ทำไมรุ้งกินน้ำถึงเป็นเส้นโค้ง ทั้งที่แสงเดินทางเป็นเส้นตรง ?

หลังฝนหยุดตก คุณเคยสังเกตเห็นรุ้งกินน้ำที่ปรากฏบนท้องฟ้ากันบ้างไหมแล้วเคยสงสัยกันหรือไม่ว่ารุ้งกินน้ำที่เราเห็นกันทำไมถึงเป็นเส้นโค้ง ทำไมไม่เป็นรูปร่างอื่นบ้าง เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม หรือเส้นตรงแล้วมีหลักการทางวิทยาศาสตร์อะไรบ้างที่สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้ รุ้งกินน้ำเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่พบเห็นได้ในช่วงหลังฝนตกและมีแดดออก และยังสามารถพบได้บริเวณน้ำพุ น้ำตก หรือ ละอองน้ำจากกระบอกฉีดน้ำรดต้นไม้ ซึ่งมักจะพบรุ้งกินน้ำในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์เสมอ โดยเกิดจากหลักการทางฟิสิกส์ที่เรียกว่า การหักเห และสะท้อนกลับหมดของแสง รุ้งกินน้ำเกิดขึ้นเมื่อแสงอาทิตย์ หรือแสงขาวตกกระทบเข้าไปในละอองน้ำที่ล่องลอยอยู่ในอากาศหลังฝนตกจะเกิดการหักเห และการสะท้อนลับหมดของแสงออกมา ทำให้แสงสีทั้ง 7 สีของแสงขาวกระจายออกจากกัน แต่เนื่องจากแสงมีการเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่างกัน (จากอากาศสู่น้ำ) ผ่านผิวของละอองน้ำ ทำให้แสงสีต่าง ๆ กระจายออกจากกันแล้วเกิดการสะท้อนกลับหมดที่ผิวภายในของละอองน้ำ หลังจากนั้นจะเกิดการหักเหจากภายในละอองน้ำออกสู่อากาศอีกครั้ง และละอองน้ำมีจำนวนมาก จึงทำให้แสงเกิดการหักเหเข้าตาเราไปในทิศทางที่แกต่างกัน โดยมีทั้งหักเหเป็นมุมโค้งขึ้น โค้งลง และโค้งออกมาทางด้านข้างละอองน้ำ แต่เราจะเห็นเพียงแสงที่หักเหเข้าสู่สายตาเป็นมุมออกมาประมาณ 40-42 องศาเท่านั้น ซึ่งนี่เองเป็นสาเหตุทำให้เราเห็นรุ้งกินน้ำเป็นเส้นโค้ง โดยมีสีเรียงจากล่างขึ้นบน คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง แต่ในบางครั้งเราก็สามารถเห็นรุ้งกินน้ำ 2 ตัวได้ในเวลาพร้อมกัน รุ้งกินน้ำตัวแรกอยู่ด้านล่างคือ รุ้งปฐมภูมิ ที่เราคุ้นเคยกันคือแถบสีม่วงอยู่ข้างล่าง และแถบสีแดงอยู่ข้างบน ส่วนรุ้งกินน้ำตัวที่สองอยู่ด้านบนเรียกว่า […]

superadmin

23 November 2021

ชาเขียว & มัทฉะ ความต่างที่สร้างความอร่อย

ชาเป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมที่ได้จากส่วนของใบ ยอดอ่อน และก้านของต้นชา ที่ผ่านการแปรรูปเพื่อนำมาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่ม กลิ่นหอมที่ได้จากชาเกิดจากสารต่าง ๆ ที่อยู่ในชาที่มีคุณสมบัติเป็นน้ำมันหอมระเหย ซึ่งพืชหลายชนิดที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยเช่นนี้ สามารถนำมาตากแห้ง ใช้ชงหรือต้มกับน้ำร้อนก็เรียก ชา ได้เช่นกัน ทำให้ชามีหลากหลายชนิด โดยปัจจุบันชาเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในที่นี้จะกล่าวถึงชา 2 ประเภท ที่ได้จากต้นชา คือ ชาเขียว (Green Tea) และชาเขียวมัทฉะ (Matcha) เครื่องดื่มสีเขียว กลิ่นหอม ที่หลายคนชื่นชอบเพราะไม่ว่าจะไปร้านอาหารหรือคาเฟ่ก็สามารถพบเจอได้ ถือได้ว่าเป็นเครื่องดื่มอันดับต้น ๆ ที่เป็นตัวเลือกสำหรับคนไม่ดื่มกาแฟ โดยทั้งชาเขียวและชาเขียวมัทฉะนั้น มีต้นกำเนิดมาจากต้นชาเช่นเดียวกัน แต่มีความต่างในเรื่องของ “กรรมวิธีการผลิต” 1. ชาเขียว (Green Tea) ชาเขียวได้จากการนำใบชาสดมาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วด้วยการอบผ่านความร้อน เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไม่ให้เกิดการสลายตัว ใบชาที่ได้จึงแห้ง สด มีสีค่อนข้างเขียว และยังคงสารสำคัญที่มีประโยชน์ ได้แก่ สารกลุ่มโพลิฟีนอล เช่น อีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate : EGCG) , ไมริซิติน (myricetin), […]

superadmin

15 November 2021

ประเภทของชาเขียวที่คุณควรรู้

ในปัจจุบันชาเขียวได้รับความนิยมอย่างมาก คงไม่มีใครไม่รู้จักชาเขียว เพราะมองไปทางไหนก็เห็นชาเขียวเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นขนม เครื่องดื่ม หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และถ้าพูดถึงชาเขียวแล้ว หลาย ๆ คนมักจะนึกถึงรสชาติความอร่อย กลิ่นที่หอมสดชื่น และคุณประโยชน์มากมายของชาเขียว แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าจริง ๆ แล้วชาเขียวนั้นมีหลายประเภท ถึงแม้ว่าจะมาจากต้นชาเดียวกัน แต่กรรมวิธีการผลิตต่างกันก็ส่งผลให้ทั้งรสชาติ สี และกลิ่น แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพื่อไม่ให้เสียชื่อของสาวกชาเขียว เราไปทำความรู้จักกับประเภทของชาเขียวผ่านบทความนี้กันเลย ชาเขียว (Green tea) คืออะไร ? ชาเขียว (Green tea) คือ ชาที่ได้มาจากต้นชาที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis ผลิตด้วยการอบไอน้ำและถูกนวด ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป็นการรักษาสภาพของใบชาให้คงเดิมมากที่สุดก่อนจะนำไปอบแห้ง เพื่อดึงรสชาติและกลิ่นหอมของใบชาออกมา นอกจากนี้ชาเขียวไม่ได้ผ่านการหมักเหมือนชาประเภทอื่น ๆ ทำให้ชาไม่เปลี่ยนเป็นสีดำแต่ยังคงความเขียวสด และมีคุณภาพเช่นเดียวกับใบชาสด เมื่อชงน้ำร้อนจะได้สีของน้ำชาออกมาเป็นสีเขียว และมีรสชาติขมที่เป็นเอกลักษณ์นั่นเอง ชาเขียวยอดนิยม 6 ประเภทที่ควรรู้จัก เกียวคุโระ (Gyokuro) ชาคุณภาพสูง ที่ผ่านการเลี้ยงในร่มเพื่อรักษาสารอาหารให้ได้มากที่สุด และเก็บเป็นชาแรกของปี โดยจะเก็บเฉพาะยอดอ่อนของใบชาเท่านั้น เนื่องจากเก็บเกี่ยวได้ปริมาณน้อย จึงทำให้ชาเกียวคุโระมีราคาแพงเน้นใช้ในงานพิธีการ […]

superadmin

10 November 2021

PROBIOTICS ฮีโร่ตัวจิ๋วประจําลําไส้

คุณรู้หรือไม่ ว่าร่างกายของเรานั้นประกอบไปด้วยจุลินทรีย์กว่า 1,000 ชนิด มีจำนวนรวมมากถึง 100 ล้านล้านเซลล์ ในขณะที่มนุษย์มีเพียงแค่ 10 ล้านล้านเซลล์เท่านั้น หรือคิดเป็นอัตราส่วน 10:1 และจุลินทรีย์ส่วนมาก จะอยู่รวมกันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหารพบว่ามีจุลินทรีย์อยู่มากถึง 100,000 ล้านตัวเลยทีเดียว ซึ่งมีทั้งจุลินทรีย์ก่อโรคและจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายที่เราเรียกว่า Probiotics PROBIOTICS คืออะไร ? Probiotics คือจุลินทรีย์ชนิดดีตัวจิ๋วที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร และระบบอื่น ๆ ในร่างกายมีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณเยื่อบุผิวของลำไส้ แล้วผลิตสารต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคชนิดอื่น ทำให้ร่างกายสมดุลส่งผลให้สุขภาพแข็งแรงได้ ประโยชน์ของ PROBIOTICS เพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ช่วยให้ขับถ่ายได้เป็นปกติทุกวัน ลดอาการท้องผูกและท้องเสีย ช่วยลดอาการลำไส้แปรปรวน และอาการกรดไหลย้อน ช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดอาการข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะ ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ปัจจัยที่ส่งผลให้ PROBIOTICS ลดลง การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็น นอกจากจะทำลายเชื้อโรคแล้วยังส่งผลต่อเชื้อ Probiotics และเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์แก่ร่างกายอีกด้วย […]

superadmin

3 November 2021

“เช็คลิสต์” หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่นำพาให้นักบินอะพอลโล 13 กลับบ้านได้

นับเป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นในภารกิจที่ล้มเหลวของอะพอลโล 13 ที่สามารถนำนักบินอวกาศทั้งสามคนอย่าง เจมส์ โลเวลล์ (James Lovell) จอห์น สไวเกิร์ต (John Swigert) และเฟรด ไฮส์ (Fred Haise) กลับมาสู่โลกได้ ในวันที่ 17 เมษายน 1970 แม้ว่ายานอะพอลโล 13 จะมีภารกิจหลัก คือส่งมนุษย์ไปเยือนดวงจันทร์และเก็บข้อมูลตัวอย่างกลับมาศึกษาอย่างปลอดภัย แต่ระหว่างการเดินทาง ถังออกซิเจนบนยานได้ระเบิดขึ้น ทำให้ยานส่วนหนึ่งเกิดความเสียหาย จึงต้องยุติภารกิจและเปลี่ยนเป็นภารกิจกู้ชีพนักบินแทน โดยใช้ยานลงจอดดวงจันทร์ (Lunar Module) ในการนำนักบินกลับสู่โลก หนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญและถูกใช้ในเทคโนโลยีอวกาศที่ทำให้นักบินกลับสู่โลกได้สำเร็จ นั่นก็คือ เช็คลิสต์ (checklist) โดยปกติแล้วในชีวิตประจำวันของเรา เมื่อต้องการเดินทางไกลด้วยรถยนต์จะต้องตรวจสอบรถยนต์ตามเช็คลิสต์ไปทีละขั้นตอนว่าอยู่ในสภาพพร้อมต่อการใช้งานหรือไม่ เช็คลิสต์ของนักบินอวกาศก็เช่นกัน ต้องมีการตรวจสอบและตั้งค่าไปตามลำดับขั้นตอน จากในภาพเช็คลิสต์มีขั้นตอน (procedure) การแปลงจากคอมมานด์โมดูล (Command Module) ไปสู่ยานลงจอดดวงจันทร์ เพื่อปรับระบบอ้างอิง (Lunar Module’s reference system) การตรวจสอบและตั้งค่าตามลำดับขั้นตอนเพื่อใช้ยานในการนำนักบินกลับสู่โลก สิ่งที่สำคัญของเช็คลิสต์ คือจะต้องมีความรอบคอบในการใช้งานเป็นอย่างสูง อีกทั้งการใส่ค่าตัวเลขต่าง ๆ […]

superadmin

28 October 2021

แมลงวัน…ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ

แมลงดำรงชีวิตอยู่ในธรรมชาติ มีทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม หากกล่าวถึงโทษของแมลงนอกจากพิษที่เป็นอันตรายต่อตัวเราแล้ว การที่แมลงมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เช่น การหาอาหารเพื่อดำรงชีวิต แมลงหลาย ๆ ชนิดมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ นอกจากยุงที่เราคุ้นเคยกันดีแล้แมลงวันเป็นอีกชนิดหนึ่งที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันและเป็นที่ทราบกันดีว่าสามารถก่อโรคในมนุษย์ได้เช่นกัน ในประเทศไทยพบแมลงวันเกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์อยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ แมลงวันบ้าน (House Flies) แมลงวันหัวเขียว (Blow Flies) แมลงวันหลังลาย (Flesh Flies) และแมลงวันดูดเลือด (Stomoxys spp.) โดยทั่วไปเรามักจะพบและคุ้นเคยกับแมลงวันบ้านมากที่สุด นั่นเพราะมันมีมากถึงร้อยละ 83 ของแมลงวันทั้งหมด มารู้จักแมลงวันบ้านกัน… แมลงวันบ้าน เป็นแมลงขนาดเล็ก มีปากแบบซับดูด (Sponging type) ลำตัวมีสีเทา ขนาดประมาณ 6-9 มิลลิเมตร ตามีสีน้ำตาลปนแดง ลำตัวมีขนสีเทาดำขนาดเล็กจำนวนมาก ปีก 1 คู่ เป็นเยื่อใสมีโครงร่างยึดเป็นร่างแหสีดำ แมลงวันบ้านจะออกหากินในช่วงเวลากลางวันไปยังแหล่งอาหาร เช่น ของสด สิ่งบูดเน่าต่าง ๆ เศษอาหาร เป็นต้น  ส่วนในเวลากลางคืนจะรวมกลุ่มกันอยู่บนกิ่งไม้หรือพุ่มไม้ แมลงวันนำโรคมาได้อย่างไร…เราเคยสังเกตเห็นแมลงวันบินมาตอมอาหารและถูขาหน้าบ้างหรือไม่? แมลงวันจะใช้ขาสำหรับดมกลิ่นรสอาหาร แต่เนื่องจากลำตัวของแมลงวันเต็มไปด้วยขน และลิ้นที่ใช้กินอาหารมีกาวเหนียว […]

superadmin

28 October 2021

มาทำความรู้จักกับบรรยากาศของโลกกันเถอะ

เคยสังเกตกันบ้างไหมว่าบรรยากาศของโลกนั้น นอกจากจะเป็นอากาศให้เราหายใจกันในทุก ๆ วันแล้ว บรรยากาศของโลกคืออะไร และมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตและโลกอย่างไรอีกบ้าง บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึง อากาศที่ห่อหุ้มโลก มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ แก๊สชนิดต่าง ๆ ไอน้ำ ฝุ่นละออง และอื่น ๆ โดยบรรยากาศของโลกมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ 78.08%, ออกซิเจน 20.94%, อาร์กอน 0.93%, คาร์บอนไดออกไซด์ 0.03%, และอื่น ๆ อีก 0.2% ตามปกติแล้วจะไม่มีอากาศแห้งแท้ ๆ เนื่องจากอากาศโดยทั่วไปจะมีไอน้ำปนอยู่ ตั้งแต่ 0 ถึง 4% ไอน้ำ เกิดจากการระเหยของน้ำจากแหล่งต่าง ๆ การระเหยของน้ำจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ พื้นที่ผิวหน้า และปริมาณไอน้ำในอากาศ ไอน้ำที่เป็นส่วนผสมของอากาศนั้น เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดฝน ลม พายุ ฟ้าแลบ และฟ้าร้อง อนุภาคที่เป็นของแข็งที่มีขนาดเล็ก ได้แก่ ฝุ่นละออง […]

superadmin

18 October 2021

ทำความรู้จักกับ “นก” สัตว์ป่าคุ้มครองที่ยังพบเห็นได้ในเมือง

นก เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เป็นสัตว์ปีกที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นAves เป็นสัตว์เลือดอุ่นที่ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าของมันจะถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนหนาและมีกระดูกที่กลวงเบา และในประเทศไทยเรานั้นเป็นประเทศที่มีความหลากหลายของนกมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ของประเทศและพบนกมากถึง 1,011 ชนิด แต่ก็มีนกหลายชนิดที่ถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ความหมายของสัตว์ป่าคุ้มครอง คือ สัตว์ป่าตามที่กระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และมีชื่ออยู่ในบัญชีแนบท้ายของกฎกระทรวง มีรายชื่อนกที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองมากถึง 952 ชนิด ซึ่งกฎหมายไม่อนุญาตให้ล่าหรือมีไว้ในครอบครอง รวมถึงซากของสัตว์เหล่านี้ด้วยเว้นแต่การกระทำโดยทางราชการ เมื่อเราได้ความรู้เกี่ยวกับนกและสัตว์ป่าคุ้มครองในเบื้องต้นกันไปแล้ว ทีนี้เรามาดูตัวอย่างนกที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่สามารถพบเจอได้ในเมืองกัน 1. นกสีชมพูสวน นกสีชมพูสวนเป็นนกที่มีลำตัวขนาดเล็ก ตัวผู้จะมีสีสันสดใส ตั้งแต่หน้าผากถึงตะโพกเป็นแถบยาวสีแดงสดส่วนตัวเมียจะมีสีน้ำตาล มีเพียงส่วนตะโพกและขนคลุมหางสีแดงสด มีถิ่นอาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและล้านนาตะวันออก โดยสามารถพบนกสีชมพูสวนได้ในป่าโปร่ง ชายป่า สวนผลไม้ และสวนสาธารณะ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ชื่ออังกฤษ : Scarlet-backed Flowerpecker ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicaeum cruentatum (Linnaeus, 1758) วงศ์ (Family) : Dicaeidae 2. นกกาเหว่า นกกาเหว่าหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่านกดุเหว่า เป็นนกที่มีขนาดใกล้เคียงกับอีกา มีลำตัวเพรียวยาว ตาสีแดงและมีหางยาวแข็ง ตัวผู้มีสีดำ ปากมีสีเขียวเทา […]

superadmin

13 October 2021

สัตว์เลี้ยง (หรือ) สัตว์แปลก

หากกล่าวถึงสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษหรือ exotic pets คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว สัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษสามารถจำแนกได้หลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน กลุ่มสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง กลุ่มสัตว์ปีก กลุ่มปลาแปลก และกลุ่มเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม นอกจากกลุ่มที่กล่าวมาแล้วนี้แล้วยังสามารถแบ่งตามแนวทางการเลี้ยงและความชอบส่วนบุคคล เช่นความแปลกเนื่องจากเป็นชนิดพันธุ์ที่หายาก (rare & very rare species) หรือความแปลกเนื่องจากความผิดปกติของยีนและเม็ดสี (morphs) ที่เราเรียกกันว่าสัตว์เผือก เป็นต้น และสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษยังหมายถึงสัตว์พื้นบ้านหรือสัตว์ป่าประจำถิ่นที่ไม่ผิดกฎหมายด้วย อยากจะเลี้ยงต้องตรวจสอบอะไรบ้าง ในการจะเลี้ยงสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษจะต้องคำนึงถึงกฎหมายก่อนเป็นอันดับแรก ปัจจุบันสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษบางชนิดไม่ต้องขออนุญาตในการครอบครอง แต่บางชนิดยังต้องมีการขออนุญาตตามข้อบังคับของไซเตส (CITES) หรืออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น เต่าดาวอินเดียที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ จะไม่สามารถเลี้ยงได้เนื่องจากผิดกฎหมาย ส่วนคนที่มีในครอบครองอยู่แล้วจะต้องไปจดทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบเช่นกรมป่าไม้ หรือกรมคุ้มครองสัตว์ป่า กรณีสัตว์ป่าที่ขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในไทย เช่น พญากระรอกดำ แมวดาว ห้ามมีไว้ครอบครอง แต่กรณีเป็นกลุ่มสัตว์ป่าที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศสามารถเลี้ยงได้และถ้ามีใบอนุญาตเพาะพันธุ์ก็จะถือว่าไม่ผิดกฎหมาย นอกจากเรื่องของกฎหมายแล้วผู้เลี้ยงจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และรู้จักนิสัยของสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษเป็นอย่างดีก่อนนำมาเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย อาหาร สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พฤติกรรมทางธรรมชาติของสัตว์ชนิดนั้น รวมไปถึงการหาข้อมูลโรงพยาบาลสัตว์พิเศษเนื่องจากสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษต้องมีหมอเฉพาะทางในการรักษาและต้องใช้เครื่องมือที่แตกต่างจากสัตว์เลี้ยงทั่วไป เลี้ยงแล้ว อย่าทิ้ง (กัน) นะ สัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้สามารถซื้อขายและเพาะพันธุ์ได้อย่างถูกกฎหมายทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นผู้ที่สนใจเลี้ยงสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษจะต้องคำนึงเสมอว่าสัตว์เหล่านี้ถูกเพาะพันธุ์มาเพื่อให้แตกต่างจากสัตว์ที่เจอตามธรรมชาติ จึงไม่ควรไปจับ […]

superadmin

8 October 2021

ทำไมน้ำทะเลมีสีฟ้า?

มีใครเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมน้ำทะเลที่เห็นจึงมีสีฟ้า บ้างก็มีสีเขียว หรือสีน้ำเงินเข้ม แต่เมื่อเราใช้แก้วน้ำตักน้ำทะเลขึ้นมา กลับมีสีใสเหมือนน้ำที่เราใช้ดื่มหรือใช้อาบในทุกวัน ไม่ได้มีสีสันสวยงามเหมือนที่เรามองเห็นเลยแม้แต่น้อย ความจริงสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพียงปรากฏการณ์การกระเจิงแสง โดยการที่เราสามารถมองเห็นสีสันของสิ่งต่าง ๆ ได้นั้น เกิดจากแสงที่มีแหล่งกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์ตกกระทบกับพื้นผิวน้ำหรือสิ่งของต่าง ๆ แล้วแสงนั้นสะท้อนมายังดวงตา จึงทำให้เรามองเห็นสีสันของสิ่งต่าง ๆ แต่สำหรับน้ำ เมื่อแสงที่มีช่วงคลื่นของสีต่าง ๆ โดยเฉพาะสีน้ำเงินที่มีความยาวคลื่นสั้นตกกระทบกับน้ำ จะเกิดการกระเจิงหรือการแพร่กระจายของแสงในน้ำได้ดีที่สุดและถูกโมเลกุลของน้ำดูดกลืนไว้ได้น้อย ต่างจากช่วงแสงสีแดงที่จะถูกดูดกลืนไว้ได้มาก และช่วงแสงสีเขียวรองลงมา เมื่อแสงสีแดงและแสงสีเขียวถูกโมเลกุลของน้ำดูดกลืนไว้ได้ดีกว่าสีน้ำเงิน แสงทั้งสองสีนี้จึงหายไปได้ง่ายเมื่อลงสู่น้ำ สีน้ำทะเลที่ปรากฏออกมาให้เห็นจึงเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงินนั่นเอง แต่แล้วทำไมน้ำทะเลบางที่ถึงมีสีเขียว สีน้ำเงิน หรือสีฟ้า แตกต่างกันออกไป สิ่งนี้เกิดจากความตื้นและลึกของน้ำทะเล และสิ่งเจือปนต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำทะเล การที่น้ำในทะเลลึกอยู่ห่างไกลจากแผ่นดินมาก จะมีสิ่งเจือปนต่าง ๆ อยู่น้อย น้ำในบริเวณนี้จะใสมากและเกิดการดูดกลืนแสงสีแดงและแสงสีเขียวอย่างสมบูรณ์ จึงเห็นเพียงแสงสีน้ำเงินเข้มเท่านั้นที่กระเจิงได้ดีและโดดเด่นขึ้นมา ต่างจากบริเวณชายฝั่งที่มีสิ่งเจือปนอยู่มาก สีของน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งจึงมีสีที่ผิดเพี้ยนแตกต่างกันออกไปตามสีของสิ่งเจือปนนั้น ๆ แต่สำหรับทะเลบางที่ที่มีสีเขียว จะแสดงถึงทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก บริเวณนั้นจะเต็มไปด้วยแพลงก์ตอนพืช ซึ่งแพลงก์ตอนเหล่านี้จะดูดกลืนแสงสีน้ำเงินและสะท้อนแสงสีเขียวออกมาแทน จึงทำให้น้ำทะเลมีสีเขียวสวยงาม อ้างอิง https://bit.ly/2YlqVOChttps://bit.ly/3Fn3aH

superadmin

6 October 2021

Ventablack & Superwhite

“ในดำมีขาว ในขาวมีดำ ทุกสิ่งในโลกล้วนมีคู่ตรงข้ามกัน” ถ้าพูดถึงสีดำ สีดำที่ดำที่สุดนั่นก็คือ “แวนตาแบล็ก” (Vantablack) เป็นสีดำที่ดูดกลืนแสงสว่างได้ 99.96% ถูกคิดค้นขึ้นโดย นักวิจัยชาวอังกฤษในปี 2014 โครงสร้างของแวนตาแบล็ก ประกอบด้วยแท่งนาโนทิวบ์ขนาดเล็กจำนวนมากเรียงกันอย่างหนาแน่น แสงที่ตกกระทบจะสะท้อนไปมาระหว่างแท่งนาโนทิวบ์ ไม่สามารถสะท้อนกลับออกมาข้างนอกได้ ในที่สุดแสงจะถูกดูดซับและเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน วัตถุที่ดำมาก ๆ นี้ เป็นประโยชน์ต่อโครงการสำรวจอวกาศ เพราะมันจะช่วยกรองแสงที่ไม่ต้องการออกได้เป็นอย่างดี ทำให้กล้องโทรทรรศน์รับแสงจากอวกาศที่ไกลมาก ๆ ได้มากขึ้น เราก็จะเห็นอวกาศได้ไกลขึ้น ต่อมาในปี 2019 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์หรือเอ็มไอที (MIT) ของสหรัฐฯ เปิดตัววัสดุชนิดใหม่ที่มีสีดำมืดที่สุดในโลก โดยสามารถดูดกลืนแสงได้มากกว่า 99.995% ทำลายสถิติของสี“แวนตาแบล็ก” (Vantablack) ที่เคยครองแชมป์ความมืดทึบมาก่อนหน้านี้ เอ็มไอทีเผยว่า ยังไม่มีการตั้งชื่อให้กับวัสดุดังกล่าวซึ่งจัดเป็นคาร์บอนนาโนทิวบ์ (Carbon Nanotubes) ประเภทหนึ่ง โดยนักวิจัยด้านวิศวกรรมได้ค้นพบวัสดุนี้โดยบังเอิญ ขณะทำการทดลอง “เพาะ” สายคาร์บอนนาโนทิวบ์ให้เติบโตขึ้นบนวัสดุนำไฟฟ้าเช่นอะลูมิเนียม รายงานการค้นพบที่ตีพิมพ์ในวารสาร ACS Applied Materials & Interfaces ระบุว่า เมื่อคาร์บอนนาโนทิวบ์เรียงตัวกันเป็นเส้นในแนวตั้งบนแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ที่อยู่ในภาวะพิเศษ จนดูคล้ายกับ […]

superadmin

5 October 2021

อาหารอินทรีย์ เรื่องที่สายออร์แกนิกต้องรู้

อาหารอินทรีย์ หรือที่เราเรียกกันว่า อาหารออร์แกนิก (organic food) ปัจจุบันเป็นกลุ่มอาหารที่เป็นที่นิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาหารมีการปรุงด้วยส่วนประกอบทุกอย่างที่มาจากธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีในการผลิต และไม่มีการตัดต่อทางพันธุกรรม (genetic modification, GMO) จึงทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าอาหารนั้นมีความปลอดภัย และดีต่อสุขภาพ ซึ่งแตกต่างกับอาหารปลอดภัย ที่ยังสามารถใช้สารเคมี แต่ต้องอยู่ในมาตรฐานของการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) และมีการเว้นช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อให้สารเคมีในอาหารอยู่ในระดับที่ปลอดภัยในการบริโภค กว่าจะได้มาเป็นอาหารอินทรีย์ที่เราบริโภคกัน มีขั้นตอนการผลิตที่ต้องใส่ใจมากกว่าปกติ เพื่อให้ได้อาหารที่มีคุณภาพมาตรฐาน อุดมด้วยคุณค่าสารอาหารที่ดีและปลอดสารพิษ โดยเริ่มต้นจากต้นทาง คือ การทำเกษตรอินทรีย์ที่ใช้วิธีการทางธรรมชาติ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ส่วนเนื้อสัตว์ก็มีการเลี้ยงดูด้วยการให้อาหารอินทรีย์ ไม่เจือปนสารเคมี หรือการใช้ยา และฮอร์โมน ทำให้สามารถรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต จึงถือว่าเป็นการเกษตรที่คำนึงถึงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แล้วถ้าจะเปลี่ยนจากการทำเกษตรแบบปกติมาเป็นการทำเกษตรอินทรีย์ได้อย่างไร? กรณีที่เคยทำเกษตรที่ใช้สารเคมีมาก่อนจะต้องปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกก่อน โดยต้องกำหนดแผนในการปรับเปลี่ยนตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 12 – 36 เดือน ขึ้นกับรูปแบบที่เลือกในการปรับ มีวิธีการป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีที่มาจากดิน น้ำ และอากาศ หรือการทำแนวกันชนระหว่างแปลงปลูก และพื้นที่ทำเกษตรต้องอยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนการเลือกพันธุ์พืชต้องมีความต้านทานต่อศัตรูพืช ไม่มีการตัดต่อสารพันธุกรรม หรือผ่านการอาบรังสี รวมทั้งต้องปลูกพืชหลากหลายพันธุ์และปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อสร้างความยั่งยืนของระบบนิเวศไปด้วย […]

superadmin

1 October 2021
1 8 9 10 15