไปในผืนดินใต้ทะเลหรือดินเลนชายฝั่ง เรียกคาร์บอนเหล่านั้นว่า บลูคาร์บอน (Blue carbon) การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ลงสู่มหาสมุทรถือเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน (Carbon sink) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าหนึ่งในสี่ของที่มนุษย์ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ โดยคาร์บอนจะถูกปล่อยออกมาอย่างช้า ๆ ผ่านกระบวนการย่อยสลายในดิน ซึ่งเกิดขึ้นได้น้อยเนื่องจากสภาพไร้ออกซิเจนจากการท่วมขังของน้ำแต่ถ้ามีการตัดไม้ในป่าชายเลนจะไปลดการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และยังทำให้เกิดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์กลับสู่ชั้นบรรยากาศอีกครั้ง ในระบบนิเวศป่าชายเลนประกอบไปด้วยพืชจำพวก แสม ลำพู โกงกาง ถั่วขาว พังกาหัวสุม ฝาด และ โปรง เป็นต้น และยังมีแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ นก แมลง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และสัตว์ทะเลหน้าดินที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปู กุ้ง หอย แมงดา อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากถือได้ว่าเป็นระบบนิเวศที่มีห่วงโซ่อาหารที่สมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง และด้วยความที่ป่าชายเลนนั้นเป็นดินเลนมีน้ำทะเลท่วมถึงตลอดทำให้พืชเหล่านี้มีการปรับตัวมีรากแบบพิเศษช่วยยึดเกาะหน้าดิน ลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นเสมือนเกาะป้องกันภัยจากธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดแรงทำลายล้างของพายุโซนร้อนหรือแม้กระทั่งลดความรุนแรงการเกิดสึนามิ ในขณะที่ป่าชายเลนสร้างประโยชน์ให้กับเรามากมาย แต่พื้นที่ของป่าชายเลนเองกลับลดลงอย่างน่าใจหาย สาเหตุก็มาจากน้ำมือของมนุษย์ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย การทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำเกษตรกรรม การประมง การทำเหมืองแร่ การขุดลอกร่องน้ำ การทำเขื่อนกั้นน้ำ การตัดไม้เกินกำลังการผลิตของป่า […]
นิทรรศการความตระหนักรู้ด้านพลังงาน (Energy Literacy)
ปิดนิทรรศการเนื่องจากปรับปรุงอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อาคาร 2) และบริเวณโดยรอบ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2391-0544, 0-2392-0508, 0-2392-1773 ในวันและเวลาราชการ นิทรรศการความตระหนักรู้ด้านพลังงาน (Energy Literacy) ดำเนินงานภายใต้โครงการสร้างกระบวนการความคิดในการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนและพัฒนาวิชาชีพด้านพลังงานแก่ประชาชน (Energy for Life) ได้รับการสนันสนุนงบประมาณจากกระทรวงพลังงานโดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นคณะที่ปรึกษาดำเนินโครงการเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมตามกรอบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านพลังงานแก่ประชาชนระหว่างสำนักงาน กศน.และกระทรวงพลังงาน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557 เรื่องการพัฒนาต้นแบบแหล่งเรียนรู้พลังงานโดยใช้ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเป็นศูนย์กลางเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป เห็นความสำคัญของการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ร่วมกันอนุรักษ์พลังงานและสามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ นิทรรศการความตระหนักรู้ด้านพลังงาน จัดแสดงภายใต้แนวคิด “รู้ปัญหา รู้ความจริง ร่วมแก้ไข”เป็นนิทรรศการมีชีวิต มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม และสร้างประสบการณ์เรียนรู้ด้วยตนเองแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1) เครื่องตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ (Weather Station System)ให้ความรู้เรื่องสภาพภูมิอากาศและศักยภาพพลังงาน มีการแสดงข้อมูลแบบ real-time จากเครื่องตรวจวัดสภาพภูมิอากาศของจริงที่ติดตั้งอยู่ภายนอกอาคาร 2) ความตระหนักรู้ด้านพลัง (Energy Literacy) จัดแสดง 3แนวคิดสำคัญในเรื่องความตระหนักรู้ด้านพลังงานคือ “รู้ปัญหา รู้ความจริง ร่วมแก้ไข”และให้ความรู้เรื่องพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่การจัดหา การส่งผ่าน และการใช้งานจัดแสดงผ่านชุดโมเดลจำลองพร้อมสื่อประสมเชิงโต้ตอบ […]
เวย์โปรตีน ทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ
ปัจจุบันการออกกำลังกายกำลังได้รับความนิยม ผู้คนหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ทำให้เวย์โปรตีนเข้าไปมีบทบาทในฐานะที่เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงในกลุ่มของผู้ที่รักสุขภาพหรือรักการ ออกกำลังกายนอกจากการกินอกไก่ เนื้อปลา หรือเนื้อที่ไม่ติดมันแล้ว เวย์โปรตีน ถือเป็นอีกหนึ่ง ทางเลือกที่ดี เนื่องจากทานง่าย ร่างกายย่อยและนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็ว นอกจากนี้ยังช่วยเสริม สร้างกล้ามเนื้อทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกายได้อีกด้วย เวย์โปรตีน (WheyProtein) เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่สกัดได้จากนมวัว นมขาดมันเนย หรือ การทำชีส โดยการนำนมวัวมาผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น การใช้เอนไซม์ การปรับ pH ให้เป็นกรดมากขึ้น เพื่อให้นมเกิดการตกตะกอนออกมาเป็นก้อนขาว ๆ โดยก้อนขาว ๆ นี้จะนำไปบ่มทำเป็นชีส ส่วนน้ำใส ๆ ที่เหลือหลังจากตักก้อนขาว ๆ ออกเรียกว่า Whey ในอดีตโรงงานทำชีสคิดว่าส่วนนี้ไม่มีประโยชน์จึงทิ้งไป แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้นำเอาส่วนน้ำใส ๆ มาศึกษา พบว่ามีโปรตีนที่เป็นประโยชน์อยู่หลายตัว เช่น อัลฟ่าแลคตาบูมิน (α-lactabumin) แลคโตเฟอริน (Lactoferrin) และเบต้าแลคโตโกล-บูลิน (β-lactoglobulin) จึงมีการนำมาแยกไขมันและคาร์โบไฮเดรตออกอีกครั้งให้เหลือน้อยที่สุด ทำให้ได้โปรตีนที่เข้มข้น ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย จากนั้นนำมาผ่าน กระบวนการทำให้แห้งเพื่อให้สามารถเก็บไว้ได้นานในรูปของผง ในท้องตลาดเรามักพบเวย์โปรตีน มากมาย […]
แผ่นกรองอากาศ HEPA (HEPA Filter) ทำงานอย่างไร
แผ่นกรองอากาศ HEPA ทำจากเส้นใยไฟเบอร์กลาสที่สานกันไปมาอย่างละเอียด ทำให้ดักจับฝุ่นได้ดียิ่งขึ้นแม้ว่าฝุ่นนั้นจะมีขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอน หลักการทำงานที่สำคัญ คือ Impaction อนุภาคบางส่วนติดหรือถูกจับเมื่อชนกับเส้นใยโดยตรง Interception อนุภาคบางส่วนที่ยังสามารถเคลื่อนไหวต่อไปได้ แต่ก็จะไปชนและถูกดักจับในเส้นใยชั้นถัดไป Diffusion อนุภาคขนาดเล็กเคลื่อนที่แบบไร้ทิศทาง ครั้งชนกันแล้วไปติดที่เส้นใย ดังนั้น เราจึงมักพบแผ่นกรองอากาศ HEPA ในขั้นตอนการทำงานของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกรองอากาศอยู่เสมอ เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศหรือในบางครั้งก็พบในเครื่องดูดฝุ่นอีกด้วย อ้างอิง http://www.shimono.in.th/hepa-fillter/https://www.explainthatstuff.com/hepafilters.htmlhttps://www.bioplusgroup.com/page/id/ตู้ปลอดเชื้อคืออะไร Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine