หน้าแรก

previous arrow
previous arrow
next arrow
next arrow
Slider

ติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของหน่วยงานผ่านเฟซบุ๊กได้ที่เพจ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเอกมัย

กิจกรรมและบริการ

ท่านสามารถสืบค้นกิจกรรมและบริการได้ที่หัวข้อบริการ หรือคลิกที่กล่องเมนูทั้ง 7 ด้านล่างนี้
หากมีข้อสงสัยสืบค้นได้ที่คำถามที่พบบ่อย (FAQ) หรือติดต่อกลุ่มการตลาดและประชาสัมพันธ์ โทร. 0 2392 0508, 0 2392 1773

ติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของหน่วยงานผ่านเฟซบุ๊กได้ที่เพจ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเอกมัย

กิจกรรมและบริการ

สามารถสืบค้นกิจกรรมและบริการได้ที่หัวข้อบริการ หรือคลิกที่กล่องเมนูทั้ง 7 ด้านล่าง หากมีข้อสงสัยสืบค้นได้ที่ คำถามที่พบบ่อย (FAQ) หรือโทร. 0 2392 0508, 0 2392 1773

ข่าวสาร กิจกรรม และบทความ

ท่านสามารถสืบค้นข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวกิจกรรม ภาพข่าวกิจกรรมได้ที่หัวข้อข่าว และบทความวิชาการที่หัวข้อบทความวิชาการ

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ให้บริการกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ ซึ่งเปิดให้บริการตลอดปีการศึกษา

“ค่ายวิทยาศาสตร์กับชีวิต” ค่าย 2 วัน 1 คืน สำหรับสถานศึกษาเท่านั้น เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านการทำกิจกรรม ที่ได้รับทั้งความรู้และความสนุกสนาน สามารถเลือกกิจกรรมปฏิบัติการได้ 3 เรื่อง ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลุ่มธรรมชาติวิทยากลุ่มศูนย์บริการวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ให้บริการครั้งละ 60 – 80 คน)ค่ายนี้เหมาะสำหรับระดับชั้นใดบ้าง ป.4-ป.6ม.1-ม.3ม.4-ม.6 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2392 5951 – 60 ต่อ 1140 และ 1141

superadmin

21 May 2024

18 พฤษภาคม เข้าชมนิทรรศการ ฟรี!

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดให้ประชาชนเข้าชมนิทรรศการ ฟรี! 1 วัน โดยเปิดให้เข้าชมอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อาคาร 2) อาคารสิ่งแวดล้อมโลก(อาคาร 3) อาคารความตระหนักรู้ด้านพลังงาน และอาคารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (อาคาร 4) ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2567 เนื่องในโอกาส วันสถาปนากรมส่งเสริมการเรียนรู้ จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

superadmin

15 May 2024

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพลานาเรีย

หากพูดถึงสิ่งมีชีวิตรอบ ๆ ตัว ซึ่งมีจำนวนมากมายหลายชนิด รูปร่างแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดล้วนอาศัยอยู่ในแหล่งที่แตกต่างกัน สำหรับวันนี้จะพามารู้จักกับสิ่งมีชีวิตตัวเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำและมีคุณสมบัติพิเศษอย่าง พลานาเรีย (Planarian) พลานาเรียจัดอยู่ในไฟลัมแพลทีเฮลมินธิส (Platyhelminthes) ของอาณาจักรสัตว์ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ หนอนตัวแบน (Flatworm) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ปัจจุบันสัตว์ในไฟลัมนี้มีประมาณ 20,000 ชนิด มีการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันออกไปทั้งบนบกและในน้ำ โดยส่วนใหญ่แล้วจะดำรงชีวิตแบบปรสิต (Parasites) ในสัตว์ที่มีกระดูกสัตว์สันหลัง เช่น พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ ส่วนพลานาเรียจะดำรงชีวิตแบบอิสระ (Free living) อาศัยอยู่ในน้ำจืดค่อนข้างสะอาดบริเวณคลองหรือบึง พบได้บริเวณโขดหิน ท่อนไม้ เป็นต้น มีลักษณะลำตัวแบน ความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ไม่แบ่งเป็นปล้อง ผิวหนังบาง มีต่อมเมือกและขนเซลล์เล็ก ๆ สำหรับใช้ในการเคลื่อนที่ บริเวณส่วนหัวจะมีเซลล์คล้ายกับดวงตา เรียกว่า Eyespot จำนวน 2 จุด แบ่งออกเป็น ส่วนสีขาวใสและสีดำ ทำหน้าที่คล้ายดวงตาในการรับแสง […]

superadmin

6 May 2024

ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ จัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม เดือนพฤษภาคม 2567 เรื่อง “จักรวาลอันเกรี้ยวกราด วิบัติกาลแห่งห้วงอวกาศ (Violent Universe Catastrophes of the Cosmos)”

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) สำนักงาน กศน. ให้บริการส่วนการแสดงท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดการแสดงเป็นรอบ ๆ ละ 1 ชั่วโมง บริการผู้ชม จำนวน 280 ที่นั่งต่อ 1 รอบการแสดง ช่วงแรกของการแสดงท้องฟ้าจำลอง เป็นการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการศึกษา และในช่วงท้ายจะเป็นการแสดงภาพยนตร์เต็มโดมจากเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย ซึ่งมีการเปลี่ยนภาพยนตร์เต็มโดมทุกเดือน สำหรับการแสดงภาพยนตร์เต็มโดมในเดือนพฤษภาคมนี้ จัดแสดงเรื่อง “จักรวาลอันเกรี้ยวกราด วิบัติกาลแห่งห้วงอวกาศ (Violent Universe Catastrophes of the Cosmos)” ภาพยนตร์ความยาว 25 นาที นำเสนอเรื่องราวสุดแสนอันตรายในอวกาศ ความสวยงามของดวงดาวท่ามกลางอวกาศสีดำสนิท มืดมิด และดูเงียบสงบ แต่ความจริงแล้ว จักรวาลนี้แฝงไปด้วยอันตราย ไม่ว่าจะเป็นรังสีที่เป็นอันตราย ความตายของดวงดาว หลุมดำที่น่ากลัว และอุกกาบาต ภาพยนตร์ฯ พากย์เสียงภาษาไทย โดย คุณพงศธร จงวิลาศ (เผือก) จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

superadmin

29 April 2024

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนพฤษภาคม 2567

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนพฤษภาคม 2567 4 พฤษภาคม 2567 วันฉัตรมงคล 6 พฤษภาคม 2567 วันหยุดชดเชยวันฉัตรมงคล 10 พฤษภาคม 2567 วันพืชมงคล 22 พฤษภาคม 2567 วันวิสาขบูชา จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

superadmin

29 April 2024

SECRET OF LIFE

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมเสริมนิทรรศการ เรื่อง SECRET OF LIFE ในวันที่ 26 เมษายน 2567 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับให้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต กุญแจดอกสำคัญที่ใช้ในการไขรหัสลับของชีวิตคืออะไร? ทำไมสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดถึงมีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันและใครเป็นผู้ค้นพบกุญแจดอกนี้ ? มาร่วมไขความลับของสิ่งมีชีวิตกันได้ที่นิทรรศการความลับของสิ่งมีชีวิต วันที่จัดกิจกรรม วันที่ 26 เมษายน 2567 สถานที่จัดกิจกรรม ณ นิทรรศการความลับของสิ่งมีชีวิต ชั้น4 อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อาคาร2) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

superadmin

23 April 2024

“ช้าง…สัตว์ใหญ่ในยุคดึกดำบรรพ์”

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมเสริมนิทรรศการ เรื่อง “ช้าง…สัตว์ใหญ่ในยุคดึกดำบรรพ์” ในวันที่ 24 – 25 เมษายน 2567 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับช้างในยุคดึกดำบรรพ์ผ่านสื่อและทำกิจกรรมเสริมโดยการประดิษฐ์ ตกแต่งการ์ดป๊อปอัพ (จำนวนจำกัด) ณ นิทรรศการไดโนเสาร์ ชั้น 2 อาคารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

superadmin

23 April 2024

SCE Summer Market

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมพิเศษ “SCE Summer Market เปิดพื้นที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชน” โดยกำหนดจัดกิจกรรมช่วงสุดสัปดาห์ของเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2567 วันที่จัดกิจกรรม ครั้งที่ 1 วันที่ 27-28  เมษายน 2567 ครั้งที่ 2 วันที่ 5 พฤษภาคม 2567 ครั้งที่ 3 วันที่ 11-12 พฤษภาคม 2567 ครั้งที่ 4 วันที่ 18-19 พฤษภาคม 2567 ครั้งที่ 5 วันที่  25-26 พฤษภาคม 2567 กิจกรรมภายในงาน ภายในงานมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้จากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงหน่วยงานในสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และร้านค้าชุมชน กิจกรรม DIY กิจรรม Art & Craft กิจกรรม Workshop Food […]

superadmin

23 April 2024

รถไฟเหาะตีลังกา

เครื่องเล่นในสวนสนุกเป็นที่นิยมสำหรับคนที่ชอบความท้าทายต้องไม่พลาดกันเลย นั่นก็คือ “รถไฟเหาะตีลังกา” ซึ่งเป็นเครื่องเล่นน่าหวาดเสียว อาจจะเป็นเรื่องยากสักหน่อยที่ในขณะเล่นอยู่นั้นจะไม่กรีดร้องเลย เพราะการเคลื่อนที่ของรถไฟเหาะตีลังกาเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกกับแรงเฉื่อยในการเคลื่อนที่จากที่สูงลงมาอย่างอิสระตามเส้นทางของรางที่ถูกออกแบบไว้ แต่เบื้องหลังของความสนุกสุดเหวี่ยงที่เกิดขึ้นทำให้เราได้เครื่องเล่นที่สามารถสร้างความสนุกสนานแล้ว การเคลื่อนที่ของเครื่องเล่นชิ้นนี้ยังใช้หลักการของฟิสิกส์หลาย ๆ อย่าง เช่น พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานจลน์ แรงเข้าสู่ศูนย์กลาง แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นต้น การเคลื่อนที่ของรถไฟเหาะตีลังกาเริ่มต้นจากการถูกดึงด้วยระบบโซ่และมอเตอร์ขึ้นไปยังจุดสูงสุดเพื่อทำการปล่อยลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลกและเคลื่อนที่ด้วยแรงเฉื่อย การกักเก็บพลังงานทำให้รถไฟที่กำลังเคลื่อนที่ลงอย่างอิสระจากจุดสูงสุดนั้นจะมีพลังงานศักย์โน้มถ่วงมากที่จุดเริ่มต้นของราง ขณะที่รถไฟถูกปล่อยลงมาจะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์และจะมีพลังงานจลน์สูงสุด ณ จุดต่ำสุดของราง ยิ่งจุดเริ่มต้นนั้นมีความสูงมากเท่าไหร่ พลังงานศักย์โน้มถ่วงก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้นและเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ได้มากขึ้นตามความเร็วเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างองศาของรางทำมุม 60 ํ สามารถทำความเร็วได้ถึง 125 km/h เลยทีเดียว จากความรู้สึกที่ได้เล่นรถไฟเหาะนั้น ในขณะรถไฟเหาะกำลังแล่นลงมาจากที่สูงวิ่งเข้ามายังวงกลม จะเกิดแรงกระทำต่อตัวเรามากที่สุด เราจะรู้สึกว่าน้ำหนักตัวเองเพิ่มขึ้นจนหลังติดเบาะ และเมื่อรถไฟเคลื่อนที่ขึ้นไปถึงจุดบนสุดของวงกลม เราจะรู้สึกได้ถึงสภาวะไร้น้ำหนัก และกลับมาสู่ภาวะปกติอีกครั้งเมื่อลงมาที่จุดต่ำสุด การเปลี่ยนแปลงของแรงที่กระทำต่อตัวเราทำให้เรารู้สึกสนุก ตื่นเต้นตลอดเวลาในขณะนั่งอยู่บนรถไฟเหาะ ยิ่งหากรางมีรูปแบบเป็นหยดน้ำทรงคว่ำด้วยแล้ว ความสนุกจะเกิดขึ้นจากการที่รัศมีของวงกลมด้านบนมีค่าน้อยกว่าด้านล่าง ก่อให้เกิดแรงเข้าสู่ศูนย์กลางของรถไฟด้านบนมีค่ามากกว่าด้านล่าง จึงทำให้ตัวของเราติดกับที่นั่งมากขึ้น และเมื่อรถไฟแล่นกลับลงมาความเร่งจะลดลง ผู้เล่นจะไม่รู้สึกอึดอัดนั่นเอง รวมถึงโค้งต่าง ๆ ในเส้นทางของรางที่จะเกิดแรงเข้าสู่ศูนย์กลางด้วยเช่นกัน ปัจจุบันวิศวกรออกแบบรถไฟได้นำเทคโนโลยีระบบมอเตอร์และแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามาช่วยในการเคลื่อนที่ เพื่อให้รถไฟขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่องในรูปแบบหลากหลายมากยิ่งขึ้น ในความสนุกสนานก็มีอันตรายเช่นเดียวกัน ซึ่งการเล่นเครื่องเล่นในสวนสนุกก็อย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำที่บอกเอาไว้ อ้างอิง ฟิสิกส์ของรถไฟเหาะ ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน […]

superadmin

8 April 2024

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ให้บริการกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ ซึ่งเปิดให้บริการตลอดปีการศึกษา

“ค่ายวิทยาศาสตร์กับชีวิต” ค่าย 2 วัน 1 คืน สำหรับสถานศึกษาเท่านั้น เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านการทำกิจกรรม ที่ได้รับทั้งความรู้และความสนุกสนาน สามารถเลือกกิจกรรมปฏิบัติการได้ 3 เรื่อง ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มธรรมชาติวิทยา กลุ่มศูนย์บริการวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ให้บริการครั้งละ 60 – 80 คน) ค่ายนี้เหมาะสำหรับระดับชั้นใดบ้าง ป.4-ป.6 ม.1-ม.3 ม.4-ม.6 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2392 5951 – 60 ต่อ 1140 และ 1141

superadmin

21 May 2024

18 พฤษภาคม เข้าชมนิทรรศการ ฟรี!

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดให้ประชาชนเข้าชมนิทรรศการ ฟรี! 1 วัน โดยเปิดให้เข้าชมอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อาคาร 2) อาคารสิ่งแวดล้อมโลก(อาคาร 3) อาคารความตระหนักรู้ด้านพลังงาน และอาคารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (อาคาร 4) ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2567 เนื่องในโอกาส วันสถาปนากรมส่งเสริมการเรียนรู้ จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพลานาเรีย

หากพูดถึงสิ่งมีชีวิตรอบ ๆ ตัว ซึ่งมีจำนวนมากมายหลายชนิด รูปร่างแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดล้วนอาศัยอยู่ในแหล่งที่แตกต่างกัน สำหรับวันนี้จะพามารู้จักกับสิ่งมีชีวิตตัวเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำและมีคุณสมบัติพิเศษอย่าง พลานาเรีย (Planarian) พลานาเรียจัดอยู่ในไฟลัมแพลทีเฮลมินธิส (Platyhelminthes) ของอาณาจักรสัตว์ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ หนอนตัวแบน (Flatworm) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ปัจจุบันสัตว์ในไฟลัมนี้มีประมาณ 20,000 ชนิด มีการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันออกไปทั้งบนบกและในน้ำ โดยส่วนใหญ่แล้วจะดำรงชีวิตแบบปรสิต (Parasites) ในสัตว์ที่มีกระดูกสัตว์สันหลัง เช่น พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ ส่วนพลานาเรียจะดำรงชีวิตแบบอิสระ (Free living) อาศัยอยู่ในน้ำจืดค่อนข้างสะอาดบริเวณคลองหรือบึง พบได้บริเวณโขดหิน ท่อนไม้ เป็นต้น มีลักษณะลำตัวแบน ความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ไม่แบ่งเป็นปล้อง ผิวหนังบาง มีต่อมเมือกและขนเซลล์เล็ก ๆ สำหรับใช้ในการเคลื่อนที่ บริเวณส่วนหัวจะมีเซลล์คล้ายกับดวงตา เรียกว่า Eyespot จำนวน 2 จุด แบ่งออกเป็น ส่วนสีขาวใสและสีดำ ทำหน้าที่คล้ายดวงตาในการรับแสง […]

ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ จัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม เดือนพฤษภาคม 2567 เรื่อง “จักรวาลอันเกรี้ยวกราด วิบัติกาลแห่งห้วงอวกาศ (Violent Universe Catastrophes of the Cosmos)”

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) สำนักงาน กศน. ให้บริการส่วนการแสดงท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดการแสดงเป็นรอบ ๆ ละ 1 ชั่วโมง บริการผู้ชม จำนวน 280 ที่นั่งต่อ 1 รอบการแสดง ช่วงแรกของการแสดงท้องฟ้าจำลอง เป็นการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศโดยนักวิชาการศึกษา และในช่วงท้ายจะเป็นการแสดงภาพยนตร์เต็มโดมจากเครื่องฉายดาวและสื่อมัลติมีเดีย ซึ่งมีการเปลี่ยนภาพยนตร์เต็มโดมทุกเดือน สำหรับการแสดงภาพยนตร์เต็มโดมในเดือนพฤษภาคมนี้ จัดแสดงเรื่อง “จักรวาลอันเกรี้ยวกราด วิบัติกาลแห่งห้วงอวกาศ (Violent Universe Catastrophes of the Cosmos)” ภาพยนตร์ความยาว 25 นาที นำเสนอเรื่องราวสุดแสนอันตรายในอวกาศ ความสวยงามของดวงดาวท่ามกลางอวกาศสีดำสนิท มืดมิด และดูเงียบสงบ แต่ความจริงแล้ว จักรวาลนี้แฝงไปด้วยอันตราย ไม่ว่าจะเป็นรังสีที่เป็นอันตราย ความตายของดวงดาว หลุมดำที่น่ากลัว และอุกกาบาต ภาพยนตร์ฯ พากย์เสียงภาษาไทย โดย คุณพงศธร จงวิลาศ (เผือก) จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนพฤษภาคม 2567

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปิดให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนพฤษภาคม 2567 4 พฤษภาคม 2567 วันฉัตรมงคล 6 พฤษภาคม 2567 วันหยุดชดเชยวันฉัตรมงคล 10 พฤษภาคม 2567 วันพืชมงคล 22 พฤษภาคม 2567 วันวิสาขบูชา จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

SECRET OF LIFE

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมเสริมนิทรรศการ เรื่อง SECRET OF LIFE ในวันที่ 26 เมษายน 2567 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับให้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต กุญแจดอกสำคัญที่ใช้ในการไขรหัสลับของชีวิตคืออะไร? ทำไมสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดถึงมีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันและใครเป็นผู้ค้นพบกุญแจดอกนี้ ? มาร่วมไขความลับของสิ่งมีชีวิตกันได้ที่นิทรรศการความลับของสิ่งมีชีวิต วันที่จัดกิจกรรม วันที่ 26 เมษายน 2567 สถานที่จัดกิจกรรม ณ นิทรรศการความลับของสิ่งมีชีวิต ชั้น4 อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อาคาร2) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

“ช้าง…สัตว์ใหญ่ในยุคดึกดำบรรพ์”

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมเสริมนิทรรศการ เรื่อง “ช้าง…สัตว์ใหญ่ในยุคดึกดำบรรพ์” ในวันที่ 24 – 25 เมษายน 2567 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับช้างในยุคดึกดำบรรพ์ผ่านสื่อและทำกิจกรรมเสริมโดยการประดิษฐ์ ตกแต่งการ์ดป๊อปอัพ (จำนวนจำกัด) ณ นิทรรศการไดโนเสาร์ ชั้น 2 อาคารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน

SCE Summer Market

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดกิจกรรมพิเศษ “SCE Summer Market เปิดพื้นที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชน” โดยกำหนดจัดกิจกรรมช่วงสุดสัปดาห์ของเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2567 วันที่จัดกิจกรรม ครั้งที่ 1 วันที่ 27-28  เมษายน 2567 ครั้งที่ 2 วันที่ 5 พฤษภาคม 2567 ครั้งที่ 3 วันที่ 11-12 พฤษภาคม 2567 ครั้งที่ 4 วันที่ 18-19 พฤษภาคม 2567 ครั้งที่ 5 วันที่  25-26 พฤษภาคม 2567 กิจกรรมภายในงาน ภายในงานมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้จากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงหน่วยงานในสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และร้านค้าชุมชน กิจกรรม DIY กิจรรม Art & Craft กิจกรรม Workshop Food […]

รถไฟเหาะตีลังกา

เครื่องเล่นในสวนสนุกเป็นที่นิยมสำหรับคนที่ชอบความท้าทายต้องไม่พลาดกันเลย นั่นก็คือ “รถไฟเหาะตีลังกา” ซึ่งเป็นเครื่องเล่นน่าหวาดเสียว อาจจะเป็นเรื่องยากสักหน่อยที่ในขณะเล่นอยู่นั้นจะไม่กรีดร้องเลย เพราะการเคลื่อนที่ของรถไฟเหาะตีลังกาเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกกับแรงเฉื่อยในการเคลื่อนที่จากที่สูงลงมาอย่างอิสระตามเส้นทางของรางที่ถูกออกแบบไว้ แต่เบื้องหลังของความสนุกสุดเหวี่ยงที่เกิดขึ้นทำให้เราได้เครื่องเล่นที่สามารถสร้างความสนุกสนานแล้ว การเคลื่อนที่ของเครื่องเล่นชิ้นนี้ยังใช้หลักการของฟิสิกส์หลาย ๆ อย่าง เช่น พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานจลน์ แรงเข้าสู่ศูนย์กลาง แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นต้น การเคลื่อนที่ของรถไฟเหาะตีลังกาเริ่มต้นจากการถูกดึงด้วยระบบโซ่และมอเตอร์ขึ้นไปยังจุดสูงสุดเพื่อทำการปล่อยลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลกและเคลื่อนที่ด้วยแรงเฉื่อย การกักเก็บพลังงานทำให้รถไฟที่กำลังเคลื่อนที่ลงอย่างอิสระจากจุดสูงสุดนั้นจะมีพลังงานศักย์โน้มถ่วงมากที่จุดเริ่มต้นของราง ขณะที่รถไฟถูกปล่อยลงมาจะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์และจะมีพลังงานจลน์สูงสุด ณ จุดต่ำสุดของราง ยิ่งจุดเริ่มต้นนั้นมีความสูงมากเท่าไหร่ พลังงานศักย์โน้มถ่วงก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้นและเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ได้มากขึ้นตามความเร็วเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างองศาของรางทำมุม 60 ํ สามารถทำความเร็วได้ถึง 125 km/h เลยทีเดียว จากความรู้สึกที่ได้เล่นรถไฟเหาะนั้น ในขณะรถไฟเหาะกำลังแล่นลงมาจากที่สูงวิ่งเข้ามายังวงกลม จะเกิดแรงกระทำต่อตัวเรามากที่สุด เราจะรู้สึกว่าน้ำหนักตัวเองเพิ่มขึ้นจนหลังติดเบาะ และเมื่อรถไฟเคลื่อนที่ขึ้นไปถึงจุดบนสุดของวงกลม เราจะรู้สึกได้ถึงสภาวะไร้น้ำหนัก และกลับมาสู่ภาวะปกติอีกครั้งเมื่อลงมาที่จุดต่ำสุด การเปลี่ยนแปลงของแรงที่กระทำต่อตัวเราทำให้เรารู้สึกสนุก ตื่นเต้นตลอดเวลาในขณะนั่งอยู่บนรถไฟเหาะ ยิ่งหากรางมีรูปแบบเป็นหยดน้ำทรงคว่ำด้วยแล้ว ความสนุกจะเกิดขึ้นจากการที่รัศมีของวงกลมด้านบนมีค่าน้อยกว่าด้านล่าง ก่อให้เกิดแรงเข้าสู่ศูนย์กลางของรถไฟด้านบนมีค่ามากกว่าด้านล่าง จึงทำให้ตัวของเราติดกับที่นั่งมากขึ้น และเมื่อรถไฟแล่นกลับลงมาความเร่งจะลดลง ผู้เล่นจะไม่รู้สึกอึดอัดนั่นเอง รวมถึงโค้งต่าง ๆ ในเส้นทางของรางที่จะเกิดแรงเข้าสู่ศูนย์กลางด้วยเช่นกัน ปัจจุบันวิศวกรออกแบบรถไฟได้นำเทคโนโลยีระบบมอเตอร์และแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามาช่วยในการเคลื่อนที่ เพื่อให้รถไฟขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่องในรูปแบบหลากหลายมากยิ่งขึ้น ในความสนุกสนานก็มีอันตรายเช่นเดียวกัน ซึ่งการเล่นเครื่องเล่นในสวนสนุกก็อย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำที่บอกเอาไว้ อ้างอิง ฟิสิกส์ของรถไฟเหาะ ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน […]

Message us