ตามที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่
ข่าวสาร กิจกรรม บทความและนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ
กิจกรรมการประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย”
การประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” เชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” ประเภท สิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ โครงการกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับผู้สูงวัย “แฮปปี้…สูงวัย” ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยสามารถกรอก ใบสมัครลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ และส่งหลักฐานการสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 9 มิถุนายน 2566 รายละเอียดโครงการ : หลักเกณฑ์การประกวด หรือ สแกน QR Code ในรูปภาพเพื่อดูรายละเอียดและสมัครได้เลยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-3910544, 02-3920508 และ 061-8793919 (อ.เอส) , 0852609401 (อ.เบนซ์) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
หุ่นยนต์เดินตามแสง (Light Walking Robot)
ในยุคสมัยนี้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การที่หุ่นยนต์จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น เซนเซอร์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ซึ่ง LDR sensor ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ถูกนำมาใช้งาน LDR ย่อมาจาก Light Dependent Resistor คือตัวต้านทานปรับค่าตามแสงเมื่อทำงานร่วมกับวงจรไฟฟ้า จะเป็นเซนเซอร์ที่เปลี่ยนความเข้มแสงที่ได้รับให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า เมื่อแสงมาตกกระทบกับตัวเซนเซอร์ ค่าความต้านทานของตัวเซนเซอร์จะลดลง กระแสไฟฟ้าในวงจรเพิ่มขึ้นทำให้อุปกรณ์ทำงานได้ ในทางกลับกันเมื่อแสงตกกระทบที่ตัวเซนเซอร์ลดลง ค่าความต้านทางของตัวเซนเซอร์จะเพิ่มขึ้น กระแสไฟฟ้าลดลง ทำให้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องหยุดทำงาน สำหรับวิธีการใช้งานหุ่นยนต์เดินตามแสง (Light Walking Robot) ใช้แสงจากไฟฉายหรือจากโทรศัพท์มือถือส่องไปที่เซนเซอร์ตรวจรับแสง (LDR Sensor) หุ่นยนต์จะทำงานเดินตามแสงได้ตามที่ต้องการ Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
นิทรรศการเมืองเด็ก (Kids city exhibition)
Zone 1 : Small world (โลกใบจิ๋ว) ชวนน้องๆ มารู้จักกับเพื่อนนานาชาติ บนปราสาทหลังน้อย สัมผัสประสบการณ์การแต่งกายนานาชาติ ฟังนิทานเรื่อง “โลกของเรา” invite children to know friends international, on the little castle the experience of international dress listen to the “small world” Zone 2 : Fun Forest (ป่าแสนสนุก) เที่ยวเล่นป่าแสนสนุก พร้อมรู้จักสัตว์ป่านานาชาติ แอบฟังเสียงสัตว์ป่า ดูวงจรชีวิตสัตว์ใต้ดิน ฟังนิทานเรื่อง “บ้านของสัตว์ป่า” และเรื่อง “น้ำฝนมาจากไหน” Play wild fun and as wildlife I hear wildlife […]
หยดน้ำข้างแก้ว เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
หลายคนคงเคยสังเกตเห็นเวลาเราดื่มน้ำเย็น จะมีหยดน้ำเกาะข้างแก้วน้ำหรือขวดพลาสติก แล้วเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า หยดน้ำนั้นมาจากไหน บางคนอาจคิดว่าเป็นน้ำที่อยู่ในแก้วหรือขวดพลาสติกซึมออกมา แต่จริง ๆ แล้วหยดน้ำที่เกาะอยู่ข้างภาชนะนั้น เป็นน้ำที่มาจากไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศ! ไอน้ำ (vapor) คือน้ำที่อยู่ในสถานะแก๊ส หากอากาศมีปริมาณไอน้ำอยู่มาก แสดงว่ามีความชื้น (humidity) สูง แต่ถ้ามีไอน้ำน้อยแสดงว่ามีความชื้นต่ำ เมื่อวางแก้วน้ำเย็นไว้บนโต๊ะ ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศเจอกับความเย็นที่ผิวแก้ว จะเกิดการควบแน่น (condensation)โดยถ่ายเทพลังงานภายในออกมาในรูปของการคายความร้อนแฝง ทำให้เปลี่ยนสถานะจากแก๊สกลายมาเป็นของเหลว จึงทำให้เราพบเห็นหยดน้ำที่เกาะอยู่ข้างแก้วได้นั่นเอง อ้างอิง การเปลี่ยนสถานะของน้ำ ความชื้นสัมพัทธ์ Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ช็อกโกแลตมีฝ้าขาว ๆ คล้ายเชื้อราแบบนี้กินได้มั้ยนะ?
หลาย ๆ คนคงเคยสังเกตเห็นฝ้าขาว ๆ ที่บนผิวช็อกโกแลต อาจจะไม่กล้ากินเพราะคิดว่าเป็นเชื้อรา จริง ๆแล้วเกิดจากส่วนผสมของช็อกโกแลตเปลี่ยนสภาพจากอุณหภูมิและความชื้น ทำให้มีการเรียงตัวของโมเลกุลใหม่แยกตัวออกจากเนื้อช็อกโกแลตไปอยู่ที่ผิวช็อกโกแลต เราจึงเห็นช็อกโกแลตจากเดิมที่ผิวเงาสวยกลายเป็นฝุ่นฝ้าขาว หรือลายสีน้ำตาลอ่อนบนผิวช็อกโกแลต ปรากฏการณ์ในลักษณะนี้ เรียกว่า Chocolate Bloom ทำไมจึงเกิด Chocolate Bloom ช็อกโกแลตมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจึงสามารถเกิด Chocolate Bloom ได้จากการเก็บช็อกโกแลตที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม โดยมักเกิดเมื่อนำช็อกโกแลตที่แช่ตู้เย็นนำออกมาไว้ที่อุณหภูมิห้องและเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดบนพื้นผิวของช็อกโกแลต ทำให้ช็อกโกแลตไม่เงาสวยเหมือนเดิม สามารถแบ่งลักษณะการเกิด Chocolate Bloom ได้เป็น 2 กรณี คือ Sugar bloom เกิดเมื่อมีความชื้นจากการที่เรานำช็อกโกแลตจากตู้เย็นออกมาที่อุณหภูมิห้อง ความชื้นนี้ไปละลายผลึกน้ำตาลที่แยกตัวจากเนื้อช็อกโกแลตมาที่พื้นผิวจากการเปลี่ยนอุณหภูมิ เมื่อความชื้นหายไปน้ำตาลตกผลึกเห็นเป็นฝุ่นเม็ดเล็ก ๆ หรือจุดดวงขาว ๆ ที่อยู่บนผิวช็อกโกแลต Fat bloom เกิดจากการผันแปรของอุณหภูมิในการเก็บ เมื่ออุณหภูมิสูงช็อกโกแลตเกิดการละลายทำให้โมเลกุลของไขมันที่เรียงตัวเกิดการแยกตัวจัดรูปแบบใหม่ เมื่ออุณหภูมิเย็นลงช็อกโกแลตกลับมาแข็งตัวใหม่เกิดลักษณะเป็นฝ้าขาวหรือเป็นลายเส้นสีน้ำตาลอ่อนบนผิวช็อกโกแลต ช็อกโกแลตที่เกิด Chocolate Bloom ไม่เป็นอันตรายในการบริโภค แต่มีผลกับรสชาติและเนื้อสัมผัสของช็อกโกแลต วิธีการป้องกันการเกิด Chocolate Bloom การเก็บช็อกโกแลต – ควรเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม […]