“เช็คลิสต์” หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่นำพาให้นักบินอะพอลโล 13 กลับบ้านได้

นับเป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นในภารกิจที่ล้มเหลวของอะพอลโล 13 ที่สามารถนำนักบินอวกาศทั้งสามคนอย่าง เจมส์ โลเวลล์ (James Lovell) จอห์น สไวเกิร์ต (John Swigert) และเฟรด ไฮส์ (Fred Haise) กลับมาสู่โลกได้ ในวันที่ 17 เมษายน 1970 แม้ว่ายานอะพอลโล 13 จะมีภารกิจหลัก คือส่งมนุษย์ไปเยือนดวงจันทร์และเก็บข้อมูลตัวอย่างกลับมาศึกษาอย่างปลอดภัย แต่ระหว่างการเดินทาง ถังออกซิเจนบนยานได้ระเบิดขึ้น ทำให้ยานส่วนหนึ่งเกิดความเสียหาย จึงต้องยุติภารกิจและเปลี่ยนเป็นภารกิจกู้ชีพนักบินแทน โดยใช้ยานลงจอดดวงจันทร์ (Lunar Module) ในการนำนักบินกลับสู่โลก หนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญและถูกใช้ในเทคโนโลยีอวกาศที่ทำให้นักบินกลับสู่โลกได้สำเร็จ นั่นก็คือ เช็คลิสต์ (checklist) โดยปกติแล้วในชีวิตประจำวันของเรา เมื่อต้องการเดินทางไกลด้วยรถยนต์จะต้องตรวจสอบรถยนต์ตามเช็คลิสต์ไปทีละขั้นตอนว่าอยู่ในสภาพพร้อมต่อการใช้งานหรือไม่ เช็คลิสต์ของนักบินอวกาศก็เช่นกัน ต้องมีการตรวจสอบและตั้งค่าไปตามลำดับขั้นตอน จากในภาพเช็คลิสต์มีขั้นตอน (procedure) การแปลงจากคอมมานด์โมดูล (Command Module) ไปสู่ยานลงจอดดวงจันทร์ เพื่อปรับระบบอ้างอิง (Lunar Module’s reference system) การตรวจสอบและตั้งค่าตามลำดับขั้นตอนเพื่อใช้ยานในการนำนักบินกลับสู่โลก สิ่งที่สำคัญของเช็คลิสต์ คือจะต้องมีความรอบคอบในการใช้งานเป็นอย่างสูง อีกทั้งการใส่ค่าตัวเลขต่าง ๆ […]

superadmin

28 October 2021

แมลงวัน…ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ

แมลงดำรงชีวิตอยู่ในธรรมชาติ มีทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม หากกล่าวถึงโทษของแมลงนอกจากพิษที่เป็นอันตรายต่อตัวเราแล้ว การที่แมลงมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เช่น การหาอาหารเพื่อดำรงชีวิต แมลงหลาย ๆ ชนิดมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ นอกจากยุงที่เราคุ้นเคยกันดีแล้แมลงวันเป็นอีกชนิดหนึ่งที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันและเป็นที่ทราบกันดีว่าสามารถก่อโรคในมนุษย์ได้เช่นกัน ในประเทศไทยพบแมลงวันเกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์อยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ แมลงวันบ้าน (House Flies) แมลงวันหัวเขียว (Blow Flies) แมลงวันหลังลาย (Flesh Flies) และแมลงวันดูดเลือด (Stomoxys spp.) โดยทั่วไปเรามักจะพบและคุ้นเคยกับแมลงวันบ้านมากที่สุด นั่นเพราะมันมีมากถึงร้อยละ 83 ของแมลงวันทั้งหมด มารู้จักแมลงวันบ้านกัน… แมลงวันบ้าน เป็นแมลงขนาดเล็ก มีปากแบบซับดูด (Sponging type) ลำตัวมีสีเทา ขนาดประมาณ 6-9 มิลลิเมตร ตามีสีน้ำตาลปนแดง ลำตัวมีขนสีเทาดำขนาดเล็กจำนวนมาก ปีก 1 คู่ เป็นเยื่อใสมีโครงร่างยึดเป็นร่างแหสีดำ แมลงวันบ้านจะออกหากินในช่วงเวลากลางวันไปยังแหล่งอาหาร เช่น ของสด สิ่งบูดเน่าต่าง ๆ เศษอาหาร เป็นต้น  ส่วนในเวลากลางคืนจะรวมกลุ่มกันอยู่บนกิ่งไม้หรือพุ่มไม้ แมลงวันนำโรคมาได้อย่างไร…เราเคยสังเกตเห็นแมลงวันบินมาตอมอาหารและถูขาหน้าบ้างหรือไม่? แมลงวันจะใช้ขาสำหรับดมกลิ่นรสอาหาร แต่เนื่องจากลำตัวของแมลงวันเต็มไปด้วยขน และลิ้นที่ใช้กินอาหารมีกาวเหนียว […]

superadmin

28 October 2021

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษากับภารกิจการให้บริการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตในสถานการณ์โควิด – 19

นายโยฑิน สมโนนนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา และนางอภิญญา ซอหะซัน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเผยแพร่ทางการศึกษา สำนักงาน กศน. ร่วมรายการ “สายใย กศน.” กับประเด็น ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษากับภารกิจการให้บริการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ในสถานการณ์โควิด – 19 ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 – 14.30 น. ทางสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ หรือ ETV

superadmin

21 October 2021

ปิดให้บริการ 21 – 23 ตุลาคม 2564 เนื่องในวันหยุดพิเศษ วันปิยมหาราชและวันหยุดชดเชย

ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันหยุดราชการประจำปี ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 ได้กำหนดให้ 21 – 23 ตุลาคม  เป็นวันหยุดราชการ เนื่องในวันวันหยุดพิเศษ วันปิยมหาราชและวันหยุดชดเชย ตามมติ ครม. รายละเอียด ดังนี้ วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม (วันหยุดราชการประจำภาคกลาง ประเพณีเทศกาลออกพรรษา) วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม 2564 วันหยุดชดเชยวันปิยมาหาราช เลื่อนจากวันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2564 วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2564 วันปิยมหาราช ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) สำนักงาน กศน. สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานราชการ จึงขอปิดให้บริการ 3 วัน ระหว่างวันที่ 21 – 23 ตุลาคม 2564 

superadmin

20 October 2021

มาทำความรู้จักกับบรรยากาศของโลกกันเถอะ

เคยสังเกตกันบ้างไหมว่าบรรยากาศของโลกนั้น นอกจากจะเป็นอากาศให้เราหายใจกันในทุก ๆ วันแล้ว บรรยากาศของโลกคืออะไร และมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตและโลกอย่างไรอีกบ้าง บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึง อากาศที่ห่อหุ้มโลก มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ แก๊สชนิดต่าง ๆ ไอน้ำ ฝุ่นละออง และอื่น ๆ โดยบรรยากาศของโลกมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ 78.08%, ออกซิเจน 20.94%, อาร์กอน 0.93%, คาร์บอนไดออกไซด์ 0.03%, และอื่น ๆ อีก 0.2% ตามปกติแล้วจะไม่มีอากาศแห้งแท้ ๆ เนื่องจากอากาศโดยทั่วไปจะมีไอน้ำปนอยู่ ตั้งแต่ 0 ถึง 4% ไอน้ำ เกิดจากการระเหยของน้ำจากแหล่งต่าง ๆ การระเหยของน้ำจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ พื้นที่ผิวหน้า และปริมาณไอน้ำในอากาศ ไอน้ำที่เป็นส่วนผสมของอากาศนั้น เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดฝน ลม พายุ ฟ้าแลบ และฟ้าร้อง อนุภาคที่เป็นของแข็งที่มีขนาดเล็ก ได้แก่ ฝุ่นละออง […]

superadmin

18 October 2021

ทำความรู้จักกับ “นก” สัตว์ป่าคุ้มครองที่ยังพบเห็นได้ในเมือง

นก เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เป็นสัตว์ปีกที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นAves เป็นสัตว์เลือดอุ่นที่ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าของมันจะถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนหนาและมีกระดูกที่กลวงเบา และในประเทศไทยเรานั้นเป็นประเทศที่มีความหลากหลายของนกมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ของประเทศและพบนกมากถึง 1,011 ชนิด แต่ก็มีนกหลายชนิดที่ถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ความหมายของสัตว์ป่าคุ้มครอง คือ สัตว์ป่าตามที่กระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และมีชื่ออยู่ในบัญชีแนบท้ายของกฎกระทรวง มีรายชื่อนกที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองมากถึง 952 ชนิด ซึ่งกฎหมายไม่อนุญาตให้ล่าหรือมีไว้ในครอบครอง รวมถึงซากของสัตว์เหล่านี้ด้วยเว้นแต่การกระทำโดยทางราชการ เมื่อเราได้ความรู้เกี่ยวกับนกและสัตว์ป่าคุ้มครองในเบื้องต้นกันไปแล้ว ทีนี้เรามาดูตัวอย่างนกที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่สามารถพบเจอได้ในเมืองกัน 1. นกสีชมพูสวน นกสีชมพูสวนเป็นนกที่มีลำตัวขนาดเล็ก ตัวผู้จะมีสีสันสดใส ตั้งแต่หน้าผากถึงตะโพกเป็นแถบยาวสีแดงสดส่วนตัวเมียจะมีสีน้ำตาล มีเพียงส่วนตะโพกและขนคลุมหางสีแดงสด มีถิ่นอาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและล้านนาตะวันออก โดยสามารถพบนกสีชมพูสวนได้ในป่าโปร่ง ชายป่า สวนผลไม้ และสวนสาธารณะ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ชื่ออังกฤษ : Scarlet-backed Flowerpecker ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicaeum cruentatum (Linnaeus, 1758) วงศ์ (Family) : Dicaeidae 2. นกกาเหว่า นกกาเหว่าหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่านกดุเหว่า เป็นนกที่มีขนาดใกล้เคียงกับอีกา มีลำตัวเพรียวยาว ตาสีแดงและมีหางยาวแข็ง ตัวผู้มีสีดำ ปากมีสีเขียวเทา […]

superadmin

13 October 2021

นักศึกษา กศน. ร่วมกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

เมื่อวันที่ 9 – 10 ตุลาคม 2564 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมปฏิบัติการให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แก่นักศึกษา กศน.เขตคลองเตย, กศน.เขตวัฒนา และ กศน.เขตบางคอแหลม จำนวน 36 คน เพื่อเพิ่มทักษะและประสบการณ์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง โดยเนื้อหากิจกรรมประกอบด้วยเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักตัวเรา จุลินทรีย์ก้นครัว และแรงและการเคลื่อนที่ชมภาพกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

superadmin

13 October 2021

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาปิดทำการ 13 ตุลาคม 2564

ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันหยุดราชการประจำปี ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 ได้กำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคม เป็นวันหยุดราชการประจำปี เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) สำนักงาน กศน. สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานราชการ จึงขอปิดทำการ 1 วัน ในวันพุธที่ 13 ตุลาคม 2564 จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

superadmin

11 October 2021

สัตว์เลี้ยง (หรือ) สัตว์แปลก

หากกล่าวถึงสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษหรือ exotic pets คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว สัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษสามารถจำแนกได้หลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน กลุ่มสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง กลุ่มสัตว์ปีก กลุ่มปลาแปลก และกลุ่มเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม นอกจากกลุ่มที่กล่าวมาแล้วนี้แล้วยังสามารถแบ่งตามแนวทางการเลี้ยงและความชอบส่วนบุคคล เช่นความแปลกเนื่องจากเป็นชนิดพันธุ์ที่หายาก (rare & very rare species) หรือความแปลกเนื่องจากความผิดปกติของยีนและเม็ดสี (morphs) ที่เราเรียกกันว่าสัตว์เผือก เป็นต้น และสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษยังหมายถึงสัตว์พื้นบ้านหรือสัตว์ป่าประจำถิ่นที่ไม่ผิดกฎหมายด้วย อยากจะเลี้ยงต้องตรวจสอบอะไรบ้าง ในการจะเลี้ยงสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษจะต้องคำนึงถึงกฎหมายก่อนเป็นอันดับแรก ปัจจุบันสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษบางชนิดไม่ต้องขออนุญาตในการครอบครอง แต่บางชนิดยังต้องมีการขออนุญาตตามข้อบังคับของไซเตส (CITES) หรืออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น เต่าดาวอินเดียที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ จะไม่สามารถเลี้ยงได้เนื่องจากผิดกฎหมาย ส่วนคนที่มีในครอบครองอยู่แล้วจะต้องไปจดทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบเช่นกรมป่าไม้ หรือกรมคุ้มครองสัตว์ป่า กรณีสัตว์ป่าที่ขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในไทย เช่น พญากระรอกดำ แมวดาว ห้ามมีไว้ครอบครอง แต่กรณีเป็นกลุ่มสัตว์ป่าที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศสามารถเลี้ยงได้และถ้ามีใบอนุญาตเพาะพันธุ์ก็จะถือว่าไม่ผิดกฎหมาย นอกจากเรื่องของกฎหมายแล้วผู้เลี้ยงจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และรู้จักนิสัยของสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษเป็นอย่างดีก่อนนำมาเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย อาหาร สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พฤติกรรมทางธรรมชาติของสัตว์ชนิดนั้น รวมไปถึงการหาข้อมูลโรงพยาบาลสัตว์พิเศษเนื่องจากสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษต้องมีหมอเฉพาะทางในการรักษาและต้องใช้เครื่องมือที่แตกต่างจากสัตว์เลี้ยงทั่วไป เลี้ยงแล้ว อย่าทิ้ง (กัน) นะ สัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้สามารถซื้อขายและเพาะพันธุ์ได้อย่างถูกกฎหมายทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นผู้ที่สนใจเลี้ยงสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษจะต้องคำนึงเสมอว่าสัตว์เหล่านี้ถูกเพาะพันธุ์มาเพื่อให้แตกต่างจากสัตว์ที่เจอตามธรรมชาติ จึงไม่ควรไปจับ […]

superadmin

8 October 2021

ภาพยนตร์เต็มโดม เดือนตุลาคม 2564 เรื่อง “มหัศจรรย์แห่งจักรวาล (TWO SMALL PIECES OF GLASS)”

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา สำนักงาน กศน. โดยส่วนท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง ด้วยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการ ผ่านเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย และจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม รอบละประมาณ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 140 คนต่อ 1 รอบการแสดง ภาพยนตร์เต็มโดมในเดือนตุลาคมนี้ จัดแสดงเรื่อง “มหัศจรรย์แห่งจักรวาล (TWO SMALL PIECES OF GLASS)” กล้องโทรทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เราศึกษาวัตถุบนท้องฟ้าได้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดขึ้น เนื่องจากวัตถุท้องฟ้าอยู่ห่างจากโลกเราหลายปีแสง และมักมีความสว่างน้อยนิด แต่เราเคยสงสัยมั๊ยว่า ใคร?..เป็นผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ และในปัจจุบัน เราสามารถใช้กล้องโทรทรรศน์สำหรับศึกษาอะไรกันบ้าง? ชมเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับกล้องโทรทรรศน์ได้จาก “มหัศจรรย์แห่งจักรวาล (TWO SMALL PIECES OF GLASS)” สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ : 0-2391-0544, 0-2392-0508, 0-2392-1773 (ในวันและเวลาราชการ) ตรวจสอบรอบการแสดงท้องฟ้าจำลองได้ที่ รอบการแสดงท้องฟ้าจำลอง ตรวจสอบกำหนดการฉายภาพยนตร์เต็มโดม ประจำปีงบประมาณ 2565 ได้ที่ กำหนดการฉายภาพยนตร์เต็มโดม ประจำปีงบประมาณ 2565 ท่านติดตามข่าวสารได้ที่ เว็บไซต์ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา […]

superadmin

6 October 2021

ทำไมน้ำทะเลมีสีฟ้า?

มีใครเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมน้ำทะเลที่เห็นจึงมีสีฟ้า บ้างก็มีสีเขียว หรือสีน้ำเงินเข้ม แต่เมื่อเราใช้แก้วน้ำตักน้ำทะเลขึ้นมา กลับมีสีใสเหมือนน้ำที่เราใช้ดื่มหรือใช้อาบในทุกวัน ไม่ได้มีสีสันสวยงามเหมือนที่เรามองเห็นเลยแม้แต่น้อย ความจริงสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพียงปรากฏการณ์การกระเจิงแสง โดยการที่เราสามารถมองเห็นสีสันของสิ่งต่าง ๆ ได้นั้น เกิดจากแสงที่มีแหล่งกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์ตกกระทบกับพื้นผิวน้ำหรือสิ่งของต่าง ๆ แล้วแสงนั้นสะท้อนมายังดวงตา จึงทำให้เรามองเห็นสีสันของสิ่งต่าง ๆ แต่สำหรับน้ำ เมื่อแสงที่มีช่วงคลื่นของสีต่าง ๆ โดยเฉพาะสีน้ำเงินที่มีความยาวคลื่นสั้นตกกระทบกับน้ำ จะเกิดการกระเจิงหรือการแพร่กระจายของแสงในน้ำได้ดีที่สุดและถูกโมเลกุลของน้ำดูดกลืนไว้ได้น้อย ต่างจากช่วงแสงสีแดงที่จะถูกดูดกลืนไว้ได้มาก และช่วงแสงสีเขียวรองลงมา เมื่อแสงสีแดงและแสงสีเขียวถูกโมเลกุลของน้ำดูดกลืนไว้ได้ดีกว่าสีน้ำเงิน แสงทั้งสองสีนี้จึงหายไปได้ง่ายเมื่อลงสู่น้ำ สีน้ำทะเลที่ปรากฏออกมาให้เห็นจึงเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงินนั่นเอง แต่แล้วทำไมน้ำทะเลบางที่ถึงมีสีเขียว สีน้ำเงิน หรือสีฟ้า แตกต่างกันออกไป สิ่งนี้เกิดจากความตื้นและลึกของน้ำทะเล และสิ่งเจือปนต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำทะเล การที่น้ำในทะเลลึกอยู่ห่างไกลจากแผ่นดินมาก จะมีสิ่งเจือปนต่าง ๆ อยู่น้อย น้ำในบริเวณนี้จะใสมากและเกิดการดูดกลืนแสงสีแดงและแสงสีเขียวอย่างสมบูรณ์ จึงเห็นเพียงแสงสีน้ำเงินเข้มเท่านั้นที่กระเจิงได้ดีและโดดเด่นขึ้นมา ต่างจากบริเวณชายฝั่งที่มีสิ่งเจือปนอยู่มาก สีของน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งจึงมีสีที่ผิดเพี้ยนแตกต่างกันออกไปตามสีของสิ่งเจือปนนั้น ๆ แต่สำหรับทะเลบางที่ที่มีสีเขียว จะแสดงถึงทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก บริเวณนั้นจะเต็มไปด้วยแพลงก์ตอนพืช ซึ่งแพลงก์ตอนเหล่านี้จะดูดกลืนแสงสีน้ำเงินและสะท้อนแสงสีเขียวออกมาแทน จึงทำให้น้ำทะเลมีสีเขียวสวยงาม อ้างอิง https://bit.ly/2YlqVOChttps://bit.ly/3Fn3aH

superadmin

6 October 2021

ศูนย์สร้างสรรค์เยาวชน (กระจ่าง บริรักษ์นิติเกษตร) เปิดให้บริการ วันที่ 15 ตุลาคม 2564

ศูนย์สร้างสรรค์เยาวชน (กระจ่าง บริรักษ์นิติเกษตร) ในสังกัดศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา พร้อมเปิดให้บริการในวันที่ 15 ตุลาคม 2564 น้องๆ ที่มีอายุ 3 – 6 ปี สามารถมาร่วมสนุกกับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อนิทรรศการได้ฟรี! โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามเพิ่มเติมโทร. 0 2437 2490 ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่าน Facebook Fanpage : ศูนย์สร้างสรรค์เยาวชน (กระจ่าง บริรักษ์นิติเกษตร) คลิก https://bit.ly/3iyHn5e

superadmin

6 October 2021
1 19 20 21 43