สัตว์น่ารักอันตรายกว่าที่คิด

สิ่งมีชีวิตมี “พิษ” ที่เปรียบเสมือนอาวุธที่ใช้เอาชีวิตรอด เมื่อพูดถึงสัตว์มีพิษหลายคนคงคิดถึงงู หรือแมลงต่าง ๆ แต่ใครจะไปรู้ว่าสัตว์ที่มีหน้าตาน่ารักอย่าง “นางอาย” ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมนั้นจะมีพิษร้ายแรงด้วยเหมือนกัน อย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันนี้มีคนที่เลี้ยงสัตว์แปลก ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งนางอายก็เป็นอีกหนึ่งสัตว์เลี้ยงที่มีคนแอบลักลอบเลี้ยง นอกจากผิดกฎหมายแล้วยังอันตรายกว่าที่คุณคิด เนื่องจากนางอายมีต่อมผลิตพิษใต้แขน โดยมันจะเลียพิษที่ออกมาจากต่อมผสมกับน้ำลายก่อนกัดจะทำให้แผลที่เกิดขึ้นหายช้าและกลายเป็นหลุมทำให้เนื้อตายในภายหลังและถ้ากัดคนพิษของมันอาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรง หายใจไม่ออกจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนางอายก็ยังมีตุ่นปากเป็ดที่มีเดือยพิษที่ฝ่าเท้าด้านหลังไม่เป็นอันตรายมากนัก แต่จะทำให้สัตว์ผู้ล่ารู้สึกระคายเคืองเจ็บปวดจนไม่อยากกินมันได้ ถึงแม้สัตว์บางตัวจะหน้าตาน่ารักแค่ไหนเราก็ไม่ควรที่จะไปสัมผัสหรือนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง ควรปล่อยให้มันอยู่ตามธรรมชาติและชื่นชมอย่างห่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยสัตว์และตัวเราเอง อ้างอิง https://www.bbc.com/thai/features-51414582https://www.bbc.com/thai/international-55608809http://realmetro.com/slow-lorishttps://board.postjung.com/1069220

superadmin

30 September 2021

“HEPA” เทคโนโลยีมีแร่

ในภาวะปัจจุบัน เราประสบกับปัญหามลพิษทางอากาศ เช่น มลพิษจากท่อไอเสีย มลพิษจากโรงงานอุตสากรรม ไฟป่าหรืออื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงการสะสมตัวของฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งทั้งหมดนี้มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ แต่กระทบมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงคิดค้นเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อป้องกันอันตรายจากมลพิษ เทคโนโลยีนี้มีชื่อเรียกว่า HEPA มาดูกันว่า HEPA คืออะไร HEPA ย่อมาจาก High Efficiency Particulate Air เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในแผ่นกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นได้สูงกว่าปกติ สามารถดักจับฝุ่นที่มีอนุภาคเล็กถึง 0.3 ไมครอนได้ นิยมใช้ในเครื่องฟอกอากาศ HEPA ทำมาจากไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) หรือเส้นใยแก้ว ซึ่งนอกจากจะมีสมบัติด้านความแข็งแรงทนทาน ยังมีสมบัติการเป็นฉนวนความร้อน อีกทั้งสามารถทอเป็นผืนและเย็บเป็นชิ้นได้ จากโครงสร้างของแผ่นกรองที่ทำจากเส้นใยแก้วซึ่งมีช่องว่างภายใน ทำให้ดักฝุ่นได้ดีและมีความสามารถในการป้องกันความร้อนได้อีกด้วย ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) หรือ เส้นใยแก้ว เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นจากทรายแก้ว ผสมด้วยหินปูน หินฟันม้า เติมกรดบอริกและสารเติมแต่งอื่นๆ เรามาดูสมบัติของแร่เหล่านี้กัน ทรายแก้วหรือแร่ควอตซ์  มีหลายสีหลายแบบ สูตรเคมี SiO2 ความแข็ง 7 โปร่งใสถึงโปร่งแสง วาวแบบแก้ว น้ำมัน ยางสน รอยแตกแบบก้นหอย แนวแตกเรียบไม่ชัดเจน มีสมบัติทางไฟฟ้าสูง   […]

superadmin

28 September 2021

บลูชีส (Blue cheese) อาหารจากเชื้อรา

มารู้จักชีสกันเถอะ ชีสทำมาจากอะไร? ชีส (Cheese) หรือเนยแข็ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม โดยใช้น้ำนมที่ผ่านกระบวนการพลาสเจอร์ไรส์หรือน้ำนมดิบ แล้วใส่เชื้อแบคทีเรียแลคติกพร้อมกับเติมเอนไซม์เรนนิน เพื่อให้โปรตีนตกตะกอนจับกันเป็นลิ่มสีขาว (Curd) หลังจากนั้นนำมาอัดรวมกันเป็นก้อนและนำไปบ่มเพื่อให้ได้รสชาติที่ต้องการ นอกจากนี้ชีสยังมีวิธีการผลิตที่ซับซ้อนแตกต่างกันออกไป โดยชีสบางชนิดมีการใส่วัตถุดิบแปลกๆ ลงไปด้วย นั่นคือ เชื้อรา (mold) อย่างเช่นในบลูชีส แล้วทำไมราที่อยู่บนบลูชีสถึงกินได้ ? วันนี้ลองมารู้จักบลูชีสกันเถอะ บลูชีส (Blue cheese) คืออะไร? บลูชีสเกิดจากการใส่สปอร์ของราเพนิซิลเลียม (Penicillium) โดยใช้เพนิซิลเลียม ร็อคฟอร์ติ (Penicillium roqueforti) หรือเพนิซิลเลียม กลูคัม (Penicillium glaucum) ซึ่งเป็นเชื้อราที่เป็นประโยชน์ลงไปในระหว่างกระบวนการผลิต เชื้อราจะเจริญเติบโตจนได้ชีสที่เราเห็นเป็นจุดสีฟ้าปนเขียวอยู่เต็มทั้งก้อน จึงทำให้กลายเป็นชื่อเรียกของชีสชนิดนี้นั่นเอง ทางด้าน รสชาติ กลิ่น สี ลักษณะเนื้อสัมผัส (texture)  ที่แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเก็บรักษา ชนิดของน้ำนมและกรรมวิธีการผลิตของแต่ละท้องถิ่น ชีสชนิดนี้มีการผลิตในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก จึงมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ในประเทศฝรั่งเศส เรียกว่า ร็อคฟอร์ต (Roquefort) ประเทศอังกฤษเรียกว่า สติลตัน (Stilton) และในอิตาลี เรียกว่า กอร์กอนโซล่า (Gorgonzola) […]

superadmin

23 September 2021

ทองคำเสริมความงามจากภายในได้จริงหรือ

ทองคำ แร่โลหะมูลค่าสูงมีประโยชน์มากมายทั้งใช้เป็นหลักประกันในการแลกเปลี่ยนเงินตราของนานาประเทศ ใช้ทำเครื่องประดับ ทำส่วนประกอบของเครื่องมือวิทยาศาสตร์และงานอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงสามารถใช้แปรเปลี่ยนเป็นเงินได้ในยามขัดสน และในบางครั้งทองคำถูกนำมาใช้ในด้านส่งเสริมความงาม  ทองคำเสริมความงามจากภายในได้จริงหรือ ทอง เป็นแร่ธาตุโลหะตามธรรมชาติที่มีสมบัติเด่นคือ สีผิวและสีผงของแร่มีสีเหลืองทองเช่นเดียวกัน มีน้ำหนักตึงมือเนื่องจากมีค่าความถ่วงจำเพาะสูงถึง 15 – 19 ขึ้นอยู่กับมลทินที่ปะปนแล้ว มีความแข็งที่ประมาณ 2-3 ตามโมห์สเกล มีความวาวแบบโลหะ และยังมีความอ่อนตัวจึงสามารถทุบเป็นแผ่นบาง ดัดและดึงเป็นเส้นได้ ทองคำ พบได้ในหินเกือบทุกชนิด แต่พบในปริมาณน้อยเฉลี่ยเพียง 0.0035 กรัมต่อตันเปลือกโลกเท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีบางพื้นที่มีสภาพทางธรณีวิทยาเหมาะสมกับการเป็นแหล่งสะสมตัวทองคำ เช่นแหล่งทองคำที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดเลย มนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองคำหลากหลายรูปแบบ โดยมากจะเป็นประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจในทุกระดับ และยังมีการนำทองคำผสมในเครื่องสำอางต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าโดยอ้างสรรพคุณลดเลือนริ้วรอย ถึงแม้ว่าปัจจุบันวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ได้มีการค้นพบว่าทองคำสามารถต้านอนุมูลอิสระและรักษาการอักเสบของโรคเก๊าได้ดี จึงทำให้เกิดแนวคิดว่าหากนำทองคำมาใช้ในการต้านอนุมูลอิสระที่ผิวหนังน่าจะได้ผลดีเช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้ยังไม่มีงานวิจัยใดรองรับแนวคิดนี้ และถึงแม้ว่าทองคำบริสุทธิ์จะไม่ได้เป็นพิษต่อร่างกาย แต่สำหรับบางคนอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ และหากถูกสังเคราะห์ให้อนุภาคมีขนาดเล็กลงหรืออยู่ในรูปของเกลือและรับเข้าสู่ร่างกาย ก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายในและยับยั้งการสร้างเม็ดเลือดได้อีกด้วย จากคำถามที่ว่า “ทองคำเสริมความงามจากภายในได้จริงหรือ” เมื่อยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้รอบด้านถึงผลลัพธ์ที่จะตามมา รวมถึงความคุ้มค่าและเงินในกระเป๋าสตางค์ อ้างอิง แร่ : กรมทรัพยากรธรณีhttps://bit.ly/3kuDvE2https://bit.ly/3lMfDuJhttps://bit.ly/3AvJU7hhttps://bit.ly/3CD5qb7

superadmin

22 September 2021

กินเห็ดแล้วมีประโยชน์อย่างไร

เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่งที่มนุษย์เรารู้จักและนำมาบริโภคเป็นอาหารและยามานานหลายร้อยปีด้วย ที่มีรสชาติที่หลากหลาย จึงเป็นที่นิยมในการนำไปประกอบเป็นอาหาร อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จึงเหมาะที่จะเป็นเมนูสำหรับคนรักสุขภาพ มาทำความรู้จักเห็ดกัน เห็ด (Mushrooms) เป็นราชนิดหนึ่ง ที่ถูกจัดอยู่ในอาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi) ไม่สามารสังเคราะห์แสงด้วยตัวเองได้เนื่องจากไม่มีคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เห็ดจึงเป็นราขนาดใหญ่ซึ่งมีการเจริญเติบโตเป็นเส้นใย เมื่อถึงระยะที่จะสืบพันธุ์เส้นใยจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนดอกเห็ด เพื่อสร้างสปอร์ไว้กระจายพันธุ์ต่อไป มีรูปร่างสวยงามแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเห็ดนั้น ๆ ประโยชน์ของเห็ดมีอะไรบ้าง 1. มีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็ง ในปี 2010 มีการศึกษาและถูกตีพิมพ์ในวารสาร Experimental Biology and Medicine ได้ทดสอบเห็ด 5 ชนิด ได้แก่ เห็ดไมตาเกะ เห็ดคริมมินิเห็ดกระดุมสีน้ำตาล เห็ดนางรม และเห็ดกระดุมสีขาว พบว่าสามารถยับยั้งการเติบโตและการสืบพันธุ์ของเซลล์มะเร็งเต้านมได้ นอกจากนี้เห็ดหอมหรือเห็ดซิตาเกะ ยังมีสารเลนทิแนน (Lentinan) ซึ่งเป็นโมเลกุลของน้ำตาลชนิดหนึ่ง ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยมะเร็งบางชนิดในระหว่างที่เข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด แม้ว่าจะไม่ได้ฆ่าเซลล์มะเร็งโดยตรง แต่จะช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจช่วยในการชะลอการเติบโตของเนื้องอกได้และยังฆ่าไวรัสและจุลินทรีย์โดยตรงในการศึกษาในห้องปฏิบัติการ นักวิจัยในญี่ปุ่นได้ทำการศึกษาผู้ชายมากกว่า 36,000 คน พบว่าคนที่กินเห็ดเป็นประจำมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากลดลง ส่วนคนที่กินเห็ด 3 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่ำกว่าผู้ที่กินเห็ดน้อยกว่า 17 […]

superadmin

16 September 2021

กลิ่นไอดิน เมื่อยามฝนตก เกิดจากอะไร

เมื่อฤดูฝนมาเยือน บรรยากาศของฝนตกหรือหลังฝนตกนั้น เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงนึกถึงบรรยากาศของความสดชื่น และได้กลิ่นที่คุ้นเคย เช่น กลิ่นไอดินที่ออกมาจากผิวดิน ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายและสดชื่นกลิ่นไอดิน คือ อะไร กลิ่นไอดินที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาฝนตกนั้นในทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า เพทริเคอร์ (Petrichor) ซึ่งกลิ่นนี้ไม่ได้เกิดจากดินกับน้ำฝน แต่เกิดจากจุลินทรีย์ที่ชื่อว่า สเตรปโตมัยซีส (Streptomyces) ผลิตสารชนิดหนึ่ง เรียกว่า จีโอสมิน (Geosmin) จุลินทรีย์ชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มแอคติโนมัยซีส (Actinomycetes) เป็นแบคทีเรียที่พบมากในดิน มีลักษณะรูปร่างเป็นเส้นใย โดยเส้นใยมีทั้งส่วนที่เจริญไปในแหล่งอาหารและชูขึ้นไปในอากาศ สืบพันธุ์โดยการใช้สปอร์ ในระบบนิเวศจะทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ เพื่อเป็นธาตุหมุนเวียนให้กับพืชและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน เมื่อแบคทีเรียชนิดนี้ตายลงจะสร้างสารจีโอสมิน (Geosmin) ขึ้นมา ในขณะที่ฝนตกลงมากระทบกับพื้นดิน จะเกิดการฟุ้งกระจายของสปอร์ของแบคทีเรียและลอยขึ้นไปในอากาศ พร้อมกับโมเลกุลของจีโฮสมิน จึงทำให้เราสัมผัสกลิ่นนี้ได้ นอกจากแบคทีเรียชนิดนี้แล้ว สารจีโอสมินยังพบในพืชบางชนิดที่จะผลิตออกมาในขณะที่ดินไม่มีน้ำหรือแห้งแล้งเพื่อชะลอการงอกของเมล็ดพืช ซึ่งเมื่อฝนตกก็จะผสมไปพร้อม ๆ กับสารจีโอสมินที่แบคทีเรียสร้างนั่นเอง หลังฝนตกทำไมเราจึงเห็นแมลงและสัตว์ต่าง ๆ ออกมาจากดินมากมาย กลิ่นไอดินมีประโยชน์อย่างไรต่อธรรมชาติ กลิ่นไอดินที่เราได้สัมผัสนั้น นอกจากมนุษย์ที่ได้กลิ่นนี้แล้ว ในธรรมชาติยังมีสัตว์อีกหลายชนิดที่มีความไวต่อกลิ่นนี้ นั่นคือ สัตว์จำพวกขาปล้อง เช่น มด […]

superadmin

15 September 2021

ทำไมต้องใช้หินแกรนิต

เคยสังเกตแผ่นหินขนาดใหญ่ที่นำมาสลักเป็นป้ายชื่อประดับหน้าอาคาร แผ่นหินปูพื้น/ ผนัง หรือปูโต๊ะในห้องครัว หรือแม้กระทั่งหินแกะสลักเป็นรูปทรงต่าง ๆ ที่มักพบประดับตามสวนสาธารณะ ทราบหรือไม่ว่านั่นคือ หินแกรนิต หินแกรนิต (granite) คือ หินอัคนีชนิดหนึ่ง เกิดจากแมกมาเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ จึงทำให้แร่ที่เป็นส่วนประกอบในแมกมา มีเวลาจับตัวกันเป็นผลึกขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หินแกรนิต ประกอบด้วยแร่หลัก 3 ชนิด นั่นคือแร่ควอตซ์ (quartz) แร่เฟลด์สปาร์ (feldspar) และแร่สีเข้มที่มีประกอบเป็นส่วนน้อย เช่น แร่ฮอร์นเบลนด์ (hornblend) แร่ไพรอกซีน (pyroxene) เป็นต้น หินแกรนิตในธรรมชาติมักมีสีอ่อน ส่วนจะมีสีใดนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณและแร่ธาตุที่เข้าไปปะปนอยู่ในหิน เช่น แร่ควอตซ์ทำให้หินแกรนิตเป็นสีขาวหรือเทา แร่เฟลด์สปาร์ทำให้หินมีสีแดงหรือสีชมพู ส่วนแร่สีเข้มทำให้หินแกรนิตมีสีเข้มของสีเขียว สีน้ำตาลหรือสีดำ ของแร่แต่ละชนิดปะปน ทำให้เกิดลวดลายตามธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ การนำแกรนิตไปใช้ประโยชน์ ด้วยคุณสมบัติของแร่ประกอบหินแกรนิตแต่ละชนิด มีความทนทานต่อการผุกร่อนตามธรรมชาติหรือการขูดขีด เนื่องจาก แร่ควอตซ์ (quartz) มีความแข็งระดับ 7 ตามโมห์สเกล  แร่เฟลด์สปาร์ (feldspar) มีความแข็งระดับ 6 ตามโมห์สเกล […]

superadmin

11 September 2021

เอนไซม์ พลังจิ๋วขจัดคราบในผงซักฟอก

หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องของพลังเอนไซม์กำจัดคราบสกปรก จากโฆษณาผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก แต่รู้หรือไม่ว่า เอนไซม์ที่ใช้ในผงซักฟอกเป็นเอนไซม์ประเภทเดียวกับเอนไซม์ที่ใช้ในระบบย่อยอาหาร โดยหน้าที่ของเอนไซม์ คือ ช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมี ทำให้สารโมเลกุลใหญ่ถูกย่อยเป็นสารที่มีขนาดเล็ก เมื่อเติมเอนไซม์ลงในผงซักฟอกจึงทำให้ผงซักฟอกมีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบสกปรกขนาดใหญ่ที่เกาะติดกับเส้นใยผ้าถูกเอนไซม์ย่อยสลายเป็นอนุภาคขนาดเล็กแล้วหลุดออกจากเส้นใยผ้าได้ง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความร้อนสูงในการซักผ้า เพื่อให้คราบกำจัดออกได้ง่าย ซึ่งการใช้ความร้อนนี้มีผลเสีย ทำให้เส้นใยผ้าถูกทำลาย และมีสีซีด และอีกหนึ่งข้อดีของเอนไซม์คือเป็นสารที่มีขนาดเล็ก สามารถใช้ในปริมาณไม่มาก แต่มีประสิทธิภาพในการทำปฏิกิริยาซ้ำได้หลายรอบ เอนไซม์ที่ถูกเติมในผงซักฟอกมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีความจำเพาะในการย่อยสลายสารต่างประเภทกัน โดยเอนไซม์ที่นิยมนำมาเติมลงในผงซักฟอกมีหลัก ๆ 3 ชนิด คือ โปรติเอส (proteases) คือ เอนไซม์ที่มีหน้าที่ย่อยโปรตีนให้มีขนาดเล็ก โดยกระบวนการย่อยสลายโปรตีน (proteolysis) ตัดสายเพปไทด์ให้มีขนาดที่เล็กลง คราบโปรตีนบนเสื้อผ้าจึงหลุดออกได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น รอยเลือด, คราบหญ้า, ไข่, เหงื่อ และคราบอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรตีน อะไมเลส (α-amylases) คือ เอนไซม์ที่มีหน้าที่ย่อยแป้งให้มีขนาดเล็ก โดยใช้เพื่อกำจัดคราบอาหารเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของแป้ง เช่น แป้งพาสต้า, มันฝรั่ง, น้ำเกรวี่, ช็อกโกแลต, และอาหารเด็ก เป็นต้น นอกจากนี้อะไมเลสยังช่วยกำจัดคราบเจลที่เกิดจากการบวมของเม็ดแป้ง ทำให้เกิดคราบเหนียวจับกับฝุ่นละอองได้ง่าย และทำให้ผ้าไม่ขาวสะอาดอีกด้วย ไลเปส (lipase) […]

superadmin

9 September 2021

รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV)

รถยนต์ไฟฟ้าเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบัน ทดแทนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยใช้แหล่งพลังงานจากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งน้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่นับวันจะหมดไปเรื่อย ๆ รถยนต์ไฟฟ้าจะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าโดยใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่อาจเป็นแบตเตอรี่หรือแหล่งพลังงานอื่นโดยไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง ไม่ปล่อยคาร์บอนมอนอกไซด์ ไม่เกิดฝุ่นและเสียงรบกวน ถือว่าเป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (low carbon society) อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้าปัจจุบันยังมีทั้งแบบอาศัยเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในมาใช้ร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าทั้งในส่วนการขับเคลื่อนและผลิตพลังงานไฟฟ้าเก็บสะสมในแบตเตอรี่ หรือเป็นแบบที่ใช้เชื้อเพลิงอื่นอย่างแก๊สไฮโดรเจนมาผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงด้วยดังนั้น จึงแบ่งรถยนต์ไฟฟ้าออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% จากแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า โดยต้องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานภายนอก และไม่มีเครื่องยนต์ที่ต้องเผาไหม้เชื้อเพลิงจึงไม่มีการปล่อยไอเสียออกมา 2) รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมประกอบไปด้วยเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนเป็นหลัก ร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมแบตเตอรี่ ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่ำกว่ารถยนต์ทั่วไป ไม่มีช่องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานภายนอก 3) รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in Hybrid Electric Vehicle: PHEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนามาจากแบบไฮบริด แต่มีช่องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานภายนอกได้สามารถวิ่งได้ระยะทางที่ไกลกว่าแบบไฮบริด 4) รถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric […]

superadmin

7 September 2021

ภาพมองตาม (HOLLOW-FACE ILLUSION)

ภาพมองตาม (hollow-face illusion) เป็นภาพลวงตา (optical illusion) ที่น่าทึ่ง เมื่อเรามองไปที่ภาพใบหน้าคน ในขณะที่เรายืนห่างออกมา 3-5 เมตร จะเห็นว่าภาพนั้นหันหน้ามองมาทางเรา แต่เมื่อเราเดินไปทางซ้าย หรือเดินไปทางขวา พบว่าภาพนั้นหันหน้าตามเรามาด้วย ภาพสามารถหันหน้าตามเราได้จริง ๆ หรือว่าเราตาฝาดกันแน่ ในการเห็นภาพต่าง ๆ นั้น มีความสัมพันธ์กับกระบวนการทางสมองของเรา สมองรู้ว่าหน้าเป็นทรงนูน (convex) ไม่ใช่ทรงเว้า (concave) โดยอันที่จริงแล้ว ภาพมองตาม เป็นภาพที่เว้า (hollow) ลึกเข้าไป แต่ด้วยกระบวนการของสมองเห็นว่าภาพเป็นหน้าทรงนูน และเมื่อเราเคลื่อนที่ไป เงา (shadow) บนหน้าของภาพลวงตาที่เปลี่ยนไปทำให้เห็นว่าภาพหันหน้าตามเรามา มาพบกับ ภาพมองตาม ได้ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ กันนะครับ อ้างอิง https://1th.me/hSz3i

superadmin

6 September 2021

พฤติกรรมชวนสงสัยของสุนัข

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินว่าสุนัขคือเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์เพราะสุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีวิวัฒนาการในการปรับตัวให้ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด พร้อมทั้งมีหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดูและมีความสามารถที่โดดเด่นทำให้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มนุษย์นิยมเลี้ยงมาก แต่ในการเลี้ยงสุนัขนั้นต้องการความเอาใจใส่และความเข้าใจเป็นอย่างมาก วันนี้เราจะมาอธิบายพฤติกรรมสุนัขที่หลายคนไม่เข้าใจตามหลักชีววิทยาให้คนรักสุนัขได้เข้าใจสัตว์เลี้ยงของคุณได้มากยิ่งขึ้น มาพูดกันถึงพฤติกรรมอันน่าสงสัยอย่างแรก คือ ทำไมสุนัขถึงเล่นได้ตลอดทั้งวัน เมื่อพูดถึงเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกายของสุนัขนั้น จะต้องบอกเลยว่าสุนัขนั้นมีความแข็งแรงว่องไวเป็นอย่างมาก เพราะสุนัขมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง และระบบหมุนเวียนเลือดที่ช่วยในการวิ่ง ทำให้สามารถวิ่งได้เป็นเวลานาน นี่คือเหตุผลที่สุนัขสามารถเล่นซนได้ทั้งวัน และวิธีที่จะช่วยได้ คือ การพาออกไปวิ่งหรือเดินออกกำลัง เพื่อลดพลังงานที่มีจำนวนมากให้ลดน้อยลง และสิ่งที่คนเลี้ยงสุนัขต้องเจอนั่นก็คือ การเห่า (Barking) การร้องคราง (Whine) และการคำราม (Growl) ซึ่งสุนัขจะใช้การเห่าเป็นการส่งเสียงบอกความเป็นเจ้าของในเขตแดนหรือพื้นที่ของตนเอง ใช้การร้องครางในการเรียกร้องความสนใจจากเจ้าของหรือจากแม่ของมัน และสุนัขจะคำรามบ่งบอกถึงความก้าวร้าว อย่างเช่นเมื่อถูกคุกคามหรือถูกแย่งอาหารไป อีกพฤติกรรมที่น่าสงสัยว่าทำไมสุนัขของคุณจะวิ่งไปดมทุกสิ่งทุกอย่าง ดมจนทั่วบริเวณเลยทีเดียวหรือแม้แต่เวลาเจอสุนัขตัวอื่นก็จะเห็นได้ว่าสุนัขจะดมบริเวณก้นของสุนัขอีกตัว เนื่องจากสุนัขมีประสาทสัมผัสที่ว่องไวมากโดยเฉพาะการดมกลิ่น ภายในจมูกของสุนัขมีเซลล์รับกลิ่นที่เรียกว่า Olfactory cells อยู่จำนวนมาก ซึ่งทำให้สามารถรับกลิ่นได้ไวมากกว่ามนุษย์ถึง 40 เท่า เซลล์เหล่านี้จะอยู่ตามผิวภายในโพรงจมูก ซึ่งสุนัขจะใช้กลิ่นในการสื่อสาร รับและจดจำข้อมูล ส่งสัญญาณเตือนภัย หรือแสดงอาณาเขต เปรียบได้ว่าสุนัขรับรู้และมองเห็นโลกภายนอกผ่านจมูกนั่นเอง มนุษย์จึงนำความสามารถใช้การรับกลิ่นของสุนัขในภารกิจต่าง ๆ เช่น ใช้สุนัขติดตามค้นหาบุคคลในสถานการณ์ต่าง ๆ ค้นหายาเสพติด หรือวัตถุผิดกฎหมายต่าง ๆ เป็นต้น พฤติกรรมที่มักจะเห็นได้บ่อยคือ การเอียงหัวหรือยกหู เพราะหูของสุนัขนั้นมีกล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่มากกว่าในหูของมนุษย์ถึงสี่เท่า […]

superadmin

3 September 2021
1 9 10 11 15