ล่อรากด้วยน้ำ เทคนิคปลูกต้นไม้อย่างไรเมื่อไร้ดิน

“ราก” เป็นส่วนสำคัญของต้นไม้ที่ใช้ในการดูดซึม (Absorption) และลำเลียง (Conduction) น้ำ แร่ธาตุเข้าสู่ลำต้น ช่วยยึด (Anchorage) ลำต้นให้ติดกับพื้นดิน รากจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ต้นไม้มีชีวิตอยู่ได้ นอกจากการปลูกต้นไม้ลงดินโดยตรงเพื่อให้เกิดรากแล้ว ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ต้นไม้สร้างราก และถือว่าเป็นการอนุบาลต้นไม้ที่กำลังอ่อนแอให้มีชีวิตรอด โดยเทคนิคดังกล่าว เรียกว่า การล่อราก “การล่อราก” เป็นเทคนิคการหลอกล่อให้ต้นไม้ที่นำมาเลี้ยงมีรากงอกออกมาด้วยตัวเอง เพื่อใช้ดูดสารอาหารในภาชนะปลูกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ การล่อรากสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การล่อรากด้วยดินหรือหินภูเขาไฟ การล่อรากด้วยแสงแดด และการล่อรากด้วยน้ำ ซึ่งเทคนิคการล่อรากด้วยน้ำจะกล่าวถึงดังต่อไปนี้ การใช้น้ำเพื่อล่อราก เป็นเทคนิคการเลี้ยงต้นไม้ที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาไม่นานรากใหม่ก็เริ่มงอกออกมาแล้ว ในช่วงที่ทำการล่อรากต้นไม้อาจหยุดการเจริญเติบโต เนื่องจากยังไม่มีรากที่ใช้ดูดซึมอาหารและน้ำได้ด้วยตัวเอง และจะเริ่มเจริญเติบโตเมื่อโคนต้นเริ่มมีรากสีขาวแทรกออกมา การล่อรากด้วยน้ำนี้มีลักษณะคล้ายกับการปลูกต้นไม้ในแจกันที่มีน้ำ แต่ต่างกันตรงที่การล่อรากจะไม่นำโคนต้นลงไปสัมผัสกับน้ำโดยตรง โดยลำต้นจะต้องลอยอยู่เหนือน้ำและปล่อยให้รากที่งอกออกมายืดออกไปหาน้ำด้านล่างเพื่อความอยู่รอดเอง เตรียมพืชอย่างไรเพื่อใช้ “ล่อราก” การเตรียมต้นไม้สำหรับใช้ล่อราก หากเป็นต้นไม้ที่มีกิ่งควรเลือกตัดกิ่งที่ติดส่วนของโหนดใบมาด้วย หรือที่เรียกว่า Leaf Node เพราะเป็นบริเวณที่มีอาหารสะสมและมีฮอร์โมน เช่น ไซโทไคนิน (Cytokinin) เอทิลีน (Ethylene) และจิบเบอเรลลิน (Gibberellin) ซึ่งสามารถกระตุ้นให้รากเจริญออก มาได้ และควรตัดกิ่งเฉียงประมาณ 45 […]

parani ting-in

7 August 2023

ภาพยนตร์เต็มโดม เดือนสิงหาคม 2566 เรื่อง มหัศจรรย์แห่งออโรรา (Experience the Aurora)

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้บริการส่วนการแสดงท้องฟ้าจำลอง ด้วยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศจากนักวิชาการศึกษา และจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดมจากเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย โดยเปิดการแสดงเป็นรอบ ๆ ละ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คนต่อ 1 รอบ เปิดให้บริการทั้งรอบสถาบันการศึกษา และรอบประชาชนทั่วไป  ควงคู่มาเพิ่มความโรแมนติก กับภาพยนตร์เต็มโดม เดือนสิงหาคม 2566 เรื่อง มหัศจรรย์แห่งออโรรา (Experience the Aurora) ภาพยนตร์ความยาว 27 นาที นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ “แสงออโรรา” อาจเรียกว่า “แสงเหนือ” หรือ “แสงใต้” ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด แสงสวยงามหลากสีสันบนท้องฟ้าเหล่านี้เกิดจากสนามแม่เหล็กโลก กำลังทำหน้าที่ปกป้องสิ่งมีชีวิตในโลกจากลมสุริยะ ร่วมเดินทางไปสัมผัสความสวยงามของแสงออโรราในบริเวณคาบสมุทรอาร์คติกเสมือนว่าไปอยู่ที่ขั้วโลกจริง ๆ   “มหัศจรรย์แห่งออโรรา (Experience the Aurora)” เป็นภาพยนตร์ที่เข้าชิงรอบสุดท้ายรางวัล Telly Awards พากษ์เสียงภาษาไทยโดย คุณปิยะวัฒน์ เข็มเพชร (PK)

parani ting-in

25 July 2023

ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนสิงหาคม 2566

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา  ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนสิงหาคม 2566 ดังนี้ 1 สิงหาคม 2566               วันอาสาฬหบูชา 2 สิงหาคม 2566               วันเข้าพรรษา 12 – 14 สิงหาคม 2566      วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันแม่แห่งชาติ และวันหยุดชดเชย จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

parani ting-in

25 July 2023

ผักอบกรอบ กระเเสฮิตจากโซเซียล

ผักและผลไม้เป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิดซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งมี   เส้นใยที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยควบคุมน้ำหนักได้ แต่ด้วยรสชาติและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของผักและผลไม้บางชนิด ทำให้การรับประทานสด ๆ เป็นเรื่องยากหรือแม้แต่นำมาปรุงเป็นอาหารก็ยังคงทิ้งกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์นั้นไว้ นี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการแปรรูปผักและผลไม้ให้สามารถรับประทานได้ง่ายยิ่งขึ้น และกำลังกลายเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมในขณะนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งคงไม่มีใครไม่รู้จัก “ผักอบกรอบ” ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่าผักอบกรอบที่ผู้คนให้ความสนใจจนกลายเป็นอาหารยอดฮิตในโซเซียลนั้น เริ่มแรกเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ภายหลังเมื่อได้รับความนิยมมากขึ้นจึงมีหลายยี่ห้อในประเทศไทยที่ลงทุนผลิตและจำหน่ายเองด้วย โดยผักและผลไม้ที่นิยมนำมาทำนั้น ได้แก่ กระเจี๊ยบเขียว       แครอท กล้วย ฟักทอง ขนุน เห็ดหอม และมันชนิดต่าง ๆ เป็นต้น การนำมาแปรรูปเป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยยืดอายุผักและผลไม้ที่ค่อนข้างเน่าเสียง่ายให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นานขึ้น และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต โดยกรรมวิธีการผลิตผักอบกรอบนั้นมี 2 วิธี คือ การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Drying) และ การทอดแบบสุญญากาศ (Vacuum Frying)  1. การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Drying) การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง คือ กระบวนการกำจัดน้ำออกจากอาหารด้วยการแช่เยือกแข็งอาหารด้วยอุณหภูมิต่ำ ทำให้ผลึกน้ำแข็งระเหิดกลายเป็นไอ โดยการลดความดันบรรยากาศให้ต่ำกว่าปกติ ผักและผลไม้ที่ผ่านกระบวนการทำแห้งวิธีนี้ สามารถคงสภาพกลิ่น สี รส และคุณค่าทางโภชนาการได้ใกล้เคียงกับผักและผลไม้สด การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง ประกอบด้วย […]

parani ting-in

24 July 2023

ปิดให้บริการวันที่ 28 กรกฎาคม 2566

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการ 2 วัน  ในวันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม 2566 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และวันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566 ตามมติ ครม. อนุมัติวันหยุดพิเศษ จึงเรียนมาเพื่อประชาสัมพันธ์ให้รับทราบโดยทั่วกัน

parani ting-in

13 July 2023

Ant-man กับ Pym Particle

Ant-man กับ Pym Particle วิทยาศาสตร์ในหนังแฟนตาซี ถ้าหากพูดถึงฉากที่เป็นภาพจำของใครหลายคนจากเรื่อง Ant-Man หนังซุปเปอร์ฮีโร่จากค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง Marvel คงหนีไม่พ้นฉากที่สก็อตต์ แลง ตัวเอกของเรื่องยกกองทัพมดพร้อมกับขี่พวกมันเพื่อไปบุกฐานทัพของ Avenger หรือจะเป็นฉากที่ตัวสก็อตต์ แลง ย่อขยายตัวไปมาตลอดเวลาขณะที่สู้อยู่กับฟอลคอน โดยไม่ว่าเขาจะมีขนาดตัวเล็กเท่าใด แรงที่ใช้ในการต่อสู้ก็จะมีขนาดเท่ากันกับตอนที่เขามีขนาดตัวปกติ หากมองในโลกของความเป็นจริงแล้ว การย่อขยายขนาดตัวของเขาแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะการที่เราทำการบีบอัดหรือเปลี่ยนความหนาแน่นของร่างกายอย่างฉับพลัน จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวร่างกาย รวมถึงอวัยวะภายในก็ได้รับผลกระทบด้วย  อีกทั้งการย่อขนาดให้เล็กลงจะทำให้มวลลดลงไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นอัตราส่วนระหว่างมวลต่อปริมาตร นั่นคือ ”ความหนาแน่น” ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ในตัวภาพยนต์เน้นย้ำว่าพละกำลังและความแข็งแกร่งยังเท่าเดิม หากสก็อตต์ แลง มีขนาดเท่าแมลง โดยในความเป็นจริงแรงกับมวลควรลดลงไปในทิศทางเดียวกัน แต่วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับ Pym Particle ทฤษฎีที่อธิบายการย่อขยายของร่างกายสก็อตต์ แลง ในเรื่อง Ant-Man ซึ่งเป็นเพียงวิทยาศาสตร์แฟนตาซีที่มีเพียงในหนังเท่านั้น Pym Particles หรือ อนุภาคพิม ที่ปรากฏอยู่ในหนังเรื่อง Ant-Man เป็นอนุภาคที่ถูกค้นพบโดย Dr. Henry Pym ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจของทฤษฎีนี้คือ Pym Particles เป็นอนุภาคย่อยพิเศษที่สามารถอธิบายการย่อหรือขยายของสิ่งมีชีวิตและวัตถุไว้ว่า […]

parani ting-in

10 July 2023

ภาพติดตา…ก่อกำเนิดภาพยนตร์

ปัจจุบันความเครียดในช่วงโควิด  19 แพร่ระบาด เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่หลายคนต้องเผชิญ เมื่อต้องจัดการกับความเครียดนั้นมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือที่ชอบ การออกไปท่องเที่ยว แต่มีอีกหนึ่งวิธีที่ผู้คนเลือกที่จะทำเพื่อผ่อนคลายความเครียด นั่นคือการดูภาพยนตร์ที่ตนเองชอบ เพราะว่าการดูภาพยนตร์นั้นจะช่วยทำให้ร่างกายของเรามีการผ่อนคลาย รู้สึกเหมือนได้พักผ่อน ได้เรียนรู้กับภาพยนตร์ที่ฉายที่จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้นอยู่เสมอ แต่รู้หรือไม่ว่าภาพยนตร์ที่เราดูนั้นมีจุดกำเกิดมาจากอะไร สามารถศึกษาได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้ ภาพยนตร์ คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำมาฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้ว เป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมากที่แสดงอิริยาบถต่างๆ มาเรียงติดกันอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ชมมองเห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหว โดยใช้หลักการที่เรียกว่า “การเห็นภาพติดตา” (Persistence of vision) คิดค้นโดย Dr. John Ayrton Paris และเมื่อนำเอาภาพนิ่งเหล่านั้นมาฉายดูทีละภาพด้วยอัตราความเร็วในการฉายภาพต่อภาพเท่า ๆ กัน สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ  1/15 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของเราจะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อย ๆ หากภาพต่อไปปรากฏในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยเฉพาะในกรณีที่ภาพแต่ละภาพเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพนิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกัน สำหรับเครื่องฉายภาพยนตร์เครื่องแรกของโลกที่เรียกว่า Kinetoscope ได้ถูกออกแบบในปี 1891 โดย William Kennedy Laurie […]

parani ting-in

4 July 2023

ภาพยนตร์เต็มโดม เดือนกรกฎาคม 2566 เรื่อง “กว่าจะบินได้ (Flight Adventures)”

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้บริการส่วนการแสดงท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ โดยเปิดการแสดงเป็นรอบ รอบละประมาณ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 ที่นั่ง ต่อ 1 รอบการแสดง ช่วงแรกของการแสดงฯ เป็นการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการศึกษา และช่วงท้ายเป็นการแสดงภาพยนตร์เต็มโดมจากเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย สำหรับการแสดงภาพยนตร์เต็มโดม ในเดือนกรกฎาคม จัดแสดงเรื่อง “กว่าจะบินได้ (Flight Adventures)” เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การบิน มีเนื้อหาเกี่ยวกับการคิดค้นและวิวัฒนาการด้านการบินของมนุษย์ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้ชมที่สนใจด้านวิทยาศาสตร์การบิน…ไม่ควรพลาด !

parani ting-in

30 June 2023

ประกาศผลการคัดเลือกผลงานที่ผ่านเข้ารอบตัดสินการประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย”

ตามที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ส่วนวิชาการ ได้จัดโครงการกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับผู้สูงวัย “แฮปปี้…สูงวัย” กิจกรรมการประกวดแข่งขัน “วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย” ประเภท สิ่งประดิษฐ์เพื่อเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงวัย โดยรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2566 และจะดำเนินการจัดการแข่งขันรอบตัดสินในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2566 นั้นบัดนี้ คณะกรรมการได้ดำเนินการพิจารณาคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การประกวดในรอบคัดเลือกเรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศรายชื่อผลงานที่ผ่านเข้าสู่รอบตัดสินดังนี้ รายชื่อแนบท้ายประกาศ

parani ting-in

16 June 2023

ภาพบรรยากาศโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) สำหรับครู กศน.

ภาพบรรยากาศโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) สำหรับครู กศน. จัดโดยกลุ่มงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

parani ting-in

15 June 2023

ภาพข่าวกิจกรรม Fun Fossil ย้อนเวลาหาอดีต ปี 3

ภาพบรรยากาศกิจกรรม Fun fossil#3 ภาพบรรยากาศกิจกรรม Fun fossil#3 เมื่อวันที่ 10 – 11 มิถุนายน ที่ผ่านมา สนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้ทั้งความรู้และของที่ระลึกกลับบ้าน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมกิจกรรมกับเรา แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้า 

parani ting-in

13 June 2023

Instagram และ TikTok ใหม่ !! ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

เนื่องจาก Facebook Fan Page ของทางศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ได้ถูกแฮกไปดังที่ทราบก่อนหน้านี้แล้ว ทำให้ Social media (Instagram และ TikTok) ที่ได้ทำการสร้างขึ้นก่อนหน้านี้และมีการ Login โดยใช้ Facebook ดังกล่าวรวมทั้งได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวได้อีก ทางศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จึงได้ทำการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ทาง Social Media (Instagram และ TikTok) ขึ้นมาใหม่โดยใช้ Email ของทางหน่วยงานและเป็นข้อมูลชุดเดียวกันทั้งหมดทุกช่องทางจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ทุกท่านทราบและติดตามข่าวสารของเราได้ทางเพจและช่องทางเหล่านี้ค่ะTikTok และ Instagramกดลิงค์ หรือสแกนคิวอาร์โค้ด แล้วกดติดตามได้เลยนะคะ

parani ting-in

6 June 2023
1 2 3 4