
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาได้จัดกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 18 – 21 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาได้จัดกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 18 – 21 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
การประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” เชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” ประเภท สิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ โครงการกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับผู้สูงวัย “แฮปปี้…สูงวัย” ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยสามารถกรอก ใบสมัครลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ และส่งหลักฐานการสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 9 มิถุนายน 2566 รายละเอียดโครงการ : หลักเกณฑ์การประกวด หรือ สแกน QR Code ในรูปภาพเพื่อดูรายละเอียดและสมัครได้เลยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-3910544, 02-3920508 และ 061-8793919 (อ.เอส) , 0852609401 (อ.เบนซ์) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ในภาวะปัจจุบัน เราประสบกับปัญหามลพิษทางอากาศ เช่น มลพิษจากท่อไอเสีย มลพิษจากโรงงานอุตสากรรม ไฟป่าหรืออื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงการสะสมตัวของฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งทั้งหมดนี้มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ แต่กระทบมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงคิดค้นเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อป้องกันอันตรายจากมลพิษ เทคโนโลยีนี้มีชื่อเรียกว่า HEPA มาดูกันว่า HEPA คืออะไร HEPA ย่อมาจาก High Efficiency Particulate Air เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในแผ่นกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นได้สูงกว่าปกติ สามารถดักจับฝุ่นที่มีอนุภาคเล็กถึง 0.3 ไมครอนได้ นิยมใช้ในเครื่องฟอกอากาศ HEPA ทำมาจากไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) หรือเส้นใยแก้ว ซึ่งนอกจากจะมีสมบัติด้านความแข็งแรงทนทาน ยังมีสมบัติการเป็นฉนวนความร้อน อีกทั้งสามารถทอเป็นผืนและเย็บเป็นชิ้นได้ จากโครงสร้างของแผ่นกรองที่ทำจากเส้นใยแก้วซึ่งมีช่องว่างภายใน ทำให้ดักฝุ่นได้ดีและมีความสามารถในการป้องกันความร้อนได้อีกด้วย ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) หรือ เส้นใยแก้ว เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นจากทรายแก้ว ผสมด้วยหินปูน หินฟันม้า เติมกรดบอริกและสารเติมแต่งอื่นๆ เรามาดูสมบัติของแร่เหล่านี้กัน ทรายแก้วหรือแร่ควอตซ์ มีหลายสีหลายแบบ สูตรเคมี SiO2 ความแข็ง 7 โปร่งใสถึงโปร่งแสง วาวแบบแก้ว น้ำมัน ยางสน รอยแตกแบบก้นหอย แนวแตกเรียบไม่ชัดเจน มีสมบัติทางไฟฟ้าสูง […]
อัญมณีส่วนใหญ่ได้จากธรรมชาติ ไข่มุกอาจนับเป็นอัญมณีชนิดเดียวในโลกที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต และใช้เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ โบราณเชื่อว่าไข่มุกเป็นของมีค่าเหมาะสำหรับชนชั้นสูง ตามตำนานเชื่อว่า ไข่มุกเป็นหยดน้ำตาแห่งความสุขของเทพธิดา แต่ในความจริงแล้วไข่มุกคืออะไร ไข่มุกเกิดจากสิ่งแปลกปลอมที่หลุดเข้าไปในตัวหอยพร้อมอาหาร ทำให้ตัวหอยเกิดความระคายเคือง จนหลั่งสารออกมาปกคลุมสิ่งแปลกปลอมนั้น เพื่อลดความระคายเคือง ยิ่งชั้นมุกมีความหนามากก็จะมีความวาวมาก และใช้เวลาหลายปีเพื่อก่อตัวเป็นไข่มุก เรามักนำมาทำเครื่องประดับ หรือเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง หนึ่งในไข่มุกธรรมชาติหายากและมีราคาแพง คือ ไข่มุกเมโล ไข่มุกเมโล (Melo Pearl) อีกชื่อหนึ่ง คือ มุกหอยโข่งทะเล หรือมุกสังข์ทะนาน เป็นไข่มุกธรรมชาติที่เกิดขึ้นในหอยโข่งทะเล และหอยสังข์ โอกาสเกิดไข่มุกเมโลมีเพียง 1 ตัว ในทุก ๆ 3,000 ตัว และพบได้เฉพาะในทะเลบริเวณประเทศเมียนมาร์ ไทย เวียดนาม และกัมพูชา ซึ่งไข่มุกเมโลมีหน่วยวัดน้ำหนักเป็นกะรัตเหมือนกับเพชร ไข่มุกเมโลมีหลายขนาด มักเป็นทรงกลม และมีความแข็งกว่าไข่มุกทั่วไป มีสีเหลืองอ่อน สีส้ม ไปถึงสีส้มเข้มจนเกือบสีน้ำตาล สีที่ดีและมีมูลค่ามากที่สุด คือ สีส้ม แต่สีของไข่มุกเมโลอาจจางลงได้เมื่อโดนแสงแดดเป็นเวลานาน เราสามารถเพาะเลี้ยงไข่มุกทั่วไปได้ แต่เรายังไม่ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงไข่มุกเมโล ธรรมชาติมอบสิ่งมีค่าให้แก่มนุษย์เสมอมา มีเรื่องน่ารู้ด้านธรรมชาติอีกมากมาย รอคุณอยู่ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) […]
ในสภาพอากาศที่ร้อนระอุในประเทศไทยตอนนี้ ทำให้เราเห็นข่าวว่ามีคนที่เกิดอาการชักจนเสียชีวิต เพราะอากาศที่ร้อนมากเกินไปหรือโรคลมแดด (Heat Stroke) แม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงเองก็พบว่าเวลาที่อากาศร้อนจะมีสัตว์เลี้ยงจำนวนมากที่มีอาการ Heat Stroke ได้เช่นเดียวกัน เพราะว่าร่างกายมีการตอบสนองเพื่อรักษาสมดุลอุณหภูมิ ถ้าหากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมากจนเกินไปไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิต่ำหรือสูงก็อาจจะส่งผลที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรืออาจจะรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตดังที่เป็นข่าว โดยปกติร่างกายของสัตว์เลือดอุ่นรวมไปถึงมนุษย์นั้น จะรักษาอุณหภูมิคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อม ดังนั้นร่างกายจึงจำเป็นที่จะต้องมีการรักษาสมดุลความร้อน หรือการสร้างความร้อนที่ได้สัดส่วนกับการกำจัดความร้อนนั่นเอง ซึ่งร่างกายจะถูกควบคุมด้วยสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypotalamus) ให้มีอุณหภูมิประมาณ 37 °C และร่างกายจะมีตัวรับ (Receptor) ที่ใช้ในการรับอุณหภูมิร้อนเย็น เมื่อร่างกายได้รับความร้อนผ่านตัวรับ ร่างกายจะมีการลดความร้อนและระบายความร้อนออกมา โดยการลดกระบวนการเผาผลาญลง หลั่งเหงื่อพร้อมกับมีการขยายตัวของหลอดเลือด เพื่อระบายความร้อน ซึ่งเป็นสาเหตุที่เหงื่อออกและหน้าแดงเวลาที่อากาศร้อน เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายลดลง ส่วนเวลาที่ร่างกายได้รับความเย็นผ่านตัวรับร่างกายจะตอบสนอง เพื่อสร้างความร้อนและลดการระบายความร้อนโดยการหนาวสั่นพร้อมกับมีการหดตัวของหลอดเลือด กล้ามเนื้อยึดเส้นขนบริเวณผิวหนังหดตัวดึงเส้นขนบริเวณผิวหนังให้ตั้งขึ้น เรียกว่าขนลุก อากาศจะไม่สามารถสัมผัสกับผิวหนังได้ช่วยลดการถ่ายเทความร้อนในร่างกายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ปกติอุณหภูมิที่ร่างกายรับการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่ออุณหภูมิอยู่ในช่วง 36-40 °C ซึ่งถ้าร่างกายมีอุณหภูมิที่ผิดปกติ ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงถึง 41°C ระบบประสาทบางส่วนจะถูกทำลายอย่างถาวร ทำให้เกิดอาการมึนงงและชักอย่างรุนแรง ถ้าอุณหภูมิยังสูงถึง 45°C ซึ่งเป็นขีดสุดที่ร่างกายจะทนไหว หากไม่มีการช่วยลดอุณหภูมิ เซลล์ทั่วไปของร่างกายจะถูกทำลายและอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ในที่สุด […]
หากพูดถึงสถานการณ์ของโรคระบาดไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทยกล่าวได้ว่ายังเป็นเรื่องที่ควรวิตกกังวล เนื่องจากพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งมีรายงานว่าพบผู้ป่วยโควิดจำนวนหนึ่งที่ไม่แสดงอาการป่วย แทบจะไม่มีอาการเหนื่อยหรือมีอาการบ่งชี้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แต่พบว่าปอดมีความผิดปกติ เมื่อตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดพบว่าระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำแต่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อความผิดปกตินี้ ส่งผลให้เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ อาการจึงรุนแรงกว่าที่คาดไว้ เราเรียกสภาวะนี้ว่า ภาวะพร่องออกซิเจนเรื้อรัง (Happyhypoxia) ดังนั้นเครื่องตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด หรือ Pulse Oximeter จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยติดตามอาการของผู้ป่วยโควิด 19 ทั้งผู้ป่วยที่รักษาตัวที่โรงพยาบาลและที่บ้าน เครื่องวัดออกซิเจนมีทั้งแบบตั้งพื้นและแบบพกพา ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะเครื่องวัดออกซิเจนพกพาแบบปลายนิ้ว หรือชื่อเต็มคือเครื่องตรวจวัดความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินจากชีพจร โดยจะบอกค่าโดยประมาณของระดับความอิ่มตัวออกซิเจนที่จับกับฮีโมโกลบินที่อยู่ภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งหากค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดสูง แสดงว่าอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายสามารถนำออกซิเจนในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ ในทางกลับกันหากค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดต่ำแสดงว่าอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย อีกทั้งค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดนี้ยังเป็นค่าสำคัญที่ใช้บอกประสิทธิภาพการทำงานของปอดด้วย ความอิ่มตัวของออกซิเจน (SpO2 ) คืออะไร ? ส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีหน้าที่นำออกซิเจนไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเรียกว่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) โดยทั่วไปแล้วฮีโมโกลบิน 1 โมเลกุล จะสามารถจับกับออกซิเจนได้ 4 โมเลกุล ในเม็ดเลือดแดงจะมีฮีโมโกลบินอยู่ 4 ชนิด ซึ่งเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วนี้จะตรวจวัดได้แค่ 2 ชนิด […]