กิจกรรมของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 21 กิจกรรม | ||
---|---|---|
พื้นที่ส่วนกลาง หน้าอาคาร 2 (อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์) | ||
รหัส | ชื่อกิจกรรม | |
A1 | แม่เหล็ก (Magnet) | พื้นที่ส่วนกลาง หน้าอาคาร 2 |
A2 | เล่นดี ๆ มีรางวัล (เบา ๆ นะจ๊ะ) | พื้นที่ส่วนกลาง หน้าอาคาร 2 |
A3 | เกมเขาวงกตแม่เหล็ก (Magnet Maze) | พื้นที่ส่วนกลาง หน้าอาคาร 2 |
A4 | จะทำได้ไหม…ทำได้หรือเปล่า | พื้นที่ส่วนกลาง หน้าอาคาร 2 |
A5 | พลังพิเศษของกล้ามเนื้อ | พื้นที่ส่วนกลาง หน้าอาคาร 2 |
A6 | เวทีกลาง | พื้นที่ส่วนกลาง หน้าอาคาร 2 |
A7 | รถแข่งลงเขาบราคิสโตโครน (Brachistochrone) | นิทรรศการวิทยาศาสตร์แสนสนุก |
A8 | วิทยาศาสตร์ใต้พิภพ | นิทรรศการดินแดนแห่งแร่ ชั้น 1 อาคาร 2 |
A9 | Power of wind | ห้องกิจกรรม DIY ชั้น 2 อาคาร 2 |
A10 | พลังเเห่ง Solar Robot | นิทรรศการเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ชั้น 3 อาคาร 2 |
A11 | นักออกแบบตัวน้อย | นิทรรศการเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ชั้น 3 อาคาร 2 |
ข่าวสาร กิจกรรม บทความและนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ
ภาพยนตร์เต็มโดมประจำเดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons)
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยส่วนวิชาการ กลุ่มงานท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง ด้วยการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการ ผ่านเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย และจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม รอบละประมาณ 1 ชั่วโมง ให้บริการผู้ชม 280 คนต่อ 1 รอบการแสดง ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ในภาพยนตร์เต็มโดม เดือนกันยายน 2566 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons) ภาพยนตร์ความยาว 23 นาที นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับดาวเคราะห์ที่ชื่อว่า “โลก” ว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เราพบสื่งมีชีวิต แต่เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะอพยพไปอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น ร่วมสัมผัสความร้อนแรงของดาวศุกร์ ชมดินสีส้มของดาวอังคาร ต้านแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวพฤหัส และตื่นตากับความสวยงามของดาวเสาร์ แล้วลองตัดสินใจว่าดาวเคราะห์ดวงไหนที่เราอยากไปอยู่ พากษ์เสียงภาษาไทยโดย คุณฉันทวิทย์ ธนะเสวี (เต๋อ) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
เพราะอะไร!! ทำไมฉันจึงถนัดซ้าย
ลองสังเกตคนรอบตัวคุณดูสักนิดมีใครถนัดซ้ายไหม นี่อาจไม่ใช่เรื่องแปลกในสังคมปัจจุบันสักเท่าไร แต่คุณรู้หรือไม่ว่าในอดีตมีคนกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าคนที่ถนัดซ้ายเป็นคนประหลาด และมองว่าคือ ปีศาจ จนทำให้องค์กรหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาลุกขึ้นมาเพื่อปกป้องสิทธิของคนเหล่านี้ รวมถึงสร้างความตระหนักเรื่องความเสมอ ภาคในตัวของบุคคล ถึงขั้นจัดตั้งวันคนถนัดซ้ายสากล หรือ Happy Left Handers Day ขึ้น ซึ่งตรงกับวันที่ 13 สิงหาคมของทุกปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับคนถนัดซ้ายที่ถูกรังเกียจว่าแปลกประหลาด อีกทั้งยังรณรงค์ให้เห็นว่าแม้จะถนัดซ้ายคนเหล่านั้นก็มีความเป็นมนุษย์เหมือน ๆ กัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมนุษย์เราถนัดขวามากกว่าซ้าย 80-90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเลยทีเดียว เพราะเหตุใดจึงมีคนถนัดซ้ายเพียงเล็กน้อยแตกต่างไปจากคนอื่น ๆ กันนะ สาเหตุของการถนัดซ้าย งานวิจัยของ eLife เชื่อว่าความถนัดของมือมีต้นเหตุมาจากการทำงานที่ไม่สมดุลกันของยีนภายในกระดูกไขสันหลังของตัวอ่อนขณะอยู่ในมดลูก โดยการเคลื่อนไหวของมือและแขนของมนุษย์เกิดจากการสั่งงานของสมองส่วน Motor Cortex ที่เป็นตัวส่งสัญญาณประสาทไปที่ไขสันหลัง เพื่อทำหน้าที่แปลผลคำสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหวมือและแขน ซึ่งการแสดงออกของยีนนี้จะอยู่ในช่วงอายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ ผลการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า การที่พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้องถนัดซ้ายนั้น จะเพิ่มโอกาสให้ลูกถนัดซ้ายได้เช่นกัน จากงานวิจัยในประเทศเบลเยี่ยมพบว่า เด็กแฝด ไม่ว่าจะแฝดแท้หรือแฝดเทียม (Fraternal twin) หากมีหนึ่งคนถนัดขวา อีกคนมักจะถนัดซ้าย ซึ่งอัตราส่วนความเป็นไปได้ถึง 21 เปอร์เซ็นต์ […]
เอนไซม์ พลังจิ๋วขจัดคราบในผงซักฟอก
หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องของพลังเอนไซม์กำจัดคราบสกปรก จากโฆษณาผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก แต่รู้หรือไม่ว่า เอนไซม์ที่ใช้ในผงซักฟอกเป็นเอนไซม์ประเภทเดียวกับเอนไซม์ที่ใช้ในระบบย่อยอาหาร โดยหน้าที่ของเอนไซม์ คือ ช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมี ทำให้สารโมเลกุลใหญ่ถูกย่อยเป็นสารที่มีขนาดเล็ก เมื่อเติมเอนไซม์ลงในผงซักฟอกจึงทำให้ผงซักฟอกมีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบสกปรกขนาดใหญ่ที่เกาะติดกับเส้นใยผ้าถูกเอนไซม์ย่อยสลายเป็นอนุภาคขนาดเล็กแล้วหลุดออกจากเส้นใยผ้าได้ง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความร้อนสูงในการซักผ้า เพื่อให้คราบกำจัดออกได้ง่าย ซึ่งการใช้ความร้อนนี้มีผลเสีย ทำให้เส้นใยผ้าถูกทำลาย และมีสีซีด และอีกหนึ่งข้อดีของเอนไซม์คือเป็นสารที่มีขนาดเล็ก สามารถใช้ในปริมาณไม่มาก แต่มีประสิทธิภาพในการทำปฏิกิริยาซ้ำได้หลายรอบ เอนไซม์ที่ถูกเติมในผงซักฟอกมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีความจำเพาะในการย่อยสลายสารต่างประเภทกัน โดยเอนไซม์ที่นิยมนำมาเติมลงในผงซักฟอกมีหลัก ๆ 3 ชนิด คือ โปรติเอส (proteases) คือ เอนไซม์ที่มีหน้าที่ย่อยโปรตีนให้มีขนาดเล็ก โดยกระบวนการย่อยสลายโปรตีน (proteolysis) ตัดสายเพปไทด์ให้มีขนาดที่เล็กลง คราบโปรตีนบนเสื้อผ้าจึงหลุดออกได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น รอยเลือด, คราบหญ้า, ไข่, เหงื่อ และคราบอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรตีน อะไมเลส (α-amylases) คือ เอนไซม์ที่มีหน้าที่ย่อยแป้งให้มีขนาดเล็ก โดยใช้เพื่อกำจัดคราบอาหารเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของแป้ง เช่น แป้งพาสต้า, มันฝรั่ง, น้ำเกรวี่, ช็อกโกแลต, และอาหารเด็ก เป็นต้น นอกจากนี้อะไมเลสยังช่วยกำจัดคราบเจลที่เกิดจากการบวมของเม็ดแป้ง ทำให้เกิดคราบเหนียวจับกับฝุ่นละอองได้ง่าย และทำให้ผ้าไม่ขาวสะอาดอีกด้วย ไลเปส (lipase) […]
ระบบนำทางของนกนักอพยพ
เมื่อสัญชาตญาณการรับรู้การเปลี่ยนแปลงรอบตัว บ่งบอกถึงฤดูกาลกำลังจะเปลี่ยนผ่าน ในทุก ๆ ปี เหล่านกที่อยู่ในเขตอบอุ่นเริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับลมหนาวที่กำลังจะมาถึง ในแหล่งอาศัยที่มีสภาพอากาศที่เลวร้ายและอาหารกำลังจะหมดลงในไม่ช้า มีความจำเป็นต้องหาที่อยู่และแหล่งอาหารใหม่ เพื่อที่จะให้พอใช้ชีวิตอยู่ตลอดช่วงฤดูหนาว จากสภาพแวดล้อมและความกดดันของสภาพอากาศเหล่านี้ ทำให้นกตัดสินใจที่จะเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่หรือที่เรียกว่า “การอพยพ” ซึ่งหลังจากหมดช่วงเวลาการอพยพ นกก็จะกลับมายังรังหรือแหล่งอาศัยเดิมที่มันจากมา เส้นทางการอพยพไปยังเป้าหมายนั้นไกลแสนไกลเป็นหลายร้อยกิโลเมตรอาจจะทำให้มันบินออกนอกเส้นทางได้ นกจึงมีเครื่องมือช่วยให้มันสามารถไปถึงเป้าหมายได้สำเร็จ เช่นเดียวกับการเดินทางของคนที่ต้องใช้ระบบนำทางอย่าง GPS ระบบนำทางนกนั้นมีสิ่งที่เรียกว่า Orientation และ Navigation ซึ่งดูเหมือนว่าคำสองคำนี้อาจจะคล้ายกัน แต่ความหมายของทั้งสองคำนี้แตกต่างกัน โดย Orientation เหมือนกับเข็มทิศ ส่วน Navigation เหมือนกับแผนที่ โดยนกจะมีทั้งเข็มทิศและแผนที่ ซึ่งนกจะหาจุดอ้างอิงไม่ให้หลุดออกจากเส้นทางการบินอพยพ โดยสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ครอบคลุมพื้นที่การบินของนกสามารถเห็นได้ง่าย เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กโลก นอกจากนี้ยังมีอย่างอื่นที่นกใช้เป็นตัวบอกทิศ เช่น ดาวบนฟ้า กลิ่น เสียง เป็นต้น ตัวอย่างของจุดอ้างอิงที่ใช้เป็นเข็มทิศ 1. สนามแม่เหล็ก (Magnetic field) นกสามารถรับรู้สนามแม่เหล็กจากโปรตีนที่ชื่อว่า คริพโตโครม (Cryptochrome) ในตาของนก โดยแสงไปกระตุ้นอิเล็กตรอนตัวหนึ่งในโมเลกุลของคริพโตโครมและส่งสัญญาณไปยังระบบประสาท ทำให้สามารถตรวจจับสนามแม่เหล็กได้ ซึ่งอวัยวะที่รับรู้สนามแม่เหล็กนี้ไม่ได้มีแต่ในตาเท่านั้น นกบางชนิดมีสัมผัสพิเศษนี้อยู่ที่บริเวณขอบจะงอยปากและในรูจมูก […]
แสงสีกับการเจริญเติบโตของพืช
พืชใช้แสงจากดวงอาทิตย์ในการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นกระบวนการที่พืชแปลงพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมี เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของพืช โมเลกุลที่พืชใช้ในการดูดซับแสง เรียกว่า รงควัตถุ (pigments) หรือสารสี ซึ่งสารสีแต่ละชนิดมีการดูดซับช่วงคลื่นแสงที่แตกต่างกัน โดยสารสีที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ สารสีเขียวหรือคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) สามารถดูดซับคลื่นในช่วงแสงสีแดงและสีน้ำเงินได้มากกว่าช่วงคลื่นแสงสีเขียว ทำให้เราสามารถมองเห็นพืชเป็นสีเขียว เนื่องจากการสะท้อนของคลื่นแสงสีเขียวที่อยู่ในช่วงแสงที่ตามองเห็นได้ สารสีอื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์แสง คือ แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งดูดซับแสงในช่วงคลื่นแสงสีน้ำเงิน – เขียว และสะท้อนช่วงแสงสีเหลืองหรือเหลือง – ส้ม ทำให้เราจะเห็นพืชมีสีเหลืองส้มหลังจากการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ แสงสีแต่ละสีที่พืชดูดซับมีผลต่อการเจริญเติบโตต่างกัน โดยมีการศึกษาวิจัยพบว่า แสงสีน้ำเงิน (400–520 นาโนเมตร) มีผลต่อปริมาณของคลอโรฟิลล์และการเจริญเติบโตของใบพืช รวมทั้งการสร้างรากในระยะแรกของพืช (veg stage/ growth) แต่ไม่ควรให้แสงสีฟ้ามากเกินไปในพืชบางชนิด เพราะอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ แสงสีแดง (630–660 นาโนเมตร) จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลำต้นและการขยายตัวของใบ รวมทั้งมีผลกับพืชเมื่ออยู่ในช่วงที่เริ่มออกดอก (flowering) จึงเหมาะกับพืชที่เราต้องการผลมากกว่าพืชใบ แสงสีเขียว (500–600นาโนเมตร) ถึงแม้พืชจะนำมาใช้น้อยที่สุด แต่ก็มีผลกับใบพืชที่อยู่ด้านล่าง เนื่องจากแสงสีเขียวทะลุผ่านได้ดีกว่า ทำให้พืชได้รับแสงอย่างทั่วถึง จะเห็นได้ว่าพืชยังคงต้องการแสงในทุกช่วงคลื่นแสงสำหรับการสังเคราะห์แสง […]