หน้าแรก

previous arrow
previous arrow
next arrow
next arrow
Slider

ติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของหน่วยงานผ่านเฟซบุ๊กได้ที่เพจ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเอกมัย

กิจกรรมและบริการ

ท่านสามารถสืบค้นกิจกรรมและบริการได้ที่หัวข้อบริการ หรือคลิกที่กล่องเมนูทั้ง 7 ด้านล่างนี้
หากมีข้อสงสัยสืบค้นได้ที่คำถามที่พบบ่อย (FAQ) หรือติดต่อกลุ่มการตลาดและประชาสัมพันธ์ โทร. 0 2392 0508, 0 2392 1773

ติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของหน่วยงานผ่านเฟซบุ๊กได้ที่เพจ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเอกมัย

กิจกรรมและบริการ

สามารถสืบค้นกิจกรรมและบริการได้ที่หัวข้อบริการ หรือคลิกที่กล่องเมนูทั้ง 7 ด้านล่าง หากมีข้อสงสัยสืบค้นได้ที่ คำถามที่พบบ่อย (FAQ) หรือโทร. 0 2392 0508, 0 2392 1773

ข่าวสาร กิจกรรม และบทความ

ท่านสามารถสืบค้นข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวกิจกรรม ภาพข่าวกิจกรรมได้ที่หัวข้อข่าว และบทความวิชาการที่หัวข้อบทความวิชาการ

ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ จัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม เดือนพฤษภาคม 2567 เรื่อง “จักรวาลอันเกรี้ยวกราด วิบัติกาลแห่งห้วงอวกาศ (Violent Universe Catastrophes of the Cosmos)”

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) สำนักงาน กศน. ให้บริการส่วนการแสดงท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดการแสดงเป็นรอบ ๆ ละ 1 ชั่วโมง บริการผู้ชม จำนวน 280 ที่นั่งต่อ 1 รอบการแสดง ช่วงแรกของการแสดงท้องฟ้าจำลอง เป็นการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการศึกษา และในช่วงท้ายจะเป็นการแสดงภาพยนตร์เต็มโดมจากเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย ซึ่งมีการเปลี่ยนภาพยนตร์เต็มโดมทุกเดือน สำหรับการแสดงภาพยนตร์เต็มโดมในเดือนพฤษภาคมนี้ จัดแสดงเรื่อง “จักรวาลอันเกรี้ยวกราด วิบัติกาลแห่งห้วงอวกาศ (Violent Universe Catastrophes of the Cosmos)” ภาพยนตร์ความยาว 25 นาที นำเสนอเรื่องราวสุดแสนอันตรายในอวกาศ ความสวยงามของดวงดาวท่ามกลางอวกาศสีดำสนิท มืดมิด และดูเงียบสงบ แต่ความจริงแล้ว จักรวาลนี้แฝงไปด้วยอันตราย ไม่ว่าจะเป็นรังสีที่เป็นอันตราย ความตายของดวงดาว หลุมดำที่น่ากลัว และอุกกาบาต ภาพยนตร์ฯ พากย์เสียงภาษาไทย โดย คุณพงศธร จงวิลาศ (เผือก) จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

superadmin

29 April 2024

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนพฤษภาคม 2567

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนพฤษภาคม 2567 4 พฤษภาคม 2567 วันฉัตรมงคล 6 พฤษภาคม 2567 วันหยุดชดเชยวันฉัตรมงคล 10 พฤษภาคม 2567 วันพืชมงคล 22 พฤษภาคม 2567 วันวิสาขบูชา จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

superadmin

29 April 2024

SECRET OF LIFE

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมเสริมนิทรรศการ เรื่อง SECRET OF LIFE ในวันที่ 26 เมษายน 2567 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับให้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต กุญแจดอกสำคัญที่ใช้ในการไขรหัสลับของชีวิตคืออะไร? ทำไมสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดถึงมีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันและใครเป็นผู้ค้นพบกุญแจดอกนี้ ? มาร่วมไขความลับของสิ่งมีชีวิตกันได้ที่นิทรรศการความลับของสิ่งมีชีวิต วันที่จัดกิจกรรม วันที่ 26 เมษายน 2567 สถานที่จัดกิจกรรม ณ นิทรรศการความลับของสิ่งมีชีวิต ชั้น4 อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อาคาร2) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

superadmin

23 April 2024

“ช้าง…สัตว์ใหญ่ในยุคดึกดำบรรพ์”

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมเสริมนิทรรศการ เรื่อง “ช้าง…สัตว์ใหญ่ในยุคดึกดำบรรพ์” ในวันที่ 24 – 25 เมษายน 2567 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับช้างในยุคดึกดำบรรพ์ผ่านสื่อและทำกิจกรรมเสริมโดยการประดิษฐ์ ตกแต่งการ์ดป๊อปอัพ (จำนวนจำกัด) ณ นิทรรศการไดโนเสาร์ ชั้น 2 อาคารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

superadmin

23 April 2024

SCE Summer Market

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมพิเศษ “SCE Summer Market เปิดพื้นที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชน” โดยกำหนดจัดกิจกรรมช่วงสุดสัปดาห์ของเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2567 วันที่จัดกิจกรรม ครั้งที่ 1 วันที่ 27-28  เมษายน 2567 ครั้งที่ 2 วันที่ 5 พฤษภาคม 2567 ครั้งที่ 3 วันที่ 11-12 พฤษภาคม 2567 ครั้งที่ 4 วันที่ 18-19 พฤษภาคม 2567 ครั้งที่ 5 วันที่  25-26 พฤษภาคม 2567 กิจกรรมภายในงาน ภายในงานมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้จากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงหน่วยงานในสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และร้านค้าชุมชน กิจกรรม DIY กิจรรม Art & Craft กิจกรรม Workshop Food […]

superadmin

23 April 2024

รถไฟเหาะตีลังกา

เครื่องเล่นในสวนสนุกเป็นที่นิยมสำหรับคนที่ชอบความท้าทายต้องไม่พลาดกันเลย นั่นก็คือ “รถไฟเหาะตีลังกา” ซึ่งเป็นเครื่องเล่นน่าหวาดเสียว อาจจะเป็นเรื่องยากสักหน่อยที่ในขณะเล่นอยู่นั้นจะไม่กรีดร้องเลย เพราะการเคลื่อนที่ของรถไฟเหาะตีลังกาเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกกับแรงเฉื่อยในการเคลื่อนที่จากที่สูงลงมาอย่างอิสระตามเส้นทางของรางที่ถูกออกแบบไว้ แต่เบื้องหลังของความสนุกสุดเหวี่ยงที่เกิดขึ้นทำให้เราได้เครื่องเล่นที่สามารถสร้างความสนุกสนานแล้ว การเคลื่อนที่ของเครื่องเล่นชิ้นนี้ยังใช้หลักการของฟิสิกส์หลาย ๆ อย่าง เช่น พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานจลน์ แรงเข้าสู่ศูนย์กลาง แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นต้น การเคลื่อนที่ของรถไฟเหาะตีลังกาเริ่มต้นจากการถูกดึงด้วยระบบโซ่และมอเตอร์ขึ้นไปยังจุดสูงสุดเพื่อทำการปล่อยลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลกและเคลื่อนที่ด้วยแรงเฉื่อย การกักเก็บพลังงานทำให้รถไฟที่กำลังเคลื่อนที่ลงอย่างอิสระจากจุดสูงสุดนั้นจะมีพลังงานศักย์โน้มถ่วงมากที่จุดเริ่มต้นของราง ขณะที่รถไฟถูกปล่อยลงมาจะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์และจะมีพลังงานจลน์สูงสุด ณ จุดต่ำสุดของราง ยิ่งจุดเริ่มต้นนั้นมีความสูงมากเท่าไหร่ พลังงานศักย์โน้มถ่วงก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้นและเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ได้มากขึ้นตามความเร็วเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างองศาของรางทำมุม 60 ํ สามารถทำความเร็วได้ถึง 125 km/h เลยทีเดียว จากความรู้สึกที่ได้เล่นรถไฟเหาะนั้น ในขณะรถไฟเหาะกำลังแล่นลงมาจากที่สูงวิ่งเข้ามายังวงกลม จะเกิดแรงกระทำต่อตัวเรามากที่สุด เราจะรู้สึกว่าน้ำหนักตัวเองเพิ่มขึ้นจนหลังติดเบาะ และเมื่อรถไฟเคลื่อนที่ขึ้นไปถึงจุดบนสุดของวงกลม เราจะรู้สึกได้ถึงสภาวะไร้น้ำหนัก และกลับมาสู่ภาวะปกติอีกครั้งเมื่อลงมาที่จุดต่ำสุด การเปลี่ยนแปลงของแรงที่กระทำต่อตัวเราทำให้เรารู้สึกสนุก ตื่นเต้นตลอดเวลาในขณะนั่งอยู่บนรถไฟเหาะ ยิ่งหากรางมีรูปแบบเป็นหยดน้ำทรงคว่ำด้วยแล้ว ความสนุกจะเกิดขึ้นจากการที่รัศมีของวงกลมด้านบนมีค่าน้อยกว่าด้านล่าง ก่อให้เกิดแรงเข้าสู่ศูนย์กลางของรถไฟด้านบนมีค่ามากกว่าด้านล่าง จึงทำให้ตัวของเราติดกับที่นั่งมากขึ้น และเมื่อรถไฟแล่นกลับลงมาความเร่งจะลดลง ผู้เล่นจะไม่รู้สึกอึดอัดนั่นเอง รวมถึงโค้งต่าง ๆ ในเส้นทางของรางที่จะเกิดแรงเข้าสู่ศูนย์กลางด้วยเช่นกัน ปัจจุบันวิศวกรออกแบบรถไฟได้นำเทคโนโลยีระบบมอเตอร์และแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามาช่วยในการเคลื่อนที่ เพื่อให้รถไฟขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่องในรูปแบบหลากหลายมากยิ่งขึ้น ในความสนุกสนานก็มีอันตรายเช่นเดียวกัน ซึ่งการเล่นเครื่องเล่นในสวนสนุกก็อย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำที่บอกเอาไว้ อ้างอิง ฟิสิกส์ของรถไฟเหาะ ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน […]

superadmin

8 April 2024

เรือใบแล่นทวนลมได้ไหม?

ก่อนที่จะหาคำตอบของคำถามนี้ เรามารู้จักเรือใบเบื้องต้นจากเรือใบขนาดเล็กกันก่อน เรือใบขนาดเล็กนั้นนอกจากตัวเรือแล้วยังมีส่วนประกอบที่สำคัญหลักคือ ใบเรือ หางเสือเรือ และคัดแคง ใบเรือ (Sail) ทำหน้าที่รับลมและและสร้างแรงผลักให้เรือแล่นไปข้างหน้า แต่ใบเรือต้องอยู่ในองศาเหมาะสมกับทิศทางลม หางเสือเรือ (Rudder) ใช้ควบคุมทิศทางเรือ เมื่อหางเสือปัดไปทางใด หัวเรือก็จะหันไปในทิศทางเดียวกัน คัดแคง (Center Board หรือ Drager Board) มีลักษณะเป็นแผ่นกระดานยื่นลงไปใต้ท้องเรือ ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เรือเซหรือเอียงเมื่อแล่นขวางทิศทางลม การแล่นของเรือใบ เกิดจากใบเรือได้รับแรงจากลมที่พัดมา แรงลมก็จะไหลไปตามพื้นผิวของใบเรือและแรงนั้นจะถูกส่งไปยังท้ายเรือ เกิดเป็นแรงผลักให้เรือแล่นไปข้างหน้าได้ โดยการที่เรือใบจะเคลื่อนที่ไปยังทิศทางที่ต้องการได้นั้นขึ้นอยู่กับใบเรือและหางเสือ ใบเรือต้องอยู่ในองศาที่เหมาะสมกับทิศทางลม และหางเสือต้องบังคับเรือไปยังทิศทางที่ใบเรือรับลมได้ ซึ่งการปรับองศาของใบเรือต้องสัมพันธ์กับทิศทางของลมที่พัดมา ทั้งนี้สามารถบังคับเรือให้ไปยังทิศทางที่สวนลมได้อีกด้วย ตามปกติแล้วหากเป็นลมสวนในทิศทางตรง ใบเรือจะไม่สามารถรับลมให้เรือแล่นไปข้างหน้าตรง ๆ ได้เลย การจะแล่นเรือใบในสภาวะสวนลมได้ การบังคับเรือต้องให้องศาของใบเรืออยู่ในลักษณะเฉียงกับทิศทางลมที่สวนมา แรงลมสวนที่ปะทะใบเรือจะถูกเปลี่ยนทิศทางโดยใบเรือที่เปลี่ยนองศาไปขณะแล่นอยู่ ส่งผลให้เรือแล่นในลักษณะโค้งสลับไปมา จนไปถึงจุดหมายด้านหน้าได้ อ้างอิง https://www.blockdit.com/posts/5ee43aeb3d014a0ca37861a1 http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/physcis-for-everyday/physics-for-everydayuse-content/1-20/indexcontent20.htm

superadmin

1 April 2024

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนเมษายน 2567

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนเมษายน 2567 ดังนี้ 6 เมษายน 2567 วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ 8 เมษายน 2567 วันหยุดชดเชย วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ 12 เมษายน 2567 วันหยุดราชการ เพิ่มเป็นกรณีพิเศษ 13 – 15 เมษายน 2567 วันสงกรานต์ 16 เมษายน 2567 วันหยุดชดเชย วันสงกรานต์

superadmin

28 March 2024

ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ จัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม เดือนเมษายน 2567 เรื่อง “จากโลกสู่จักรวาล” (From Earth to the Universe)

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้บริการส่วนการแสดงท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ โดยเปิดการแสดงเป็นรอบ ๆ ละประมาณ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คน ต่อ 1 รอบการแสดง ช่วงแรกของการแสดงฯ เป็นการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการศึกษา และการแสดงภาพยนตร์เต็มโดมจากเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดียในช่วงท้าย การแสดงภาพยนตร์เต็มโดม เดือนเมษายน 2567 เรื่อง “จากโลกสู่จักรวาล” (From Earth to the Universe) ท้องฟ้ายามค่ำคืนทั้งสวยงามและลึกลับ ตำนานโบราณและความน่าสะพรึงกลัวของมันมักเป็นหัวข้อของเรื่องราวที่เล่าขานกันในแคมป์ไฟอยู่เสมอ ตราบใดที่ยังคงมีมนุษย์อยู่ ความปรารถนาที่จะหยั่งรู้จักรวาลอาจเป็นประสบการณ์ทางปัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ แต่เมื่อไม่นานมานี้ เราเพิ่งเริ่มเข้าใจอย่างแท้จริงถึงตำแหน่งที่อยู่ของเราในจักรวาลอันกว้างใหญ่ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการค้นพบนี้จากทฤษฎีของทฤษฎีของนักดาราศาสตร์ชาวกรีกโบราณมาสู่เรื่องราวของกล้องโทรทรรศน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ขอเชิญคุณสัมผัสประสบการณ์จากโลกสู่จักรวาล การเดินทางอันน่าตื่นตาตื่นใจตลอด 30 นาที ผ่านอวกาศและกาลเวลาไปสู่จักรวาลตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ผู้ชมจะได้ชื่นชมความงดงามของระบบสุริยะและดวงอาทิตย์อันแสนร้อนแรง ภาพยนตร์เรื่องนี้จะพาผู้ชมออกไปสู่สถานที่เกิดอันมีสีสันและสถานที่ฝังศพของดาวฤกษ์และยังคงไกลเกินกว่าทางช้างเผือกไปจนถึงความใหญ่โตที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ของกาแลคซีมากมาย ผู้ชมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติดาราศาสตร์ การประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ และกล้องโทรทรรศน์ขนาดยักษ์ของวันนี้เพื่อให้เราสามารถสำรวจความลึกของจักรวาลได้

superadmin

28 March 2024

ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ จัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม เดือนพฤษภาคม 2567 เรื่อง “จักรวาลอันเกรี้ยวกราด วิบัติกาลแห่งห้วงอวกาศ (Violent Universe Catastrophes of the Cosmos)”

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) สำนักงาน กศน. ให้บริการส่วนการแสดงท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดการแสดงเป็นรอบ ๆ ละ 1 ชั่วโมง บริการผู้ชม จำนวน 280 ที่นั่งต่อ 1 รอบการแสดง ช่วงแรกของการแสดงท้องฟ้าจำลอง เป็นการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการศึกษา และในช่วงท้ายจะเป็นการแสดงภาพยนตร์เต็มโดมจากเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย ซึ่งมีการเปลี่ยนภาพยนตร์เต็มโดมทุกเดือน สำหรับการแสดงภาพยนตร์เต็มโดมในเดือนพฤษภาคมนี้ จัดแสดงเรื่อง “จักรวาลอันเกรี้ยวกราด วิบัติกาลแห่งห้วงอวกาศ (Violent Universe Catastrophes of the Cosmos)” ภาพยนตร์ความยาว 25 นาที นำเสนอเรื่องราวสุดแสนอันตรายในอวกาศ ความสวยงามของดวงดาวท่ามกลางอวกาศสีดำสนิท มืดมิด และดูเงียบสงบ แต่ความจริงแล้ว จักรวาลนี้แฝงไปด้วยอันตราย ไม่ว่าจะเป็นรังสีที่เป็นอันตราย ความตายของดวงดาว หลุมดำที่น่ากลัว และอุกกาบาต ภาพยนตร์ฯ พากย์เสียงภาษาไทย โดย คุณพงศธร จงวิลาศ (เผือก) จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

superadmin

29 April 2024

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนพฤษภาคม 2567

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนพฤษภาคม 2567 4 พฤษภาคม 2567 วันฉัตรมงคล 6 พฤษภาคม 2567 วันหยุดชดเชยวันฉัตรมงคล 10 พฤษภาคม 2567 วันพืชมงคล 22 พฤษภาคม 2567 วันวิสาขบูชา จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

SECRET OF LIFE

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมเสริมนิทรรศการ เรื่อง SECRET OF LIFE ในวันที่ 26 เมษายน 2567 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับให้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต กุญแจดอกสำคัญที่ใช้ในการไขรหัสลับของชีวิตคืออะไร? ทำไมสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดถึงมีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันและใครเป็นผู้ค้นพบกุญแจดอกนี้ ? มาร่วมไขความลับของสิ่งมีชีวิตกันได้ที่นิทรรศการความลับของสิ่งมีชีวิต วันที่จัดกิจกรรม วันที่ 26 เมษายน 2567 สถานที่จัดกิจกรรม ณ นิทรรศการความลับของสิ่งมีชีวิต ชั้น4 อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อาคาร2) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

“ช้าง…สัตว์ใหญ่ในยุคดึกดำบรรพ์”

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมเสริมนิทรรศการ เรื่อง “ช้าง…สัตว์ใหญ่ในยุคดึกดำบรรพ์” ในวันที่ 24 – 25 เมษายน 2567 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับช้างในยุคดึกดำบรรพ์ผ่านสื่อและทำกิจกรรมเสริมโดยการประดิษฐ์ ตกแต่งการ์ดป๊อปอัพ (จำนวนจำกัด) ณ นิทรรศการไดโนเสาร์ ชั้น 2 อาคารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

SCE Summer Market

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมพิเศษ “SCE Summer Market เปิดพื้นที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชน” โดยกำหนดจัดกิจกรรมช่วงสุดสัปดาห์ของเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2567 วันที่จัดกิจกรรม ครั้งที่ 1 วันที่ 27-28  เมษายน 2567 ครั้งที่ 2 วันที่ 5 พฤษภาคม 2567 ครั้งที่ 3 วันที่ 11-12 พฤษภาคม 2567 ครั้งที่ 4 วันที่ 18-19 พฤษภาคม 2567 ครั้งที่ 5 วันที่  25-26 พฤษภาคม 2567 กิจกรรมภายในงาน ภายในงานมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้จากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงหน่วยงานในสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และร้านค้าชุมชน กิจกรรม DIY กิจรรม Art & Craft กิจกรรม Workshop Food […]

รถไฟเหาะตีลังกา

เครื่องเล่นในสวนสนุกเป็นที่นิยมสำหรับคนที่ชอบความท้าทายต้องไม่พลาดกันเลย นั่นก็คือ “รถไฟเหาะตีลังกา” ซึ่งเป็นเครื่องเล่นน่าหวาดเสียว อาจจะเป็นเรื่องยากสักหน่อยที่ในขณะเล่นอยู่นั้นจะไม่กรีดร้องเลย เพราะการเคลื่อนที่ของรถไฟเหาะตีลังกาเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกกับแรงเฉื่อยในการเคลื่อนที่จากที่สูงลงมาอย่างอิสระตามเส้นทางของรางที่ถูกออกแบบไว้ แต่เบื้องหลังของความสนุกสุดเหวี่ยงที่เกิดขึ้นทำให้เราได้เครื่องเล่นที่สามารถสร้างความสนุกสนานแล้ว การเคลื่อนที่ของเครื่องเล่นชิ้นนี้ยังใช้หลักการของฟิสิกส์หลาย ๆ อย่าง เช่น พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานจลน์ แรงเข้าสู่ศูนย์กลาง แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นต้น การเคลื่อนที่ของรถไฟเหาะตีลังกาเริ่มต้นจากการถูกดึงด้วยระบบโซ่และมอเตอร์ขึ้นไปยังจุดสูงสุดเพื่อทำการปล่อยลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลกและเคลื่อนที่ด้วยแรงเฉื่อย การกักเก็บพลังงานทำให้รถไฟที่กำลังเคลื่อนที่ลงอย่างอิสระจากจุดสูงสุดนั้นจะมีพลังงานศักย์โน้มถ่วงมากที่จุดเริ่มต้นของราง ขณะที่รถไฟถูกปล่อยลงมาจะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์และจะมีพลังงานจลน์สูงสุด ณ จุดต่ำสุดของราง ยิ่งจุดเริ่มต้นนั้นมีความสูงมากเท่าไหร่ พลังงานศักย์โน้มถ่วงก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้นและเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ได้มากขึ้นตามความเร็วเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างองศาของรางทำมุม 60 ํ สามารถทำความเร็วได้ถึง 125 km/h เลยทีเดียว จากความรู้สึกที่ได้เล่นรถไฟเหาะนั้น ในขณะรถไฟเหาะกำลังแล่นลงมาจากที่สูงวิ่งเข้ามายังวงกลม จะเกิดแรงกระทำต่อตัวเรามากที่สุด เราจะรู้สึกว่าน้ำหนักตัวเองเพิ่มขึ้นจนหลังติดเบาะ และเมื่อรถไฟเคลื่อนที่ขึ้นไปถึงจุดบนสุดของวงกลม เราจะรู้สึกได้ถึงสภาวะไร้น้ำหนัก และกลับมาสู่ภาวะปกติอีกครั้งเมื่อลงมาที่จุดต่ำสุด การเปลี่ยนแปลงของแรงที่กระทำต่อตัวเราทำให้เรารู้สึกสนุก ตื่นเต้นตลอดเวลาในขณะนั่งอยู่บนรถไฟเหาะ ยิ่งหากรางมีรูปแบบเป็นหยดน้ำทรงคว่ำด้วยแล้ว ความสนุกจะเกิดขึ้นจากการที่รัศมีของวงกลมด้านบนมีค่าน้อยกว่าด้านล่าง ก่อให้เกิดแรงเข้าสู่ศูนย์กลางของรถไฟด้านบนมีค่ามากกว่าด้านล่าง จึงทำให้ตัวของเราติดกับที่นั่งมากขึ้น และเมื่อรถไฟแล่นกลับลงมาความเร่งจะลดลง ผู้เล่นจะไม่รู้สึกอึดอัดนั่นเอง รวมถึงโค้งต่าง ๆ ในเส้นทางของรางที่จะเกิดแรงเข้าสู่ศูนย์กลางด้วยเช่นกัน ปัจจุบันวิศวกรออกแบบรถไฟได้นำเทคโนโลยีระบบมอเตอร์และแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามาช่วยในการเคลื่อนที่ เพื่อให้รถไฟขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่องในรูปแบบหลากหลายมากยิ่งขึ้น ในความสนุกสนานก็มีอันตรายเช่นเดียวกัน ซึ่งการเล่นเครื่องเล่นในสวนสนุกก็อย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำที่บอกเอาไว้ อ้างอิง ฟิสิกส์ของรถไฟเหาะ ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน […]

เรือใบแล่นทวนลมได้ไหม?

ก่อนที่จะหาคำตอบของคำถามนี้ เรามารู้จักเรือใบเบื้องต้นจากเรือใบขนาดเล็กกันก่อน เรือใบขนาดเล็กนั้นนอกจากตัวเรือแล้วยังมีส่วนประกอบที่สำคัญหลักคือ ใบเรือ หางเสือเรือ และคัดแคง ใบเรือ (Sail) ทำหน้าที่รับลมและและสร้างแรงผลักให้เรือแล่นไปข้างหน้า แต่ใบเรือต้องอยู่ในองศาเหมาะสมกับทิศทางลม หางเสือเรือ (Rudder) ใช้ควบคุมทิศทางเรือ เมื่อหางเสือปัดไปทางใด หัวเรือก็จะหันไปในทิศทางเดียวกัน คัดแคง (Center Board หรือ Drager Board) มีลักษณะเป็นแผ่นกระดานยื่นลงไปใต้ท้องเรือ ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เรือเซหรือเอียงเมื่อแล่นขวางทิศทางลม การแล่นของเรือใบ เกิดจากใบเรือได้รับแรงจากลมที่พัดมา แรงลมก็จะไหลไปตามพื้นผิวของใบเรือและแรงนั้นจะถูกส่งไปยังท้ายเรือ เกิดเป็นแรงผลักให้เรือแล่นไปข้างหน้าได้ โดยการที่เรือใบจะเคลื่อนที่ไปยังทิศทางที่ต้องการได้นั้นขึ้นอยู่กับใบเรือและหางเสือ ใบเรือต้องอยู่ในองศาที่เหมาะสมกับทิศทางลม และหางเสือต้องบังคับเรือไปยังทิศทางที่ใบเรือรับลมได้ ซึ่งการปรับองศาของใบเรือต้องสัมพันธ์กับทิศทางของลมที่พัดมา ทั้งนี้สามารถบังคับเรือให้ไปยังทิศทางที่สวนลมได้อีกด้วย ตามปกติแล้วหากเป็นลมสวนในทิศทางตรง ใบเรือจะไม่สามารถรับลมให้เรือแล่นไปข้างหน้าตรง ๆ ได้เลย การจะแล่นเรือใบในสภาวะสวนลมได้ การบังคับเรือต้องให้องศาของใบเรืออยู่ในลักษณะเฉียงกับทิศทางลมที่สวนมา แรงลมสวนที่ปะทะใบเรือจะถูกเปลี่ยนทิศทางโดยใบเรือที่เปลี่ยนองศาไปขณะแล่นอยู่ ส่งผลให้เรือแล่นในลักษณะโค้งสลับไปมา จนไปถึงจุดหมายด้านหน้าได้ อ้างอิง https://www.blockdit.com/posts/5ee43aeb3d014a0ca37861a1 http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/physcis-for-everyday/physics-for-everydayuse-content/1-20/indexcontent20.htm

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนเมษายน 2567

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนเมษายน 2567 ดังนี้ 6 เมษายน 2567 วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ 8 เมษายน 2567 วันหยุดชดเชย วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ 12 เมษายน 2567 วันหยุดราชการ เพิ่มเป็นกรณีพิเศษ 13 – 15 เมษายน 2567 วันสงกรานต์ 16 เมษายน 2567 วันหยุดชดเชย วันสงกรานต์

ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ จัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม เดือนเมษายน 2567 เรื่อง “จากโลกสู่จักรวาล” (From Earth to the Universe)

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้บริการส่วนการแสดงท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ โดยเปิดการแสดงเป็นรอบ ๆ ละประมาณ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คน ต่อ 1 รอบการแสดง ช่วงแรกของการแสดงฯ เป็นการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการศึกษา และการแสดงภาพยนตร์เต็มโดมจากเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดียในช่วงท้าย การแสดงภาพยนตร์เต็มโดม เดือนเมษายน 2567 เรื่อง “จากโลกสู่จักรวาล” (From Earth to the Universe) ท้องฟ้ายามค่ำคืนทั้งสวยงามและลึกลับ ตำนานโบราณและความน่าสะพรึงกลัวของมันมักเป็นหัวข้อของเรื่องราวที่เล่าขานกันในแคมป์ไฟอยู่เสมอ ตราบใดที่ยังคงมีมนุษย์อยู่ ความปรารถนาที่จะหยั่งรู้จักรวาลอาจเป็นประสบการณ์ทางปัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ แต่เมื่อไม่นานมานี้ เราเพิ่งเริ่มเข้าใจอย่างแท้จริงถึงตำแหน่งที่อยู่ของเราในจักรวาลอันกว้างใหญ่ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการค้นพบนี้จากทฤษฎีของทฤษฎีของนักดาราศาสตร์ชาวกรีกโบราณมาสู่เรื่องราวของกล้องโทรทรรศน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ขอเชิญคุณสัมผัสประสบการณ์จากโลกสู่จักรวาล การเดินทางอันน่าตื่นตาตื่นใจตลอด 30 นาที ผ่านอวกาศและกาลเวลาไปสู่จักรวาลตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ผู้ชมจะได้ชื่นชมความงดงามของระบบสุริยะและดวงอาทิตย์อันแสนร้อนแรง ภาพยนตร์เรื่องนี้จะพาผู้ชมออกไปสู่สถานที่เกิดอันมีสีสันและสถานที่ฝังศพของดาวฤกษ์และยังคงไกลเกินกว่าทางช้างเผือกไปจนถึงความใหญ่โตที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ของกาแลคซีมากมาย ผู้ชมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติดาราศาสตร์ การประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ และกล้องโทรทรรศน์ขนาดยักษ์ของวันนี้เพื่อให้เราสามารถสำรวจความลึกของจักรวาลได้