การประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) สำหรับนักศึกษา กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

การประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) สำหรับนักศึกษา กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา รับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 3 สิงหาคม 2564 รายละเอียดการประกวด และใบสมัคร https://sciplanet.org/content/8279 สามารถสมัครออนไลน์ได้ที่นี่ qrgo.page.link/tKxgT  หรือส่งเอกสารและรายละเอียดประกอบการประกวดที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2392 5951-5 ต่อ 1197 และ 08 9030 6378 (อ. ณัฐวุฒิ) หมายเหตุ  เฉพาะนักศึกษา กศน. โซนกรุงเทพกลาง และโซนกรุงเทพใต้ รวม 19 เขต

superadmin

16 July 2021

วิกฤตการณ์ใต้ทะเล..ปะการังฟอกขาว

หากใครเคยไปดำน้ำหรือไปเที่ยวทะเลจะสังเกตเห็นว่าปะการังใต้ท้องทะเลนั้นมีสีสันสดใสสวยงาม แต่ปัจจุบันวิกฤตการณ์ใต้ทะเลที่เป็นผลมาจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ (climate change) อันเนื่องมาจากน้ำมือของมนุษย์ กำลังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศใต้ท้องทะเลอย่างหนักโดยเฉพาะกับปะการังที่พบการเกิดปรากฏการณ์ฟอกขาวขึ้นเป็นวงกว้างในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลที่ใช้ประโยชน์จากแนวปะการังให้ขาดที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร แหล่งอนุบาลลูกปลา และที่หลบภัย ทำให้ถูกล่าได้ง่ายขึ้นเป็นผลให้ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลดลงเป็นอย่างมาก ปะการังฟอกขาว (coral bleaching) เป็นปรากฏการณ์ที่เนื้อเยื่อปะการังมีสีซีดหรือจางลงจากการสูญเสียสาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) เกิดจากสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสาหร่าย เช่นอุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกินไป มีน้ำจืดไหลลงมาทำให้ความเค็มลดลง ตะกอนที่ถูกน้ำจืดไหลพัดพามาจากชายฝั่ง หรือแม้แต่มลพิษที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทางทะเลของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยน้ำเสีย การใช้ครีมกันแดด การทิ้งขยะตามแนวชายหาดก็ล้วนมีผลให้สาหร่ายซูแซนเทลลีออกมาจากเนื้อเยื่อของปะการังเพื่อความอยู่รอด โดยปกติเนื้อเยื่อของปะการังไม่ได้มีสีสันสวยงาม เป็นเพียงเนื้อเยื่อใส ๆ เท่านั้น ส่วนที่เห็นเป็นสีสันจากปะการังไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีส้ม สีเขียว หรือสีน้ำตาลนั้นมาจากสาหร่ายซูแซนเทลลีทั้งสิ้น โดยสาหร่ายจะทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แสง ให้ธาตุอาหารแก่ปะการังใช้ในการดำรงชีวิตและช่วยในการเจริญเติบโต ปะการังจะเป็นที่อยู่อาศัยและให้สาหร่ายนำของเสียจากปะการัง เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไนเตรท ฟอสเฟตมาใช้ในการสร้างสารอาหาร วงจรชีวิตของปะการังและสาหร่ายซูแซนเทลลี เป็นภาวะพึ่งพาอาศัยกัน (mutualism) หากแยกกันอยู่จะไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ ปะการังที่เกิดการฟอกขาวสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ หากสาหร่ายซูแซนเทลลีเหล่านั้นกลับเข้าสู่ตัวปะการังอีกครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปกลับคืนสู่ภาวะปกติ ปะการังจะสามารถดำรงชีวิตโดยปราศจากสาหร่ายซูแซนเทลลีได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ หากมีเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเป็นวงกว้างและระยะเวลายาวอย่างต่อเนื่อง จะทำให้การฟื้นตัวของปะการังโดยธรรมชาติมีโอกาสเป็นไปได้ต่ำ หรือไม่มีเลย และถ้าสาหร่ายซูแซนเทลลีไม่กลับเข้าสู่ปะการังในช่วงเวลาดังกล่าวปะการังเหล่านั้นก็จะตายในที่สุด เมื่อเราทราบถึงความสำคัญของปะการังและสาเหตุที่ทำให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง โดยส่วนสำคัญในการทำลายแนวปะการังนั้นก็มาจากน้ำมือของมนุษย์เองไม่ว่าจะเป็นการสร้างมลภาวะต่าง […]

superadmin

15 July 2021

ลัมปี สกิน โรคอุบัติใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม

ปัจจุบันผู้คนกำลังประสบกับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตและทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรงทั่วทั้งโลกไม่เพียงแค่ผู้คนที่กำลังตกอยู่ในวิกฤตการณ์ที่น่าลำบากเช่นนี้ ในขณะเดียวกันเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2564 ได้มีรายงานการพบโคเนื้อที่แสดงอาการของเชื้อไวรัสโรคลัมปี สกิน ซึ่งเป็นโรคที่ไม่เคยพบในประเทศไทยมาก่อน “ลัมปี สกิน” เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Lumpy skin disease virus สกุล Capripoxvirus ที่พบและแพร่กระจายในโค กระบือ แต่ไม่สามารถติดต่อสู่คนได้ โดยอาการของสัตว์ที่ติดเชื้อจะมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต มีตุ่มขนาดใหญ่บนผิวหนัง พบมากที่คอ หัว เต้านม ถุงอันฑะและหว่างขา โดยตุ่มที่เกิดขึ้นสามารถแตกและตกสะเก็ดเกิดเป็นเนื้อตายหรือมีหนอนชอนไชได้ นอกจากนี้ยังพบตุ่มน้ำใสที่เยื่อเมือกทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ทำให้สัตว์มีอาการน้ำลายไหล ไม่เพียงแค่อาการที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเหล่านี้เท่านั้น แต่สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีลักษณะซึม เบื่ออาหาร รวมถึงอาจมีภาวะเป็นหมันหรือแท้งลูก สำหรับในโคนมน้ำนมจะลดลง 25 – 65 เปอร์เซ็นต์ สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีอัตราการป่วยอยู่ที่ 5 – 45 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอัตราการตายจะสูงในพื้นที่ที่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน โดยโรคลัมปี สกินนี้มีพาหะมาจากแมลงดูดเลือด เช่น เห็บ แมลงวัน และยุง รวมไปถึงน้ำลาย สารคัดหลั่ง สะเก็ดแผล การใช้อุปกรณ์ร่วมกันของสัตว์ เมื่อสัตว์ได้รับเชื้อในช่วงแรกจะต้องทนกับอาการที่เกิดขึ้นเพราะมันไม่สามารถพูดหรือบอกได้เหมือนมนุษย์เมื่อเจ็บป่วย สำหรับการรักษาจะไม่มีการรักษาที่จำเพาะ ต้องรักษาตามอาการเท่านั้น เนื่องจากวัคซีนป้องกันโรคนี้จะมีเฉพาะในประเทศที่เคยมีการระบาดของโรคมาก่อนแล้วเท่านั้น […]

superadmin

14 July 2021

แสงแดดภัยร้ายใกล้ตัวคุณ

ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนที่มีอากาศร้อนมากโดยเฉพาะในหน้าร้อน แล้วอย่างนี้เราจําเป็นจะต้องใส่เสื้อแขนยาว กางร่ม หลบแดด หรือทาครีมกันแดดหรือไม่ แล้วถ้าเราอยู่ในร่มยังจําเป็นต้องทาครีมกันแดดไหม แล้วถ้าเราไม่ทาครีมกันแดด หรือหลบแดดจะมีผลเสียอะไรหรือไม่บทความนี้มีคําตอบไปอ่านกันเลย แสงแดดคืออะไร แสงแดดประกอบด้วยรังสีและแสงหลายชนิด ที่แตกต่างกันตามความยาวคลื่น โดยแบ่งเป็น แสงอินฟราเรด (Infrared) หรือแสงที่ให้ความร้อน มีปริมาณ 50% ของแสงแดดทั้งหมด และมีพลังงานต่ำกว่าแสงที่ให้ความสว่าง ดังนั้นจึงมีพลังงานต่ำที่สุด โดย Infrared A เป็นคลื่นแสงที่ทําให้เกิดผิวแก่ก่อนวัย (Photoaging) ย่อยสลายคอลลาเจน (Collagen breakdown) และเกิดรอยเหี่ยวย่นของผิวหนัง เพราะสามารถกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระได้ แต่ต้องใช้ปริมาณสูงมาก แสงที่มองเห็น (Visible light) มีปริมาณ 45% ของแสงแดดทั้งหมด มีพลังงานต่ำ แต่ถ้าได้รับเป็นเวลานานก็ทําให้ผิวคล้ำเสีย กระตุ้นให้ฝ้าเข้มขึ้น หรือผิวเสื่อมจากแดดได้ เนื่องจากสามารถกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ แสงที่มองไม่เห็น (Invisible Light) มีปริมาณ 5% ของแสงแดดทั้งหมด มีพลังงานสูง และเป็นสาเหตุสําคัญของผิวไหม้แดง ผิวคล้ำมะเร็งผิวหนัง และผิวชราจากแดด เช่น อัลตราไวโอเลต (Ultraviolet […]

superadmin

12 July 2021

การเคี้ยวเอื้อง คือการเคี้ยวอย่างไร?

เคี้ยวเอื้องเป็นคำที่หลายคนมักคุ้นหูและเคยได้ยินกันมาบ้างว่า “มัวแต่เคี้ยวเอื้องเดี๋ยวไม่ทันกิน” ทำให้หลายคนก็คงแอบสงสัยว่าเคี้ยวเอื้องคือการเคี้ยวอย่างไร ใช่การกินอาหารช้าหรือไม่ แท้จริงแล้วการเคี้ยวเอื้องนั้นไม่ใช่การเคี้ยวช้า ๆ แต่อย่างใด การเคี้ยวเอื้องนั้นก็คือส่วนหนึ่งในกลไกการย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องนั่นเอง สัตว์กลุ่ม Ruminant หรือสัตว์เคี้ยวเอื้องเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับ Artiodactyla และเป็นสัตว์ที่กินพืชที่มีระบบทางเดินอาหารซับซ้อนกว่าสัตว์กระเพาะเดี่ยว โดยเฉพาะส่วนของกระเพาะอาหารที่มีการพัฒนาให้มีขนาดใหญ่และแบ่งออกเป็น 4 ส่วนการย่อยอาหารจะเริ่มเคี้ยวแบบหยาบ ๆ แล้วส่งไปย่อยอาหารให้นุ่มก่อนในกระเพาะอาหารส่วนแรก ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาของแบคทีเรียเป็นหลัก จากนั้นจึงสำรอกเอาอาหารที่ย่อยแล้วครึ่งหนึ่งออกมา เรียกว่า เอื้อง (cud) แล้วค่อย ๆ เคี้ยวอีกครั้ง กระบวนการเคี้ยวเอื้องอีกครั้งนี้มีเพื่อย่อยสลายสารที่มีอยู่ในพืชและกระตุ้นการย่อยอาหาร เรียกว่า “การเคี้ยวเอื้อง” (ruminating) สัตว์กลุ่มที่พบกระบวนการดังกล่าวนี้จึงถูกเรียกว่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยพบว่าโคใช้เวลาในการเคี้ยวเอื้อง 1 ใน 3 ของวัน หรือใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อที่จะทำการเคี้ยวเอื้องให้อาหารมีขนาดเล็กลง ส่วนสัตว์กินพืชทั่วไปเช่น หมู กระต่าย จะมีกระเพาะเดี่ยวเช่นเดียวกับคน ซึ่งจะมีการเคี้ยวอาหารจนละเอียดแล้วส่งต่อไปยังกระเพาะมีเพียงเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหารเท่านั้น กระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ รูเมน (Rumen) หรือ กระเพาะผ้าขี้ริ้ว ลักษณะมีขนาดใหญ่ผนังภายในมีลักษณะเป็นตุ่มขนเล็ก ๆ ทำหน้าที่คลุกเคล้าอาหารถ่ายเทอาหารไปมากับส่วนเรติคิวลัม และมีจุลินทรีย์ที่ช่วยในการย่อยเซลลูโลสให้เป็นกลูโคส (Glucose) ที่ไม่พบในคน เรติคิวลัม […]

superadmin

8 July 2021

สนทนาภาษามด

เราคงเคยเห็นมดเดินตามกันเป็นแถวยาวไปยังแหล่งอาหาร เมื่อมดตัวหนึ่งพบอาหารแล้ว มันมีวิธีบอกมดตัวอื่น ๆ  ในรังอย่างไรว่าแหล่งอาหารของพวกมันอยู่ที่ไหน ภายในรังมดมืด และมดมีการมองเห็นไม่ดีนักฉะนั้น การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญ และยังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของพวกมันด้วย มดสื่อสารโดยใช้สารเคมีในร่างกาย ที่เรียกว่า “ฟีโรโมน” ส่งผ่านอวัยวะรับสัมผัสและรับกลิ่น คือ “หนวด” มดใช้ฟีโรโมนในร่างกาย ซึ่งจะมีกลิ่นแตกต่างกันไป มดงานจะออกจากรังไปหาอาหาร  เมื่อพบแหล่งอาหาร มันจะกินจนอิ่มแล้วเดินทางกลับรัง ระหว่างนั้นมันจะผลิตฟีโรโมนออกมา เมื่อพบมดตัวอื่น มันจะใช้หนวดสัมผัสเพื่อให้มดอื่น ๆ ตามกลิ่นออกมาจากรัง และเดินทางไปยังแหล่งอาหาร ซึ่งเราอาจเรียกว่า “เส้นทางมด” มดใช้ “ฟีโรโมน” เป็นภาษาในการสนทนา และสิ่งนี้เอง ที่ทำให้มดเดินตามกันเป็นแถวอย่างมีระเบียบไปยังแหล่งอาหาร และนำอาหารกลับมายังรังโดยไม่หลงทาง อ้างอิง https://bit.ly/3qSXw8xwww://biology.ipst.ac.th/?p=723

superadmin

7 July 2021

ทำไมน้ำกับน้ำมันถึงเข้ากันไม่ได้

เราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่าเพราะเหตุใดน้ำกับน้ำมันถึงแยกชั้นกันทุกครั้งที่มีการผสมน้ำกับน้ำมันเข้าด้วยกันจะแยกชั้นกันทันที น้ำมันอยู่ชั้นบนและน้ำอยู่ชั้นล่าง เพราะความหนาแน่นที่แตกต่างกันของน้ำกับน้ำมัน ซึ่งน้ำมันมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ จึงทำให้ลอยอยู่เหนือผิวน้ำ นอกจากนี้ยังมีอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้น้ำและน้ำมันแยกชั้นและไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เนื่องจากการจัดเรียงอะตอมในโมเลกุลของน้ำกับน้ำมันที่แตกต่างกัน โดยปกติแล้วตัวทำละลายที่มีขั้วไฟฟ้าจะละลายเข้ากับตัวทำละลายที่มีขั้วไฟฟ้าด้วยกัน และตัวละลายที่ไม่มีขั้วไฟฟ้าก็จะทำละลายกับตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วไฟฟ้าด้วยกัน แต่น้ำเป็นตัวทำละลายที่มีขั้วไฟฟ้า เมื่อผสมเข้ากับน้ำมันที่เป็นตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วไฟฟ้า จึงทำให้ของเหลวทั้งสองไม่สามารถผสมเข้ากันได้นั่นเอง

superadmin

6 July 2021

5 อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

หลายท่านอาจเคยได้ยินคำว่า “สารต้านอนุมูลอิสระ” กันมาบ้าง เคยสงสัยไหมว่าอนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระคืออะไร แล้วสารต้านอนุมูลอิสระนั้นมีอยู่ในอาหารชนิดใดบ้าง มาหาคำตอบไปพร้อมกันได้เลย อนุมูลอิสระ (Free Radicle) คือ โมเลกุลหรืออะตอมที่ไม่เสถียรเนื่องจากขาดอิเล็กตรอน โดยปกติในร่างกายของเรามีโมเลกุลหรืออะตอมที่มีอิเล็กตรอนอยู่เป็นจำนวนคู่ ในกรณีที่ร่างกายมีการสูญเสียอิเล็กตรอนจากการถูกอนุมูลอิสระแย่งจับ จะทำให้โมเลกุลของเซลล์ในร่างกายไม่เสถียร ขาดความสมดุล ซึ่งส่งผลทำให้เซลล์ร่างกายเสียหายได้ สารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) เป็นสารประกอบสำคัญที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วในกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายจะสร้างของเสียออกมา ซึ่งของเสียหนึ่งในนั้นก็คือสารอนุมูลอิสระ ดังนั้นเราจึงต้องการสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยทำให้โมเลกุลที่ไม่เสถียรนี้มีความเป็นกลาง และช่วยปกป้องร่างกายจากการเสื่อมโทรมของเซลล์เหล่านี้ อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง 1. ดาร์กช็อกโกแลต (Dark Chocolate) เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งมีปริมาณโกโก้มากกว่าช็อกโกแลตทั่วไป จึงทำให้มีแร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่า จากการวิเคราะห์หาปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระชองดาร์กช็อกโกแลต พบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระมากถึง 15 มิลลิโมล ต่อ 3.5 ออนซ์ (100 กรัม) ทั้งยังช่วยในการทำให้การอักเสบน้อยลงและลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ 2. ผักเคล (Kale) หรือเรียกอีกชื่อว่า “ผักคะน้าใบหยิก” เป็นผักใบเขียวที่มีคุณค่าทางโภชนาการมาก และยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินเค และวิตามินซีจากการวิเคราะห์หาปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระของผักเคล พบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระมากถึง 2.7 มิลลิโมล […]

superadmin

5 July 2021

เครื่องวัดออกซิเจนกับโควิด 19

หากพูดถึงสถานการณ์ของโรคระบาดไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทยกล่าวได้ว่ายังเป็นเรื่องที่ควรวิตกกังวล เนื่องจากพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งมีรายงานว่าพบผู้ป่วยโควิดจำนวนหนึ่งที่ไม่แสดงอาการป่วย แทบจะไม่มีอาการเหนื่อยหรือมีอาการบ่งชี้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แต่พบว่าปอดมีความผิดปกติ เมื่อตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดพบว่าระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำแต่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อความผิดปกตินี้ ส่งผลให้เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ อาการจึงรุนแรงกว่าที่คาดไว้ เราเรียกสภาวะนี้ว่า ภาวะพร่องออกซิเจนเรื้อรัง (Happyhypoxia) ดังนั้นเครื่องตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด หรือ Pulse Oximeter จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยติดตามอาการของผู้ป่วยโควิด 19 ทั้งผู้ป่วยที่รักษาตัวที่โรงพยาบาลและที่บ้าน เครื่องวัดออกซิเจนมีทั้งแบบตั้งพื้นและแบบพกพา ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะเครื่องวัดออกซิเจนพกพาแบบปลายนิ้ว หรือชื่อเต็มคือเครื่องตรวจวัดความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินจากชีพจร โดยจะบอกค่าโดยประมาณของระดับความอิ่มตัวออกซิเจนที่จับกับฮีโมโกลบินที่อยู่ภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งหากค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดสูง แสดงว่าอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายสามารถนำออกซิเจนในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ ในทางกลับกันหากค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดต่ำแสดงว่าอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย อีกทั้งค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดนี้ยังเป็นค่าสำคัญที่ใช้บอกประสิทธิภาพการทำงานของปอดด้วย ความอิ่มตัวของออกซิเจน (SpO2 ) คืออะไร ? ส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีหน้าที่นำออกซิเจนไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเรียกว่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) โดยทั่วไปแล้วฮีโมโกลบิน 1 โมเลกุล จะสามารถจับกับออกซิเจนได้ 4 โมเลกุล ในเม็ดเลือดแดงจะมีฮีโมโกลบินอยู่ 4 ชนิด ซึ่งเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วนี้จะตรวจวัดได้แค่ 2 ชนิด […]

superadmin

2 July 2021

แผ่นกรองอากาศ HEPA (HEPA Filter) ทำงานอย่างไร

แผ่นกรองอากาศ HEPA ทำจากเส้นใยไฟเบอร์กลาสที่สานกันไปมาอย่างละเอียด ทำให้ดักจับฝุ่นได้ดียิ่งขึ้นแม้ว่าฝุ่นนั้นจะมีขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอน หลักการทำงานที่สำคัญ คือ Impaction อนุภาคบางส่วนติดหรือถูกจับเมื่อชนกับเส้นใยโดยตรง Interception อนุภาคบางส่วนที่ยังสามารถเคลื่อนไหวต่อไปได้ แต่ก็จะไปชนและถูกดักจับในเส้นใยชั้นถัดไป Diffusion อนุภาคขนาดเล็กเคลื่อนที่แบบไร้ทิศทาง ครั้งชนกันแล้วไปติดที่เส้นใย ดังนั้น เราจึงมักพบแผ่นกรองอากาศ HEPA ในขั้นตอนการทำงานของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกรองอากาศอยู่เสมอ เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศหรือในบางครั้งก็พบในเครื่องดูดฝุ่นอีกด้วย อ้างอิง http://www.shimono.in.th/hepa-fillter/https://www.explainthatstuff.com/hepafilters.htmlhttps://www.bioplusgroup.com/page/id/ตู้ปลอดเชื้อคืออะไร

superadmin

2 July 2021

วัคซีนคืออะไร (What is a vaccine?)

ในวัยเด็ก ทุกคนต้องเคยยืนต่อแถวรอฉีดวัคซีน (Vaccine) ที่โรงเรียนกันมาบ้าง ปลายแหลม ๆ ของเข็มฉีดยา คงน่ากลัวไม่น้อยสำหรับเด็ก ๆ บางคนร้องไห้ บางคนวิ่งหนี แต่ทุกคนก็ต้องถูกฉีดวัคซีนจนได้ นั่นเป็นเพราะว่า วัคซีนมีความสำคัญในการป้องกันโรคต่าง ๆ วัคซีน (Vaccine) คือ สารชนิดหนึ่งที่ฉีดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค ในวัคซีนมีเชื้อโรคที่ไม่ทำให้เกิดโรค ได้มาจากส่วนประกอบของเชื้อโรค เชื้อโรคที่ตาย หรืออ่อนฤทธิ์แล้ว เมื่อร่างกายได้รับวัคซีน ก็จะมีคู่ซ้อมในการสร้างภูมิคุ้มกันโรค เนื่องจากเชื้อโรคในวัคซีน ไม่ใช่เชื้อโรคจริง เม็ดเลือดขาวจะเสมือนได้ซ้อมต่อสู้กับเชื้อโรค หากเกิดการติดเชื้อโรคจริง ๆ ขึ้นมา เม็ดเลือดขาวที่เคยผ่านการต่อสู้มาแล้ว ก็จะชนะเชื้อโรคได้ ภูมิคุ้มกันจะจดจำการต่อสู้กับเชื้อโรคนั้น หากร่างกายได้รับเชื้อโรคชนิดเดิมซ้ำอีก มันจะถูกกำจัดอย่างรวดเร็ว เป็นการช่วยลดความร้ายแรง และลดอาการป่วยหนักจากโรค วัคซีนไม่ใช่สารที่มีภูมิคุ้มกันโรค ความจริงแล้ว วัคซีนเป็นสารที่มีเชื้อโรคที่ไม่อันตรายต่อร่างกาย ซึ่งจะเข้าไปช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อเชื้อโรคนั้น ๆ อ้างอิงhttps://bit.ly/2TmZPVfhttps://bit.ly/3h6biBthttp://guruvaccine.comhttps://www.facebook.com/thaimoph/

superadmin

1 July 2021

Work From Home อย่างไร ให้ไม่เป็น Office Syndrome

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทําให้หลาย ๆ คนต้อง work from home อยู่กับบ้าน นั่งทํางานผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือมือถือเป็นเวลานานติดต่อกันหลายชั่วโมงก็อาจทําให้เกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณคอ บ่า ไหล่ ข้อมือ หรือปวดศีรษะ แต่คุณรู้หรือไม่อาการเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรมก็เป็นได้ ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คืออะไร ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คือกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากลักษณะการทํางานที่ไม่เหมาะสม มักพบได้บ่อยในคนที่นั่งทํางานนาน ๆ โดยไม่ขยับลุกไปไหน ไม่มีการปรับเปลี่ยนท่า ท่านั่งไม่เหมาะสมสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออํานวยต่อการทํางาน ซึ่งลักษณะเช่นนี้อาจทําให้ปวดกล้ามเนื้อ รวมถึงอาการชาบริเวณแขน มือ และปลายนิ้ว จากปลายประสาทที่ถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง อาการของออฟฟิศซินโดรม • ปวดตึงบริเวณ คอ บ่า ไหล่ จากการนั่งท่าเดิมนาน ๆ• มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค จากการกดทับปลายประสาท และการอักเสบของเส้นเอ็น• อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ และปวดกระบอกตา• อาการเหน็บชา และแขนขาอ่อนแรง การป้องกันเพื่อลดปัญหาออฟฟิศซินโดรม เตรียมร่างกายให้พร้อม […]

superadmin

1 July 2021
1 24 25 26 43