ข่าวสาร กิจกรรม บทความและนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ
ภาพยนตร์เต็มโดมประจำเดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons)
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยส่วนวิชาการ กลุ่มงานท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง ด้วยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการ ผ่านเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย และจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม รอบละประมาณ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คนต่อ 1 รอบการแสดง ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ในภาพยนตร์เต็มโดม เดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons) ภาพยนตร์ความยาว 23 นาที นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับดาวเคราะห์ที่ชื่อว่า “โลก” ว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เราพบสื่งมีชีวิต แต่เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะอพยพไปอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ต้านแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวพฤหัส และตื่นตากับความสวยงามของดาวเสาร์ แล้วลองตัดสินใจว่าดาวเคราะห์ดวงไหนที่เราอยากไปอยู่ พากษ์เสียงภาษาไทยโดย คุณฉันทวิทย์ ธนะเสวี (เต๋อ) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ความลับของต้นไม้ใบด่าง เกิดได้อย่างไร?
ต้นไม้ใบด่างกลายมาเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมของหลายๆ คนที่ชื่นชอบพันธุ์ไม้ที่มีสีสันแปลกตาหาได้ยาก ไม่เหมือนต้นไม้ที่มีสีเขียวทั่วๆ ไป ด้วยลักษณะที่แตกต่างนี้ ทำให้ไม้ด่างมีราคาสูง และเป็นที่ต้องการของนักสะสมต้นไม้เป็นจำนวนมาก แต่ทราบหรือไม่ว่าจริงๆ แล้วไม้ด่างนั้นเกิดจากการปรับตัวให้อยู่รอดได้ในธรรมชาติ โดยลักษณะการด่างสามารถช่วยพรางตัวจากผู้ล่าหรือสัตว์กินพืช ทำให้ผู้ล่าเข้าใจว่าพืชนั่นมีพิษ อีกทั้งยังสามารถช่วยดึงดูดแมลงให้ช่วยผสมพันธุ์อีกด้วย บางกรณีที่ต้นไม้นั้นต้องเจริญเติบโตอยู่ในป่าทึบที่มีแสงแดดน้อย การปรับตัวเพื่อลดการสังเคราะห์แสงหรือลดการสร้างคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ซึ่งเป็นสารสี (Pigments) ที่ใช้ในการดูดซับแสง ทำให้เห็นใบด่างมีสีขาวหรือเหลือง ซึ่งก็คือบริเวณที่ไม่มีการสร้างคลอโรฟิลล์ตรงบริเวณนั้นนั่นเอง นอกจากการด่างที่ทำให้ใบเกิดสีขาวแล้ว ยังมีต้นไม้ด่างหลากสีสันจากสารสีอื่น ๆ เช่น แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ทำให้เห็นใบเป็นสีเหลืองหรือส้ม และแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ทำให้มองเห็นใบมีสีชมพู แดง และม่วง ซึ่งรูปแบบของสีใบที่เกิดขึ้นกับใบด่างแต่ละชนิดขึ้นกับข้อมูลของสารพันธุกรรม โดยมียีนเฉพาะที่ควบคุมลักษณะเหล่านี้ถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกให้เกิดพืชใบด่างได้ ส่วนลักษณะด่างที่เห็นเป็นสีเงิน ไม่ได้เกิดจากสารสีของพืช แต่เกิดจากลักษณะโครงสร้างของใบที่มีช่องอากาศระหว่างเนื้อเยื่อใบ ทำให้เมื่อแสงแดดตกกระทบบนใบจะเกิดการหักเหมองเห็นใบเป็นสีเงินเป็นลักษณะที่มีการถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม เรียกลักษณะด่างแบบนี้ว่า Reflective variegation หรือ Blister variegation ตัวอย่างต้นเปปเปอร์โรเมียลายแตงโม (Watermelon peperomia) และต้นพลูแนบอุรา(Scindapsus pictus) อีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดใบด่างที่ทำให้พืชจากเดิมทีมีสีเขียวกลายเป็นพืชใบด่างได้ จากความผิดปกติในระดับพันธุกรรม ที่เป็นการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อเจริญของพืช ซึ่งก็คือเนื้อเยื่อบริเวณยอดของพืชที่มีการแบ่งเซลล์เพื่อการเจริญเติบโต เมื่อมีการแบ่งตัวซ้ำ ๆ จึงทำให้ง่ายที่จะเกิดการกลายพันธุ์ […]
ชุดตรวจ ATK (Antigen test kits) ทำงานได้อย่างไร?
จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อจำนวนมากทั่วโลก เพื่อที่จะควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็ว การตรวจคัดกรองโรคและการแยกผู้ติดเชื้อออกจากคนที่ไม่ติดเชื้อจึงควรรีบจัดการทันทีแต่การตรวจด้วยวิธี RT-PCR เป็นวิธีที่ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะทาง และใช้เวลาในการตรวจ ทำให้ไม่สามารถตรวจตัวอย่างที่มีปริมาณมากได้ทัน กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวก็อาจจะทำให้เกิดการระบาดในวงกว้างมากแล้ว ดังนั้นการจัดการควบคุมโรคจึงทำได้ยากขึ้น ปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาชุดตรวจที่ช่วยลดขั้นตอน และประชาชนทั่วไปใช้งานได้สะดวกสามารถนำมาใช้ตรวจเองได้ที่บ้าน นั่นคือชุดตรวจแบบรวดเร็ว (Antigen rapid test) หรือที่เรารู้จักกันคือ ชุดตรวจ ATK (Antigen test kits) โดยมีอุปกรณ์เพียงไม่กี่อย่าง เช่น ไม้เก็บตัวอย่าง, แถบตรวจตัวอย่าง, สารละลายที่บรรจุในหลอดทดสอบ เป็นต้น ซึ่งสารละลายนี้คือสารละลายบัฟเฟอร์ที่มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำเกลือ (Saline solution) และมีสารอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่รักษาสภาพของสารละลายและสารที่ช่วยในการทำลายเชื้อไวรัส ดังนั้นจึงอาจต้องระมัดระวังในการใช้ ถ้ามีการสัมผัสกับผิวหรือดวงตาต้องรีบล้างด้วยน้ำทันที ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็จะมีลักษณะรูปแบบของอุปกรณ์และการใช้งานที่แตกต่างกัน จึงต้องอ่านฉลากให้เข้าใจทุกครั้งก่อนการใช้งาน หลักการที่นำมาใช้ในการทำชุดตรวจ ATK เพื่อใช้ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเทคนิควิธีการทดสอบทางอิมมูโนวิทยา (Immunological methods) ที่อาศัยปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี (Antigen-antibody interaction) โดยสารทั้งสองชนิดจะจับกันได้ต้องมีโครงสร้างที่เหมาะสมกัน ลักษณะเหมือนแม่กุญแจและลูกกุญแจ (Lock and key) โดยชุดตรวจนี้แอนติเจนที่เราจะตรวจคือ SAR-CoV-2 […]
เส้นเหลืองแห่งความปลอดภัย
ปัจจุบันนี้การโดยสารด้วยรถไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่เร่งรีบของคนเมืองหลวงแล้ว เพราะการใช้บริการสะดวก เดินทางได้รวดเร็ว เส้นทางครอบคลุมเกือบทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร และที่สำคัญไม่ต้องพบเจอกับปัญหารถติด ซึ่งรถไฟฟ้าที่ให้บริการนั้นมีทั้งแบบรถไฟลอยฟ้าที่แล่นบนรางเหนือถนนปกติ และรถไฟฟ้าใต้ดินที่แล่นอยู่ภายในอุโมงค์ใต้ดิน แต่ว่าเราเคยสังเกตที่ชานชาลารถไฟฟ้าทั้งสองประเภทนี้หรือไม่ว่ามันมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ เส้นเหลือง เส้นเหลืองบนชานชาลานับเป็นเส้นแบ่งความปลอดภัยของผู้โดยสาร จะวางแนวติดกับพื้นที่ที่รถไฟฟ้าแล่นเข้าสู่สถานี ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 2 คน อยู่บริเวณด้านหัวและท้ายขบวน คอยควบคุมไม่ให้เราเข้าไปในเส้นเหลือง หากเราเผลอเหยียบหรือล้ำเข้าไป เสียงนกหวีดจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะดังขึ้นเตือนทันที เราต้องรีบถอยห่างออกมาอยู่หลังเส้นเหลืองเท่านั้น เหตุที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องเตือนเรานั้น เพื่อความปลอดภัยของเราเอง เพราะเมื่อขบวนรถไฟฟ้าวิ่งผ่านมา อากาศระหว่างขบวนรถกับบริเวณที่เรายืนอยู่จะเคลื่อนที่เร็ว ทำให้มีความดันอากาศต่ำ อากาศรอบ ๆ จะเคลื่อนที่เข้าไปแทนที่ ซึ่งการเคลื่อนที่ของอากาศนี้สามารถดูดเราให้ตกยังรางรถไฟฟ้าได้ การไหลของอากาศในลักษณะนี้เป็นเช่นเดียวกับลูกเทนนิสที่เคลื่อนที่แหวกผ่านอากาศ ซึ่งจะมีอากาศจำนวนหนึ่งห่อหุ้มลูกเทนนิสไว้ และมีแรงดึงดูดของอากาศอยู่ด้านข้าง ดูดให้เข้าหาลูกเทนนิสนั่นเอง ดังนั้น ทุกคนคงเข้าใจแล้วว่าทำไมต้องอยู่หลังเส้นเหลือง อย่าลืมอยู่หลังเส้นเหลือง เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของตัวเอง เรียบเรียงณัฐวุฒิ พุ่มดอกไม้ ภาพประกอบพัทธนันท์ ประดิษฐ์นันกุล อ้างอิงข้อปฏิบัติและข้อห้ามเมื่ออยู่ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสรปภ. เก่งฟิสิกส์ Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
การเคี้ยวเอื้อง คือการเคี้ยวอย่างไร?
เคี้ยวเอื้องเป็นคำที่หลายคนมักคุ้นหูและเคยได้ยินกันมาบ้างว่า “มัวแต่เคี้ยวเอื้องเดี๋ยวไม่ทันกิน” ทำให้หลายคนก็คงแอบสงสัยว่าเคี้ยวเอื้องคือการเคี้ยวอย่างไร ใช่การกินอาหารช้าหรือไม่ แท้จริงแล้วการเคี้ยวเอื้องนั้นไม่ใช่การเคี้ยวช้า ๆ แต่อย่างใด การเคี้ยวเอื้องนั้นก็คือส่วนหนึ่งในกลไกการย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องนั่นเอง สัตว์กลุ่ม Ruminant หรือสัตว์เคี้ยวเอื้องเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับ Artiodactyla และเป็นสัตว์ที่กินพืชที่มีระบบทางเดินอาหารซับซ้อนกว่าสัตว์กระเพาะเดี่ยว โดยเฉพาะส่วนของกระเพาะอาหารที่มีการพัฒนาให้มีขนาดใหญ่และแบ่งออกเป็น 4 ส่วนการย่อยอาหารจะเริ่มเคี้ยวแบบหยาบ ๆ แล้วส่งไปย่อยอาหารให้นุ่มก่อนในกระเพาะอาหารส่วนแรก ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาของแบคทีเรียเป็นหลัก จากนั้นจึงสำรอกเอาอาหารที่ย่อยแล้วครึ่งหนึ่งออกมา เรียกว่า เอื้อง (cud) แล้วค่อย ๆ เคี้ยวอีกครั้ง กระบวนการเคี้ยวเอื้องอีกครั้งนี้มีเพื่อย่อยสลายสารที่มีอยู่ในพืชและกระตุ้นการย่อยอาหาร เรียกว่า “การเคี้ยวเอื้อง” (ruminating) สัตว์กลุ่มที่พบกระบวนการดังกล่าวนี้จึงถูกเรียกว่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยพบว่าโคใช้เวลาในการเคี้ยวเอื้อง 1 ใน 3 ของวัน หรือใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อที่จะทำการเคี้ยวเอื้องให้อาหารมีขนาดเล็กลง ส่วนสัตว์กินพืชทั่วไปเช่น หมู กระต่าย จะมีกระเพาะเดี่ยวเช่นเดียวกับคน ซึ่งจะมีการเคี้ยวอาหารจนละเอียดแล้วส่งต่อไปยังกระเพาะมีเพียงเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหารเท่านั้น กระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ รูเมน (Rumen) หรือ กระเพาะผ้าขี้ริ้ว ลักษณะมีขนาดใหญ่ผนังภายในมีลักษณะเป็นตุ่มขนเล็ก ๆ ทำหน้าที่คลุกเคล้าอาหารถ่ายเทอาหารไปมากับส่วนเรติคิวลัม และมีจุลินทรีย์ที่ช่วยในการย่อยเซลลูโลสให้เป็นกลูโคส (Glucose) ที่ไม่พบในคน เรติคิวลัม […]